ASTVผู้จัดการรายวัน - อดีตเลขาธิการอาเซียน แนะไทยต้องชี้แจงปมอุยกูร์ ต่อสังคมโลกให้เข้าใจ ชี้ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะทุกเรื่องเกี่ยวเนื่องกันหมด เชื่อเลขา สมช.ไปจีนเป็นเรื่องดี แต่ต้องระวังกระทบกิจการภายในของจีน “ไก่อู” แจงส่งอุยกูร์กลับจีน ทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ ขู่หากปล่อยปะละเลย ไทยจะเป็นแหล่งซ่องสุมก่อการร้าย
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวถึงกรณีประเทศไทย ส่งตัวชาวอุยกูร์ ไปยังประเทศจีน ว่า เรื่องนี้ประเทศไทยต้องชี้แจงให้สังคมโลกเข้าใจถึงสิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว และเห็นด้วยที่รัฐบาลให้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เข้าไปดูการปฏิบัติของจีน ที่จะดำเนินการกับชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยจะต้องนำผลการปฏิบัตินั้น มาชี้แจงให้สังคมโลกเข้าใจต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องระวังว่า การดำเนินการดังกล่าว จะไปกระทบต่อกิจการภายในของจีนด้วย
อย่างไรก็ตาม มองว่ากระแสโลกให้ความสำคัญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ซึ่งไทยจะต้องให้ความกระจ่าง และตอบสังคมโลกให้ได้
เมื่อถามถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอน อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า ได้ติดตามการพูดคุยสันติสุขจากทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเห็นว่าได้หยุดชะงักไป แต่เชื่อว่าทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้เห็นต่าง เตรียมที่จะพูดคุยกันอยู่แล้ว เพราะสังคมโลกต่างจับตามองอยู่ว่า จะมีการพูดคุย หาทางออกร่วมกันอย่างไร ทั้งนี้เชื่อว่า การพูดคุยเท่านั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งจะสร้างความเข้าใจในพื้นที่ให้เกิดความสงบสุขได้
พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น และอดีตแม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงกรณีชาวอุยกูร์ ว่า รัฐบาลต้องชี้แจงให้คนไทยได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงว่าชาวอุยกูร์นั้น มีที่ไปที่มาอย่างไร ปัญหาอยู่ตรงไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นั้นสามารถหาได้ตามอินเทอร์เนตอยู่แล้ว ซึ่งตนเห็นว่าเป็นการจัดการตามหลักการจัดการผู้ร้ายข้ามแดน และเชื่อว่าต่อให้ทั่วโลกไม่ยอมติดต่อกับไทย แต่หากได้คบหากับจีนและอินเดียที่มีพลังทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าประเทศไทยยังขับเคลื่อนต่อไปได้
วันนี้(14ก.ค.)ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า สำหรับกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การส่งตัวชาวอุยกูร์ส่วนหนึ่งกลับไปยังประเทศจีนนั้น ที่ประชุมไม่ได้มีการหารือถึงประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช) ไม่ต้องการให้มีการขยายผลในเรื่องนี้ เพราะถือว่ารัฐบาลได้ทำตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างถูกต้องแล้ว ทุกอย่างเป็นไปตามกติกาสากล เพราะไม่ทำอย่างนั้นกฎหมายก็จะถูกละเลย และกลับกลายเป็นว่า ประเทศใดก็ตามที่มีเหตุร้ายขึ้น แล้วมีคนหลบหนีเข้ามายังไทย คนเหล่านั้นก็จะรู้สึกปลอดภัย เพราะเชื่อว่าจะไม่ถูกส่งตัวกลับไปดำเนินคดี จากนั้นไทยเองก็จะกลายเป็นแหล่งซ่อมสุมของผู้ก่อเหตุร้าย ดังนั้นวิธีการจัดการของรัฐบาลถือเป็นทางออกของปัญหา
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวถึงกรณีประเทศไทย ส่งตัวชาวอุยกูร์ ไปยังประเทศจีน ว่า เรื่องนี้ประเทศไทยต้องชี้แจงให้สังคมโลกเข้าใจถึงสิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว และเห็นด้วยที่รัฐบาลให้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เข้าไปดูการปฏิบัติของจีน ที่จะดำเนินการกับชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยจะต้องนำผลการปฏิบัตินั้น มาชี้แจงให้สังคมโลกเข้าใจต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องระวังว่า การดำเนินการดังกล่าว จะไปกระทบต่อกิจการภายในของจีนด้วย
อย่างไรก็ตาม มองว่ากระแสโลกให้ความสำคัญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ซึ่งไทยจะต้องให้ความกระจ่าง และตอบสังคมโลกให้ได้
เมื่อถามถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอน อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า ได้ติดตามการพูดคุยสันติสุขจากทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเห็นว่าได้หยุดชะงักไป แต่เชื่อว่าทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้เห็นต่าง เตรียมที่จะพูดคุยกันอยู่แล้ว เพราะสังคมโลกต่างจับตามองอยู่ว่า จะมีการพูดคุย หาทางออกร่วมกันอย่างไร ทั้งนี้เชื่อว่า การพูดคุยเท่านั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งจะสร้างความเข้าใจในพื้นที่ให้เกิดความสงบสุขได้
พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น และอดีตแม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงกรณีชาวอุยกูร์ ว่า รัฐบาลต้องชี้แจงให้คนไทยได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงว่าชาวอุยกูร์นั้น มีที่ไปที่มาอย่างไร ปัญหาอยู่ตรงไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นั้นสามารถหาได้ตามอินเทอร์เนตอยู่แล้ว ซึ่งตนเห็นว่าเป็นการจัดการตามหลักการจัดการผู้ร้ายข้ามแดน และเชื่อว่าต่อให้ทั่วโลกไม่ยอมติดต่อกับไทย แต่หากได้คบหากับจีนและอินเดียที่มีพลังทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าประเทศไทยยังขับเคลื่อนต่อไปได้
วันนี้(14ก.ค.)ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า สำหรับกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การส่งตัวชาวอุยกูร์ส่วนหนึ่งกลับไปยังประเทศจีนนั้น ที่ประชุมไม่ได้มีการหารือถึงประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช) ไม่ต้องการให้มีการขยายผลในเรื่องนี้ เพราะถือว่ารัฐบาลได้ทำตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างถูกต้องแล้ว ทุกอย่างเป็นไปตามกติกาสากล เพราะไม่ทำอย่างนั้นกฎหมายก็จะถูกละเลย และกลับกลายเป็นว่า ประเทศใดก็ตามที่มีเหตุร้ายขึ้น แล้วมีคนหลบหนีเข้ามายังไทย คนเหล่านั้นก็จะรู้สึกปลอดภัย เพราะเชื่อว่าจะไม่ถูกส่งตัวกลับไปดำเนินคดี จากนั้นไทยเองก็จะกลายเป็นแหล่งซ่อมสุมของผู้ก่อเหตุร้าย ดังนั้นวิธีการจัดการของรัฐบาลถือเป็นทางออกของปัญหา