ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมควบคุมโรค จัดระบบติดตาม ตรวจสอบนักกีฬา หลังนายกฯ เป็นห่วงนักศึกษาที่บินไปแข่งกีฬามหาลัยโลกที่เกาหลี เสี่ยงรับ "เมอร์ส" กลับประเทศ ส่วนแท็กซี่สัมผัสผู้ป่วยรายแรกยังไร้วี่แววตามตัวพบ ขณะที่ชาวต่างชาติ มั่นใจตามตัวเจอ สบส. เล็งสุ่มตรวจ รพ. 50 แห่ง คลีนิก 200 แห่ง ทำความเข้าใจคุมเมอร์ส อย.เตือนอาหารเสริม GERMINOK ฆาเชื้อไวรัส เข้าข่ายโฆษณาเป็นเท็จ
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่า ขณะนี้ในไทยมีผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย ผู้สัมผัสโรค 160 คน ส่วนผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวัง 6 รายที่เป็นชาวต่างชาติและคนขับแท็กซี่ ขณะนี้เหลือเพียง 4 ราย โดยเป็นชาวต่างชาติ 3 ราย เบื้องต้นทราบว่ากระจายกันอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี ซึ่งกำลังเร่งติดตาม ส่วนคนขับแท็กซี่ยังหาไม่พบ เพราะที่ผ่านมา ตัวเลขทะเบียนรถไม่ชัดเจน จึงต้องมีการสุ่มตรวจ และเร่งดำเนินการอยู่ แต่ยืนยันว่าทั้ง 4 คนเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
โดยเรื่องที่ต้องกังวล คือ มหาวิทยาลัยไทยจะส่งนักศึกษาไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เกาหลีใต้ในเดือนก.ค.2558 และนายกรัฐมนตรีได้กำชับผู้เกี่ยวข้องให้ดูแลนั้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เตรียมจัดทำคำแนะนำการดูแลสุขภาพและป้องกันตัวเอง รวมทั้งเฝ้าระวังโรค เมื่อกลับมาประเทศไทยตามระบบ เช่นเดียวกับการดูแลผู้แสวงบุญ โดยมีเครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ตรวจสอบข้อมูลและติดตามเฝ้าระวังโรค
สำหรับการรับตัวบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรคไว้สังเกตอาการ คือ ผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ และมีอาการไข้ ไอ ภายใน 14 วันหลังออกจากประเทศดังกล่าว ทุกรายจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรับตัวไว้สังเกตอาการในห้องแยกจนครบ 14 วัน ส่วนผู้กลับจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ แต่ไม่มีอาการป่วย แนะนำให้แยกตัวเอง ลดการเข้าสังคมกับผู้อื่นเป็นเวลา 14 วันเช่นกัน โดยจะมีระบบขึ้นทะเบียนและติดตามทุกวัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-24 มิ.ย.2558 มีบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรคเมอร์ส 82 ราย จำนวนนี้มาจากเกาหลีใต้ 49 ราย จากตะวันออกกลาง 33 ราย ซึ่งยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มแต่อย่างใด
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า การเฝ้าโรคเมอร์ศจากนี้ไป จะเน้นในกลุ่มเสี่ยง คือ 1.กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ให้ตรวจโรคก่อนเข้าไทย ในการเดินทางมารับการรักษาสุขภาพโรคอื่นๆ ทุกครั้ง 2.ผู้ที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง และ 3.การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เกาหลีใต้ ซึ่งนายกฯ ให้ความห่วงใย โดย คร.ได้มีการประชุมในระดับวิชาการร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมนำความเห็นขององค์การอนามัยโลกมาประกอบกัน โดยจะเน้นการตรวจสุขภาพก่อนการเดินทางไปและกลับ รวมทั้งจะมีทีมแพทย์เดินทางไปด้วย
สำหรับอาการของผู้ป่วยชาวโอมาน อาการดีขึ้น ไม่ให้รับออกซิเจนเพิ่มเติมแล้ว
ส่วนการเฝ้าระวังการแชร์ข้อมูลพบผู้ป่วยเมอร์ส หรือผู้เฝ้าระวังตามภูมิภาคนั้น ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ให้มีความระมัดระวัง และมีการตรวจสอบข้อมูล เพราะการส่งต่อข้อความต่างๆ สุ่มเสี่ยงผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และสร้างความสับสนเดือดร้อนกับสังคม
วันเดียวกันนี้ ที่ รพ.เวชธานี นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะมีการสุ่มตรวจคลินิกขนาดเล็ก 200 แห่ง และโรงพยาบาลอีก 50 แห่ง ย่านสุขุมวิทและทองหล่อ รวมทั้งคลินิกทันตกรรม ที่พบว่ามีชาวต่างชาติมาใช้บริการจำนวนมาก โดยจะเน้นการสร้างความเข้าใจในมาตรการร่วมกันเฝ้าระวัง การป้องกัน ส่งต่อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในระบบ
ด้านนพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีที่บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอล จำกัด (มหาชน) จะเร่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ GERMINOK และมีการโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าวจะช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวและสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดว่า จากการตรวจสอบไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าวในระบบ ซึ่ง อย. ได้มีคำสั่งให้บริษัทระงับการโฆษณาแล้ว และขอให้สื่อโฆษณาและเว็บไซต์อื่นๆ อย่านำไปเผยแพร่ต่อ เพราะอาจมีความผิดฐานโฆษณาเกินจริงได้
ทั้งนี้ โทษกรณีผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหาร มีการแสดงฉลากอาหารไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท การโฆษณาสรรพคุณอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท อ้างสรรพคุณอาหารรักษาโรคซึ่งเป็นสรรพคุณทางยา ซึ่งหากไม่มีข้อมูลวิชาการที่น่าเชื่อถือมาพิสูจน์ยืนยันถึงสรรพคุณ ถือเป็นการโฆษณาสรรพคุณอาหารอันเป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่า ขณะนี้ในไทยมีผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย ผู้สัมผัสโรค 160 คน ส่วนผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวัง 6 รายที่เป็นชาวต่างชาติและคนขับแท็กซี่ ขณะนี้เหลือเพียง 4 ราย โดยเป็นชาวต่างชาติ 3 ราย เบื้องต้นทราบว่ากระจายกันอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี ซึ่งกำลังเร่งติดตาม ส่วนคนขับแท็กซี่ยังหาไม่พบ เพราะที่ผ่านมา ตัวเลขทะเบียนรถไม่ชัดเจน จึงต้องมีการสุ่มตรวจ และเร่งดำเนินการอยู่ แต่ยืนยันว่าทั้ง 4 คนเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
โดยเรื่องที่ต้องกังวล คือ มหาวิทยาลัยไทยจะส่งนักศึกษาไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เกาหลีใต้ในเดือนก.ค.2558 และนายกรัฐมนตรีได้กำชับผู้เกี่ยวข้องให้ดูแลนั้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เตรียมจัดทำคำแนะนำการดูแลสุขภาพและป้องกันตัวเอง รวมทั้งเฝ้าระวังโรค เมื่อกลับมาประเทศไทยตามระบบ เช่นเดียวกับการดูแลผู้แสวงบุญ โดยมีเครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ตรวจสอบข้อมูลและติดตามเฝ้าระวังโรค
สำหรับการรับตัวบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรคไว้สังเกตอาการ คือ ผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ และมีอาการไข้ ไอ ภายใน 14 วันหลังออกจากประเทศดังกล่าว ทุกรายจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรับตัวไว้สังเกตอาการในห้องแยกจนครบ 14 วัน ส่วนผู้กลับจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ แต่ไม่มีอาการป่วย แนะนำให้แยกตัวเอง ลดการเข้าสังคมกับผู้อื่นเป็นเวลา 14 วันเช่นกัน โดยจะมีระบบขึ้นทะเบียนและติดตามทุกวัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-24 มิ.ย.2558 มีบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรคเมอร์ส 82 ราย จำนวนนี้มาจากเกาหลีใต้ 49 ราย จากตะวันออกกลาง 33 ราย ซึ่งยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มแต่อย่างใด
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า การเฝ้าโรคเมอร์ศจากนี้ไป จะเน้นในกลุ่มเสี่ยง คือ 1.กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ให้ตรวจโรคก่อนเข้าไทย ในการเดินทางมารับการรักษาสุขภาพโรคอื่นๆ ทุกครั้ง 2.ผู้ที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง และ 3.การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เกาหลีใต้ ซึ่งนายกฯ ให้ความห่วงใย โดย คร.ได้มีการประชุมในระดับวิชาการร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมนำความเห็นขององค์การอนามัยโลกมาประกอบกัน โดยจะเน้นการตรวจสุขภาพก่อนการเดินทางไปและกลับ รวมทั้งจะมีทีมแพทย์เดินทางไปด้วย
สำหรับอาการของผู้ป่วยชาวโอมาน อาการดีขึ้น ไม่ให้รับออกซิเจนเพิ่มเติมแล้ว
ส่วนการเฝ้าระวังการแชร์ข้อมูลพบผู้ป่วยเมอร์ส หรือผู้เฝ้าระวังตามภูมิภาคนั้น ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ให้มีความระมัดระวัง และมีการตรวจสอบข้อมูล เพราะการส่งต่อข้อความต่างๆ สุ่มเสี่ยงผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และสร้างความสับสนเดือดร้อนกับสังคม
วันเดียวกันนี้ ที่ รพ.เวชธานี นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะมีการสุ่มตรวจคลินิกขนาดเล็ก 200 แห่ง และโรงพยาบาลอีก 50 แห่ง ย่านสุขุมวิทและทองหล่อ รวมทั้งคลินิกทันตกรรม ที่พบว่ามีชาวต่างชาติมาใช้บริการจำนวนมาก โดยจะเน้นการสร้างความเข้าใจในมาตรการร่วมกันเฝ้าระวัง การป้องกัน ส่งต่อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในระบบ
ด้านนพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีที่บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอล จำกัด (มหาชน) จะเร่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ GERMINOK และมีการโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าวจะช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวและสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดว่า จากการตรวจสอบไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าวในระบบ ซึ่ง อย. ได้มีคำสั่งให้บริษัทระงับการโฆษณาแล้ว และขอให้สื่อโฆษณาและเว็บไซต์อื่นๆ อย่านำไปเผยแพร่ต่อ เพราะอาจมีความผิดฐานโฆษณาเกินจริงได้
ทั้งนี้ โทษกรณีผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหาร มีการแสดงฉลากอาหารไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท การโฆษณาสรรพคุณอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท อ้างสรรพคุณอาหารรักษาโรคซึ่งเป็นสรรพคุณทางยา ซึ่งหากไม่มีข้อมูลวิชาการที่น่าเชื่อถือมาพิสูจน์ยืนยันถึงสรรพคุณ ถือเป็นการโฆษณาสรรพคุณอาหารอันเป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ