ASTV ผู้จัดการรายวัน –พิษกรีซโหวตโน กดดัชนีหุ้นไทยล่วง ปิดตลาดติดลบ 16 .36 จุด หวั่นเศรษฐกิจไทยซ้ำกดดันดัชนีอ่อนลงต่อ ด้านแบงก์ชาติ ระบุวิกฤตกรีซกระทบไทยน้อย ทั้งในเรื่องภาคการเงิน การค้า พร้อมตั้งรับปัญหาลามยูโรโซน และอาจเผชิญกับความผันผวนในระยะสั้น
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 ปิด 1,473.23 จุด ลดลง 16.36 จุด เปลี่ยนแปลง 1.10 % มูลค่าการซื้อขาย 32,154.05 ล้านบาท โดยดัชนีแตะจุดสูงสุดที่ 1,482.23จุด และต่ำสุดที่ 1,470.37จุด โดยนักลงทุนสถาบันซื้อ สุทธิ 574.72 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 806.57 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,465.46 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,697.31 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต ระบุ ดัชนีหุ้นไทยกำลังทดสอบแนวรับสำคัญที่ 1,470 จุด โดยปัญหาหนี้กรีซกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะเดียวกันราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง รวมถึงความกังวลต่อเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดทำให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs ภาคธนาคารเร่งตัวขึ้น และคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ครึ่งแรกของปีนี้ก็น่าจะหดตัวลงเมื่อเทียบปีต่อปีและไตรมาสต่อไตรมาส ส่งผลให้ SET ปรับลดลง
“ตลาดหุ้นไทยซึมซับปัจจัยเสี่ยงทั้งภายใน-นอกไปมากแล้ว ไล่เรียงตั้งแต่วิกฤตหนี้กรีซ เศรษฐกิจจีนที่โตช้าลง ภัยแล้ง การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยแผ่วลง นำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารและหุ้นที่พึ่งการบริโภคภายในประเทศ โดยคาดว่าดัชนีหุ้นสัปดาห์นี้จะแกว่งในกรอบ 1477-1510 จุด” นายพิชัย กล่าว
ด้านนายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส มองวิกฤติกรีซไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับไทย แต่ปัญหาใหญ่จริงๆ นั้นน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวและซึมยาวมากกว่า ทั้งนี้ จะเห็นได้จากผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ 10 แห่งในงวดครึ่งแรกของปี 2557 ที่เหลือกำไรสุทธิเพียง 4.7 หมื่นล้านบาท หดตัว 9.4% เมื่อกับเทียบ 2 ไตรมาสแรกของปีก่อน และ 9.3% เมื่อเทียบปี/ปี โดยมีสาเหตุจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้เพื่อรองรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs และหนี้คงค้างชำระที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจะเห็นว่ากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจึงเหลือเพียงการลงทุนจากภาครัฐซึ่งมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีความเป็นไปได้ว่าในช่วงสุดท้ายของปีงบประมาณ 2558 น่าจะมีการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนออกมาอีก 25-30% และปีหน้าน่าจะมีการขยายงบลงทุนเป็น 5.2 - 5.4 แสนล้านบาทจากงบลงทุนปีนี้ที่ 4.5 แสนล้านบาท
***ธปท.เผยวิกฤตกรีซกระทบไทยน้อยพร้อมตั้งรับปัญหาลุกลามยูโรโซน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินเบื้องต้นว่า ผลกระทบโดยรวมต่อประเทศไทยจะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากไทยมีความเชื่อมโยงกับกรีซค่อนข้างต่ำทั้งในเรื่องภาคการเงิน การค้า และแม้จะมีผลกระทบทางอ้อมบ้าง แต่คาดว่าอยู่ในวงจำกัด ขณะที่ตลาดการเงินของไทยอาจเผชิญกับความผันผวนในระยะสั้น แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงนัก
ทั้งนี้ ผลกระทบผ่านช่องทางการค้าจะอยู่ในวงจำกัดทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากไทยมีการค้าโดยตรงกับกรีซน้อยมาก โดยไทยส่งออกไปกรีซเพียง 0.06%ของการส่งออกรวม ส่วนผลกระทบทางอ้อมจากการค้ากับประเทศในกลุ่มยุโรปนั้น ซึ่งไทยส่งออกไปยุโรปคิดเป็น 10.3% ของการส่งออกรวม แต่เมื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าหลักในกลุ่มสหภาพยุโรป อาทิ เยอรมนี อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ พบว่า ประเทศเหล่านี้ยังมีปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จึงคาดว่าการส่งออกของไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากกรีซมากนัก
ในส่วนของตลาดการเงินไทยได้รับผลกระทบบ้างจากความกังวลของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อทางออกของปัญหาที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น แต่ผลกระทบโดยรวมคาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น จึงยังไม่น่ากังวลมากนัก โดยการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยเมื่อช่วงเช้าวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเพียง 0.14% ซึ่งน้อยกว่าสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคอ่อนค่าลง 0.3-0.7%
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 ปิด 1,473.23 จุด ลดลง 16.36 จุด เปลี่ยนแปลง 1.10 % มูลค่าการซื้อขาย 32,154.05 ล้านบาท โดยดัชนีแตะจุดสูงสุดที่ 1,482.23จุด และต่ำสุดที่ 1,470.37จุด โดยนักลงทุนสถาบันซื้อ สุทธิ 574.72 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 806.57 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,465.46 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,697.31 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต ระบุ ดัชนีหุ้นไทยกำลังทดสอบแนวรับสำคัญที่ 1,470 จุด โดยปัญหาหนี้กรีซกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะเดียวกันราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง รวมถึงความกังวลต่อเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดทำให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs ภาคธนาคารเร่งตัวขึ้น และคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ครึ่งแรกของปีนี้ก็น่าจะหดตัวลงเมื่อเทียบปีต่อปีและไตรมาสต่อไตรมาส ส่งผลให้ SET ปรับลดลง
“ตลาดหุ้นไทยซึมซับปัจจัยเสี่ยงทั้งภายใน-นอกไปมากแล้ว ไล่เรียงตั้งแต่วิกฤตหนี้กรีซ เศรษฐกิจจีนที่โตช้าลง ภัยแล้ง การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยแผ่วลง นำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารและหุ้นที่พึ่งการบริโภคภายในประเทศ โดยคาดว่าดัชนีหุ้นสัปดาห์นี้จะแกว่งในกรอบ 1477-1510 จุด” นายพิชัย กล่าว
ด้านนายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส มองวิกฤติกรีซไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับไทย แต่ปัญหาใหญ่จริงๆ นั้นน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวและซึมยาวมากกว่า ทั้งนี้ จะเห็นได้จากผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ 10 แห่งในงวดครึ่งแรกของปี 2557 ที่เหลือกำไรสุทธิเพียง 4.7 หมื่นล้านบาท หดตัว 9.4% เมื่อกับเทียบ 2 ไตรมาสแรกของปีก่อน และ 9.3% เมื่อเทียบปี/ปี โดยมีสาเหตุจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้เพื่อรองรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs และหนี้คงค้างชำระที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจะเห็นว่ากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจึงเหลือเพียงการลงทุนจากภาครัฐซึ่งมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีความเป็นไปได้ว่าในช่วงสุดท้ายของปีงบประมาณ 2558 น่าจะมีการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนออกมาอีก 25-30% และปีหน้าน่าจะมีการขยายงบลงทุนเป็น 5.2 - 5.4 แสนล้านบาทจากงบลงทุนปีนี้ที่ 4.5 แสนล้านบาท
***ธปท.เผยวิกฤตกรีซกระทบไทยน้อยพร้อมตั้งรับปัญหาลุกลามยูโรโซน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินเบื้องต้นว่า ผลกระทบโดยรวมต่อประเทศไทยจะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากไทยมีความเชื่อมโยงกับกรีซค่อนข้างต่ำทั้งในเรื่องภาคการเงิน การค้า และแม้จะมีผลกระทบทางอ้อมบ้าง แต่คาดว่าอยู่ในวงจำกัด ขณะที่ตลาดการเงินของไทยอาจเผชิญกับความผันผวนในระยะสั้น แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงนัก
ทั้งนี้ ผลกระทบผ่านช่องทางการค้าจะอยู่ในวงจำกัดทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากไทยมีการค้าโดยตรงกับกรีซน้อยมาก โดยไทยส่งออกไปกรีซเพียง 0.06%ของการส่งออกรวม ส่วนผลกระทบทางอ้อมจากการค้ากับประเทศในกลุ่มยุโรปนั้น ซึ่งไทยส่งออกไปยุโรปคิดเป็น 10.3% ของการส่งออกรวม แต่เมื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าหลักในกลุ่มสหภาพยุโรป อาทิ เยอรมนี อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ พบว่า ประเทศเหล่านี้ยังมีปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จึงคาดว่าการส่งออกของไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากกรีซมากนัก
ในส่วนของตลาดการเงินไทยได้รับผลกระทบบ้างจากความกังวลของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อทางออกของปัญหาที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น แต่ผลกระทบโดยรวมคาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น จึงยังไม่น่ากังวลมากนัก โดยการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยเมื่อช่วงเช้าวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเพียง 0.14% ซึ่งน้อยกว่าสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคอ่อนค่าลง 0.3-0.7%