ปีนี้ฝนมาช้า ปัญหาโผล่ออกมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เทศบาลบางแห่งขาดน้ำสำหรับทำประปา ชาวนาหาสูบน้ำเลี้ยงต้นข้าวไม่ค่อยได้ รัฐบาลสั่งให้เจาะบ่อบาดาลเพื่อบรรเทาปัญหาพร้อมทั้งสั่งชาวนาให้งดสูบน้ำ สงครามชิงน้ำกำลังจะปะทุ อุบัติการณ์ฝนมาช้าครั้งนี้อาจไม่มีบทเรียนล้ำค่าถ้าคนไทยยังมองไม่พ้นสะดือตัวเอง หรือกรอบแนวคิดเดิมๆ ซึ่งมุ่งเน้นโครงการใหญ่ๆ ซึ่งใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อเปิดโอกาศให้พวกสามานย์กอบโกยกันอย่างทั่วถึง หรือเพื่อนำมาซึ่งความหวังจะร่ำรวยด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่สังคมไทยไม่จำเป็นต้องขาดน้ำหากเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมบางอย่างไปในทางที่ดีกว่า
แนวคิดหนึ่งซึ่งถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ได้แก่การผันน้ำจากสายน้ำในประเทศเพื่อนบ้าน ในกรอบแนวคิดนี้เคยมีโครงการนานมาแล้วชื่อ “โขง-ชี-มูน” ซึ่งจะสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำโขงมาใส่ภาคอีสานอันมีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูนเป็นเส้นเลือดหลัก ต้นคิดของโครงการที่จะใช้เงินจำนวนมหาศาลนั้นลืมไปว่าในช่วงหน้าแล้ง แม่น้ำโขงก็เหือดแห้งเช่นกัน ในกาลต่อไป การเหือดแห้งตามธรรมชาติยิ่งจะถูกซ้ำเติมให้หนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในเมืองจีนหลายเขื่อนเพื่อกักน้ำตอนต้นแม่น้ำโขงไว้ ผู้อาศัยน้ำจากแม่น้ำโขงตอนล่างอาจจะตายอย่างเขียดเมื่อน้ำโขงไม่ไหลลงมาตามฤดูกาล แต่พวกวาดแผนเจาะอุโมงค์ยังคงฝันจะผลาญเงิน
อันที่จริงเมืองไทยโชคดีที่ทุกปีมีฝนตกนับร้อยห่า การมีฝนและน้ำทำให้เมืองไทยเป็นที่หมายปองของชาวต่างชาติ คนไทยอุบาทว์จึงถึงกับเออออห่อหมกที่จะเอื้อให้ต่างชาติเข้ามายึดที่นาเพื่อปลูกข้าวเอาผลผลิตส่งกลับไปบ้านเขา แต่ไทยก็มิใช่ประเทศเดียวที่เป็นที่หมายปองของชาวต่างชาติ ประเทศกำลังพัฒนาที่มีน้ำมากพอก็มักเป็นเป้าหมายเช่นกัน รายละเอียดอาจหาได้จากหลายแหล่งรวมทั้งในหนังสือชื่อ Land Grabbing : Journeys in the New Colonialism เขียนโดย Stefano Liberti
ชาวต่างชาติเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลางที่ร่ำรวยด้วยการขายน้ำมัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นแห้งแล้งจนเป็นทะเลทราย พวกเขาจึงออกไปกว้านซื้อ หรือไม่ก็เช่าที่ดินผืนใหญ่ๆ เพื่อใช้ปลูกพืชอาหารส่งกลับไปยังบ้านของเขา การกว้านซื้อ หรือเช่าที่ดินเพื่อใช้ปลูกพืชดังกล่าวส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่งขึ้น มันจึงดึงดูดนักเก็งกำไรรายใหญ่ๆ ให้ไปลงทุนซื้อที่ดินในประเทศกำลังพัฒนากันมาก ในกลุ่มนี้มีพ่อมดการเงินจอร์จ โซรอส รวมอยู่ด้วย เรื่องราวของเขามีอยู่ในบทความเรื่อง “จอร์จ โซรอส และบรรดามหาเศรษฐีในกระบวนการกว้านซื้อที่กิน” ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
อย่างไรก็ตาม ประเทศในแถบตะวันออกกลางมิได้มีน้ำมันกันอย่างทั่วถึง ส่วนใหญ่ไม่มีน้ำมันมากนักและกำลังเผชิญกับปัญหาหนักหนาสาหัสจากการขาดแคลนน้ำจืด ปัญหามาจากหลายปัจจัยด้วยกัน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรเกือบอีกเท่าตัวในช่วงเวลา 25 ปีที่ผ่านมา และการใช้เทคโนโลยีใหม่ไปในทางผิด
ย้อนไปในสมัยที่ชาวตะวันออกกลางยังไม่พบน้ำมัน พวกเขามักบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ ในสมัยนั้น พวกเขามักขุดบ่อกระจัดกระจายไว้ในหลายพื้นที่ซึ่งพอมีน้ำใต้ดินอยู่บ้าง บ่อเหล่านั้นไม่ลึกนักเนื่องจากต้องขุดด้วยเครื่องมือง่ายๆ เช่นจอบและเสียม พวกเขาต้อนฝูงสัตว์เลี้ยงจำพวกแพะและอูฐตระเวนไปตามบ่อน้ำเหล่านั้นเป็นระยะๆ เมื่อน้ำในบ่อหนึ่งแห้งก็ต้อนสัตว์ไปที่อื่นและจะต้อนสัตว์กลับมาอีกครั้งก็ต่อเมื่อบ่อเริ่มมีน้ำขังเพิ่มขึ้นมากพอให้ใช้เป็นเวลาหลายๆ วัน
เกี่ยวกับบ่อน้ำกลางทะเลทราย คอภาพยนตร์ทั้งหลายอาจจำตอนหนึ่งในเรื่อง Lawrence of Arabia ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ ตอนที่เจ้าของบ่อน้ำชื่อ “อาลี” ซึ่งแสดงโดยโอมาร์ ชารีฟ (เพิ่งเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา) พบกับ “ลอว์เรนซ์” เป็นครั้งแรกหลังยิงผู้ร่วมเดินทางมากับลอร์เรนซ์ตายใกล้ปากบ่อ
เทคโนโลยีใหม่ที่ชาวตะวันออกกลางใช้ไปในทางผิดได้แก่เครื่องเจาะบ่อบาดาลและเครื่องสูบน้ำพลังสูง เนื่องจากเครื่องจักรเหล่านั้นสามารถเจาะลงไปได้ลึกหลายร้อยเมตรและสูบน้ำขึ้นมาได้มากอย่างต่อเนื่อง ชาวตะวันออกกลางจึงสูบน้ำจากขุมใต้ดินขึ้นมาใช้แบบสุรุ่ยสุร่ายตามใจชอบ เช่น ในซาอุดีอาระเบีย พวกเขาสูบน้ำขึ้นมาปลูกข้าวสาลีจนขุมน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งแห้งเหือด แต่นั่นยังไม่เกิดผลร้ายเท่ากับในเยเมนเพราะชาวซาอุฯ มีทั้งน้ำมันและเงินจำนวนมหาศาล พวกเขาจึงกลั่นน้ำทะเลมาใช้แทน ส่วนเยเมนไม่มีน้ำมันและเงินมาก ซ้ำร้ายกลับสูบน้ำขึ้นมาใช้ปลูกพืชที่มีสารเสพติดเพื่อบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ตอนนี้เยเมนมีน้ำไม่พอใช้และกลายเป็นรัฐล้มเหลวแล้ว เรื่องราวของชาวซาอุฯ และชาวเยเมนเกี่ยวกับการใช้น้ำแบบสุรุ่ยสุร่ายอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “จดหมายจากวอชิงตัน” ซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีที่ www.bannareader.com เช่นกัน
ตรงข้ามกับชาวตะวันออกกลางซึ่งใช้เทคโนโลยีใหม่ทำลายขุมน้ำใต้ดิน ชาวโลกที่โชคไม่ดีเท่าคนไทยยังใช้เทคโนโลยีง่ายๆ เก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี เรื่องราวของชาวอินเดียในย่านกึ่งทะเลทรายมีอยู่ในหนังสือหลายเล่มรวมทั้งเรื่อง Water Wars: Privatization, Pollution, and Profit เขียนโดย Vandana Shiva และเรื่อง Water Wars: Drought, Flood, Folly, and the Politics of Thirst เขียนโดย Diane Raines Ward ทั้งสองเรื่องนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในหนังสือชื่อ “ธาตุ 4 พิโรธ” ซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีที่ www.bannareader.com
เรื่องราวของชาวโบลิเวียมีอยู่ในรายงานชื่อ Towards Sustainable Pond Farming ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ที่ www.agriculturesnetwork.org/magazines/global/lessons-in-scaling-up/towards-sustainable-pond-farming เรื่องราวของชาวเอธิโอเปียซึ่งอยู่บนที่สูงและกันดารน้ำเช่นเดียวกับชาวโบลิเวียมีอยู่ในวิทยานิพนธ์เรื่อง Impact Assessment of Rainwater Harvesting Ponds: The Case of Alaba Woreda, Ethiopia (ดาวน์โหลดได้ที่ www.google.com/search?q=impact+assessment+of+rainwater+harvesting+ponds&ie=utf-8&oe=utf-8) นอกจากนั้น ยังมีเรื่องราวของชาวรวันดาในแอฟริกาในรายงานชื่อ An Assessment of the Impact of Rainwater Harvesting Ponds on Farm Income in Rwanda ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ที่ http://econpapers.repec.org/paper/agsafma12/159388.htmเรื่องราวเหล่านั้นมีคำว่า “สระน้ำ” (Ponds) รวมอยู่ด้วยเนื่องจากชาวต่างประเทศที่กล่าวถึงใช้วิธีขุดสระเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อการเกษตร วิธีขุดสระเพื่อเก็บน้ำฝนทำได้ง่าย แต่ถ้าจะให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดจะต้องขุดจำนวนมากไว้ให้ห่างกันเป็นระยะๆ ในพื้นที่ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นผืนขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้น้ำซึมลงไปใต้ดินจนทำให้พื้นดินชุ่มชื้นเป็นวงกว้าง สระเหล่านั้นมักเรียกกันว่า “สระพวง” ชาวอินเดียมักไม่นำน้ำจากสระขึ้นมาใช้โดยตรง หากขุดบ่อลงไปในพื้นที่ของตนแล้วจึงดึงน้ำขึ้นมา น้ำที่ได้จะถูกพื้นดินกรองให้ครั้งหนึ่งแล้ว
วิธีขุดสระพวงน่าจะเหมาะกับพื้นที่เกษตรของเมืองไทยที่ไม่มีการชลประทาน โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนจากการมุ่งสร้างความร่ำรวยด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรกรรมแบบผสมผสานตามหลักการของทฤษฎีใหม่ หลักการนี้มีสระน้ำเป็นหัวใจของพื้นที่ซึ่งบางทีเรียกกันว่า “โคก หนอง นา โมเดล”
ทั้งที่การสร้างระบบสระพวงใช้ได้ผลดีในต่างประเทศมานาน แต่เมืองไทยยังไม่ทำเพราะเกษตรกรยังมองไม่เห็นความสำคัญของการร่วมมือกันขุดสระจำนวนมากไว้ หรือไม่ก็กลัวเสียพื้นที่สำหรับใช้ในการเพาะปลูก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงควรเป็นผู้นำในการทำโครงการนำร่องให้เกษตรกรเห็นเป็นตัวอย่าง หากไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร ควรส่งข้าราชการไปดูระบบของชาวอินเดีย การไปดูงานในอินเดียคงไม่ต้องใช้งบประมาณมากมายเช่นเดียวกับการส่งข้าราชการครั้งละหลายสิบคนไปดูงานในญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ทั้งนี้เพราะไม่น่าจะมีใครอยากไปดูงานในท้องถิ่นกันดารของอินเดีย
แน่ละ การเกี่ยวน้ำฝนมาเก็บไว้ในสระย่อมจะไม่เพียงพอต่อความต้องการหากการใช้ไม่ถูกปรับเปลี่ยนไปให้เหมาะสมด้วย ระบบสระพวงจะไม่สามารถเก็บน้ำฝนไว้ได้มากพอหากชาวนาพากันสูบน้ำออกมาทำนาในฤดูแล้งกันอย่างกว้างขวางดังเช่นในปัจจุบัน แต่แทนที่จะทำนา ถ้าพวกเขาหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว โอกาสที่พวกเขาจะมีน้ำพอใช้เป็นไปได้สูงมาก ตามแนวทฤษฎีใหม่ พืชส่วนหนึ่งปลูกไว้เพื่อใช้ในครอบครัว เกษตรกรจะผลิตมากกว่านั้นหากมีแรงจูงใจจากกำไรของการขายผลผลิต ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา ผมจึงเสนอให้คนไทยช่วยชาวนาด้วยการลดกินข้าว
ใช่แล้ว! ผมไม่ได้สติฟั่นเฟือนไปที่เสนอให้คนไทยลดกินข้าวเพื่อช่วยชาวนา เรื่องนี้ผมทำเป็นประจำมานาน นั่นคือ กินอาหารแป้งอื่นแทนข้าว เช่น ข้าวโพด มันเทศ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง เผือก กล้วย สาคู และฟักทอง พืชเหล่านี้นอกจากจะมีแป้งที่ทำให้รู้สึกอิ่มเป็นเวลานานเช่นเดียวกับการกินข้าวแล้ว ยังมีสารอาหารอื่นที่ข้าวไม่มีอีกด้วย ฉะนั้น โอกาสที่ร่างกายจะได้วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อย่างครบถ้วนย่อมสูงขึ้น หากคนไทยหลายสิบล้านคนพร้อมใจกันปรับเปลี่ยนอาหารตามแนวที่เสนอมา ผมเชื่อว่าชาวนาจะลดการทำนาลงและปลูกพืชอาหารอื่นเพิ่มขึ้นมาแทน นอกจากจะลดการใช้น้ำแล้ว การปลูกพืชหลากหลายอย่างดังกล่าวจะส่งผลให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับในประเทศอื่นพร้อมกับสร้างความสมดุลมากขึ้นให้ระบบนิเวศอีกด้วย
หากทั้งภาครัฐและประชาชนเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมเสียใหม่ พื้นที่เกษตรกรรมของเมืองไทยส่วนใหญ่จะกลายเป็นเสมือนถาดขนมครก คนไทยและเกษตรกรไทยจะไม่ขาดแคลนน้ำพร้อมกับจะมีความมั่นคงยิ่งขึ้น จริงอยู่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่จะไม่มีเงินและทรัพย์สินมากมายจนทำให้เป็นเศรษฐี แต่พวกเขาจะมีความสุขมากกว่า ทั้งนี้เพราะ “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง”
แนวคิดหนึ่งซึ่งถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ได้แก่การผันน้ำจากสายน้ำในประเทศเพื่อนบ้าน ในกรอบแนวคิดนี้เคยมีโครงการนานมาแล้วชื่อ “โขง-ชี-มูน” ซึ่งจะสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำโขงมาใส่ภาคอีสานอันมีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูนเป็นเส้นเลือดหลัก ต้นคิดของโครงการที่จะใช้เงินจำนวนมหาศาลนั้นลืมไปว่าในช่วงหน้าแล้ง แม่น้ำโขงก็เหือดแห้งเช่นกัน ในกาลต่อไป การเหือดแห้งตามธรรมชาติยิ่งจะถูกซ้ำเติมให้หนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในเมืองจีนหลายเขื่อนเพื่อกักน้ำตอนต้นแม่น้ำโขงไว้ ผู้อาศัยน้ำจากแม่น้ำโขงตอนล่างอาจจะตายอย่างเขียดเมื่อน้ำโขงไม่ไหลลงมาตามฤดูกาล แต่พวกวาดแผนเจาะอุโมงค์ยังคงฝันจะผลาญเงิน
อันที่จริงเมืองไทยโชคดีที่ทุกปีมีฝนตกนับร้อยห่า การมีฝนและน้ำทำให้เมืองไทยเป็นที่หมายปองของชาวต่างชาติ คนไทยอุบาทว์จึงถึงกับเออออห่อหมกที่จะเอื้อให้ต่างชาติเข้ามายึดที่นาเพื่อปลูกข้าวเอาผลผลิตส่งกลับไปบ้านเขา แต่ไทยก็มิใช่ประเทศเดียวที่เป็นที่หมายปองของชาวต่างชาติ ประเทศกำลังพัฒนาที่มีน้ำมากพอก็มักเป็นเป้าหมายเช่นกัน รายละเอียดอาจหาได้จากหลายแหล่งรวมทั้งในหนังสือชื่อ Land Grabbing : Journeys in the New Colonialism เขียนโดย Stefano Liberti
ชาวต่างชาติเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลางที่ร่ำรวยด้วยการขายน้ำมัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นแห้งแล้งจนเป็นทะเลทราย พวกเขาจึงออกไปกว้านซื้อ หรือไม่ก็เช่าที่ดินผืนใหญ่ๆ เพื่อใช้ปลูกพืชอาหารส่งกลับไปยังบ้านของเขา การกว้านซื้อ หรือเช่าที่ดินเพื่อใช้ปลูกพืชดังกล่าวส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่งขึ้น มันจึงดึงดูดนักเก็งกำไรรายใหญ่ๆ ให้ไปลงทุนซื้อที่ดินในประเทศกำลังพัฒนากันมาก ในกลุ่มนี้มีพ่อมดการเงินจอร์จ โซรอส รวมอยู่ด้วย เรื่องราวของเขามีอยู่ในบทความเรื่อง “จอร์จ โซรอส และบรรดามหาเศรษฐีในกระบวนการกว้านซื้อที่กิน” ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
อย่างไรก็ตาม ประเทศในแถบตะวันออกกลางมิได้มีน้ำมันกันอย่างทั่วถึง ส่วนใหญ่ไม่มีน้ำมันมากนักและกำลังเผชิญกับปัญหาหนักหนาสาหัสจากการขาดแคลนน้ำจืด ปัญหามาจากหลายปัจจัยด้วยกัน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรเกือบอีกเท่าตัวในช่วงเวลา 25 ปีที่ผ่านมา และการใช้เทคโนโลยีใหม่ไปในทางผิด
ย้อนไปในสมัยที่ชาวตะวันออกกลางยังไม่พบน้ำมัน พวกเขามักบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ ในสมัยนั้น พวกเขามักขุดบ่อกระจัดกระจายไว้ในหลายพื้นที่ซึ่งพอมีน้ำใต้ดินอยู่บ้าง บ่อเหล่านั้นไม่ลึกนักเนื่องจากต้องขุดด้วยเครื่องมือง่ายๆ เช่นจอบและเสียม พวกเขาต้อนฝูงสัตว์เลี้ยงจำพวกแพะและอูฐตระเวนไปตามบ่อน้ำเหล่านั้นเป็นระยะๆ เมื่อน้ำในบ่อหนึ่งแห้งก็ต้อนสัตว์ไปที่อื่นและจะต้อนสัตว์กลับมาอีกครั้งก็ต่อเมื่อบ่อเริ่มมีน้ำขังเพิ่มขึ้นมากพอให้ใช้เป็นเวลาหลายๆ วัน
เกี่ยวกับบ่อน้ำกลางทะเลทราย คอภาพยนตร์ทั้งหลายอาจจำตอนหนึ่งในเรื่อง Lawrence of Arabia ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ ตอนที่เจ้าของบ่อน้ำชื่อ “อาลี” ซึ่งแสดงโดยโอมาร์ ชารีฟ (เพิ่งเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา) พบกับ “ลอว์เรนซ์” เป็นครั้งแรกหลังยิงผู้ร่วมเดินทางมากับลอร์เรนซ์ตายใกล้ปากบ่อ
เทคโนโลยีใหม่ที่ชาวตะวันออกกลางใช้ไปในทางผิดได้แก่เครื่องเจาะบ่อบาดาลและเครื่องสูบน้ำพลังสูง เนื่องจากเครื่องจักรเหล่านั้นสามารถเจาะลงไปได้ลึกหลายร้อยเมตรและสูบน้ำขึ้นมาได้มากอย่างต่อเนื่อง ชาวตะวันออกกลางจึงสูบน้ำจากขุมใต้ดินขึ้นมาใช้แบบสุรุ่ยสุร่ายตามใจชอบ เช่น ในซาอุดีอาระเบีย พวกเขาสูบน้ำขึ้นมาปลูกข้าวสาลีจนขุมน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งแห้งเหือด แต่นั่นยังไม่เกิดผลร้ายเท่ากับในเยเมนเพราะชาวซาอุฯ มีทั้งน้ำมันและเงินจำนวนมหาศาล พวกเขาจึงกลั่นน้ำทะเลมาใช้แทน ส่วนเยเมนไม่มีน้ำมันและเงินมาก ซ้ำร้ายกลับสูบน้ำขึ้นมาใช้ปลูกพืชที่มีสารเสพติดเพื่อบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ตอนนี้เยเมนมีน้ำไม่พอใช้และกลายเป็นรัฐล้มเหลวแล้ว เรื่องราวของชาวซาอุฯ และชาวเยเมนเกี่ยวกับการใช้น้ำแบบสุรุ่ยสุร่ายอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “จดหมายจากวอชิงตัน” ซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีที่ www.bannareader.com เช่นกัน
ตรงข้ามกับชาวตะวันออกกลางซึ่งใช้เทคโนโลยีใหม่ทำลายขุมน้ำใต้ดิน ชาวโลกที่โชคไม่ดีเท่าคนไทยยังใช้เทคโนโลยีง่ายๆ เก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี เรื่องราวของชาวอินเดียในย่านกึ่งทะเลทรายมีอยู่ในหนังสือหลายเล่มรวมทั้งเรื่อง Water Wars: Privatization, Pollution, and Profit เขียนโดย Vandana Shiva และเรื่อง Water Wars: Drought, Flood, Folly, and the Politics of Thirst เขียนโดย Diane Raines Ward ทั้งสองเรื่องนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในหนังสือชื่อ “ธาตุ 4 พิโรธ” ซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีที่ www.bannareader.com
เรื่องราวของชาวโบลิเวียมีอยู่ในรายงานชื่อ Towards Sustainable Pond Farming ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ที่ www.agriculturesnetwork.org/magazines/global/lessons-in-scaling-up/towards-sustainable-pond-farming เรื่องราวของชาวเอธิโอเปียซึ่งอยู่บนที่สูงและกันดารน้ำเช่นเดียวกับชาวโบลิเวียมีอยู่ในวิทยานิพนธ์เรื่อง Impact Assessment of Rainwater Harvesting Ponds: The Case of Alaba Woreda, Ethiopia (ดาวน์โหลดได้ที่ www.google.com/search?q=impact+assessment+of+rainwater+harvesting+ponds&ie=utf-8&oe=utf-8) นอกจากนั้น ยังมีเรื่องราวของชาวรวันดาในแอฟริกาในรายงานชื่อ An Assessment of the Impact of Rainwater Harvesting Ponds on Farm Income in Rwanda ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ที่ http://econpapers.repec.org/paper/agsafma12/159388.htmเรื่องราวเหล่านั้นมีคำว่า “สระน้ำ” (Ponds) รวมอยู่ด้วยเนื่องจากชาวต่างประเทศที่กล่าวถึงใช้วิธีขุดสระเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อการเกษตร วิธีขุดสระเพื่อเก็บน้ำฝนทำได้ง่าย แต่ถ้าจะให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดจะต้องขุดจำนวนมากไว้ให้ห่างกันเป็นระยะๆ ในพื้นที่ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นผืนขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้น้ำซึมลงไปใต้ดินจนทำให้พื้นดินชุ่มชื้นเป็นวงกว้าง สระเหล่านั้นมักเรียกกันว่า “สระพวง” ชาวอินเดียมักไม่นำน้ำจากสระขึ้นมาใช้โดยตรง หากขุดบ่อลงไปในพื้นที่ของตนแล้วจึงดึงน้ำขึ้นมา น้ำที่ได้จะถูกพื้นดินกรองให้ครั้งหนึ่งแล้ว
วิธีขุดสระพวงน่าจะเหมาะกับพื้นที่เกษตรของเมืองไทยที่ไม่มีการชลประทาน โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนจากการมุ่งสร้างความร่ำรวยด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรกรรมแบบผสมผสานตามหลักการของทฤษฎีใหม่ หลักการนี้มีสระน้ำเป็นหัวใจของพื้นที่ซึ่งบางทีเรียกกันว่า “โคก หนอง นา โมเดล”
ทั้งที่การสร้างระบบสระพวงใช้ได้ผลดีในต่างประเทศมานาน แต่เมืองไทยยังไม่ทำเพราะเกษตรกรยังมองไม่เห็นความสำคัญของการร่วมมือกันขุดสระจำนวนมากไว้ หรือไม่ก็กลัวเสียพื้นที่สำหรับใช้ในการเพาะปลูก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงควรเป็นผู้นำในการทำโครงการนำร่องให้เกษตรกรเห็นเป็นตัวอย่าง หากไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร ควรส่งข้าราชการไปดูระบบของชาวอินเดีย การไปดูงานในอินเดียคงไม่ต้องใช้งบประมาณมากมายเช่นเดียวกับการส่งข้าราชการครั้งละหลายสิบคนไปดูงานในญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ทั้งนี้เพราะไม่น่าจะมีใครอยากไปดูงานในท้องถิ่นกันดารของอินเดีย
แน่ละ การเกี่ยวน้ำฝนมาเก็บไว้ในสระย่อมจะไม่เพียงพอต่อความต้องการหากการใช้ไม่ถูกปรับเปลี่ยนไปให้เหมาะสมด้วย ระบบสระพวงจะไม่สามารถเก็บน้ำฝนไว้ได้มากพอหากชาวนาพากันสูบน้ำออกมาทำนาในฤดูแล้งกันอย่างกว้างขวางดังเช่นในปัจจุบัน แต่แทนที่จะทำนา ถ้าพวกเขาหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว โอกาสที่พวกเขาจะมีน้ำพอใช้เป็นไปได้สูงมาก ตามแนวทฤษฎีใหม่ พืชส่วนหนึ่งปลูกไว้เพื่อใช้ในครอบครัว เกษตรกรจะผลิตมากกว่านั้นหากมีแรงจูงใจจากกำไรของการขายผลผลิต ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา ผมจึงเสนอให้คนไทยช่วยชาวนาด้วยการลดกินข้าว
ใช่แล้ว! ผมไม่ได้สติฟั่นเฟือนไปที่เสนอให้คนไทยลดกินข้าวเพื่อช่วยชาวนา เรื่องนี้ผมทำเป็นประจำมานาน นั่นคือ กินอาหารแป้งอื่นแทนข้าว เช่น ข้าวโพด มันเทศ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง เผือก กล้วย สาคู และฟักทอง พืชเหล่านี้นอกจากจะมีแป้งที่ทำให้รู้สึกอิ่มเป็นเวลานานเช่นเดียวกับการกินข้าวแล้ว ยังมีสารอาหารอื่นที่ข้าวไม่มีอีกด้วย ฉะนั้น โอกาสที่ร่างกายจะได้วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อย่างครบถ้วนย่อมสูงขึ้น หากคนไทยหลายสิบล้านคนพร้อมใจกันปรับเปลี่ยนอาหารตามแนวที่เสนอมา ผมเชื่อว่าชาวนาจะลดการทำนาลงและปลูกพืชอาหารอื่นเพิ่มขึ้นมาแทน นอกจากจะลดการใช้น้ำแล้ว การปลูกพืชหลากหลายอย่างดังกล่าวจะส่งผลให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับในประเทศอื่นพร้อมกับสร้างความสมดุลมากขึ้นให้ระบบนิเวศอีกด้วย
หากทั้งภาครัฐและประชาชนเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมเสียใหม่ พื้นที่เกษตรกรรมของเมืองไทยส่วนใหญ่จะกลายเป็นเสมือนถาดขนมครก คนไทยและเกษตรกรไทยจะไม่ขาดแคลนน้ำพร้อมกับจะมีความมั่นคงยิ่งขึ้น จริงอยู่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่จะไม่มีเงินและทรัพย์สินมากมายจนทำให้เป็นเศรษฐี แต่พวกเขาจะมีความสุขมากกว่า ทั้งนี้เพราะ “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง”