พ.ต.ต.หญิง รมยง สุรกิจบรรหาร รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และโฆษก สปส. กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สิทธิประกันสังคม สามารถเข้ารักษาได้ในโรงพยาบาลทุกแห่งที่เป็นคู่สัญญาสปส. ในการเป็นหน่วยบริการ โดยฟอกเลือดล้างไตมี 514 แห่ง ล้างไตทางช่องท้อง 69 แห่ง และปลูกถ่ายไต 20 แห่ง ผู้ป่วยไม่ต้องสำรองจ่าย แต่หากไปรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา จะต้องออกค่ารักษาเอง ยกเว้นเป็นกรณีฉุกเฉิน สปส.ก็จะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งไม่เฉพาะแค่เพียงโรคไตวายเรื้อรังเท่านั้น แต่เป็นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งหมด ซึ่งกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินสิทธิประกันสังคม จะมีความแตกต่างจากสิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุน
"โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ฟรีทุกสิทธิ เป็นนโยบายที่ประกันสังคมเข้าร่วม แต่ยอมรับว่ายังคงมีข้อจำกัดบางประการ เพราะที่จริงแล้วการดูแลตามจ่ายค่ารักษาสิทธิฉุกเฉินของประกันสังคม จะต่างจากโครงการดังกล่าว อย่างโครงการดังกล่าวจะต้องเป็นฉุกเฉินวิกฤตสีแดง ถึงจะเข้าเกณฑ์ แต่ของประกันสังคม ขอเพียงแพทย์ฉุกเฉินวินิจฉัยว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นฉุกเฉินเร่งด่วน ฉุกเฉินอันตราย หรือฉุกเฉินวิกฤต ก็ถือว่าเป็นฉุกเฉินทั้งหมด ซึ่งประกันสังคมจะดูแลค่าใช้จ่ายในช่วง 72 ชั่วโมงแรก โดยขอให้มีการประสานมายังสปส. ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ได้ ทั้งญาติ หรือโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อสปส.รับเรื่องก็จะประสานดูแลตามระบบต่อไป" รองเลขาธิการสปส. กล่าว
พ.ต.ต.หญิง รมยง กล่าวว่าหากเข้าฉุกเฉินของรพ.รัฐ ไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายค่ารักษาใดๆ แต่หากเป็น รพ.เอกชน ก็จะมีเกณฑ์ในการจ่ายค่ารักษา ซึ่งต้องยอมรับว่ารพ.เอกชนมีหลายระดับ และราคาต่างกัน เพราะ รพ.เอกชน เป็นราคาขายบวกกับกำไร การตามจ่ายค่ารักษาอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ สปส.จะพยายามพิจารณาโดยยึดผลประโยชน์ของผู้ประกันตนเป็นหลัก ซึ่งหากผู้ป่วยมีความจำเป็นในการต้องเข้ารับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ รพ.เอกชนแห่งนี้ ก็อาจมีจ่ายค่ารักษาให้ที่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ประมาณ 50-60% ของราคาขายของรพ.เอกชน อย่างไรก็ตามหากผู้ประกันตนรู้สึกไม่พอใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถอุทธรณ์ต่อได้อีก
"โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ฟรีทุกสิทธิ เป็นนโยบายที่ประกันสังคมเข้าร่วม แต่ยอมรับว่ายังคงมีข้อจำกัดบางประการ เพราะที่จริงแล้วการดูแลตามจ่ายค่ารักษาสิทธิฉุกเฉินของประกันสังคม จะต่างจากโครงการดังกล่าว อย่างโครงการดังกล่าวจะต้องเป็นฉุกเฉินวิกฤตสีแดง ถึงจะเข้าเกณฑ์ แต่ของประกันสังคม ขอเพียงแพทย์ฉุกเฉินวินิจฉัยว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นฉุกเฉินเร่งด่วน ฉุกเฉินอันตราย หรือฉุกเฉินวิกฤต ก็ถือว่าเป็นฉุกเฉินทั้งหมด ซึ่งประกันสังคมจะดูแลค่าใช้จ่ายในช่วง 72 ชั่วโมงแรก โดยขอให้มีการประสานมายังสปส. ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ได้ ทั้งญาติ หรือโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อสปส.รับเรื่องก็จะประสานดูแลตามระบบต่อไป" รองเลขาธิการสปส. กล่าว
พ.ต.ต.หญิง รมยง กล่าวว่าหากเข้าฉุกเฉินของรพ.รัฐ ไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายค่ารักษาใดๆ แต่หากเป็น รพ.เอกชน ก็จะมีเกณฑ์ในการจ่ายค่ารักษา ซึ่งต้องยอมรับว่ารพ.เอกชนมีหลายระดับ และราคาต่างกัน เพราะ รพ.เอกชน เป็นราคาขายบวกกับกำไร การตามจ่ายค่ารักษาอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ สปส.จะพยายามพิจารณาโดยยึดผลประโยชน์ของผู้ประกันตนเป็นหลัก ซึ่งหากผู้ป่วยมีความจำเป็นในการต้องเข้ารับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ รพ.เอกชนแห่งนี้ ก็อาจมีจ่ายค่ารักษาให้ที่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ประมาณ 50-60% ของราคาขายของรพ.เอกชน อย่างไรก็ตามหากผู้ประกันตนรู้สึกไม่พอใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถอุทธรณ์ต่อได้อีก