“ณรงค์ชัย” ยันไม่มีนโยบายให้เลิกใช้แอลพีจีภาคขนส่ง แต่จะเดินหน้าปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตแอลพีจีขนส่งเพื่อความเป็นธรรมให้เท่ากับน้ำมันหรือขยับอีกลิตรละประมาณ 3 บาท ซึ่งแม้ขึ้นไปแล้วราคาก็ยังคงถูกกว่าน้ำมัน จวกพวกค้านแสดงว่าไม่ชอบความเป็นธรรม ขณะที่ ธพ.ส่งสัญญาณคิวต่อไปลอยตัวราคาNGVก่อน แล้วขยับภาษีสรรพสามิตตาม
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานยืนยันว่าไม่ได้มีนโยบายที่จะยกเลิกการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งแต่อย่างใด หากแต่มีนโยบายที่จะปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีภาคขนส่งให้เกิดความเป็นธรรมเมื่อเทียบกับน้ำมันโดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่ปัจจุบันแอลพีจีขนส่งจ่ายเพียง 1บาทกว่าต่อลิตรขณะที่น้ำมันเฉลี่ยจ่ายอยู่ในระดับ 4-5 บาทต่อลิตร ดังนั้นกระทรวงฯจึงมีนโยบายจะปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตแอลพีจีภาคขนส่งให้เท่ากับน้ำมันหรือเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3 บาทต่อลิตร
" เราไม่ได้ยกเลิกแต่เน้นความเป็นธรรม วันนี้ชัดเจนว่าผู้ที่ใช้เชื้อเพลิงต่างกันในตระกูลน้ำมันได้แก่ เบนซิน แก๊สโซฮอล์ ดีเซลมีความเป็นธรรมแล้ว แต่ผู้ที่ใช้แอลพีจีขนส่งได้เปรียบเพราะจ่ายภาษีสรรพสามิตต่ำกว่าน้ำมันก็ต้องจัดความเป็นธรรมก็เพื่อให้มีความเสมอภาคจัดระเบียบแล้วประชาชนจะเลือกใช้เชื้อเพลิงไหนก็สุดแต่ประชาชน เราไม่ได้เป็นเผด็จการที่จะให้ใช้หรือไม่ให้ใช้ นี่คือหลักการถ้ามีคนค้านเยอะก็แสดงว่าสังคมไทยไม่ชอบความเป็นธรรม"นายณรงค์ชัยกล่าว
ทั้งนี้หลักการคิดภาษีสรรพสามิตนั้นกระทรวงฯยึดที่ค่าความร้อนที่ไปขับเคลื่อนเครื่องยนต์ โดยแอลพีจีขนส่งมีค่าความร้อนต่ำกว่าน้ำมันเฉลี่ย 20% ซึ่งตัวเลขที่ออกมาจึงเฉลี่ยที่ 3บาทต่อลิตรดังนั้นปัจจุบันแอลพีจีขนส่งหากคิดเป็นลิตรเพื่อเทียบให้เห็นกับราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 13-14 บาทต่อลิตร( 23-24บาทต่อกิโลกรัม) แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเพิ่มก็จะเห็นว่าราคาเฉลี่ยแอลพีจีขนส่งจะเพิ่มไปอยู่ระดับ 17 -18 บาทต่อลิตรก็ยังคงถูกกว่าราคาน้ำมันพอสมควร เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันเฉลี่ย 26-27บาทต่อลิตร
อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ท้วงติงว่าเหตุใดจึงไม่คิดภาษีฯแอลพีจีตามค่าสิ่งแวดล้อมเพราะแอลพีจีจะสะอาดกว่าน้ำมันเกรงว่าเรื่องนี้จะเถียงกันไม่จบเนื่องจากปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีนั้นส่วนหนึ่งเป็นการนำรถยนต์เก่าไปติดตั้งแอลพีจี ซึ่งรถเก่านั้นย่อมมีประสิทธิภาพต่ำอยู่แล้วดังนั้นการใช้แอลพีจีในรถยนต์จึงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดทุกคันเสมอไป
นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า รัฐ ยืนยันยังเดินหน้าปรับภาษีสรรพสามิตแอลพีจีขนส่งต่อไปซึ่งได้เสนอกรมสรรพสามิตไปแล้วอยู่ระหว่างพิจารณา เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลได้ลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจี เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงแล้วล่าสุดราคา 23.96 บาทต่อกิโลกรัม หรือลิตรละ 14 บาท ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลิตรละ 1.10บาท หากมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต คาดว่า ไม่เกิน 2.5 - 3 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการอยู่ที่ประมาณ 16.50 -17 บาทต่อลิตร ไม่ใช่ 19 -20 บาทต่อลิตรตามที่บางฝ่ายพยายามปลุกกระแสอย่างแน่นอน
นอกจากนี้เพื่อความเป็นธรรมยัง มีแนวคิดเสนอกระทรวงการคลังปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ลำดับต่อไป เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรสามิตเอ็นจีวี ส่วน จะดำเนินการได้เมื่อไรนั้น ยังระบุไม่ได้ เพราะต้องรอการปรับโครงสร้างราคาก๊าซเอ็นจีวีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงก่อน จากขณะนี้ราคา 13 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 15 บาทต่อกิโลกรัม
“ การที่มีผู้ล่ารายชื่อคัดค้านการขึ้นภาษีฯแอลพีจีขนส่งเพราะ จะทำให้ธุรกิจนี้ล้มหายตายจากเชื่อว่าไม่จริงเพราะถึงจะปรับราคาก็ต่ำกว่าน้ำมันถึงกว่าลิตรละ 10 บาท และขณะนี้ปั๊มแอลพีจีก็ยังขยายต่อเนื่องจากปีก่อนมีปั๊มแอลพีจีประมาณ 1,900 แห่ง ขณะที่ปัจจุบันมี 2,083แห่งแล้ว ส่วนที่บอกว่า ถ้าจะขึ้นภาษีแอลจีพีก็ต้องขึ้นภาษีฯ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 ด้วย ตามค่าความร้อน เรื่องนี้อยากให้เข้าใจว่า แก๊สโซฮอล์อี 85เป็นการคำนวณค่าความร้อนที่มีส่วนผสมน้ำมัน 15 % ตามการใช้น้ำมัน ที่เหลือ 85 % เป็นการใช้เอทานอล ซึ่งรัฐส่งเสริมให้ใช้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง” นายวิฑูรย์กล่าว.
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานยืนยันว่าไม่ได้มีนโยบายที่จะยกเลิกการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งแต่อย่างใด หากแต่มีนโยบายที่จะปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีภาคขนส่งให้เกิดความเป็นธรรมเมื่อเทียบกับน้ำมันโดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่ปัจจุบันแอลพีจีขนส่งจ่ายเพียง 1บาทกว่าต่อลิตรขณะที่น้ำมันเฉลี่ยจ่ายอยู่ในระดับ 4-5 บาทต่อลิตร ดังนั้นกระทรวงฯจึงมีนโยบายจะปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตแอลพีจีภาคขนส่งให้เท่ากับน้ำมันหรือเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3 บาทต่อลิตร
" เราไม่ได้ยกเลิกแต่เน้นความเป็นธรรม วันนี้ชัดเจนว่าผู้ที่ใช้เชื้อเพลิงต่างกันในตระกูลน้ำมันได้แก่ เบนซิน แก๊สโซฮอล์ ดีเซลมีความเป็นธรรมแล้ว แต่ผู้ที่ใช้แอลพีจีขนส่งได้เปรียบเพราะจ่ายภาษีสรรพสามิตต่ำกว่าน้ำมันก็ต้องจัดความเป็นธรรมก็เพื่อให้มีความเสมอภาคจัดระเบียบแล้วประชาชนจะเลือกใช้เชื้อเพลิงไหนก็สุดแต่ประชาชน เราไม่ได้เป็นเผด็จการที่จะให้ใช้หรือไม่ให้ใช้ นี่คือหลักการถ้ามีคนค้านเยอะก็แสดงว่าสังคมไทยไม่ชอบความเป็นธรรม"นายณรงค์ชัยกล่าว
ทั้งนี้หลักการคิดภาษีสรรพสามิตนั้นกระทรวงฯยึดที่ค่าความร้อนที่ไปขับเคลื่อนเครื่องยนต์ โดยแอลพีจีขนส่งมีค่าความร้อนต่ำกว่าน้ำมันเฉลี่ย 20% ซึ่งตัวเลขที่ออกมาจึงเฉลี่ยที่ 3บาทต่อลิตรดังนั้นปัจจุบันแอลพีจีขนส่งหากคิดเป็นลิตรเพื่อเทียบให้เห็นกับราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 13-14 บาทต่อลิตร( 23-24บาทต่อกิโลกรัม) แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเพิ่มก็จะเห็นว่าราคาเฉลี่ยแอลพีจีขนส่งจะเพิ่มไปอยู่ระดับ 17 -18 บาทต่อลิตรก็ยังคงถูกกว่าราคาน้ำมันพอสมควร เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันเฉลี่ย 26-27บาทต่อลิตร
อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ท้วงติงว่าเหตุใดจึงไม่คิดภาษีฯแอลพีจีตามค่าสิ่งแวดล้อมเพราะแอลพีจีจะสะอาดกว่าน้ำมันเกรงว่าเรื่องนี้จะเถียงกันไม่จบเนื่องจากปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีนั้นส่วนหนึ่งเป็นการนำรถยนต์เก่าไปติดตั้งแอลพีจี ซึ่งรถเก่านั้นย่อมมีประสิทธิภาพต่ำอยู่แล้วดังนั้นการใช้แอลพีจีในรถยนต์จึงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดทุกคันเสมอไป
นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า รัฐ ยืนยันยังเดินหน้าปรับภาษีสรรพสามิตแอลพีจีขนส่งต่อไปซึ่งได้เสนอกรมสรรพสามิตไปแล้วอยู่ระหว่างพิจารณา เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลได้ลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจี เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงแล้วล่าสุดราคา 23.96 บาทต่อกิโลกรัม หรือลิตรละ 14 บาท ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลิตรละ 1.10บาท หากมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต คาดว่า ไม่เกิน 2.5 - 3 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการอยู่ที่ประมาณ 16.50 -17 บาทต่อลิตร ไม่ใช่ 19 -20 บาทต่อลิตรตามที่บางฝ่ายพยายามปลุกกระแสอย่างแน่นอน
นอกจากนี้เพื่อความเป็นธรรมยัง มีแนวคิดเสนอกระทรวงการคลังปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ลำดับต่อไป เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรสามิตเอ็นจีวี ส่วน จะดำเนินการได้เมื่อไรนั้น ยังระบุไม่ได้ เพราะต้องรอการปรับโครงสร้างราคาก๊าซเอ็นจีวีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงก่อน จากขณะนี้ราคา 13 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 15 บาทต่อกิโลกรัม
“ การที่มีผู้ล่ารายชื่อคัดค้านการขึ้นภาษีฯแอลพีจีขนส่งเพราะ จะทำให้ธุรกิจนี้ล้มหายตายจากเชื่อว่าไม่จริงเพราะถึงจะปรับราคาก็ต่ำกว่าน้ำมันถึงกว่าลิตรละ 10 บาท และขณะนี้ปั๊มแอลพีจีก็ยังขยายต่อเนื่องจากปีก่อนมีปั๊มแอลพีจีประมาณ 1,900 แห่ง ขณะที่ปัจจุบันมี 2,083แห่งแล้ว ส่วนที่บอกว่า ถ้าจะขึ้นภาษีแอลจีพีก็ต้องขึ้นภาษีฯ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 ด้วย ตามค่าความร้อน เรื่องนี้อยากให้เข้าใจว่า แก๊สโซฮอล์อี 85เป็นการคำนวณค่าความร้อนที่มีส่วนผสมน้ำมัน 15 % ตามการใช้น้ำมัน ที่เหลือ 85 % เป็นการใช้เอทานอล ซึ่งรัฐส่งเสริมให้ใช้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง” นายวิฑูรย์กล่าว.