ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ปลื้มขายข้าวสต๊อกรัฐได้อีก 1.148 ล้านตัน มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท มากที่สุดตั้งแต่เปิดประมูลมา 8 ครั้ง เตรียมเปิดประมูลอีกครั้งภายในเดือนนี้ ระบุขายข้าวรวม 8 ครั้ง ได้เงิน 4.09 หมื่นล้าน แต่ขาดทุนกว่า 5.22 หมื่นล้านบาท "เด็กพท." ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จี้ตรวจสอบข้าวเสื่อม 5.8 ล้านตันก่อนระบายออก "วิษณุ" ชี้เอาผิดแพ่งคดีจำนำข้าว ติดคิดเฉลี่ยเรียกค่าเสียหายรายบุคคล
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การเปิดประมูลสต๊อกข้าวสารรัฐบาลแบบยกคลัง ครั้งที่ 4/2558 มีผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 62 ราย แต่ยื่นซองเสนอราคา 55 ราย ใน 105 คลัง โดยผู้เสนอราคาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ฟลอร์แวลู) จำนวน 33 ราย ใน 103 คลัง ปริมาณรวม 1.148 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 83% ของปริมาณข้าวที่นำออกมาเปิดประมูลทั้งหมด 1.38 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 11,079 ล้านบาท ซึ่งข้าวที่ขายได้มากสุด คือ ข้าวขาว 5% ปริมาณ 9.9 แสนตัน คิดเป็นสัดส่วน 71% ของปริมาณข้าวที่เปิดประมูล โดยกรมฯ จะนำผลการเปิดประมูลเสนอต่อประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) อนุมัติในวันนี้ (8 ก.ค.)
ทั้งนี้ การประมูลครั้งนี้ ถือได้ว่าทำสถิติขายข้าวได้มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดประมูลมาทั้งหมด 8 ครั้ง นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ โดยรวมทั้ง 8 ครั้ง สามารถขายได้ปริมาณทั้งสิ้น 3.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าที่ขายได้ 4.09 หมื่นล้านบาท
“การขายข้าวครั้งนี้ ได้ราคาเป็นที่น่าพอใจ และขายได้มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดประมูลมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการข้าวในตลาดยังมีสูงขึ้น จากการที่ข้าวเปลือกในท้องตลาดไม่มี และปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกที่ลดลง โดยกรมฯ มั่นใจว่าจากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น และจะทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 10 ล้านตันอย่างแน่นอน เพราะผ่านมา 6 เดือน ส่งออกได้แล้ว 4.6 ล้านตัน”นางดวงพรกล่าว
นางดวงพรกล่าวว่า สำหรับสต๊อกข้าวสารในปัจจุบันมีปริมาณ 15.46 ล้านตัน โดยหักการประมูลครั้งนี้ออกไป 1.148 ล้านตัน จะเหลือข้าวในสต๊อกประมาณ 14.31 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเสียเป็นฝุ่นผง 1.29 ล้านตัน ข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นข้าวเกรดซีที่อยู่ในโกดังเดียวกัน 1.3 ล้านตัน ที่เหลืออีกประมาณ 3 ล้านตัน มีข้าวเกรดเอและบีปนอยู่ด้วย ทำให้เหลือข้าวในสต๊อกที่เป็นเกรดพี เอและบีอีกประมาณ 8.4 ล้านตัน ที่จะต้องมีการคัดแยกก่อนที่จะเอามาเปิดประมูล โดยคาดว่าข้าวที่เหลือทั้งหมด จะประมูลขายได้หมดประมาณ 2 ปี
ส่วนการเปิดประมูลข้าวรอบต่อไป กรมฯ กำลังรอเจ้าหน้าที่ตำรวจเก็บหลักฐานและสรุปผลมาให้ก่อน หากสรุปเป็นข้าวเกรดไหนมาก่อน ก็จะนำมาเปิดประมูลก่อน ซึ่งน่าจะทำได้อีกครั้งภายในเดือนนี้ โดยเบื้องต้นมีข้าวเกรดซีที่ตำรวจสรุปมาแล้วประมาณ 3-4 แสนตัน และในระหว่างนี้ กรมฯ จะหารือกับคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหน่วยงานของภาครัฐ
ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกำหนดราคากลางในการเปิดประมูลข้าวในส่วนของข้าวเสียและข้าวเกรดซี ที่ต้องระบายออกไปทำพลังงานไฟฟ้า และภาคอุตสาหกรรมให้ได้ก่อน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การอนุมัติขายข้าว 1.148 ล้านตัน มูลค่ารวม 1.10 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยขายได้ราคาประมาณตันละ 1 หมื่นบาท หากคิดจากต้นทุนรับจำนำข้าวเปลือกที่ราคาตันละ 1.5 หมื่นบาท หรือข้าวสารตันละ 2.4 หมื่นบาท การขายข้าวในครั้งนี้จะขาดทุนประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท หากรวม 8 ครั้งที่มียอดขายข้าวปริมาณ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 4.09 หมื่นล้านบาท จะขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำประมาณ 5.22 หมื่นล้านบาท โดยยอดขาดทุนคิดจากต้นทุนรับจำนำอย่างเดียว ยังไม่รวมค่าบริหารจัดการข้าว
***จี้ตรวจสอบข้าวเสื่อม 5.8 ล้านตันก่อนระบายออก
วานนี้ (7ก.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานก.พ. นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ถึงความเป็นห่วงในการระบายข้าวเสื่อมคุณภาพและด้อยคุณภาพจำนวนกว่า 5.8 ล้านตัน โดยตั้งข้อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้าวเสื่อมคุณภาพว่า โรงสีมีการรับผิดชอบข้าวเสื่อมแล้วหรือไม่ และอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง รวมทั้งขอให้สรุปความเสียหายที่มีต่อรัฐทั้งหมด ว่ามีเท่าไหร่ ก่อนที่จะระบายข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต
นอกจากนี้ไม่อยากให้ด่วนสรุปในการแปรรูปข้าวเน่าไปทำเอทานอล เพราะยังมีอุตสาหกรรมแป้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารสัตว์ ที่จะทำให้ได้ราคา และรักษาผลประธยชน์เข้ารัฐได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การยืนยันที่จะระบายข้าวทั้ง 5.8 ล้านตัน ขอเรียกร้องให้ระบายข้าวในวิธีปกติ ไม่ใช่วิธีพิเศษ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส พร้อมขอให้เร่งรัดระบายข้าวคุณภาพดีที่เหลือ 15 ล้านตัน เพื่อป้องกันความเสียหาย
นอกจากนี้ ขอให้นายกรัฐมนตรีทบทวนการแต่งตั้ง นายนิพนธ์ พัวพงศกร ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองที่ตนมองว่าไม่เป็นกลาง
***หนักใจเงินค่าธรรมเนียมศาล
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าความคืบหน้าการดำเนินการเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด คือ คณะกรรมสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหาย และคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดทางแพ่ง ได้รายงานความคืบหน้ามาเป็นระยะ และตนได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีทราบว่า ขณะนี้ดำเนินการถึงไหนแล้ว ที่ยังมีปัญหา คือ จำนวนตัวบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ โดยการพิจารณาความตัวบุคคลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บุคคลที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงอะไร เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกชุดดูในส่วนนักการเมือง และข้าราชการของกระทรวงที่มีสังกัด หรือ กระทรวงพาณิชย์
ส่วนมูลค่าความเสียหายที่แต่ละคนต้องจ่าย ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการเรียกความเสียหายขาดทุนจำนำข้าว สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหายจากการจำนำข้าว กระทรวงการคลังพิจารณา ทั้งนี้ ต้องแบ่งเฉลี่ย โดยแต่ละคนจะจ่ายค่าเสียหายไม่เท่ากัน ต้องดูกันตามโทษานุโทษ
" มีเรื่องหนึ่งที่อาจต้องคิดหนักหน่อย คือการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ไม่ว่าเอกชนจะเป็นคนฟ้องหรือรัฐเป็นคนฟ้องก็ตาม เมื่อเราเรียกว่าฟ้องทางแพ่ง มูลค่าเสียหายเท่าไรที่เราจะเรียก มันจะต้องไปเสียเงินที่เรียกว่า ค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งกระทรวงการคลังต้องนำไปวางก็หลายสตางค์ ถือว่าเยอะอยู่ คุณฟ้องเรียกมาก คุณก็ต้องมีเงินไปวางศาลมาก ซึ่งมูลค่าความเสียหายจริงมันมาก แล้วคุณไปเรียกเอาหมด เอาเข้าใจจะได้หรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะยังไม่รู้จะแพ้ หรือชนะ จะต้องมีเงินไปวางศาลหลายพันล้านบาท ดังนั้น เงินที่รัฐต้องไปวางเป็นเรื่องที่ต้องคิด ถ้าเสียดาย ประหยัด ก็เรียกมันน้อยๆ ก็ถูกด่าเท่านั้นเอง ส่วนวงเงินเท่าไร ก็ยังดูกันอยู่ แต่ว่าเยอะ" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า สามารถอ้างอิงตัวเลขความเสียหายของ ป.ป.ช. นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่จำเป็นว่าตัวเลขความเสียหายที่รัฐจะเรียกต้องตรงกับป.ป.ช. ทุกอย่างขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน วันที่ ป.ป.ช. สรุปเรื่องความเสียหายอาจจะเป็น ณ ตอนนั้น ซึ่งหลังจากนั้นมาก็ต้องดูกันต่อ จะมาก หรือน้อยกว่าก็ได้ แต่เมื่อได้ตัวเลขแล้ว ก็ต้องแจ้งป.ป.ช.ก่อนฟ้อง ทั้งนี้ ยืนยันว่า การฟ้องร้องทันอายุความ 2 ปี แน่นอน เพราะถ้ารัฐไม่ฟ้องรัฐก็ถูกพ่วงเป็นจำเลยรายที่ 17
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การเปิดประมูลสต๊อกข้าวสารรัฐบาลแบบยกคลัง ครั้งที่ 4/2558 มีผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 62 ราย แต่ยื่นซองเสนอราคา 55 ราย ใน 105 คลัง โดยผู้เสนอราคาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ฟลอร์แวลู) จำนวน 33 ราย ใน 103 คลัง ปริมาณรวม 1.148 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 83% ของปริมาณข้าวที่นำออกมาเปิดประมูลทั้งหมด 1.38 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 11,079 ล้านบาท ซึ่งข้าวที่ขายได้มากสุด คือ ข้าวขาว 5% ปริมาณ 9.9 แสนตัน คิดเป็นสัดส่วน 71% ของปริมาณข้าวที่เปิดประมูล โดยกรมฯ จะนำผลการเปิดประมูลเสนอต่อประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) อนุมัติในวันนี้ (8 ก.ค.)
ทั้งนี้ การประมูลครั้งนี้ ถือได้ว่าทำสถิติขายข้าวได้มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดประมูลมาทั้งหมด 8 ครั้ง นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ โดยรวมทั้ง 8 ครั้ง สามารถขายได้ปริมาณทั้งสิ้น 3.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าที่ขายได้ 4.09 หมื่นล้านบาท
“การขายข้าวครั้งนี้ ได้ราคาเป็นที่น่าพอใจ และขายได้มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดประมูลมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการข้าวในตลาดยังมีสูงขึ้น จากการที่ข้าวเปลือกในท้องตลาดไม่มี และปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกที่ลดลง โดยกรมฯ มั่นใจว่าจากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น และจะทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 10 ล้านตันอย่างแน่นอน เพราะผ่านมา 6 เดือน ส่งออกได้แล้ว 4.6 ล้านตัน”นางดวงพรกล่าว
นางดวงพรกล่าวว่า สำหรับสต๊อกข้าวสารในปัจจุบันมีปริมาณ 15.46 ล้านตัน โดยหักการประมูลครั้งนี้ออกไป 1.148 ล้านตัน จะเหลือข้าวในสต๊อกประมาณ 14.31 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเสียเป็นฝุ่นผง 1.29 ล้านตัน ข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นข้าวเกรดซีที่อยู่ในโกดังเดียวกัน 1.3 ล้านตัน ที่เหลืออีกประมาณ 3 ล้านตัน มีข้าวเกรดเอและบีปนอยู่ด้วย ทำให้เหลือข้าวในสต๊อกที่เป็นเกรดพี เอและบีอีกประมาณ 8.4 ล้านตัน ที่จะต้องมีการคัดแยกก่อนที่จะเอามาเปิดประมูล โดยคาดว่าข้าวที่เหลือทั้งหมด จะประมูลขายได้หมดประมาณ 2 ปี
ส่วนการเปิดประมูลข้าวรอบต่อไป กรมฯ กำลังรอเจ้าหน้าที่ตำรวจเก็บหลักฐานและสรุปผลมาให้ก่อน หากสรุปเป็นข้าวเกรดไหนมาก่อน ก็จะนำมาเปิดประมูลก่อน ซึ่งน่าจะทำได้อีกครั้งภายในเดือนนี้ โดยเบื้องต้นมีข้าวเกรดซีที่ตำรวจสรุปมาแล้วประมาณ 3-4 แสนตัน และในระหว่างนี้ กรมฯ จะหารือกับคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหน่วยงานของภาครัฐ
ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกำหนดราคากลางในการเปิดประมูลข้าวในส่วนของข้าวเสียและข้าวเกรดซี ที่ต้องระบายออกไปทำพลังงานไฟฟ้า และภาคอุตสาหกรรมให้ได้ก่อน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การอนุมัติขายข้าว 1.148 ล้านตัน มูลค่ารวม 1.10 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยขายได้ราคาประมาณตันละ 1 หมื่นบาท หากคิดจากต้นทุนรับจำนำข้าวเปลือกที่ราคาตันละ 1.5 หมื่นบาท หรือข้าวสารตันละ 2.4 หมื่นบาท การขายข้าวในครั้งนี้จะขาดทุนประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท หากรวม 8 ครั้งที่มียอดขายข้าวปริมาณ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 4.09 หมื่นล้านบาท จะขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำประมาณ 5.22 หมื่นล้านบาท โดยยอดขาดทุนคิดจากต้นทุนรับจำนำอย่างเดียว ยังไม่รวมค่าบริหารจัดการข้าว
***จี้ตรวจสอบข้าวเสื่อม 5.8 ล้านตันก่อนระบายออก
วานนี้ (7ก.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานก.พ. นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ถึงความเป็นห่วงในการระบายข้าวเสื่อมคุณภาพและด้อยคุณภาพจำนวนกว่า 5.8 ล้านตัน โดยตั้งข้อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้าวเสื่อมคุณภาพว่า โรงสีมีการรับผิดชอบข้าวเสื่อมแล้วหรือไม่ และอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง รวมทั้งขอให้สรุปความเสียหายที่มีต่อรัฐทั้งหมด ว่ามีเท่าไหร่ ก่อนที่จะระบายข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต
นอกจากนี้ไม่อยากให้ด่วนสรุปในการแปรรูปข้าวเน่าไปทำเอทานอล เพราะยังมีอุตสาหกรรมแป้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารสัตว์ ที่จะทำให้ได้ราคา และรักษาผลประธยชน์เข้ารัฐได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การยืนยันที่จะระบายข้าวทั้ง 5.8 ล้านตัน ขอเรียกร้องให้ระบายข้าวในวิธีปกติ ไม่ใช่วิธีพิเศษ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส พร้อมขอให้เร่งรัดระบายข้าวคุณภาพดีที่เหลือ 15 ล้านตัน เพื่อป้องกันความเสียหาย
นอกจากนี้ ขอให้นายกรัฐมนตรีทบทวนการแต่งตั้ง นายนิพนธ์ พัวพงศกร ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองที่ตนมองว่าไม่เป็นกลาง
***หนักใจเงินค่าธรรมเนียมศาล
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าความคืบหน้าการดำเนินการเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด คือ คณะกรรมสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหาย และคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดทางแพ่ง ได้รายงานความคืบหน้ามาเป็นระยะ และตนได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีทราบว่า ขณะนี้ดำเนินการถึงไหนแล้ว ที่ยังมีปัญหา คือ จำนวนตัวบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ โดยการพิจารณาความตัวบุคคลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บุคคลที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงอะไร เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกชุดดูในส่วนนักการเมือง และข้าราชการของกระทรวงที่มีสังกัด หรือ กระทรวงพาณิชย์
ส่วนมูลค่าความเสียหายที่แต่ละคนต้องจ่าย ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการเรียกความเสียหายขาดทุนจำนำข้าว สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหายจากการจำนำข้าว กระทรวงการคลังพิจารณา ทั้งนี้ ต้องแบ่งเฉลี่ย โดยแต่ละคนจะจ่ายค่าเสียหายไม่เท่ากัน ต้องดูกันตามโทษานุโทษ
" มีเรื่องหนึ่งที่อาจต้องคิดหนักหน่อย คือการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ไม่ว่าเอกชนจะเป็นคนฟ้องหรือรัฐเป็นคนฟ้องก็ตาม เมื่อเราเรียกว่าฟ้องทางแพ่ง มูลค่าเสียหายเท่าไรที่เราจะเรียก มันจะต้องไปเสียเงินที่เรียกว่า ค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งกระทรวงการคลังต้องนำไปวางก็หลายสตางค์ ถือว่าเยอะอยู่ คุณฟ้องเรียกมาก คุณก็ต้องมีเงินไปวางศาลมาก ซึ่งมูลค่าความเสียหายจริงมันมาก แล้วคุณไปเรียกเอาหมด เอาเข้าใจจะได้หรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะยังไม่รู้จะแพ้ หรือชนะ จะต้องมีเงินไปวางศาลหลายพันล้านบาท ดังนั้น เงินที่รัฐต้องไปวางเป็นเรื่องที่ต้องคิด ถ้าเสียดาย ประหยัด ก็เรียกมันน้อยๆ ก็ถูกด่าเท่านั้นเอง ส่วนวงเงินเท่าไร ก็ยังดูกันอยู่ แต่ว่าเยอะ" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า สามารถอ้างอิงตัวเลขความเสียหายของ ป.ป.ช. นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่จำเป็นว่าตัวเลขความเสียหายที่รัฐจะเรียกต้องตรงกับป.ป.ช. ทุกอย่างขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน วันที่ ป.ป.ช. สรุปเรื่องความเสียหายอาจจะเป็น ณ ตอนนั้น ซึ่งหลังจากนั้นมาก็ต้องดูกันต่อ จะมาก หรือน้อยกว่าก็ได้ แต่เมื่อได้ตัวเลขแล้ว ก็ต้องแจ้งป.ป.ช.ก่อนฟ้อง ทั้งนี้ ยืนยันว่า การฟ้องร้องทันอายุความ 2 ปี แน่นอน เพราะถ้ารัฐไม่ฟ้องรัฐก็ถูกพ่วงเป็นจำเลยรายที่ 17