วานนี้ (1ก.ค.) นางชนิญญา ชัยสุวรรณ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครอง สำนักงานอัยการสุงสุด แถลงจุดยืนคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ กรณีเปิดช่องให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงอัยการสูงสุด โดยกล่าวถึงการคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่ว่าด้วยองค์กรอัยการว่า สำนักงานอัยการเป็นของประชาชน เพราะรับเงินภาษีมาจากประชาชนในการทำงาน เป็นองค์กรหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมอยู่ในชั้นกลางน้ำ ระหว่างจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมาศาล จึงต้องทำงานเพื่อประชาชน
ดังนั้น การก้าวก่ายสำนักงานอัยการ คือการก้าวก่ายประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด จึงยื่นคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญในหลายประเด็น ที่รู้สึกว่าการทำงานถูกคุกคามโดยการถูกครอบงำ จึงต้องการสะท้อนออกไป เพราะเราไม่สามารถตั้งชุมนุมได้ โดยได้รวบรวมรายชื่อได้แล้วกว่า 500 รายชื่อ เพื่อขอให้มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนนี้ ตนจึงขอความสะท้อนจากสื่อไปยังประชาชน และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า การร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ควรมองด้านเดียวจะส่งผลเสีย
ขณะที่ ตัวร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะตัวบทที่ระบุให้ประธานคณะกรรมการอัยการมาจากคนนอก โดยต้องไม่เคยผ่านการเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นนักการเมืองนั้น มีข้อสงสัยว่า คนนอกตรงนี้จะมาจากไหน และจะรับรองได้อย่างไรว่า จะไม่รับคำสั่งนักการเมือง จึงควรมาจากผู้ที่เคยเป็นข้าราชการอัยการ เนื่องจากจะมีความเข้าใจระเบียบการบริหารงานบุคคล และการบริหารราชการของสำนักงานอัยการสุงสุด ตลอดจนจารีตประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติของข้าราชการอัยการได้ดีกว่าบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ การคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุให้มีกรรมการอัยการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ได้เป็น หรือเคยเป็นข้าราชการอัยการจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการอัยการที่เป็นข้าราชการอัยการ จึงตั้งข้อสงสัยว่า จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 นั้น มากกว่าเท่าใด หากรวมประธานด้วย ก็จะมีกรรมการรวม 15 คน ดังนั้น 1 ใน 3 คือ จำนวนมากกว่า 5 คน ซึ่งอาจมาจากคนนอกทั้งหมดก็เป็นได้ เพราะไม่มีการกำหนดจำนวนอย่างชัดเจน อีกทั้งไม่มีการระบุคุณสมบัติ ว่ากรรมการอัยการคนนอกจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนี้ ก็มีกรรมการคนนอก 4 คน และกรรมการที่เป็นอัยการ 11 คน ซึ่งยังไม่พบปัญหาใดๆในการดำเนินการ
ส่วนคำชี้ขาดของสำนวนคดีที่อัยการทำขึ้น หลังคณะกมธ.ยกร่างฯ ระบุให้ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะนั้น เห็นว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีหลักประกันคุ้มครองผู้เสียหาย และพยานบุคคล วัตถุ เอกสาร เนื่องจากในบางส่วนยังไม่สามารถเปิดเผยได้ จะมาขอดูสำนวนสอบสวนไม่ได้
** ขัดใจห้ามเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ การที่คณะ กมธ.ยกร่างฯ ได้ระบุห้ามพนักงานอัยการ เป็นกรรมการ หรือทำหน้าที่ใดๆ ในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการใดๆ ของรัฐนั้น ทางอัยการสูงสุดไม่ได้เดือดร้อนในการได้เงิน แต่มองประโยชน์ของรัฐ ทางอัยการสูงสุดต้องรับผิดชอบทางแพ่ง ทางอาญา คือ มีวินัยควบคุมการทำงานอยู่แล้ว การทำหน้าที่ใดๆก็ต้องเอาประโยชน์ของรัฐเป็นที่ตั้ง อาจเพราะในอดีตคนมองหรือสงสัยว่าจะไปมีผลประโยชน์ได้เสีย แต่ก็ไม่ไปดำเนินการทางแพ่ง ทางอาญา แล้วรัฐวิสาหกิจ จะไม่ต้องใช้นักกฎหมายหรือ ถ้าไม่ให้นั่งในกรรมการ หรือทำหน้าที่ใดๆ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการใดๆ ของรัฐ ก็จะทำให้องค์กรเหล่านี้เสียผลประโยชน์ของประเทศ ที่ต้องจ้างทนายความเอกชนจำนวนมาก และผูกพันเพียงสัญญาว่าจ้างธรรมดา ที่ผ่านมาหลายครั้ง รัฐต้องเสียผลประโยชน์ในการสู้คดีจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานอัยการ ยื่นหนังสือคัดค้านไปยังนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะ กมธ.ยกร่างฯ แล้ว
** เคาะแนวทางนิรโทษ-ปรองดอง
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. เปิดเผยว่า ในวันนี้ (2 ก.ค.) เวลา13.30 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการฯชุดใหญ่ เพื่อพิจารณารายงานและแนวทางการสร้างความปรองดอง ที่คณะทำงานชุดเล็กได้ดำเนินการพิจารณา ก่อนจะนำเสนอให้กับ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เพื่อพิจารณาและนำเสนอให้กับรัฐบาลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการสร้างความปรองดองเพิ่มเติมจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับแนวทางการสร้างความปรองดองตามรายงานเบื้องต้น จะเป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการเยียวยากับผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม และถูกดำเนินคดีในความผิดที่เกี่ยวกับกฎหมายความมั่นคง และการห้ามการชุมนุม โดยข้อเสนอของการอภัยโทษ และการนิรโทษกรรมนั้น จะไม่เกี่ยวกับบุคคลที่เป็นผู้กระทำผิดในคดีหมิ่นสถาบันฯ หรือ กฎหมายอาญา รวมถึงข้อเสนอจะไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมสุดซอย หรือ เสนอให้นิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
ส่วนข้อเสนอการสร้างความปรองดองนั้น จะมีแนวทางที่กำหนดในการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน เบื้องต้นจะเป็นการดึงทุกภาคส่วนที่เป็นคู่ขัดแย้ง ให้มาร่วมกันทำงาน อย่างไรก็ตาม ตนยอมรับว่าการสร้างความปรองดองในสถานการณ์ความขัดแย้ง อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สำเร็จ แต่หากคู่ขัดแย้งอะลุ้มอะล่วยและยอมกัน คาดว่าจะทำความปรองดองให้เกิดได้เป็นอย่างน้อย
** ขอกมธ.แจงความคืบหน้าทุกสัปดาห์
นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำลังปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ว่า สิ่งที่ทุกคนอยากเห็นตอนนี้คือการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างฯ ในประเด็นหลักๆ ที่เป็นหัวใจสำคัญ อาทิ ที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มาของส.ว.และ ส.ส. กลุ่มการเมือง เพราะเมื่อพูดว่าให้อำนาจประชาชนเป็นใหญ่ เรายังยืนยันจุดยืนเดิมว่า นายกฯต้องมาจากประชาชน
นอกจากนี้ การที่จะลงมติให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านนั้น ต้องดูเนื้อหา และเราอยากให้รัฐธรรมนูญที่ออกมา เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ เพราะถ้าสังคมไม่ยอมรับ ก็ต้องถูกนำมาแก้ไขกันใหม่ และกลับมาทะเลาะกันอีก วังวนเดิมจะกลับมาสู่การรัฐประหารอีก ทั้งนี้ส่วนตัวอยากเสนอให้ กมธ.ยกร่างฯ รายงานความคืบหน้าการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญต่อที่ประชุม สปช. ทุกสัปดาห์ ว่าได้ดำเนินการแก้ไขไปกี่มาตราแล้ว เพื่อที่สมาชิก สปช. จะได้อภิปรายทักทวงข้อบกพร่อง ให้กมธ.ยกร่างฯ รับไปพิจารณาปรับแก้ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ก่อนที่จะส่งให้ สปช. ในวันที่ 22 ส.ค.นี้
ด้านนายอุดม ทุมโฆษิต สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช). กล่าวถึง การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า การเขียนรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ถูกร่างก้าวหน้ากว่าความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของประชาชนมาตลอด จึงเกิดนักการเมืองเข้ามาฉกฉวยโอกาสจากอำนาจรัฐ เรียกอีกนัยหนึ่งคือ กฎหมายที่กำหนดกติกาประชาธิปไตยก้าวไกลกว่าความจริงที่เกิดในภาคปฏิบัติ ตนจึงสันนิษฐานว่า แนวคิดของผู้ร่างได้ดึงประชาธิปไตยถอยหลังมาปี 40 พอสมควร เพราะคิดว่าล้ำหน้าเกินไป แต่ฝ่ายการเมืองจะไม่ยอมแน่ เพราะเสียประโยชน์หลายประเด็น อาทิ ปมที่มานายกฯ เชื่อว่า ม.ค.-ก.พ. ปี 59 ที่
ประมาณการว่าจะทำประชามตินั้น ประชาชนคงไม่ค่อยสนใจเนื้อหาร่างมากมายนัก แต่ที่เขาสนใจคือ กระแสเรื่องปากท้อง หรือ ปัญหาภัยแล้ง รวมถึงกระแสด้านการเมืองด้วย จึงเป็นสิ่งที่ผู้ร่าง ผู้เกี่ยวข้องจะต้องคิด แต่ทั้งนี้เชื่อว่า หากไม่เหลือบ่ากว่าแรงเกินไป หลังสปช.รับรองแล้ว ประชาชนคงผ่านประชามติให้
ดังนั้น การก้าวก่ายสำนักงานอัยการ คือการก้าวก่ายประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด จึงยื่นคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญในหลายประเด็น ที่รู้สึกว่าการทำงานถูกคุกคามโดยการถูกครอบงำ จึงต้องการสะท้อนออกไป เพราะเราไม่สามารถตั้งชุมนุมได้ โดยได้รวบรวมรายชื่อได้แล้วกว่า 500 รายชื่อ เพื่อขอให้มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนนี้ ตนจึงขอความสะท้อนจากสื่อไปยังประชาชน และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า การร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ควรมองด้านเดียวจะส่งผลเสีย
ขณะที่ ตัวร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะตัวบทที่ระบุให้ประธานคณะกรรมการอัยการมาจากคนนอก โดยต้องไม่เคยผ่านการเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นนักการเมืองนั้น มีข้อสงสัยว่า คนนอกตรงนี้จะมาจากไหน และจะรับรองได้อย่างไรว่า จะไม่รับคำสั่งนักการเมือง จึงควรมาจากผู้ที่เคยเป็นข้าราชการอัยการ เนื่องจากจะมีความเข้าใจระเบียบการบริหารงานบุคคล และการบริหารราชการของสำนักงานอัยการสุงสุด ตลอดจนจารีตประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติของข้าราชการอัยการได้ดีกว่าบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ การคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุให้มีกรรมการอัยการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ได้เป็น หรือเคยเป็นข้าราชการอัยการจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการอัยการที่เป็นข้าราชการอัยการ จึงตั้งข้อสงสัยว่า จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 นั้น มากกว่าเท่าใด หากรวมประธานด้วย ก็จะมีกรรมการรวม 15 คน ดังนั้น 1 ใน 3 คือ จำนวนมากกว่า 5 คน ซึ่งอาจมาจากคนนอกทั้งหมดก็เป็นได้ เพราะไม่มีการกำหนดจำนวนอย่างชัดเจน อีกทั้งไม่มีการระบุคุณสมบัติ ว่ากรรมการอัยการคนนอกจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนี้ ก็มีกรรมการคนนอก 4 คน และกรรมการที่เป็นอัยการ 11 คน ซึ่งยังไม่พบปัญหาใดๆในการดำเนินการ
ส่วนคำชี้ขาดของสำนวนคดีที่อัยการทำขึ้น หลังคณะกมธ.ยกร่างฯ ระบุให้ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะนั้น เห็นว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีหลักประกันคุ้มครองผู้เสียหาย และพยานบุคคล วัตถุ เอกสาร เนื่องจากในบางส่วนยังไม่สามารถเปิดเผยได้ จะมาขอดูสำนวนสอบสวนไม่ได้
** ขัดใจห้ามเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ การที่คณะ กมธ.ยกร่างฯ ได้ระบุห้ามพนักงานอัยการ เป็นกรรมการ หรือทำหน้าที่ใดๆ ในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการใดๆ ของรัฐนั้น ทางอัยการสูงสุดไม่ได้เดือดร้อนในการได้เงิน แต่มองประโยชน์ของรัฐ ทางอัยการสูงสุดต้องรับผิดชอบทางแพ่ง ทางอาญา คือ มีวินัยควบคุมการทำงานอยู่แล้ว การทำหน้าที่ใดๆก็ต้องเอาประโยชน์ของรัฐเป็นที่ตั้ง อาจเพราะในอดีตคนมองหรือสงสัยว่าจะไปมีผลประโยชน์ได้เสีย แต่ก็ไม่ไปดำเนินการทางแพ่ง ทางอาญา แล้วรัฐวิสาหกิจ จะไม่ต้องใช้นักกฎหมายหรือ ถ้าไม่ให้นั่งในกรรมการ หรือทำหน้าที่ใดๆ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการใดๆ ของรัฐ ก็จะทำให้องค์กรเหล่านี้เสียผลประโยชน์ของประเทศ ที่ต้องจ้างทนายความเอกชนจำนวนมาก และผูกพันเพียงสัญญาว่าจ้างธรรมดา ที่ผ่านมาหลายครั้ง รัฐต้องเสียผลประโยชน์ในการสู้คดีจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานอัยการ ยื่นหนังสือคัดค้านไปยังนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะ กมธ.ยกร่างฯ แล้ว
** เคาะแนวทางนิรโทษ-ปรองดอง
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. เปิดเผยว่า ในวันนี้ (2 ก.ค.) เวลา13.30 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการฯชุดใหญ่ เพื่อพิจารณารายงานและแนวทางการสร้างความปรองดอง ที่คณะทำงานชุดเล็กได้ดำเนินการพิจารณา ก่อนจะนำเสนอให้กับ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เพื่อพิจารณาและนำเสนอให้กับรัฐบาลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการสร้างความปรองดองเพิ่มเติมจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับแนวทางการสร้างความปรองดองตามรายงานเบื้องต้น จะเป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการเยียวยากับผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม และถูกดำเนินคดีในความผิดที่เกี่ยวกับกฎหมายความมั่นคง และการห้ามการชุมนุม โดยข้อเสนอของการอภัยโทษ และการนิรโทษกรรมนั้น จะไม่เกี่ยวกับบุคคลที่เป็นผู้กระทำผิดในคดีหมิ่นสถาบันฯ หรือ กฎหมายอาญา รวมถึงข้อเสนอจะไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมสุดซอย หรือ เสนอให้นิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
ส่วนข้อเสนอการสร้างความปรองดองนั้น จะมีแนวทางที่กำหนดในการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน เบื้องต้นจะเป็นการดึงทุกภาคส่วนที่เป็นคู่ขัดแย้ง ให้มาร่วมกันทำงาน อย่างไรก็ตาม ตนยอมรับว่าการสร้างความปรองดองในสถานการณ์ความขัดแย้ง อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สำเร็จ แต่หากคู่ขัดแย้งอะลุ้มอะล่วยและยอมกัน คาดว่าจะทำความปรองดองให้เกิดได้เป็นอย่างน้อย
** ขอกมธ.แจงความคืบหน้าทุกสัปดาห์
นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำลังปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ว่า สิ่งที่ทุกคนอยากเห็นตอนนี้คือการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างฯ ในประเด็นหลักๆ ที่เป็นหัวใจสำคัญ อาทิ ที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มาของส.ว.และ ส.ส. กลุ่มการเมือง เพราะเมื่อพูดว่าให้อำนาจประชาชนเป็นใหญ่ เรายังยืนยันจุดยืนเดิมว่า นายกฯต้องมาจากประชาชน
นอกจากนี้ การที่จะลงมติให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านนั้น ต้องดูเนื้อหา และเราอยากให้รัฐธรรมนูญที่ออกมา เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ เพราะถ้าสังคมไม่ยอมรับ ก็ต้องถูกนำมาแก้ไขกันใหม่ และกลับมาทะเลาะกันอีก วังวนเดิมจะกลับมาสู่การรัฐประหารอีก ทั้งนี้ส่วนตัวอยากเสนอให้ กมธ.ยกร่างฯ รายงานความคืบหน้าการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญต่อที่ประชุม สปช. ทุกสัปดาห์ ว่าได้ดำเนินการแก้ไขไปกี่มาตราแล้ว เพื่อที่สมาชิก สปช. จะได้อภิปรายทักทวงข้อบกพร่อง ให้กมธ.ยกร่างฯ รับไปพิจารณาปรับแก้ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ก่อนที่จะส่งให้ สปช. ในวันที่ 22 ส.ค.นี้
ด้านนายอุดม ทุมโฆษิต สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช). กล่าวถึง การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า การเขียนรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ถูกร่างก้าวหน้ากว่าความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของประชาชนมาตลอด จึงเกิดนักการเมืองเข้ามาฉกฉวยโอกาสจากอำนาจรัฐ เรียกอีกนัยหนึ่งคือ กฎหมายที่กำหนดกติกาประชาธิปไตยก้าวไกลกว่าความจริงที่เกิดในภาคปฏิบัติ ตนจึงสันนิษฐานว่า แนวคิดของผู้ร่างได้ดึงประชาธิปไตยถอยหลังมาปี 40 พอสมควร เพราะคิดว่าล้ำหน้าเกินไป แต่ฝ่ายการเมืองจะไม่ยอมแน่ เพราะเสียประโยชน์หลายประเด็น อาทิ ปมที่มานายกฯ เชื่อว่า ม.ค.-ก.พ. ปี 59 ที่
ประมาณการว่าจะทำประชามตินั้น ประชาชนคงไม่ค่อยสนใจเนื้อหาร่างมากมายนัก แต่ที่เขาสนใจคือ กระแสเรื่องปากท้อง หรือ ปัญหาภัยแล้ง รวมถึงกระแสด้านการเมืองด้วย จึงเป็นสิ่งที่ผู้ร่าง ผู้เกี่ยวข้องจะต้องคิด แต่ทั้งนี้เชื่อว่า หากไม่เหลือบ่ากว่าแรงเกินไป หลังสปช.รับรองแล้ว ประชาชนคงผ่านประชามติให้