ศูนย์ข่าวภูมิภาค - เผยระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลลดฮวบ เหลือน้ำใช้งานได้อีกไม่ถึง 2% ใกล้แตะวิกฤตขั้น 3 เป็นน้ำเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานเท่านั้น ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ ยังระบายได้อีก 5.41% "อธิบดีกรมฝนหลวง" สั่งยุติหน่วยฝนหลวงหัวหินชั่วคราวปรับแผนนำเครื่องบินคาราวแวน 2 ลำไปตั้งหน่วยฝนหลวงชั่วคราวที่สกลนครเพื่อปฏิบัติการทำฝนหลวงให้พื้นที่ภาคอีสานที่ประสบภัยแล้งหนัก ขณะที่อุตุฯเดือนเหนือ อีสาน ตะวันออก และใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก
วานนี้ (9 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก ยังคงอยู่ในขั้นวิกฤตต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมายังไม่มีน้ำใหม่ไหลเข้า ทำให้ขณะนี้เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 3,987 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 29.62% มีน้ำที่สามารถระบายได้เพียง 187 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 1.94% ทางเขื่อนได้ระบายน้ำวันละ 8 ล้าน ลบ.ม.มีพื้นที่ว่างรับน้ำใหม่ 9,474 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 70.38% และหากปริมาณน้ำใช้งานลดต่ำกว่า 176 ล้าน ลบ.ม.ก็จะทำให้สถานการณ์น้ำในเขื่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ขั้นที่ 3 คือเป็นน้ำเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น
นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล เปิดเผยว่า เมื่อถึงขั้นวิกฤตระดับที่ 3 หรือปริมาณน้ำใช้งานที่จะสามารถระบายได้ลดต่ำลงกว่า 176 ล้าน ลบ.ม.หมายถึงเป็นน้ำเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นน้ำสำรองเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าหรือเดินเครื่องไฟฟ้าในยามที่ระบบไฟฟ้าหลักเกิดปัญหา โดยข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังน้ำคือ สามารถเดินเครื่องและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ภายในไม่กี่นาที ต่างจากโรงไฟฟ้าแบบอื่นที่จะต้องเดินเครื่องกว่าจะพร้อมผลิตไฟฟ้าใช้เวลาถึง 8-10 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามหลักการของภาวะวิกฤตน้ำใช้งานของเขื่อนภูมิพลจะมีปริมาณน้ำต่ำกว่า 176 ล้าน ลบ.ม.แต่เนื่องจากปัญหาความต้องการน้ำใช้เพื่ออุปโภค-บริโภคของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญอันดับหนึ่ง ทางเขื่อนภูมิพลจะยังคงเดินหน้าทำการระบายน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค จนกว่าจะไม่สามารถระบายน้ำได้อีกต่อไป
ในส่วนของความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้มีโรงงานผลิตไฟฟ้าอื่นๆ ที่พร้อมผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบทดแทน ซึ่งได้มีการประชุมวางแผนไว้อย่างพร้อมแล้ว
ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค.มีน้ำใหม่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ 6.99 ล้าน ลบ.ม. คงเหลือน้ำกักเก็บทั้งหมดเพียง 3,210 ล้าน ลบ.ม. หรือ 33.75% สามารถระบายได้เพียง 360 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 5.41% วันนี้ (9 ก.ค.) เขื่อนสิริกิติ์ยังคงระบายน้ำ 17 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ว่างรับน้ำใหม่ 6,299 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66.25%
**เขื่อนลำปะทาววิกฤตไม่มีน้ำทำประปา
ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งในเขตตัวเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใน จ.ชัยภูมิ วิกฤตหนัก หลังเขื่อนลำปะทาวเขื่อนหลักในเขตรอยต่อ อ.เมืองชัยภูมิ และ อ.แก้งคร้อ มีความจุกว่า 60 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำดิบแห่งสุดท้ายเพื่อการผลิตประปาแห้งขอดไม่มีน้ำเหลือพอในการผลิตประปา
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ลงพื้นที่สำรวจหาแหล่งน้ำดิบแหล่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่ บริเวณบ้านเสี้ยวใหญ่ ต.บ้านเล่า อ.เมืองชัยภูมิ เพื่อเจรจากับกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ว่าขอให้งดการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อทำการเกษตร เพื่อทางการประปาและชลประทาน จ.ชัยภูมิ จะได้นำเครื่องสูบน้ำว่างท่อต่อเข้ามาให้ถึงจุดสถานีสูบน้ำดิบแรงต่ำบ้านเสี้ยวใหญ่ แม่ข่ายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชัยภูมิ จะได้พอมีน้ำดิบมาเข้าระบบช่วยผลิตประปา ไม่ขาดน้ำไปต่อเนื่องจากนี้ได้อีกระยะไปจนถึงสิ้นเดือนนี้ แม้จะมีปริมาณน้ำไม่มาก แต่ทางจังหวัดเตรียมมาตรการรองรับด้วยการออกเป็นประกาศจังหวัดชัยภูมิว่า ตั้งแต่จากนี้ไป จะมีการงดจ่ายน้ำเป็นเวลาให้กับชาวเขต อ.เมืองชัยภูมิ ในช่วงหลังเวลา 22.00 น.- 05.00 น.ของทุกวัน
ทางด้านโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำละคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมาว่า วานนี้มีประมาณน้ำเหลือในอ่าง 73 ล้าน ลบ.ม. แต่น้ำใช้การได้เพียง 53 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุ 314 ล้าน ลบ.ม.โดยได้ส่งน้ำให้การประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สูบน้ำหน้าเขื่อนโดยตรงจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วยเทศบาลนครนครราชสีมา 46,556 ลบ.ม./วัน, เรือนจำคลองไผ่ อ.สีคิ้ว 3,000 ลบ.ม./วัน, เทศบาลตำบลคลองไผ่ อ.สีคิ้ว 1,355 ลบ.ม./วันและปล่อยน้ำจากเขื่อนลงสู่ลำตะคอง 432,000 ลบ.ม./วัน
**เขื่อนอุบลรัตน์วิกฤต เร่งจัดสรรน้ำ
นายจรัส เพ็ญศิริสมบูรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานขอนแก่น เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์ที่เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำเหลือใช้การได้เพียง 5% จากความจุทั้งหมด เนื่องจากปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติ จากปัญหาที่เกิดทางชลประทานขอนแก่น ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางการจัดสรรน้ำในรูปแบบต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม พบว่าขณะนี้ฝนยังตกน้อยอยู่จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงช่วยกันประหยัดน้ำ เพื่อความอยู่รอดของทุกคน
**นำทัพ"ฝนหลวง"ช่วยภัยแล้งอีสาน
วันเดียวกัน นายวราวุธ ขันตินันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เดินทางไปยังท่าอากาศยานหัวหิน ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน พร้อมร่วมประชุมกับนายแทนไทร์ พลหาญ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน พร้อมนักวิทยาศาสตร์ นักบิน และอาสาสมัครฝนหลวง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี เพื่อติดตามข้อมูลการปฏิบัติการฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับทั้ง 3 จังหวัด โดยมุ่งเติมน้ำในเขื่อนใหญ่ปราณบุรี และเขื่อนแก่งกระจาน รวมทั้งพื้นที่ทางการเกษตรของ จ.ราชบุรี
ผลการปฏิบัติพบว่าในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมามีร่องมรสุมพัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดทำให้สภาพอากาศเหมาะสมในการโปรยสารฝนหลวงจนทำให้เกิดฝนตกลงในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด และมีน้ำไหลเข้ามายังเขื่อนปราณบุรีจากเดิม 19% เพิ่มเป็น 22% ในวันนี้ และเขื่อนแก่งกระจาน จากเดิม 36% วันนี้เพิ่มขึ้นเป็น 40% แล้วและในช่วงนี้ทางด้านนี้เริ่มมีฝนธรรมชาติตกมากขึ้นเนื่องจากมีมรสุมพัดผ่านเข้ามา
ทำให้ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีความจำเป็นต้องปรับแผนไปให้การช่วยเหลือจังหวัดที่เกิดภัยแล้งในภาคอีสานเพิ่มเติมขึ้น รวมทั้งพบว่าพื้นที่ทางภาคอีสานช่วงนี้สภาพอากาศเริ่มมีความชื้นที่สามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้ จึงมีความจำเป็นต้องนำเครื่องคาราแวน 2 ลำและนักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งนักบินยุติการปฏิบัติหน้าที่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน เป็นการชั่วคราวเพื่อเดินทางไปเปิดหน่วยฝนหลวงที่ จ.สกลนครในวันนี้ (10 ก.ค.) เพื่อเร่งช่วยเหลือประชาชนและเกษตรที่ประสบภัยแล้งและเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคอีสานต่อไป
"คาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณครึ่งเดือนและจะมีการปรับแผนบินใหม่ทางภาคอีสานโดยจะประสานงานกับกองทัพอากาศเพื่อนำเครื่องมาใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงในสกลนคร และจะนำเครื่องคาราแวน พร้อมเจ้าหน้าที่กลับมาเปิดปฏิบัติการฝนหลวงที่หัวหิน เพื่อเติมน้ำในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.เพชรบุรี และ จ.ราชบุรี ต่อไปจึงขอให้อาสามสมัครฝนหลวงทั้ง 3 จังหวัดไม้ต้องเป็นห่วง" อธิบดีกรมฝนหลวงและการเกษตร กล่าว
**"นายกฯ"สั่งฝนหลวงเกาะติดภาคอีสาน
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักจากร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้มีฝนตกหนักร้อยละ 60-70 % ของพื้นที่ โดยเฉพาะใน จ.อุดรธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู หนองคาย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ทำให้มีน้ำฝนหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร สร้างความยินดีให้กับเกษตรกรและพี่น้องประชาชนจำนวนมาก
ทั้งนี้ แม้จะมีฝนธรรมชาติตกลงมาติดต่อกันหลายวัน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่นายกรัฐมนตรี ยังคงให้หน่วยฝนหลวง เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง หากมีความเหมาะสมในการออกปฏิบัติฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรก็ให้ดำเนินการทันที ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระบุว่าในอีก 2 สัปดาห์จะมีฝนตกชุก เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศของไทย
**อุตุเตือนทุกภาคช่วงนี้ระวังฝนตกหนัก
ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งลักษณะอากาศทั่วไปว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนในระยะนี้และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีกจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2558
อนึ่ง พายุโซนร้อน "หลิ่นฟาไ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเกาะฮ่องกงแล้ว และจะอ่อนกำลังลงในระยะต่อไป ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
***ผอ.จิสด้าเผย 20 ก.ค.เข้าหน้าฝนแน่นอน
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า เปิดเผยภายหลังจากการติดตามสภาพอากาศจากดาวเทียม โดยพบว่า เมื่อคืนวันที่ 8 ก.ค. มีฝนตกหลายพื้นที่ ทั้งจังหวัดในภาคอีสานใต้ รวมถึงพื้นที่ภาคเหนือบางจังหวัด ทำให้มีน้ำเข้าเขื่อนเพิ่ม และฝนจะตกต่อเนื่องในอีก 2-3 วัน หลังจากนั้นจะทิ้งช่วงอีก 10 วัน ทั้งนี้ ฝนจะกลับมาตกอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค.เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนเต็มรูปแบบ เป็นระยะเวลาราว 100 วันเท่านั้น และเป็นไปได้ที่จะมีดีเปรสชั่นเข้าไทยถึง 2 ลูกด้วยกัน คาดว่าในอีกไม่ช้าปัญหาภัยแล้งที่กระทบกับชาวนาจะคลี่คลายได้.
วานนี้ (9 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก ยังคงอยู่ในขั้นวิกฤตต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมายังไม่มีน้ำใหม่ไหลเข้า ทำให้ขณะนี้เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 3,987 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 29.62% มีน้ำที่สามารถระบายได้เพียง 187 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 1.94% ทางเขื่อนได้ระบายน้ำวันละ 8 ล้าน ลบ.ม.มีพื้นที่ว่างรับน้ำใหม่ 9,474 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 70.38% และหากปริมาณน้ำใช้งานลดต่ำกว่า 176 ล้าน ลบ.ม.ก็จะทำให้สถานการณ์น้ำในเขื่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ขั้นที่ 3 คือเป็นน้ำเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น
นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล เปิดเผยว่า เมื่อถึงขั้นวิกฤตระดับที่ 3 หรือปริมาณน้ำใช้งานที่จะสามารถระบายได้ลดต่ำลงกว่า 176 ล้าน ลบ.ม.หมายถึงเป็นน้ำเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นน้ำสำรองเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าหรือเดินเครื่องไฟฟ้าในยามที่ระบบไฟฟ้าหลักเกิดปัญหา โดยข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังน้ำคือ สามารถเดินเครื่องและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ภายในไม่กี่นาที ต่างจากโรงไฟฟ้าแบบอื่นที่จะต้องเดินเครื่องกว่าจะพร้อมผลิตไฟฟ้าใช้เวลาถึง 8-10 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามหลักการของภาวะวิกฤตน้ำใช้งานของเขื่อนภูมิพลจะมีปริมาณน้ำต่ำกว่า 176 ล้าน ลบ.ม.แต่เนื่องจากปัญหาความต้องการน้ำใช้เพื่ออุปโภค-บริโภคของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญอันดับหนึ่ง ทางเขื่อนภูมิพลจะยังคงเดินหน้าทำการระบายน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค จนกว่าจะไม่สามารถระบายน้ำได้อีกต่อไป
ในส่วนของความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้มีโรงงานผลิตไฟฟ้าอื่นๆ ที่พร้อมผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบทดแทน ซึ่งได้มีการประชุมวางแผนไว้อย่างพร้อมแล้ว
ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค.มีน้ำใหม่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ 6.99 ล้าน ลบ.ม. คงเหลือน้ำกักเก็บทั้งหมดเพียง 3,210 ล้าน ลบ.ม. หรือ 33.75% สามารถระบายได้เพียง 360 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 5.41% วันนี้ (9 ก.ค.) เขื่อนสิริกิติ์ยังคงระบายน้ำ 17 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ว่างรับน้ำใหม่ 6,299 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66.25%
**เขื่อนลำปะทาววิกฤตไม่มีน้ำทำประปา
ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งในเขตตัวเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใน จ.ชัยภูมิ วิกฤตหนัก หลังเขื่อนลำปะทาวเขื่อนหลักในเขตรอยต่อ อ.เมืองชัยภูมิ และ อ.แก้งคร้อ มีความจุกว่า 60 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำดิบแห่งสุดท้ายเพื่อการผลิตประปาแห้งขอดไม่มีน้ำเหลือพอในการผลิตประปา
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ลงพื้นที่สำรวจหาแหล่งน้ำดิบแหล่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่ บริเวณบ้านเสี้ยวใหญ่ ต.บ้านเล่า อ.เมืองชัยภูมิ เพื่อเจรจากับกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ว่าขอให้งดการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อทำการเกษตร เพื่อทางการประปาและชลประทาน จ.ชัยภูมิ จะได้นำเครื่องสูบน้ำว่างท่อต่อเข้ามาให้ถึงจุดสถานีสูบน้ำดิบแรงต่ำบ้านเสี้ยวใหญ่ แม่ข่ายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชัยภูมิ จะได้พอมีน้ำดิบมาเข้าระบบช่วยผลิตประปา ไม่ขาดน้ำไปต่อเนื่องจากนี้ได้อีกระยะไปจนถึงสิ้นเดือนนี้ แม้จะมีปริมาณน้ำไม่มาก แต่ทางจังหวัดเตรียมมาตรการรองรับด้วยการออกเป็นประกาศจังหวัดชัยภูมิว่า ตั้งแต่จากนี้ไป จะมีการงดจ่ายน้ำเป็นเวลาให้กับชาวเขต อ.เมืองชัยภูมิ ในช่วงหลังเวลา 22.00 น.- 05.00 น.ของทุกวัน
ทางด้านโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำละคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมาว่า วานนี้มีประมาณน้ำเหลือในอ่าง 73 ล้าน ลบ.ม. แต่น้ำใช้การได้เพียง 53 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุ 314 ล้าน ลบ.ม.โดยได้ส่งน้ำให้การประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สูบน้ำหน้าเขื่อนโดยตรงจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วยเทศบาลนครนครราชสีมา 46,556 ลบ.ม./วัน, เรือนจำคลองไผ่ อ.สีคิ้ว 3,000 ลบ.ม./วัน, เทศบาลตำบลคลองไผ่ อ.สีคิ้ว 1,355 ลบ.ม./วันและปล่อยน้ำจากเขื่อนลงสู่ลำตะคอง 432,000 ลบ.ม./วัน
**เขื่อนอุบลรัตน์วิกฤต เร่งจัดสรรน้ำ
นายจรัส เพ็ญศิริสมบูรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานขอนแก่น เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์ที่เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำเหลือใช้การได้เพียง 5% จากความจุทั้งหมด เนื่องจากปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติ จากปัญหาที่เกิดทางชลประทานขอนแก่น ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางการจัดสรรน้ำในรูปแบบต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม พบว่าขณะนี้ฝนยังตกน้อยอยู่จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงช่วยกันประหยัดน้ำ เพื่อความอยู่รอดของทุกคน
**นำทัพ"ฝนหลวง"ช่วยภัยแล้งอีสาน
วันเดียวกัน นายวราวุธ ขันตินันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เดินทางไปยังท่าอากาศยานหัวหิน ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน พร้อมร่วมประชุมกับนายแทนไทร์ พลหาญ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน พร้อมนักวิทยาศาสตร์ นักบิน และอาสาสมัครฝนหลวง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี เพื่อติดตามข้อมูลการปฏิบัติการฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับทั้ง 3 จังหวัด โดยมุ่งเติมน้ำในเขื่อนใหญ่ปราณบุรี และเขื่อนแก่งกระจาน รวมทั้งพื้นที่ทางการเกษตรของ จ.ราชบุรี
ผลการปฏิบัติพบว่าในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมามีร่องมรสุมพัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดทำให้สภาพอากาศเหมาะสมในการโปรยสารฝนหลวงจนทำให้เกิดฝนตกลงในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด และมีน้ำไหลเข้ามายังเขื่อนปราณบุรีจากเดิม 19% เพิ่มเป็น 22% ในวันนี้ และเขื่อนแก่งกระจาน จากเดิม 36% วันนี้เพิ่มขึ้นเป็น 40% แล้วและในช่วงนี้ทางด้านนี้เริ่มมีฝนธรรมชาติตกมากขึ้นเนื่องจากมีมรสุมพัดผ่านเข้ามา
ทำให้ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีความจำเป็นต้องปรับแผนไปให้การช่วยเหลือจังหวัดที่เกิดภัยแล้งในภาคอีสานเพิ่มเติมขึ้น รวมทั้งพบว่าพื้นที่ทางภาคอีสานช่วงนี้สภาพอากาศเริ่มมีความชื้นที่สามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้ จึงมีความจำเป็นต้องนำเครื่องคาราแวน 2 ลำและนักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งนักบินยุติการปฏิบัติหน้าที่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน เป็นการชั่วคราวเพื่อเดินทางไปเปิดหน่วยฝนหลวงที่ จ.สกลนครในวันนี้ (10 ก.ค.) เพื่อเร่งช่วยเหลือประชาชนและเกษตรที่ประสบภัยแล้งและเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคอีสานต่อไป
"คาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณครึ่งเดือนและจะมีการปรับแผนบินใหม่ทางภาคอีสานโดยจะประสานงานกับกองทัพอากาศเพื่อนำเครื่องมาใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงในสกลนคร และจะนำเครื่องคาราแวน พร้อมเจ้าหน้าที่กลับมาเปิดปฏิบัติการฝนหลวงที่หัวหิน เพื่อเติมน้ำในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.เพชรบุรี และ จ.ราชบุรี ต่อไปจึงขอให้อาสามสมัครฝนหลวงทั้ง 3 จังหวัดไม้ต้องเป็นห่วง" อธิบดีกรมฝนหลวงและการเกษตร กล่าว
**"นายกฯ"สั่งฝนหลวงเกาะติดภาคอีสาน
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักจากร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้มีฝนตกหนักร้อยละ 60-70 % ของพื้นที่ โดยเฉพาะใน จ.อุดรธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู หนองคาย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ทำให้มีน้ำฝนหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร สร้างความยินดีให้กับเกษตรกรและพี่น้องประชาชนจำนวนมาก
ทั้งนี้ แม้จะมีฝนธรรมชาติตกลงมาติดต่อกันหลายวัน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่นายกรัฐมนตรี ยังคงให้หน่วยฝนหลวง เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง หากมีความเหมาะสมในการออกปฏิบัติฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรก็ให้ดำเนินการทันที ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระบุว่าในอีก 2 สัปดาห์จะมีฝนตกชุก เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศของไทย
**อุตุเตือนทุกภาคช่วงนี้ระวังฝนตกหนัก
ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งลักษณะอากาศทั่วไปว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนในระยะนี้และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีกจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2558
อนึ่ง พายุโซนร้อน "หลิ่นฟาไ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเกาะฮ่องกงแล้ว และจะอ่อนกำลังลงในระยะต่อไป ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
***ผอ.จิสด้าเผย 20 ก.ค.เข้าหน้าฝนแน่นอน
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า เปิดเผยภายหลังจากการติดตามสภาพอากาศจากดาวเทียม โดยพบว่า เมื่อคืนวันที่ 8 ก.ค. มีฝนตกหลายพื้นที่ ทั้งจังหวัดในภาคอีสานใต้ รวมถึงพื้นที่ภาคเหนือบางจังหวัด ทำให้มีน้ำเข้าเขื่อนเพิ่ม และฝนจะตกต่อเนื่องในอีก 2-3 วัน หลังจากนั้นจะทิ้งช่วงอีก 10 วัน ทั้งนี้ ฝนจะกลับมาตกอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค.เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนเต็มรูปแบบ เป็นระยะเวลาราว 100 วันเท่านั้น และเป็นไปได้ที่จะมีดีเปรสชั่นเข้าไทยถึง 2 ลูกด้วยกัน คาดว่าในอีกไม่ช้าปัญหาภัยแล้งที่กระทบกับชาวนาจะคลี่คลายได้.