ASTVผู้จัดการรายวัน-"ประยุทธ์"ยันเดินหน้าใช้กฎหมายประมง หวั่นผ่อนผัน จะทำให้มูลค่าธุรกิจในอุตสาหกรรมกว่า 2 แสนล้านเสียหาย ขอร้องอย่าประท้วง ยันพร้อมช่วยเหลือแรงงานประมง หากได้รับผลกระทบ ผบ.ทร.ลั่นเรือทุกลำต้องทำตามกฎหมาย ไม่มีผ่อนผันอีกต่อไป "สมยศ"สั่งจับตาการเคลื่อนไหว ชุมนุมผิดกฎหมายเจอเล่นงานแน่ เผยเรือประมงเริ่มหยุดหาปลา อาหารทะเลราคาขยับ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยถึงการบังคับใช้กฎหมายประมงใหม่ว่า ยังไม่ได้รับรายงานความไม่เรียบร้อยแต่อย่างใด และขอให้สื่อต้องช่วยดูด้วยว่าสิ่งที่ทำนั้น ทำตามข้อกฎหมายหรือไม่ ถ้าไปเขียนว่ามันเดือดร้อน ไม่มีสินค้าประมงบริโภควันนี้ดีกว่าไม่มีวันข้างหน้า แล้วถ้าวันข้างหน้าไม่ผ่านการประเมินจะทำอย่างไร มูลค่าธุรกิจเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้ง 2 แสนกว่าล้าน ถ้าหายไปทั้งหมด จะทำอย่างไร ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน โดยรัฐบาลก็จะดูแลในทุกมิติ แต่ในส่วนของผู้ประกอบการ ก็ต้องร่วมมือด้วย จะให้ผ่อนผันไปถึงเมื่อใด
"ตอนนี้กำลังหามาตรการว่าจะดูแลคนที่มีอาชีพเหล่านี้อย่างไร ซึ่งคนที่เดือดร้อน คือ ลูกเรือและชาวประมง จึงต้องดูแล แต่จะดูแลได้แค่ไหน กำลังดูอยู่ แต่ถ้ากดดันมาก ขอให้ชะลอ แล้วถ้าไม่ผ่านประเมิน จะรับผิดชอบด้วยกันหรือไม่ว่าสินค้า 2 แสนกว่าล้านที่ขายทั้งโลกไม่ได้ ก็เท่ากับเรือประมงทั้งหมดไม่สามารถออกทำมาหากินได้ วันนี้อันไหนที่ถูก ก็สามารถออกได้ อย่ามาประท้วง อย่าขุดคุ้ยให้เป็นเรื่อง"พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
***ยืนยันไม่มีการผ่อนผันอีกต่อไป
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฏหมาย (ศป.มผ.) กล่าวถึงกรณีชาวประมงเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือกรณีวันที่ 1 ก.ค.2558 จะสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันให้เรือประมงที่ไม่มีอาชญาบัตรถูกต้องทำการประมงว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่ในกรอบของ ศป.มผ. ก็พยายามอะลุ่มอล่วยที่สุดแล้ว ซึ่งเรือประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีอาชญาบัตร หรือความไม่พร้อมของเรือที่ค้างคามาตั้งแต่ปี 2539 เมื่อมีปัญหาเราก็จำเป็นต้องแก้ไขทีละขั้นตอน ดังนั้น เรือประมงที่พร้อม ก็สามารถออกหาปลาได้ ส่วนเรือที่ไม่พร้อม ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะมีเรือที่ถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมาย ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
สำหรับกรณีเรือประมงประกาศจะนัดหยุดจอดเรือที่อาจส่งผลกระทบหลายอย่างนั้น ตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่เป็นอะไร ก็คงต้องหยุดไป เพราะพวกเขาไม่พร้อม ในเมื่อรัฐบาลมอบหมายให้กองทัพเรือ เข้ามาแก้ไขปัญหานี้ ถ้ามีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น หากอะลุ่มอล่วยให้คงทำอะไรไม่ได้ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อเรือประมงที่ถูกฎหมายประมาณ 20,000 ลำได้
"การหารือกับกลุ่มเรือประมงเพื่อหาทางออกร่วมกัน ประเด็นนี้ต้องเข้าใจว่าการประชุมตนไม่เคยปิดกั้น รวมทั้งสมาคมทั้งในและนอกน่านน้ำ ตลอดจนสมาคมส่งออก ก็สามารถเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ เพื่อหาทางออก และให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ที่ดีที่สุด"
***วอนทุกคนเคารพการใช้กฎหมาย
พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวว่า สำหรับเครื่องตรวจจับสัญญาณ VMS เรายังไม่นำมาใช้ในวันที่ 1 ก.ค. แต่เราจะเลื่อนไปใช้อีก 6 เดือน โดยการที่เรือประมงประกาศจะจอดเรือวันที่ 4 ก.ค.นี้ ไม่ใช่ปัญหาที่จะต้องมาแก้ไข หากแต่ผู้ประกอบการเรือประมงจะต้องแก้ไขปัญหาให้เข้ามาอยู่ในกรอบ ซึ่งเราอย่าไปมองโจทย์ตามพวกเขา ยกตัวอย่าง ถ้าไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ถ้าไปเอาคนกลุ่มนี้ไปขับรถตามท้องถนน จะไปชนใครหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่กฎหมายได้ระบุชัดเจน ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ถึงจะสามารถขับรถได้ ก็เช่นเดียวกับการจับสัตว์น้ำในทะเล ก็มีกรอบกำหนดอยู่ โดยทางกรมประมงพร้อมให้การสนับสนุน และเรือประมงที่ถูกกฎหมายมีเพียงพอต่อการออกจับปลา และเพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชาชน ส่วนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ตนไม่ทราบ คงต้องประเมินกันอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อถามถึงกรณีชาวประมง จ.สมุทรสงคราม ออกมาเรียกร้องให้ ศป.มผ. ทบทวน เนื่องจากประกอบอาชีพบริเวณใกล้ฝั่ง ผบ.ศป.มผ. กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่าประมงใกล้ฝั่งกับประมงพื้นบ้าน แตกต่างกัน ซึ่งประมงพื้นบ้านทำการประมงห่างจากฝั่งเพียง 3,000 เมตร ซึ่งเป็นอวนลอย ไม่มีผลกระทบใดๆ เลย และเป็นเพียงประมงครอบครัว ส่วนอวนลากและอวนรุนนั้น ตรงนี้จะส่งผลกระทบ ทาง ศป.มผ.จะเป็นต้องตรวจสอบ แต่ถ้าเป็นการประมงน้ำตื้น เราจะไม่ยุ่ง
"ทางเรือประมงต้องแก้ไข ไม่ใช่ว่าทาง ศป.มผ. แก้ไขกฎหมาย เพื่อเอื้อให้กับผู้ประกอบการประมง กฎหมายเขียนในภาพกว้าง ทุกคนต้องปรับเข้าหากฎหมาย การทำงานของเรา ก็เหมือนตำรวจ ถ้าไม่สวมหมวกกันน็อก หรือมีใบอนุญาตขับขี่ คงไม่ได้ และปัญหานี้ก็ปล่อยเรื้อรังมานาน อีกทั้งปัญหาอาชญาบัตร ก็เกิดขึ้นมาเกือบ 20 ปีแล้ว เพราะปล่อยมานานไม่แก้ไขเลย จนกลายเป็นความเคยชิน" พล.ร.อ.ไกรสร กล่าว
พล.ร.อ.ไกรสรกล่าวว่า การที่ไอยูยูกำหนดมาตรการ 6 ข้อ ในการทำประมงนั้น ทางศป.มผ.ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน 2 เดือนแรก เกี่ยวกับนโยบายการประมงกับการแก้ไขกฎหมาย ได้ดำเนินการเสร็จ แต่อยู่ในช่วงการเสนอแก้ไขกฎหมาย และคาดว่า 1-2 เดือน จะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และจะส่งให้ไอยูยูรับทราบด้วย แต่ถ้ามีการทวงติงมา เราก็จะแก้ไขให้เป็นไปตามหลักสากล อีกทั้งทาง ศป.มผ. จะปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งมีแผนรองรับ การตรวจสอบย้อนกลับ ในขณะเดียวกันทางไอยูยู จะส่งตัวแทนมาพูดคุยกับเราในช่วงเดือนก.ย. โดยจะไม่มีการพูดถึงใบเหลือง ใบแดง ถ้าเราดำเนินการไปตามกรอบว่าจะตอบโจทย์หรือไม่ แต่ตนคิดว่าผลน่าจะออกมาในทางบวก ส่วนจะปลดออกจากใบเหลืองหรือไม่ ตนยังไม่ทราบ
***ผบ.ตร.สั่งจับตากลุ่มประมงเคลื่อนไหว
พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่ชาวประมงนัดหยุดเดินเรือ หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายบังคับเรือที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงกรณีตรวจสอบใบอาชญาบัตรเรือ โดยไม่มีการผ่อนผัน ตามคำสั่งของ ศปมผ. ว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายรัฐบาลที่จะต้องแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับกรณีที่ประเทศสหรัฐฯ ประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับเทียร์ 3 หรือกรณีการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งหากไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ สหภาพยุโรปก็จะแซงชั่น เลิกทำธุรกิจกับเรา ก็ต้องคิดกันให้ดีว่าสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำคืออะไร เพราะเรื่องนี้เขาร้องขอ หรือเตือนเรามาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว แต่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ไม่ได้มีการดำเนินการแก้ปัญหา รัฐบาลนี้ภายใต้นำของ พล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เราเพิ่งจะมาเอาจริงเอาจัง หรือแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด
"การทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย แน่นอนมันย่อมจะกระทบกระเทือน หรืออาจจะไม่คุ้นกับสิ่งนั้น แต่คิดให้ดีๆ นะว่าผลที่เกิดขึ้นในวันนี้ ท่านอาจจะอึดอัดหรืออาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยกับกฎหมายและระเบียบที่กำลังถูกเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าคิดให้ดี ถ้าผลกระทบเกิดขึ้นอย่างนี้ต่อไป ความเสียหายมันมากกว่าที่ได้รับ พวกเราอาจจะคิดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้กระทบกับตัว แต่ท่านไม่คุ้นเคย วันนี้เราต้องปรับตัว สังคมโลกมันเปลี่ยนแปลง ถ้าประเทศไทยยังอยากจะอยู่ในสังคมโลก ยังอยากจะมีความผูกพันหรืออยากจะเป็นส่วนหนึ่งอารยชนหรือประเทศที่เจริญแล้ว ต้องปรับตัว วันข้างหน้าเราจะเดือนร้อนยิ่งกว่านี้ และท่านจะรู้สึกเองว่าถ้าไม่รีบปรับตัววันนี้ ผลกระทบที่ตามมามันมากกว่าที่จะคาดคิด” พล.ต.อ.สมยศกล่าว
ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศยังได้ฝากไปถึงพี่น้องชาวประมงว่า หากจะมีปฏิกิริยาใดๆ ก็แล้วแต่ ให้คำนึงคิด ไตร่ตรอง ใคร่ครวญให้ดีว่าสิ่งที่กำลังจะทำ กำลังจะประกาศว่าไม่ยอมรับ ทำถูกต้องไม่ยอมรับกฎหมายที่รัฐบาลทำให้ดีขึ้นแล้วอารยชนประเทศที่เจริญแล้วเขาปฏิบัติกัน ท่านไม่อยากสานสัมพันธ์กับพวกเขาอีกแล้วใช่หรือไม่ เรือประมง 3-4 พันลำ เมื่อเทียบกับชาวประมงทั้งประเทศที่มีหลายหมื่นลำ คิดว่าส่วนของท่านไปทำให้อีกหลายหมื่นลำเดือนร้อน ก็ไตร่ตรองดู เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายความมั่นคงก็มีหน้าที่ปฏิบัติ เราก็ป้องกันเหตุไม่ให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น และถ้าท่านทำผิดกฎหมายเราก็ต้องรักษากฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย
***หากชุมชุมผิดกฎหมายเจ้าหน้าที่ต้องจัดการ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการชุมนุมสามารถทำได้หรือไม่ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ก็ต้องดูว่าการชุมนุมนั้นส่งผลกระทบแค่ไหน ขัดกับคำสั่งของ คสช. หรือไม่ ขัดกฎหมายไหม ถ้าขัดก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ต้องเข้าดำเนินการ
เมื่อถามต่อว่า การชุมนุมครั้งนี้ไม่ได้เป็นการชุมนุมทางการเมืองใช่หรือไม่ ผบ.ตร.กล่าวว่า ตรงนี้ตนไม่ทราบ ต้องรอให้มีการชุมนุมเกิดขึ้นก่อนว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร แต่สิ่งที่ตนอยากจะฝากถึงท่านเหล่านั้นว่า คิดถึงประเทศชาติ รัฐบาลกำลังเดินมาถูกทางแล้ว และกำลังทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย และสิ่งที่ประชาคมโลกไม่ยอมรับให้ถูกกฎหมาย และก็ทำให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เพื่อจะแก้ปัญหาเทียร์ 3 ถ้าทำแบบนี้เท่ากับใช้กฎหมู่บังคับรัฐบาล ปล่อยให้เป็นอย่างเดิม หมายความว่าท่านไม่ยอมรับกฎหมายใช่หรือไม่ หรือไม่ยอมรับความถูกต้อง จะอยู่เป็นคนประเภทไหนในสังคม ประเภทที่ทำให้ประเทศชาติเดือนร้อนต่อเนื่องไปในอนาคต หรือจะยอมปรับตัว ลำบากและอึดอัดตอนนี้แต่วันข้างหน้าก็สบายขึ้น และได้รับการยอมรับจากสังคมโลก ก็คิดดู
***เรือประมงหยุดออกหาปลา
ผู้สื่อข่าวได้ออกไปสำรวจตามท่าเทียบเรือในจังหวัดต่างๆ พบว่า ที่ อ.ขลุง ท่าใหม่ แหลมสิงห์ และนายายอาม จ.จันทบุรี พบว่า เรือประมงขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กว่า 2,000 ลำ จอดลอยลำจนล้นท่าเทียบเรือประมง ที่ท่าเทียบเรือจรินทร์ ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เรือประมงชายฝั่งขนาดกลางและขนาดเล็ก ต่างนำเรือประมงเข้าจอดเทียบท่าและลอยลำไว้ใกล้ท่าเทียบเรือ ที่ชุมชนบ้านช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เรือประมงทุกชนิดกว่า 300 ลำได้จอดทิ้งสมอหยุดออกหาปลา และที่ท่าเรือประมง 3 แห่งใน ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่เป็นท่าเรือที่มีเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่กว่า 800 ลำบรรยากาศไปด้วยความเงียบเหงา เรือทุกลำต่างหยุดออกหาปลาเช่นเดียวกัน
ส่วนที่ภาคใต้ ที่จ.สงขลา เรือประมงขนาดเล็กและขนาดใหญจอดลอยลำจนล้นท่าเทียบเรือประมงใหม่ ที่จ.ระนอง ตามแพปลา และท่าจอดเรือต่างๆ มีเรือขนาด 30-60 ตันกรอส จอดเรียงรายกันเป็นแถวยาวจำนวนหลายร้อยลำ ที่ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช มีผู้ประกอบการแพปลา เหลือเพียง 4 ช่องจากทั้งหมด 30 ช่อง ที่ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีเรือประมงกว่า 600 ลำเริ่มทยอยนำเรือเข้ามาจอด
ทั้งนี้ ผลจากการที่เรือประมงหยุดออกหาปลา ทำให้ราคาอาหารทะเล เริ่มขาดตลาด และมีราคาสูงขึ้น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยถึงการบังคับใช้กฎหมายประมงใหม่ว่า ยังไม่ได้รับรายงานความไม่เรียบร้อยแต่อย่างใด และขอให้สื่อต้องช่วยดูด้วยว่าสิ่งที่ทำนั้น ทำตามข้อกฎหมายหรือไม่ ถ้าไปเขียนว่ามันเดือดร้อน ไม่มีสินค้าประมงบริโภควันนี้ดีกว่าไม่มีวันข้างหน้า แล้วถ้าวันข้างหน้าไม่ผ่านการประเมินจะทำอย่างไร มูลค่าธุรกิจเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้ง 2 แสนกว่าล้าน ถ้าหายไปทั้งหมด จะทำอย่างไร ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน โดยรัฐบาลก็จะดูแลในทุกมิติ แต่ในส่วนของผู้ประกอบการ ก็ต้องร่วมมือด้วย จะให้ผ่อนผันไปถึงเมื่อใด
"ตอนนี้กำลังหามาตรการว่าจะดูแลคนที่มีอาชีพเหล่านี้อย่างไร ซึ่งคนที่เดือดร้อน คือ ลูกเรือและชาวประมง จึงต้องดูแล แต่จะดูแลได้แค่ไหน กำลังดูอยู่ แต่ถ้ากดดันมาก ขอให้ชะลอ แล้วถ้าไม่ผ่านประเมิน จะรับผิดชอบด้วยกันหรือไม่ว่าสินค้า 2 แสนกว่าล้านที่ขายทั้งโลกไม่ได้ ก็เท่ากับเรือประมงทั้งหมดไม่สามารถออกทำมาหากินได้ วันนี้อันไหนที่ถูก ก็สามารถออกได้ อย่ามาประท้วง อย่าขุดคุ้ยให้เป็นเรื่อง"พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
***ยืนยันไม่มีการผ่อนผันอีกต่อไป
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฏหมาย (ศป.มผ.) กล่าวถึงกรณีชาวประมงเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือกรณีวันที่ 1 ก.ค.2558 จะสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันให้เรือประมงที่ไม่มีอาชญาบัตรถูกต้องทำการประมงว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่ในกรอบของ ศป.มผ. ก็พยายามอะลุ่มอล่วยที่สุดแล้ว ซึ่งเรือประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีอาชญาบัตร หรือความไม่พร้อมของเรือที่ค้างคามาตั้งแต่ปี 2539 เมื่อมีปัญหาเราก็จำเป็นต้องแก้ไขทีละขั้นตอน ดังนั้น เรือประมงที่พร้อม ก็สามารถออกหาปลาได้ ส่วนเรือที่ไม่พร้อม ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะมีเรือที่ถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมาย ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
สำหรับกรณีเรือประมงประกาศจะนัดหยุดจอดเรือที่อาจส่งผลกระทบหลายอย่างนั้น ตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่เป็นอะไร ก็คงต้องหยุดไป เพราะพวกเขาไม่พร้อม ในเมื่อรัฐบาลมอบหมายให้กองทัพเรือ เข้ามาแก้ไขปัญหานี้ ถ้ามีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น หากอะลุ่มอล่วยให้คงทำอะไรไม่ได้ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อเรือประมงที่ถูกฎหมายประมาณ 20,000 ลำได้
"การหารือกับกลุ่มเรือประมงเพื่อหาทางออกร่วมกัน ประเด็นนี้ต้องเข้าใจว่าการประชุมตนไม่เคยปิดกั้น รวมทั้งสมาคมทั้งในและนอกน่านน้ำ ตลอดจนสมาคมส่งออก ก็สามารถเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ เพื่อหาทางออก และให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ที่ดีที่สุด"
***วอนทุกคนเคารพการใช้กฎหมาย
พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวว่า สำหรับเครื่องตรวจจับสัญญาณ VMS เรายังไม่นำมาใช้ในวันที่ 1 ก.ค. แต่เราจะเลื่อนไปใช้อีก 6 เดือน โดยการที่เรือประมงประกาศจะจอดเรือวันที่ 4 ก.ค.นี้ ไม่ใช่ปัญหาที่จะต้องมาแก้ไข หากแต่ผู้ประกอบการเรือประมงจะต้องแก้ไขปัญหาให้เข้ามาอยู่ในกรอบ ซึ่งเราอย่าไปมองโจทย์ตามพวกเขา ยกตัวอย่าง ถ้าไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ถ้าไปเอาคนกลุ่มนี้ไปขับรถตามท้องถนน จะไปชนใครหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่กฎหมายได้ระบุชัดเจน ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ถึงจะสามารถขับรถได้ ก็เช่นเดียวกับการจับสัตว์น้ำในทะเล ก็มีกรอบกำหนดอยู่ โดยทางกรมประมงพร้อมให้การสนับสนุน และเรือประมงที่ถูกกฎหมายมีเพียงพอต่อการออกจับปลา และเพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชาชน ส่วนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ตนไม่ทราบ คงต้องประเมินกันอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อถามถึงกรณีชาวประมง จ.สมุทรสงคราม ออกมาเรียกร้องให้ ศป.มผ. ทบทวน เนื่องจากประกอบอาชีพบริเวณใกล้ฝั่ง ผบ.ศป.มผ. กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่าประมงใกล้ฝั่งกับประมงพื้นบ้าน แตกต่างกัน ซึ่งประมงพื้นบ้านทำการประมงห่างจากฝั่งเพียง 3,000 เมตร ซึ่งเป็นอวนลอย ไม่มีผลกระทบใดๆ เลย และเป็นเพียงประมงครอบครัว ส่วนอวนลากและอวนรุนนั้น ตรงนี้จะส่งผลกระทบ ทาง ศป.มผ.จะเป็นต้องตรวจสอบ แต่ถ้าเป็นการประมงน้ำตื้น เราจะไม่ยุ่ง
"ทางเรือประมงต้องแก้ไข ไม่ใช่ว่าทาง ศป.มผ. แก้ไขกฎหมาย เพื่อเอื้อให้กับผู้ประกอบการประมง กฎหมายเขียนในภาพกว้าง ทุกคนต้องปรับเข้าหากฎหมาย การทำงานของเรา ก็เหมือนตำรวจ ถ้าไม่สวมหมวกกันน็อก หรือมีใบอนุญาตขับขี่ คงไม่ได้ และปัญหานี้ก็ปล่อยเรื้อรังมานาน อีกทั้งปัญหาอาชญาบัตร ก็เกิดขึ้นมาเกือบ 20 ปีแล้ว เพราะปล่อยมานานไม่แก้ไขเลย จนกลายเป็นความเคยชิน" พล.ร.อ.ไกรสร กล่าว
พล.ร.อ.ไกรสรกล่าวว่า การที่ไอยูยูกำหนดมาตรการ 6 ข้อ ในการทำประมงนั้น ทางศป.มผ.ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน 2 เดือนแรก เกี่ยวกับนโยบายการประมงกับการแก้ไขกฎหมาย ได้ดำเนินการเสร็จ แต่อยู่ในช่วงการเสนอแก้ไขกฎหมาย และคาดว่า 1-2 เดือน จะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และจะส่งให้ไอยูยูรับทราบด้วย แต่ถ้ามีการทวงติงมา เราก็จะแก้ไขให้เป็นไปตามหลักสากล อีกทั้งทาง ศป.มผ. จะปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งมีแผนรองรับ การตรวจสอบย้อนกลับ ในขณะเดียวกันทางไอยูยู จะส่งตัวแทนมาพูดคุยกับเราในช่วงเดือนก.ย. โดยจะไม่มีการพูดถึงใบเหลือง ใบแดง ถ้าเราดำเนินการไปตามกรอบว่าจะตอบโจทย์หรือไม่ แต่ตนคิดว่าผลน่าจะออกมาในทางบวก ส่วนจะปลดออกจากใบเหลืองหรือไม่ ตนยังไม่ทราบ
***ผบ.ตร.สั่งจับตากลุ่มประมงเคลื่อนไหว
พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่ชาวประมงนัดหยุดเดินเรือ หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายบังคับเรือที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงกรณีตรวจสอบใบอาชญาบัตรเรือ โดยไม่มีการผ่อนผัน ตามคำสั่งของ ศปมผ. ว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายรัฐบาลที่จะต้องแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับกรณีที่ประเทศสหรัฐฯ ประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับเทียร์ 3 หรือกรณีการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งหากไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ สหภาพยุโรปก็จะแซงชั่น เลิกทำธุรกิจกับเรา ก็ต้องคิดกันให้ดีว่าสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำคืออะไร เพราะเรื่องนี้เขาร้องขอ หรือเตือนเรามาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว แต่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ไม่ได้มีการดำเนินการแก้ปัญหา รัฐบาลนี้ภายใต้นำของ พล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เราเพิ่งจะมาเอาจริงเอาจัง หรือแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด
"การทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย แน่นอนมันย่อมจะกระทบกระเทือน หรืออาจจะไม่คุ้นกับสิ่งนั้น แต่คิดให้ดีๆ นะว่าผลที่เกิดขึ้นในวันนี้ ท่านอาจจะอึดอัดหรืออาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยกับกฎหมายและระเบียบที่กำลังถูกเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าคิดให้ดี ถ้าผลกระทบเกิดขึ้นอย่างนี้ต่อไป ความเสียหายมันมากกว่าที่ได้รับ พวกเราอาจจะคิดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้กระทบกับตัว แต่ท่านไม่คุ้นเคย วันนี้เราต้องปรับตัว สังคมโลกมันเปลี่ยนแปลง ถ้าประเทศไทยยังอยากจะอยู่ในสังคมโลก ยังอยากจะมีความผูกพันหรืออยากจะเป็นส่วนหนึ่งอารยชนหรือประเทศที่เจริญแล้ว ต้องปรับตัว วันข้างหน้าเราจะเดือนร้อนยิ่งกว่านี้ และท่านจะรู้สึกเองว่าถ้าไม่รีบปรับตัววันนี้ ผลกระทบที่ตามมามันมากกว่าที่จะคาดคิด” พล.ต.อ.สมยศกล่าว
ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศยังได้ฝากไปถึงพี่น้องชาวประมงว่า หากจะมีปฏิกิริยาใดๆ ก็แล้วแต่ ให้คำนึงคิด ไตร่ตรอง ใคร่ครวญให้ดีว่าสิ่งที่กำลังจะทำ กำลังจะประกาศว่าไม่ยอมรับ ทำถูกต้องไม่ยอมรับกฎหมายที่รัฐบาลทำให้ดีขึ้นแล้วอารยชนประเทศที่เจริญแล้วเขาปฏิบัติกัน ท่านไม่อยากสานสัมพันธ์กับพวกเขาอีกแล้วใช่หรือไม่ เรือประมง 3-4 พันลำ เมื่อเทียบกับชาวประมงทั้งประเทศที่มีหลายหมื่นลำ คิดว่าส่วนของท่านไปทำให้อีกหลายหมื่นลำเดือนร้อน ก็ไตร่ตรองดู เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายความมั่นคงก็มีหน้าที่ปฏิบัติ เราก็ป้องกันเหตุไม่ให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น และถ้าท่านทำผิดกฎหมายเราก็ต้องรักษากฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย
***หากชุมชุมผิดกฎหมายเจ้าหน้าที่ต้องจัดการ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการชุมนุมสามารถทำได้หรือไม่ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ก็ต้องดูว่าการชุมนุมนั้นส่งผลกระทบแค่ไหน ขัดกับคำสั่งของ คสช. หรือไม่ ขัดกฎหมายไหม ถ้าขัดก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ต้องเข้าดำเนินการ
เมื่อถามต่อว่า การชุมนุมครั้งนี้ไม่ได้เป็นการชุมนุมทางการเมืองใช่หรือไม่ ผบ.ตร.กล่าวว่า ตรงนี้ตนไม่ทราบ ต้องรอให้มีการชุมนุมเกิดขึ้นก่อนว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร แต่สิ่งที่ตนอยากจะฝากถึงท่านเหล่านั้นว่า คิดถึงประเทศชาติ รัฐบาลกำลังเดินมาถูกทางแล้ว และกำลังทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย และสิ่งที่ประชาคมโลกไม่ยอมรับให้ถูกกฎหมาย และก็ทำให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เพื่อจะแก้ปัญหาเทียร์ 3 ถ้าทำแบบนี้เท่ากับใช้กฎหมู่บังคับรัฐบาล ปล่อยให้เป็นอย่างเดิม หมายความว่าท่านไม่ยอมรับกฎหมายใช่หรือไม่ หรือไม่ยอมรับความถูกต้อง จะอยู่เป็นคนประเภทไหนในสังคม ประเภทที่ทำให้ประเทศชาติเดือนร้อนต่อเนื่องไปในอนาคต หรือจะยอมปรับตัว ลำบากและอึดอัดตอนนี้แต่วันข้างหน้าก็สบายขึ้น และได้รับการยอมรับจากสังคมโลก ก็คิดดู
***เรือประมงหยุดออกหาปลา
ผู้สื่อข่าวได้ออกไปสำรวจตามท่าเทียบเรือในจังหวัดต่างๆ พบว่า ที่ อ.ขลุง ท่าใหม่ แหลมสิงห์ และนายายอาม จ.จันทบุรี พบว่า เรือประมงขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กว่า 2,000 ลำ จอดลอยลำจนล้นท่าเทียบเรือประมง ที่ท่าเทียบเรือจรินทร์ ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เรือประมงชายฝั่งขนาดกลางและขนาดเล็ก ต่างนำเรือประมงเข้าจอดเทียบท่าและลอยลำไว้ใกล้ท่าเทียบเรือ ที่ชุมชนบ้านช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เรือประมงทุกชนิดกว่า 300 ลำได้จอดทิ้งสมอหยุดออกหาปลา และที่ท่าเรือประมง 3 แห่งใน ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่เป็นท่าเรือที่มีเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่กว่า 800 ลำบรรยากาศไปด้วยความเงียบเหงา เรือทุกลำต่างหยุดออกหาปลาเช่นเดียวกัน
ส่วนที่ภาคใต้ ที่จ.สงขลา เรือประมงขนาดเล็กและขนาดใหญจอดลอยลำจนล้นท่าเทียบเรือประมงใหม่ ที่จ.ระนอง ตามแพปลา และท่าจอดเรือต่างๆ มีเรือขนาด 30-60 ตันกรอส จอดเรียงรายกันเป็นแถวยาวจำนวนหลายร้อยลำ ที่ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช มีผู้ประกอบการแพปลา เหลือเพียง 4 ช่องจากทั้งหมด 30 ช่อง ที่ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีเรือประมงกว่า 600 ลำเริ่มทยอยนำเรือเข้ามาจอด
ทั้งนี้ ผลจากการที่เรือประมงหยุดออกหาปลา ทำให้ราคาอาหารทะเล เริ่มขาดตลาด และมีราคาสูงขึ้น