เมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.) พล.ต. วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อสิงคโปร์ ภายหลังจากเดินทางกลับจากการเดินทางเยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 -12 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวกับผู้สื่อข่าวสิงคโปร์ ว่า นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ มีความเข้าใจในสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยเป็นอย่างดี ตั้งแต่เริ่มแรก การเดินทางเยือนครั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ในทุกมิติ ซึ่งผู้นำทั้งสองประเทศได้เคยพบกัน อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการรวมกันแล้วกว่า 4 ครั้ง ทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคี มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า จะทำหน้าที่อย่างดีที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยขอเวลาให้กับประเทศไทย
พล.ต.วีรชน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังได้ยืนยันกับสำนักข่าวสิงคโปร์ ว่า หากพิจารณาภาคการลงทุน นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยไม่มีใครที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาลงทุน ในการพบกับนักลงทุนชั้นนำของสิงคโปร์ ระหว่างการเยือนนั้น ทุกคนชื่นชมและมองว่าไทยมีเสถียรภาพ และเสรีภาพ ซึ่งได้ย้ำกับภาคเอกชนสิงคโปร์ว่า รัฐบาลไทยกำลังวางรากฐานเพื่อไปสู่ประชาธิปไตยที่มีความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต สร้างพื้นฐานที่มั่นคงในทุกมิติ ทั้งการเมือง สังคม และระหว่างประเทศ เช่น การแก้ไขกฎหมายเก่า ปรับปรุงข้าราชการ สร้างกำลังใจ
"นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนว่า เหตุผลของการเข้ามาบริหารประเทศนั้น ขอให้มองย้อนกลับไปถึงต้นเหตุแห่งปัญหาที่ทำให้ประเทศไม่สามารถเดินหน้าได้ ทั้งการชะงักงันของการเบิกจ่ายงบประมาณประเทศ การประท้วง ที่มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน รัฐบาลก่อนหน้าไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ ปัญหาต่างๆ ทำให้ประเทศติดล็อก กฎอัยการศึก จึงเป็นหนทางเดียวที่จะถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ในฐานะอดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ยืนยันว่า กองทัพให้การสนับสนุนและช่วยเหลือทุกรัฐบาลมาโดยตลอด การเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน แต่ จะเป็นการวางรากฐานเพื่ออนาคตประเทศ" รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าว
พล.ต.วีรชน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวย้ำว่า ช่วงแรกจำเป็นต้องมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่ได้มีการลดระดับลงเรื่อยๆ รัฐบาลยังเดินหน้าตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในโรดแมป ซึ่งต้องใช้เวลาและขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย การปฏิรูปต่างๆ มุ่งสนับสนุนประชาชน
อย่างแท้จริง บางแนวทางได้นำแบบอย่างมาจากสิงคโปร์ เพื่อปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่งสิงคโปร์เองก็มีการพัฒนาต่อเนื่องมาตลอด 50 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ ประเทศไทยโชคดีที่มีทรัพยากรเพียงพอ เพียงแต่ไทยต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้ไทยแข็งแรง นำไปสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็ง
" การเดินหน้าตามกรอบโรดแมปนั้น ยึดกระบวนการตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อเสร็จเรียบร้อย และผ่านการพิจารณา ก็จะเข้าสู่กระบวนการทำประชามติ และมีกฎหมายลูก หากเป็นไปตามที่วางไว้ ประเทศไทยก็จะเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปได้ภายในปีหน้า"
พล.ต. วีรชน กล่าวว่า นายกัฐมนตรี ยังกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลจริงจังในแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ และคดีความ ที่สะสมมาอย่างยาวนาน เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องถูกตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นประเทศกลางทาง ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือและจัดการกับปัญหาตั้งแต่ประเทศต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และได้รับความร่วมมือและความเข้าใจอย่างดีจากทุกประเทศที่เข้าร่วม
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงเรื่อง IUU ว่าในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระบบ ทั้งการลงโทษเจ้าหน้าที่ทำผิด การแก้ไขกฎหมาย การดูแลเหยื่อจากการค้ามนุษย์ตามหลักมนุษยธรรม รวมไปถึงการดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผล ทั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย เพื่อหามาตรการจัดการในพื้นที่จับปลา เช่น การร่วมทุน (Joint Venture)หรือการลงทุนประมงร่วมกันกับนานาประเทศ ในด้านภัยก่อการร้าย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประชาคมโลก ทุกประเทศต้องร่วมมือกัน โดยนายกรัฐมนตรีมองว่า ปัญหานี้เกิดมาจากปัญหาความยากจน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งไทยกำลังพยายามแก้ไขปัญหานี้ภายในประเทศ ทั้งนี้ ปัญหาการก่อการร้ายไม่ได้เกิดโดยตรงกับไทย ไทยเป็นเพียงประเทศทางผ่าน ซึ่งได้สั่งการให้เพิ่มระดับความเข้มงวดในการตรวจตราการเข้าออก การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สำหรับปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ของไทย เกิดขึ้นจากความเห็นต่างของกลุ่มบุคคล ซึ่งเราต้องแก้ไขด้วยการพัฒนา ปัจจุบัน สถานการณ์คลี่คลายและพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศมีปัญหาที่แตกต่างกัน ต้องร่วมมือกันหาทางออกที่เป็นไปได้ ไม่เกิดผลกระทบกับส่วนรวม และยึดกฎหลักของอาเซียน คือการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ทั้งนี้ ผู้กระทำผิดก็ต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมาย การแก้ปัญหาต่างๆ ต้องแก้ทั้งระบบ ทั้งประเทศต้นทาง ความยากจน ก็ขจัดการทุจริต หากได้รับการแก้ไข ประเทศปลายทางก็ไม่เกิดปัญหา สำหรับประเทศไทยขณะนี้ ทุกคดีความกำลังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบค้นหาความจริง ต้องเป็นไปตามหลักฐาน
ในส่วนความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ นอกอาเซียน นายกรัฐมนตรีมองว่า โลกมีหลายประชาคม ทั้งตะวันตก ตะวันออก หมู่เกาะ และแอฟริกา ซึ่งทุกประชาคม ถือเป็นส่วนหนึ่งของโลก ไทยต้องวางบทบาทให้เหมาะสม ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเป็นหุ้นส่วนกัน ไทยเป็นดินแดนแห่งโอกาส อยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างความสุขที่แท้จริงให้แก่ประเทศและสังคมโลก ทุกประเทศจะต้องเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ เพื่อโลกจะสามารถแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน อนาคตโลกต้องเผชิญกับปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและพลังงาน เป็นต้น
นายกรัฐมนตรี ยังตอบคำถามสุดท้ายของสำนักข่าว สิงคโปร์ ว่า เมื่อพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จะทำอะไร " ผมก็ยังเป็นประชาชนคนไทย พลเมืองไทย ที่ยังต้องมีหน้าที่ คือ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การให้ความคิดเห็นในการทำประชามติ และเสนอความคิดเห็น ผ่านผู้แทนของผม ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ที่เราเป็นผู้เลือกเข้ามาทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร นี่คือ สิทธิ หน้าที่ พลเมือง เป็นอย่างนี้" นายกรัฐมนตรีกล่าวทิ้งท้าย
พล.ต.วีรชน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังได้ยืนยันกับสำนักข่าวสิงคโปร์ ว่า หากพิจารณาภาคการลงทุน นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยไม่มีใครที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาลงทุน ในการพบกับนักลงทุนชั้นนำของสิงคโปร์ ระหว่างการเยือนนั้น ทุกคนชื่นชมและมองว่าไทยมีเสถียรภาพ และเสรีภาพ ซึ่งได้ย้ำกับภาคเอกชนสิงคโปร์ว่า รัฐบาลไทยกำลังวางรากฐานเพื่อไปสู่ประชาธิปไตยที่มีความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต สร้างพื้นฐานที่มั่นคงในทุกมิติ ทั้งการเมือง สังคม และระหว่างประเทศ เช่น การแก้ไขกฎหมายเก่า ปรับปรุงข้าราชการ สร้างกำลังใจ
"นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนว่า เหตุผลของการเข้ามาบริหารประเทศนั้น ขอให้มองย้อนกลับไปถึงต้นเหตุแห่งปัญหาที่ทำให้ประเทศไม่สามารถเดินหน้าได้ ทั้งการชะงักงันของการเบิกจ่ายงบประมาณประเทศ การประท้วง ที่มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน รัฐบาลก่อนหน้าไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ ปัญหาต่างๆ ทำให้ประเทศติดล็อก กฎอัยการศึก จึงเป็นหนทางเดียวที่จะถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ในฐานะอดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ยืนยันว่า กองทัพให้การสนับสนุนและช่วยเหลือทุกรัฐบาลมาโดยตลอด การเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน แต่ จะเป็นการวางรากฐานเพื่ออนาคตประเทศ" รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าว
พล.ต.วีรชน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวย้ำว่า ช่วงแรกจำเป็นต้องมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่ได้มีการลดระดับลงเรื่อยๆ รัฐบาลยังเดินหน้าตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในโรดแมป ซึ่งต้องใช้เวลาและขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย การปฏิรูปต่างๆ มุ่งสนับสนุนประชาชน
อย่างแท้จริง บางแนวทางได้นำแบบอย่างมาจากสิงคโปร์ เพื่อปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่งสิงคโปร์เองก็มีการพัฒนาต่อเนื่องมาตลอด 50 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ ประเทศไทยโชคดีที่มีทรัพยากรเพียงพอ เพียงแต่ไทยต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้ไทยแข็งแรง นำไปสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็ง
" การเดินหน้าตามกรอบโรดแมปนั้น ยึดกระบวนการตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อเสร็จเรียบร้อย และผ่านการพิจารณา ก็จะเข้าสู่กระบวนการทำประชามติ และมีกฎหมายลูก หากเป็นไปตามที่วางไว้ ประเทศไทยก็จะเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปได้ภายในปีหน้า"
พล.ต. วีรชน กล่าวว่า นายกัฐมนตรี ยังกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลจริงจังในแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ และคดีความ ที่สะสมมาอย่างยาวนาน เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องถูกตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นประเทศกลางทาง ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือและจัดการกับปัญหาตั้งแต่ประเทศต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และได้รับความร่วมมือและความเข้าใจอย่างดีจากทุกประเทศที่เข้าร่วม
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงเรื่อง IUU ว่าในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระบบ ทั้งการลงโทษเจ้าหน้าที่ทำผิด การแก้ไขกฎหมาย การดูแลเหยื่อจากการค้ามนุษย์ตามหลักมนุษยธรรม รวมไปถึงการดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผล ทั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย เพื่อหามาตรการจัดการในพื้นที่จับปลา เช่น การร่วมทุน (Joint Venture)หรือการลงทุนประมงร่วมกันกับนานาประเทศ ในด้านภัยก่อการร้าย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประชาคมโลก ทุกประเทศต้องร่วมมือกัน โดยนายกรัฐมนตรีมองว่า ปัญหานี้เกิดมาจากปัญหาความยากจน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งไทยกำลังพยายามแก้ไขปัญหานี้ภายในประเทศ ทั้งนี้ ปัญหาการก่อการร้ายไม่ได้เกิดโดยตรงกับไทย ไทยเป็นเพียงประเทศทางผ่าน ซึ่งได้สั่งการให้เพิ่มระดับความเข้มงวดในการตรวจตราการเข้าออก การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สำหรับปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ของไทย เกิดขึ้นจากความเห็นต่างของกลุ่มบุคคล ซึ่งเราต้องแก้ไขด้วยการพัฒนา ปัจจุบัน สถานการณ์คลี่คลายและพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศมีปัญหาที่แตกต่างกัน ต้องร่วมมือกันหาทางออกที่เป็นไปได้ ไม่เกิดผลกระทบกับส่วนรวม และยึดกฎหลักของอาเซียน คือการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ทั้งนี้ ผู้กระทำผิดก็ต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมาย การแก้ปัญหาต่างๆ ต้องแก้ทั้งระบบ ทั้งประเทศต้นทาง ความยากจน ก็ขจัดการทุจริต หากได้รับการแก้ไข ประเทศปลายทางก็ไม่เกิดปัญหา สำหรับประเทศไทยขณะนี้ ทุกคดีความกำลังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบค้นหาความจริง ต้องเป็นไปตามหลักฐาน
ในส่วนความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ นอกอาเซียน นายกรัฐมนตรีมองว่า โลกมีหลายประชาคม ทั้งตะวันตก ตะวันออก หมู่เกาะ และแอฟริกา ซึ่งทุกประชาคม ถือเป็นส่วนหนึ่งของโลก ไทยต้องวางบทบาทให้เหมาะสม ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเป็นหุ้นส่วนกัน ไทยเป็นดินแดนแห่งโอกาส อยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างความสุขที่แท้จริงให้แก่ประเทศและสังคมโลก ทุกประเทศจะต้องเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ เพื่อโลกจะสามารถแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน อนาคตโลกต้องเผชิญกับปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและพลังงาน เป็นต้น
นายกรัฐมนตรี ยังตอบคำถามสุดท้ายของสำนักข่าว สิงคโปร์ ว่า เมื่อพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จะทำอะไร " ผมก็ยังเป็นประชาชนคนไทย พลเมืองไทย ที่ยังต้องมีหน้าที่ คือ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การให้ความคิดเห็นในการทำประชามติ และเสนอความคิดเห็น ผ่านผู้แทนของผม ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ที่เราเป็นผู้เลือกเข้ามาทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร นี่คือ สิทธิ หน้าที่ พลเมือง เป็นอย่างนี้" นายกรัฐมนตรีกล่าวทิ้งท้าย