ASTVผู้จัดการรายวัน-ม.หอการค้าไทย ประเมินส่งออกครึ่งปีหลัง ไม่มีโอกาสพลิกเป็นบวก ทำทั้งปีติดลบสูงถึง 3.8% เป็นการลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 6 ปี เผยเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หนี้กรีซ จีนชะลอนำเข้า สินค้าเกษตรตกต่ำ เป็นตัวฉุด โดยภัยแล้งเป็นปัจจัยใหม่ซ้ำเติม ระบุส่วนแบ่งตลาดส่งออกไทยยังหดลง เมื่อเทียบกับอาเซียนใหม่
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกของไทยในครึ่งหลังปี 2558 ว่า การส่งออกครึ่งปีหลัง คาดว่าจะทำได้มูลค่า 106,561- 115,658 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวติดลบ 7.5 ถึงบวกได้ 0.4% โดยมีค่ากลาง คือ ติดลบ 3.6% มูลค่า 111,098 ล้านเหรียญสหรัฐส่งผลให้ทั้งปีการส่งออกมีมูลค่า 214,358 - 223,456 ล้านเหรียญสหรัฐ จะขยายตัวติดลบ 1.8% ถึงติดลบ 5.8% หลังจากที่ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค.) ส่งออกแล้วมูลค่า 88,694 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 4.2%
ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ประเมินว่าการส่งออกทั้งปีจะติดลบที่ 3.8% โดยมีมูลค่าส่งออก 218,896 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 6 ปี
“หากการส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ 1% อีก 7 เดือนที่เหลือจากนี้ จะต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,158 ล้านเหรียญสหรัฐ หากจะให้ได้ 0% ต้องส่งออก 1.98 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสถิติย้อนหลังมีโอกาสเป็นไปได้แค่ 30% เท่านั้น แต่ถ้าคาดการณ์ส่งออกติดลบที่ 3.8% อีก 7 เดือน จะต้องส่งออกมูลค่า 18,516 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ"นายอัทธ์กล่าว
นายอัทธ์กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้การส่งออกติดลบสูง เพราะเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัว จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ปัญหาหนี้กรีซ ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไปตลาดยุโรป ปัญหาจากกรณีที่จีนมีการหันมาใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้น จึงส่งผลให้จีนชะลอการนำเข้า ปัญหาสินค้าเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ และปัญหาภัยแล้งที่กำลังเป็นปัญหาใหม่ต่อการส่งออก
ขณะที่ปัจจัยบวก มาจากการอ่อนค่าของเงินบาท แต่อาจจะไม่ส่งผลบวกมากนัก และยังมีปัจจัยบวกจากการที่สหรัฐฯ ต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) และราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง
สำหรับตลาดส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง มีหลายตลาดที่จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัว 1.1% ฮ่องกง 3.3% อเมริกาใต้ 2.8% ขณะที่หลายตลาดยังติดลบต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่น ติดลบ 2.4% สหภาพยุโรปลบ 2.2% จีนลบ 7.1%
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในด้านส่วนแบ่งตลาด พบว่า ในปี 2557 ที่ผ่านมา อาเซียนใหม่ มีส่วนแบ่งตลาด 1.12% เพิ่มขึ้นจาก 0.97% ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่ง 1.33% ลดลงจาก 1.36% โดยมูลค่าการส่งออกของอาเซียนใหม่ที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ เวียดนาม ปี 2557 มีมูลค่าส่งออกทั่วโลก 1.53 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่มีมูลค่า 1.8หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไทยมูลค่า 2.27แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 9.6หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ชี้ให้เห็นว่าไทยมีแนวโน้มเสียตลาดให้อาเซียนใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เน้นแรงงานเป็นหลัก
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกของไทยในครึ่งหลังปี 2558 ว่า การส่งออกครึ่งปีหลัง คาดว่าจะทำได้มูลค่า 106,561- 115,658 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวติดลบ 7.5 ถึงบวกได้ 0.4% โดยมีค่ากลาง คือ ติดลบ 3.6% มูลค่า 111,098 ล้านเหรียญสหรัฐส่งผลให้ทั้งปีการส่งออกมีมูลค่า 214,358 - 223,456 ล้านเหรียญสหรัฐ จะขยายตัวติดลบ 1.8% ถึงติดลบ 5.8% หลังจากที่ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค.) ส่งออกแล้วมูลค่า 88,694 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 4.2%
ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ประเมินว่าการส่งออกทั้งปีจะติดลบที่ 3.8% โดยมีมูลค่าส่งออก 218,896 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 6 ปี
“หากการส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ 1% อีก 7 เดือนที่เหลือจากนี้ จะต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,158 ล้านเหรียญสหรัฐ หากจะให้ได้ 0% ต้องส่งออก 1.98 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสถิติย้อนหลังมีโอกาสเป็นไปได้แค่ 30% เท่านั้น แต่ถ้าคาดการณ์ส่งออกติดลบที่ 3.8% อีก 7 เดือน จะต้องส่งออกมูลค่า 18,516 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ"นายอัทธ์กล่าว
นายอัทธ์กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้การส่งออกติดลบสูง เพราะเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัว จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ปัญหาหนี้กรีซ ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไปตลาดยุโรป ปัญหาจากกรณีที่จีนมีการหันมาใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้น จึงส่งผลให้จีนชะลอการนำเข้า ปัญหาสินค้าเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ และปัญหาภัยแล้งที่กำลังเป็นปัญหาใหม่ต่อการส่งออก
ขณะที่ปัจจัยบวก มาจากการอ่อนค่าของเงินบาท แต่อาจจะไม่ส่งผลบวกมากนัก และยังมีปัจจัยบวกจากการที่สหรัฐฯ ต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) และราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง
สำหรับตลาดส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง มีหลายตลาดที่จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัว 1.1% ฮ่องกง 3.3% อเมริกาใต้ 2.8% ขณะที่หลายตลาดยังติดลบต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่น ติดลบ 2.4% สหภาพยุโรปลบ 2.2% จีนลบ 7.1%
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในด้านส่วนแบ่งตลาด พบว่า ในปี 2557 ที่ผ่านมา อาเซียนใหม่ มีส่วนแบ่งตลาด 1.12% เพิ่มขึ้นจาก 0.97% ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่ง 1.33% ลดลงจาก 1.36% โดยมูลค่าการส่งออกของอาเซียนใหม่ที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ เวียดนาม ปี 2557 มีมูลค่าส่งออกทั่วโลก 1.53 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่มีมูลค่า 1.8หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไทยมูลค่า 2.27แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 9.6หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ชี้ให้เห็นว่าไทยมีแนวโน้มเสียตลาดให้อาเซียนใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เน้นแรงงานเป็นหลัก