ASTVผู้จัดการรายวัน- เจาะลึกตลาด CLMV ด่านแรกสู่AEC พบเป็น 4 ประเทศเติบโตเร็วสุดของโลกใน 10 ปีจากนี้ หัวใจสำคัญอยู่ที่อินไซด์ของแต่ละประเทศ โอกาสทองFMCG ประเทศที่ไทยเข้าทำตลาดง่ายสุด ลาว เขมร พม่า และเวียดนาม ตามลำดับ พบมูลค่าเม็ดเงินโฆษณารวมใน4ประเทศ อยู่ที่ 44,000 ล้านบาท หรือกว่า 40% ของโฆษณารวมในไทย
นายสันติพงศ์ พิมลแสงสุริยา ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ริเวอร์ออคิด จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านการสื่อสารการตลาดที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในกลุ่มประเทศ CLMV โดยพบว่าทั้ง4ประเทศนี้ ถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจของประเทศเติบโตเร็วสุดจากทั้งหมด 15 ประเทศทั่วโลกในช่วง 10 ปีหลังจากนี้
ที่สำคัญไทยเป็นศูนย์กลางของประเทศเหล่านี้ จึงมีโอกาสและความได้เปรียบในการเข้าไปทำตลาด และมองเป็นด่านแรกของการเข้าสู่ตลาดเออีซีต่อไป ซึ่งการเข้าไปทำตลาดใน4ประเทศนี้ จะต้องมีความเข้าใจแบบอินไซด์ในตัวผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันกับไทยหลายด้าน
ทั้งนี้พบว่าในช่วง10ปีหลังจากนี้ จากข้อมูลสำรวจของริเวอร์ออคิด เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจหลายด้านในCLMV เช่น 1.จำนวนประชากรจาก 4 ประเทศ จะเติบโตขึ้นอีก 33% จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 165 ล้านคน มากกว่าประเทศไทย 2.5 เท่า ส่วนในแง่ของอายุประชากร โดยเฉลี่ย ไทยอยู่ที่ 33.7 ปี ลาวอยู่ที่ 19.5 ปี เขมร 22.5 ปี พม่า 29.9 ปี และเวียดนาม 27.4 ปี
2.ภาครวมทางจีดีพีเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นมากกว่า 100% จากปัจจุบันมีมูลค่า 276,000 ล้านเหรียญยูเอส ขณะที่ไทยอยู่ที่ 373,000 ล้านเหรียญยูเอส 3.กลุ่มชนชั้นกลางจะเติบโตขึ้น 300% 4.ภาคการท่องเที่ยวจะเติบโตขึ้น สายการบินจะเติบโตขึ้น 400% จากจำนวนเที่ยวบินที่ต่ำมากในปัจจุบัน 5.ฮานอย เป็นเมืองที่มีจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก 6.อินเทอร์เน็ตจะเป็นสื่อที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด และ 7.CLMV เป็น4ใน 15 ประเทศของโลกที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุด
จากข้อมูลที่กล่าวมา พบว่า 4 ประเทศที่ไทยจะเข้าไปทำตลาดง่ายสุด คือ ลาว เขมร พม่า และเวียดนาม ตามลำดับ ซึ่งแต่ละประเทศมีโอกาสและสิ่งที่ควรระวังแตกต่างกัน เริ่มจาก 1. ลาว เฉลี่ยประชากรเด็กมีสูงสุด ส่งผลให้กลุ่มแรงงานมีอายุที่ยาวนานขึ้น เข้าสู่กลุ่มประเทศสูงวัยช้าว่าประเทศอื่นๆ อัตราการเติบโตทางจีดีพีของประเทศอยูที่ 7.2% มากกว่าไทย 10 เท่า เป็นประเทศที่ไทยเข้าทำตลาดง่ายสุด
เนื่องจากคนลาวชอบดูช่องโทรทัศน์รายการไทย, ภาครัฐเข้มงวดเรื่องโฆษณา แต่เชื่อมั่นในแบรนด์ไทย สิ่งที่ควรระวัง คือ ไม่ควรมองว่าลาวคือหนึ่งจังหวัดของไทย การลงทุนต้องมีความชัดเจนและมีแผนระยะยาวไม่ควรทำแบบระยะสั้น2. เขมร คนเขมรติดอยู่กับปัจจุบันมากกว่าอดีต ให้ความสำคัญกับนครวัด, นครธม และสถาบันพระมหากษัตริย์ เชื่อใจคนยาก ไม่ชอบการรอคอย สื่อทีวีเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือสูงสุด เชื่อมั่นในแบรนด์ไทย ไม่มีระบบเซนเซอร์โฆษณา เปิดรับนักลงทุนแบบ 100% สิ่งที่ควรระวัง เช่น เนื้อหาอ่อนไหว ไม่ควรกล่าวอ้างเกินจริง และมีเงื่อนไขเวลานานเกินไป
3.พม่า หลังจากเปิดประเทศที่การลงทุนทะลักเข้าไปมากมาย ส่งผลให้เกิดดีมานด์มากกว่าซัพพลาย อำนาจต่อรองเป็นของผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย ไทยต้องมีเงินทุนและกระแสเงินสดสูง เพราะไม่รับเครดิตไม่มีระบบธนาคาร และกฏหมายเปลี่ยนแปลงรายสัปดาห์ และมีกฏหมายเฉพาะใน 14รัฐทุ่มด้วยกฎหมายกลางอีกทีหนึ่งด้วย สินค้าไทยได้รับการตอบรับและควรวางโพซิชั่นนิ่งเป็นแบรนด์พรีเมี่ยม เพราะต้นทุนสูงกว่า 10 เท่า สิ่งที่ควรระวัง คือ ความเข้าใจในตัวตนของพม่าที่แตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ การสร้างแบรนด์ต้องวางกลยุทธ์และลงทุนล่วงหน้าแบบระยะยาว
4. เวียดนาม พฤติกรรมระหว่างเวียดนามเหนือและใต้แตกต่างกัน เชื่อมั่นชาตินิยม กระแส V-POP มีบทบาทสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น มองสินค้าไทยไม่ได้มีคุณภาพไปมากกว่าของเวียดนาม ความซับซ้อนของสื่อมีสูง มีฟรีทีวีที่เป็นทีวีดิจิตอลกว่า 75 ช่อง และสื่อดิจิตอลมาแรง แต่ภาครัฐมีระบบเซนเซอร์ควบคุมสื่ออย่างรัดกุม สิ่งควรระวัง คือ เวียดนามและไทยวัฒนธรรมแตกต่างกันมาก การลงทุนอาจจะต้องมีสูงและรายรับอาจจะน้อยเพราะการแข่งขันและความไม่เชื่อมั่นในแบรนด์ไทย
อย่างไรก็ตามในแง่ของเม็ดเงินโฆษณารวม ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณารวมของไทยมีมูลค่า 113,000 ล้านบาท ส่วนใน4ประเทศ เชื่อว่าน่าจะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 44,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 40% ของไทย โดยแบ่งออกได้เป็น 1.ลาว ตลาดรวมโฆษณามูลค่า 1,000 ล้านบาท โตปีละ 5-7% สื่อหลัก คือ เอาท์ออฟโฮม 40% ส่วนทีวีประมาณ 30-40% อัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์อยู่ที่ 200 ยูเอส/30 วินาที 2.เขมร ตลาดรวมโฆษณามูลค่า3,000 ล้านบาท โตปีละ 5-7% สื่อหลักคือ ทีวี 70% และอัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์อยู่ที่ 250ยูเอส/30 วินาที
3. พม่า ตลาดรวมโฆษณามูลค่า 10,000 ล้านบาท โต100% สื่อหลัก คือทีวี 50% อัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์สำหรับสินค้าอิมพอร์ท 1,500 ยูเอส/ 30 วินาที และสินค้าที่มีการลงทุนผลิตในประเทศ 200 ยูเอส/ 30 วินาที และ4.เวียดนาม ตลาดรวมโฆษณามูลค่า 30,000 ล้านบาท โต 10% สื่อหลัก คือ ทีวี 50% อัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์ อยู่ที่ 3,000 ยูเอส/30 วินาที
จากข้อมูลที่เกิดขึ้น มองว่าเป็นโอกาสที่สำคัญของสินค้าและบริการของไทยในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค อย่าง FMCG ซื้อมาขายไป จะมีโอกาสมากสุด รองลงมา คือ กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและมือถือ รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี อย่าง ร้านอาหาร และเชนร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะเริ่มเข้ามาทำตลาดในบางประเทศก่อนแล้วจึงขยายสู่ใน4ประเทศมากขึ้น
นายสันติพงษ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันกลุ่มบริษัทเอเจนซี่ที่เข้ามาลงทุนในCLMV ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ อย่าง WPP เป็นต้น ส่วนของไทย พอจะเห็นบ้างแต่น้อยมาก นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทโลคอลของแต่ละประเทศ ที่สำคัญยังไม่มีรายใดให้บริการแบบครบวงจรเช่นริเวอร์ออคิด ที่มีบริษัทในเครือกว่า 10 บริษัท และมีเฮดออฟฟิศทั้ง4ประเทศ ดังนั้นแผนการดำเนินงานของริเวอร์ออคิดจึงมีทั้งช่วยประสานงานกับบริษัทเหล่านี้ และแข่งขันไปพร้อมๆกัน
ขณะที่รายได้ในปีนี้เชื่อว่าจะทำได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25% มาจาก พม่า 30% เวียดนาม30% กัมพูชา 30% และลาว 10% ซึ่งรูปแบบการให้บริการหลักจะมาจาก สื่ออะโบพ เดอะ ไลน์ 30% บิโลว์ เดอะ ไลน์ 30% อื่นๆ เช่น วิจัยตลาด, ประชาสัมพันธ์ ผลิตสื่อ อีก 40% โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ 70% ไทย 15% และโลคอล 15% ทั้งนี้มองว่าต่อปีควรมีอัตราการเติบโตของรายได้ประมาณ 15-20% หรือเป็น 2เท่าของGDPรวมใน CLMV ที่โต 7-8% ต่อปี
นายสันติพงศ์ พิมลแสงสุริยา ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ริเวอร์ออคิด จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านการสื่อสารการตลาดที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในกลุ่มประเทศ CLMV โดยพบว่าทั้ง4ประเทศนี้ ถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจของประเทศเติบโตเร็วสุดจากทั้งหมด 15 ประเทศทั่วโลกในช่วง 10 ปีหลังจากนี้
ที่สำคัญไทยเป็นศูนย์กลางของประเทศเหล่านี้ จึงมีโอกาสและความได้เปรียบในการเข้าไปทำตลาด และมองเป็นด่านแรกของการเข้าสู่ตลาดเออีซีต่อไป ซึ่งการเข้าไปทำตลาดใน4ประเทศนี้ จะต้องมีความเข้าใจแบบอินไซด์ในตัวผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันกับไทยหลายด้าน
ทั้งนี้พบว่าในช่วง10ปีหลังจากนี้ จากข้อมูลสำรวจของริเวอร์ออคิด เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจหลายด้านในCLMV เช่น 1.จำนวนประชากรจาก 4 ประเทศ จะเติบโตขึ้นอีก 33% จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 165 ล้านคน มากกว่าประเทศไทย 2.5 เท่า ส่วนในแง่ของอายุประชากร โดยเฉลี่ย ไทยอยู่ที่ 33.7 ปี ลาวอยู่ที่ 19.5 ปี เขมร 22.5 ปี พม่า 29.9 ปี และเวียดนาม 27.4 ปี
2.ภาครวมทางจีดีพีเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นมากกว่า 100% จากปัจจุบันมีมูลค่า 276,000 ล้านเหรียญยูเอส ขณะที่ไทยอยู่ที่ 373,000 ล้านเหรียญยูเอส 3.กลุ่มชนชั้นกลางจะเติบโตขึ้น 300% 4.ภาคการท่องเที่ยวจะเติบโตขึ้น สายการบินจะเติบโตขึ้น 400% จากจำนวนเที่ยวบินที่ต่ำมากในปัจจุบัน 5.ฮานอย เป็นเมืองที่มีจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก 6.อินเทอร์เน็ตจะเป็นสื่อที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด และ 7.CLMV เป็น4ใน 15 ประเทศของโลกที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุด
จากข้อมูลที่กล่าวมา พบว่า 4 ประเทศที่ไทยจะเข้าไปทำตลาดง่ายสุด คือ ลาว เขมร พม่า และเวียดนาม ตามลำดับ ซึ่งแต่ละประเทศมีโอกาสและสิ่งที่ควรระวังแตกต่างกัน เริ่มจาก 1. ลาว เฉลี่ยประชากรเด็กมีสูงสุด ส่งผลให้กลุ่มแรงงานมีอายุที่ยาวนานขึ้น เข้าสู่กลุ่มประเทศสูงวัยช้าว่าประเทศอื่นๆ อัตราการเติบโตทางจีดีพีของประเทศอยูที่ 7.2% มากกว่าไทย 10 เท่า เป็นประเทศที่ไทยเข้าทำตลาดง่ายสุด
เนื่องจากคนลาวชอบดูช่องโทรทัศน์รายการไทย, ภาครัฐเข้มงวดเรื่องโฆษณา แต่เชื่อมั่นในแบรนด์ไทย สิ่งที่ควรระวัง คือ ไม่ควรมองว่าลาวคือหนึ่งจังหวัดของไทย การลงทุนต้องมีความชัดเจนและมีแผนระยะยาวไม่ควรทำแบบระยะสั้น2. เขมร คนเขมรติดอยู่กับปัจจุบันมากกว่าอดีต ให้ความสำคัญกับนครวัด, นครธม และสถาบันพระมหากษัตริย์ เชื่อใจคนยาก ไม่ชอบการรอคอย สื่อทีวีเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือสูงสุด เชื่อมั่นในแบรนด์ไทย ไม่มีระบบเซนเซอร์โฆษณา เปิดรับนักลงทุนแบบ 100% สิ่งที่ควรระวัง เช่น เนื้อหาอ่อนไหว ไม่ควรกล่าวอ้างเกินจริง และมีเงื่อนไขเวลานานเกินไป
3.พม่า หลังจากเปิดประเทศที่การลงทุนทะลักเข้าไปมากมาย ส่งผลให้เกิดดีมานด์มากกว่าซัพพลาย อำนาจต่อรองเป็นของผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย ไทยต้องมีเงินทุนและกระแสเงินสดสูง เพราะไม่รับเครดิตไม่มีระบบธนาคาร และกฏหมายเปลี่ยนแปลงรายสัปดาห์ และมีกฏหมายเฉพาะใน 14รัฐทุ่มด้วยกฎหมายกลางอีกทีหนึ่งด้วย สินค้าไทยได้รับการตอบรับและควรวางโพซิชั่นนิ่งเป็นแบรนด์พรีเมี่ยม เพราะต้นทุนสูงกว่า 10 เท่า สิ่งที่ควรระวัง คือ ความเข้าใจในตัวตนของพม่าที่แตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ การสร้างแบรนด์ต้องวางกลยุทธ์และลงทุนล่วงหน้าแบบระยะยาว
4. เวียดนาม พฤติกรรมระหว่างเวียดนามเหนือและใต้แตกต่างกัน เชื่อมั่นชาตินิยม กระแส V-POP มีบทบาทสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น มองสินค้าไทยไม่ได้มีคุณภาพไปมากกว่าของเวียดนาม ความซับซ้อนของสื่อมีสูง มีฟรีทีวีที่เป็นทีวีดิจิตอลกว่า 75 ช่อง และสื่อดิจิตอลมาแรง แต่ภาครัฐมีระบบเซนเซอร์ควบคุมสื่ออย่างรัดกุม สิ่งควรระวัง คือ เวียดนามและไทยวัฒนธรรมแตกต่างกันมาก การลงทุนอาจจะต้องมีสูงและรายรับอาจจะน้อยเพราะการแข่งขันและความไม่เชื่อมั่นในแบรนด์ไทย
อย่างไรก็ตามในแง่ของเม็ดเงินโฆษณารวม ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณารวมของไทยมีมูลค่า 113,000 ล้านบาท ส่วนใน4ประเทศ เชื่อว่าน่าจะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 44,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 40% ของไทย โดยแบ่งออกได้เป็น 1.ลาว ตลาดรวมโฆษณามูลค่า 1,000 ล้านบาท โตปีละ 5-7% สื่อหลัก คือ เอาท์ออฟโฮม 40% ส่วนทีวีประมาณ 30-40% อัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์อยู่ที่ 200 ยูเอส/30 วินาที 2.เขมร ตลาดรวมโฆษณามูลค่า3,000 ล้านบาท โตปีละ 5-7% สื่อหลักคือ ทีวี 70% และอัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์อยู่ที่ 250ยูเอส/30 วินาที
3. พม่า ตลาดรวมโฆษณามูลค่า 10,000 ล้านบาท โต100% สื่อหลัก คือทีวี 50% อัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์สำหรับสินค้าอิมพอร์ท 1,500 ยูเอส/ 30 วินาที และสินค้าที่มีการลงทุนผลิตในประเทศ 200 ยูเอส/ 30 วินาที และ4.เวียดนาม ตลาดรวมโฆษณามูลค่า 30,000 ล้านบาท โต 10% สื่อหลัก คือ ทีวี 50% อัตราโฆษณาในสื่อทีวีไพร์มไทม์ อยู่ที่ 3,000 ยูเอส/30 วินาที
จากข้อมูลที่เกิดขึ้น มองว่าเป็นโอกาสที่สำคัญของสินค้าและบริการของไทยในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค อย่าง FMCG ซื้อมาขายไป จะมีโอกาสมากสุด รองลงมา คือ กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและมือถือ รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี อย่าง ร้านอาหาร และเชนร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะเริ่มเข้ามาทำตลาดในบางประเทศก่อนแล้วจึงขยายสู่ใน4ประเทศมากขึ้น
นายสันติพงษ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันกลุ่มบริษัทเอเจนซี่ที่เข้ามาลงทุนในCLMV ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ อย่าง WPP เป็นต้น ส่วนของไทย พอจะเห็นบ้างแต่น้อยมาก นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทโลคอลของแต่ละประเทศ ที่สำคัญยังไม่มีรายใดให้บริการแบบครบวงจรเช่นริเวอร์ออคิด ที่มีบริษัทในเครือกว่า 10 บริษัท และมีเฮดออฟฟิศทั้ง4ประเทศ ดังนั้นแผนการดำเนินงานของริเวอร์ออคิดจึงมีทั้งช่วยประสานงานกับบริษัทเหล่านี้ และแข่งขันไปพร้อมๆกัน
ขณะที่รายได้ในปีนี้เชื่อว่าจะทำได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25% มาจาก พม่า 30% เวียดนาม30% กัมพูชา 30% และลาว 10% ซึ่งรูปแบบการให้บริการหลักจะมาจาก สื่ออะโบพ เดอะ ไลน์ 30% บิโลว์ เดอะ ไลน์ 30% อื่นๆ เช่น วิจัยตลาด, ประชาสัมพันธ์ ผลิตสื่อ อีก 40% โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ 70% ไทย 15% และโลคอล 15% ทั้งนี้มองว่าต่อปีควรมีอัตราการเติบโตของรายได้ประมาณ 15-20% หรือเป็น 2เท่าของGDPรวมใน CLMV ที่โต 7-8% ต่อปี