เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (6ก.ค.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีแสดงความยินดีแก่ส่วนราชการ ที่ได้รับรางวัล พร้อมทั้งชมนิทรรศการผลงานของหน่วยงานที่เคยได้รับรางวัล United Nations Public Service Awards (UNPSA) โดยรางวัลนี้มอบให้กับหน่วยงานที่ดำเนินการด้านการให้บริการสาธารณะด้วยความเป็นมืออาชีพ แบ่งออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ การป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชันในการบริการสาธารณะ การพัฒนาการให้บริการประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายผ่านกลไกด้านนวัตกรรม ประเภทการเสริมสร้างการจัดการความรู้ในภาครัฐ และ การส่งเสริมการตอบสนองความเท่าเทียมกันในการให้บริการสาธารณะ
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างนายกฯ เยี่ยมชมนิทรรศการ ขององค์การต่างๆ ที่ได้รับรางวัล ได้กล่าวว่า งานสาธารณสุขเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลไม่เคยคิด ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เพียงแต่ปัจจุบันประเทศมีปัญหา ทั้ง 5 กลุ่มงาน คือ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมวิทยา งานด้านความมั่นคง กระบวนการยุติธรรม และอื่นๆ ซึ่งต้องใช้งบประมาณ ในการบริหารงานและแก้ไข ปัญหา ทั้ง 5 กลุ่มนี้ เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางกลุ่มต้องทำอย่างต่อเนื่อง และยังไม่เห็นผลในทันที และบางโครงการต้องดำเนินการต่อเนื่อง บางเรื่อง ยังรู้ทิศทางไปทางใด โดยเฉพาะงานด้านการประกันสังคม รัฐบาลต้องเข้าไปดูแลก่อน และหากอนาคตเมื่อมีความเข้มแข็ง ประเทศมีรายได้ ก็ต้องมาดูกันอีกที
ขณะนี้ เราต้องบริหารจัดการให้ได้ก่อน ไม่ใช่ว่า จะให้เงินจำนวนมากๆ ลงไปก็จะทำให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ อย่างที่หลายฝ่ายมีความเป็นห่วง และกังวลอาจจะเป็นเหมือนประเทศกรีซ
"วันนี้ มันก็จะไปกันไม่ได้อยู่แล้ว ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ผมไม่เคยบอก หรือพูดเลยว่าจะยกเลิก มันจะยกเลิกไปได้อย่างไร บ้าไปแล้ว ผมไม่ยกเลิกหรอกโครงการ 30 บาท ใครจะไปยกเลิก อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพทางการแพทย์ และพยาบาลเข้าถึงการรักษาพยาบาลประชาชนที่ห่างไกลให้ทั่วถึง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**สธ.ชวนบริจาคเข้าโครงการ30บาท
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรณีที่มีการพูดถึงการล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น ไม่เคยมีใครพูดถึง แม้แต่นายกฯ ก็ยืนยันชัดเจนว่า ไม่มีนโยบายยกเลิก 30 บาทรักษาทุกโรค แต่เป็นห่วงในเรื่องงบประมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือว่า จะดำเนินการอย่างไรจึงจะเกิดความยั่งยืน มีเงินเข้ามาในระบบโดยไม่ขาดแคลน จะมีมาตรการอย่างไร นอกจากรับงบประมาณจากราชการเท่านั้น
นอกจากนี้ นายกฯ ยังอยากเห็นประชาชนบริจาคเงินเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้ สธ. และกระทรวงการคลัง กำลังประชุมหารือ เพื่อพิจารณาแนวทางอยู่ ซึ่งผู้บริจาคสามารถนำไปหักภาษีได้ โดยขณะนี้ตนได้ตั้งคณะกรรมการจัดทำแนวทางระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ โดยมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน มี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา ส่วนคณะกรรมการเป็นผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม สปสช. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพแห่งชาติ และสำนักพัฒนาระบบสุขภาพระหว่างประเทศ สภาวิจัยเพื่อการพัฒนาระเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เป็นต้น โดยมีหน้าที่พิจารณากลไกที่จะทำให้เกิดความมั่นคงทางการเงินของระบบหลักประกันสุขภาพ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การบริจาคเงินเข้ากองทุนบัตรทอง จะทำให้ดูเป็นลักษณะของระบบอนาถาหรือไม่ ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ผู้บริจาคจะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่สิทธิบัตรทอง หากมีเงิน และมีประสงค์จะบริจาคก็สามารถบริจาคเข้ากองทุนได้ ซึ่งคณะกรรมการกำลังหารือแนวทางอยู่ว่าจะเป็นลักษณะเช่นไร แต่โดยรวมแล้วก็เหมือนการบริจาคเข้ามูลนิธิ ที่สามารถนำไปหักภาษีได้ ส่วนแนวทางการร่วมจ่ายก็มีการูดถึง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
อนึ่ง ดร.อัมมาร เคยเป็นกรรมการบอร์ด สปสช. และ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังในบอร์ด สปสช. ส่วน นพ.สุวิทย์ ก็เคยเป็นคณะกรรมการบอร์ด สปสช. ในวาระ 2550-2554 เช่นเดียวกัน
**ตั้ง"หมอประทีป" รักษาการเลขา สปสช.
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข และ ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมบอร์ด สปสช. ว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาใน 3 เรื่อง คือ 1. การรับฟังความเห็นประจำปี ซึ่งข้อเสนอแนวทางปรับปรุงต่างๆ ก็จะให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ นำไปปรับปรุงพัฒนาระบบต่อไป
2. การรายงานผลการตีความของคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ต่อกรณีคณะกรรมการติดตาม
และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ที่ตรวจสอบ สปสช. พบการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ แต่ไม่ได้มีการทุจริต ซึ่งคณะกรรมการชุดแรกที่พิจารณาประเด็นข้อกฎหมายเพื่อสร้างความชัดเจนในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ก็สรุปว่า บอร์ด สปสช. ดำเนินการทุกอย่างตามที่กฎหมายรองรับอยู่ ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงพิจาณณาการใช้เงินค่าเสื่อม ก็พบว่าสามารถดำเนินการได้ เช่น รพ.ใช้งบค่าเสื่อมซ่อมแซมครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างเสื่อมสภาพ นำงบส่งเสริมสุขภาพไปใช้ในโครงการต่างๆ ตามระเบียบเงินบำรุงได้ เป็นต้น และคณะกรรมการการตรวจสอบเรื่องผลประโยชน์จากการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เห็นว่า ไม่ได้เป็นการผูกขาด เพราะทำตามมติบอร์ด สปสช. และ สปสช.ไม่ได้รับส่วนลดหรืค่าตอบแทนจากการซื้อยาของ อภ. เป็นเพียงเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ อภ.จ่ายตามระเบียบ ซึ่ง สปสช. ต้องทำโครงการเสนอให้อภ.พิจารณา
3.การแต่งตั้งรักษาการ เลขาธิการ สปสช. ซึ่งเห็นชอบในการแต่งตั้งรักษาการจากรองเลขาธิการ สปสช. ตามลำดับอาวุโส ซึ่งผู้ที่มีอาวุโสในการทำงานมากที่สุดคือ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงศ์ กรรมการ สปสช. กล่าวว่า รู้สึกไม่สบายใจ กับการให้ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการใช้ มาตรา 44 ในการย้าย เป็นเรื่องทุจริตเสียส่วนใหญ่ ซึ่งหลังจากมีคำสั่ง นพ.วินัย ก็มีการแถลงว่าการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามมติบอร์ด สปสช. ซึ่งตนคิดว่าต้องมาทบทวนการปฏิบัติหน้าที่ของบอร์ด สปสช. ว่ามีความบกพร่อง ผิดพลาด หรือทุจริตหรือไม่
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างนายกฯ เยี่ยมชมนิทรรศการ ขององค์การต่างๆ ที่ได้รับรางวัล ได้กล่าวว่า งานสาธารณสุขเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลไม่เคยคิด ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เพียงแต่ปัจจุบันประเทศมีปัญหา ทั้ง 5 กลุ่มงาน คือ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมวิทยา งานด้านความมั่นคง กระบวนการยุติธรรม และอื่นๆ ซึ่งต้องใช้งบประมาณ ในการบริหารงานและแก้ไข ปัญหา ทั้ง 5 กลุ่มนี้ เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางกลุ่มต้องทำอย่างต่อเนื่อง และยังไม่เห็นผลในทันที และบางโครงการต้องดำเนินการต่อเนื่อง บางเรื่อง ยังรู้ทิศทางไปทางใด โดยเฉพาะงานด้านการประกันสังคม รัฐบาลต้องเข้าไปดูแลก่อน และหากอนาคตเมื่อมีความเข้มแข็ง ประเทศมีรายได้ ก็ต้องมาดูกันอีกที
ขณะนี้ เราต้องบริหารจัดการให้ได้ก่อน ไม่ใช่ว่า จะให้เงินจำนวนมากๆ ลงไปก็จะทำให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ อย่างที่หลายฝ่ายมีความเป็นห่วง และกังวลอาจจะเป็นเหมือนประเทศกรีซ
"วันนี้ มันก็จะไปกันไม่ได้อยู่แล้ว ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ผมไม่เคยบอก หรือพูดเลยว่าจะยกเลิก มันจะยกเลิกไปได้อย่างไร บ้าไปแล้ว ผมไม่ยกเลิกหรอกโครงการ 30 บาท ใครจะไปยกเลิก อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพทางการแพทย์ และพยาบาลเข้าถึงการรักษาพยาบาลประชาชนที่ห่างไกลให้ทั่วถึง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**สธ.ชวนบริจาคเข้าโครงการ30บาท
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรณีที่มีการพูดถึงการล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น ไม่เคยมีใครพูดถึง แม้แต่นายกฯ ก็ยืนยันชัดเจนว่า ไม่มีนโยบายยกเลิก 30 บาทรักษาทุกโรค แต่เป็นห่วงในเรื่องงบประมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือว่า จะดำเนินการอย่างไรจึงจะเกิดความยั่งยืน มีเงินเข้ามาในระบบโดยไม่ขาดแคลน จะมีมาตรการอย่างไร นอกจากรับงบประมาณจากราชการเท่านั้น
นอกจากนี้ นายกฯ ยังอยากเห็นประชาชนบริจาคเงินเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้ สธ. และกระทรวงการคลัง กำลังประชุมหารือ เพื่อพิจารณาแนวทางอยู่ ซึ่งผู้บริจาคสามารถนำไปหักภาษีได้ โดยขณะนี้ตนได้ตั้งคณะกรรมการจัดทำแนวทางระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ โดยมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน มี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา ส่วนคณะกรรมการเป็นผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม สปสช. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพแห่งชาติ และสำนักพัฒนาระบบสุขภาพระหว่างประเทศ สภาวิจัยเพื่อการพัฒนาระเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เป็นต้น โดยมีหน้าที่พิจารณากลไกที่จะทำให้เกิดความมั่นคงทางการเงินของระบบหลักประกันสุขภาพ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การบริจาคเงินเข้ากองทุนบัตรทอง จะทำให้ดูเป็นลักษณะของระบบอนาถาหรือไม่ ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ผู้บริจาคจะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่สิทธิบัตรทอง หากมีเงิน และมีประสงค์จะบริจาคก็สามารถบริจาคเข้ากองทุนได้ ซึ่งคณะกรรมการกำลังหารือแนวทางอยู่ว่าจะเป็นลักษณะเช่นไร แต่โดยรวมแล้วก็เหมือนการบริจาคเข้ามูลนิธิ ที่สามารถนำไปหักภาษีได้ ส่วนแนวทางการร่วมจ่ายก็มีการูดถึง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
อนึ่ง ดร.อัมมาร เคยเป็นกรรมการบอร์ด สปสช. และ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังในบอร์ด สปสช. ส่วน นพ.สุวิทย์ ก็เคยเป็นคณะกรรมการบอร์ด สปสช. ในวาระ 2550-2554 เช่นเดียวกัน
**ตั้ง"หมอประทีป" รักษาการเลขา สปสช.
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข และ ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมบอร์ด สปสช. ว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาใน 3 เรื่อง คือ 1. การรับฟังความเห็นประจำปี ซึ่งข้อเสนอแนวทางปรับปรุงต่างๆ ก็จะให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ นำไปปรับปรุงพัฒนาระบบต่อไป
2. การรายงานผลการตีความของคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ต่อกรณีคณะกรรมการติดตาม
และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ที่ตรวจสอบ สปสช. พบการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ แต่ไม่ได้มีการทุจริต ซึ่งคณะกรรมการชุดแรกที่พิจารณาประเด็นข้อกฎหมายเพื่อสร้างความชัดเจนในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ก็สรุปว่า บอร์ด สปสช. ดำเนินการทุกอย่างตามที่กฎหมายรองรับอยู่ ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงพิจาณณาการใช้เงินค่าเสื่อม ก็พบว่าสามารถดำเนินการได้ เช่น รพ.ใช้งบค่าเสื่อมซ่อมแซมครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างเสื่อมสภาพ นำงบส่งเสริมสุขภาพไปใช้ในโครงการต่างๆ ตามระเบียบเงินบำรุงได้ เป็นต้น และคณะกรรมการการตรวจสอบเรื่องผลประโยชน์จากการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เห็นว่า ไม่ได้เป็นการผูกขาด เพราะทำตามมติบอร์ด สปสช. และ สปสช.ไม่ได้รับส่วนลดหรืค่าตอบแทนจากการซื้อยาของ อภ. เป็นเพียงเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ อภ.จ่ายตามระเบียบ ซึ่ง สปสช. ต้องทำโครงการเสนอให้อภ.พิจารณา
3.การแต่งตั้งรักษาการ เลขาธิการ สปสช. ซึ่งเห็นชอบในการแต่งตั้งรักษาการจากรองเลขาธิการ สปสช. ตามลำดับอาวุโส ซึ่งผู้ที่มีอาวุโสในการทำงานมากที่สุดคือ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงศ์ กรรมการ สปสช. กล่าวว่า รู้สึกไม่สบายใจ กับการให้ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการใช้ มาตรา 44 ในการย้าย เป็นเรื่องทุจริตเสียส่วนใหญ่ ซึ่งหลังจากมีคำสั่ง นพ.วินัย ก็มีการแถลงว่าการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามมติบอร์ด สปสช. ซึ่งตนคิดว่าต้องมาทบทวนการปฏิบัติหน้าที่ของบอร์ด สปสช. ว่ามีความบกพร่อง ผิดพลาด หรือทุจริตหรือไม่