ASTVผู้จัดการรายวัน - นีลเส็นอัดเม็ดเงินร่วม 100 ล้านบาท เพิ่มศักยภาพการวัดเรตติ้ง 2 โปรเจกต์ใหญ่ ทั้งเพิ่มกลุ่มตัวอย่างอีก 400 ครัวเรือน และเพิ่มการวัดเรตติ้งผ่านมัลติสกรีน พร้อมเดินหน้าสมบูรณ์ในปีหน้า มั่นใจครอบคลุมการเกิดช่องทีวีใหม่และวิเคราห์ได้เจาะลึกมากขึ้น
นายสินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจมีเดีย บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตามแผนการพัฒนาการวัดเรตติ้งของบริษัทเมื่อปีที่แล้ว จึงได้เริ่มขยายเพิ่มกลุ่มตัวอย่างจากเดิม 1,800 ครัวเรือนในปี 2557 หรือประมาณ 6,300 คน มาเป็น 2,200 ครัวเรือน หรือประมาณ 7,700 คน ในปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนช่องทีวีที่เพิ่มขึ้น และตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยจะเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่เดือนก.ค.2558 นี้ เป็นต้นไป
กลุ่มตัวอย่างใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 400 ครัวเรือนนั้น ประกอบด้วย กลุ่มที่ดูผ่านกล่องทีวีดิจิตอล 200 ครัวเรือน และดูผ่านเคเบิล 200 ครัวเรือน และในปีหน้าจะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ามาอีก 200 ครัวเรือน หรือมีกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 2,400 ครัวเรือน ทั้งนี้จะช่วยให้ตัวเลขเรตติ้งใหม่ที่เกิดขึ้นมีความผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลจากความเป็นจริงลดลงถึง 10% และจะทำให้ข้อมูลมีความเสถียรมากขึ้น
โดยเอเจนซี่จะได้รับประโยชน์ในการนำข้อมูลมาเจาะลึกได้ดียิ่งขึ้น ส่วนทางสถานีโทรทัศน์ จากเดิมที่การรายงานเรตติ้งอาจจะทำได้เพียง 50 รายการ จะเพิ่มขึ้นมาอีก 10 รายการ ถือเป็นกลุ่มรายการใหม่ที่ทางสถานีจะนำไปหารายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้
“การลงทุนเพิ่มกลุ่มตัวอย่างใหม่ในครั้งนี้ เมื่อรวมกับการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กล่องวัดเรตติ้ง ค่าแรง ค่าอินเซนทีฟ ซอฟท์แวร์ และอื่นๆ รวมแล้วน่าจะใช้งบลงทุน ใกล้เคียงที่ตัวเลข 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นการล งทุนที่ทางบริษัท และทางสถานีโทรทัศน์ พร้อมให้การสนับสนุน โดยที่การให้บริการกับทาง เอเจนซี่ ยังคงราคาเดิม ไม่ได้มีการปรับราคาขึ้น แต่อย่างใด”
ทั้งนี้จากการสำรวจระหว่างเดือน ก.ย. 2555- ส.ค. 2556 และ ก.ย.2556-ส.ค.2557 พบว่า แพลทฟอร์มการรับชมทีวี แบ่งออกเป็น เสาก้างปลา 32% ทรูวิชั่น 8% เคเบิล 11% ทีวีดาวเทียม 49% และหลังจากที่เริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านมาทีวีดิจิตอลในช่วงเดือนก.ย.2556-ส.ค.2557 พบว่าสัดส่วนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป เป็น ก้างปลา 16% กล่องทีวีดิจิตอล 10% ทรูวิชั่น 8% เคเบิล 10% และทีวีดาวเทียม 56% โดยมองว่า กลุ่มกล่องทีวีดิจิตอลในช่วงนั้นที่มี การแลกกล่องมาอยู่ที่ 50% มีการติตั้งใช้จริงเพียง 10% และอนาคตของการดูผ่านกล่องทีวีดิจิตอล มากขึ้นนั้น จะมาจากกลุ่มก้างปลาและเคเบิลเป็นหลัก
ด้านนางสาวสมวลี ลิมป์รัชตามร ผู้อำนวยการบริหาร ธุรกิจมีเดีย บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อย่างไรก็ตามทางบริษัทยังได้พัฒนา รูปแบบการวัดเรตติ้งในกลุ่มมัลติสกรีนด้วย ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงทดลองระบบ เริ่มจาก กลุ่มผู้ใช้งานผ่านมือถือและและแท็ปเลต จำนวน 1,500 เครื่อง และเพิ่มเป็น 3,000 เครื่อง
หลังจากนั้นจะเพิ่มการวัดเรตติ้งในจอพีซีและทีวี รวมเป็น 4 สกรีนสำคัญที่จะอยู่ในการวัดเรตติ้ง มัลติสกรีนครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มนำมาใช้วัดเรตติ้ง ได้จริงตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป ภายใต้ความต้องการของลูกค้าแต่ละรายด้วย
นายสินธุ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันลูกค้าหลักของนีลเส็น คือ ช่องทีวีทั้ง 24 ช่อง และเอเจนซี่ระดับท็อป5 ซึ่งปัจจุบันยังคงนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้อยู่ แม้ว่าสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่ง ประเทศไทย ได้ตั้งหน่วยงาน Media Research Bureau ขึ้นมาดูแลการวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอล แต่ลูกค้าที่ยังใช้บริการกับนีลเส็น ไม่ได้ลดลง ทั้งนี้มองว่าหากมีบริษัทขึ้นมาวัดเรตติ้งถึง 2 ราย ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าในตอนนั้นแล้วว่าจะเลือกใช้ข้อมูลจากทางใด
โดยก่อนหน้านี้เคยให้สัมภาษณ์แล้วว่า สาเหตุที่นีลเส็นไม่เข้าร่วมวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอลครั้งนี้ เนื่องจาก 1. ได้เวลาในการตัดสินใจน้อยมาก 2.ไม่มีขอบเขตข้อมูลทั้งหมดของการวัดเรตติ้ง 3.นีลเส็นได้ลงทุนด้านการวัดเรตติ้งไปสูงมากแล้วตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ต้องดูแลและสร้างรายได้จาก สิ่งที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ถือเป็นการลง ทุนครั้งที่ 5 เพื่อให้ครอบคลุมช่องทีวีที่เกิดขึ้น
นายสินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจมีเดีย บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตามแผนการพัฒนาการวัดเรตติ้งของบริษัทเมื่อปีที่แล้ว จึงได้เริ่มขยายเพิ่มกลุ่มตัวอย่างจากเดิม 1,800 ครัวเรือนในปี 2557 หรือประมาณ 6,300 คน มาเป็น 2,200 ครัวเรือน หรือประมาณ 7,700 คน ในปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนช่องทีวีที่เพิ่มขึ้น และตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยจะเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่เดือนก.ค.2558 นี้ เป็นต้นไป
กลุ่มตัวอย่างใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 400 ครัวเรือนนั้น ประกอบด้วย กลุ่มที่ดูผ่านกล่องทีวีดิจิตอล 200 ครัวเรือน และดูผ่านเคเบิล 200 ครัวเรือน และในปีหน้าจะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ามาอีก 200 ครัวเรือน หรือมีกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 2,400 ครัวเรือน ทั้งนี้จะช่วยให้ตัวเลขเรตติ้งใหม่ที่เกิดขึ้นมีความผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลจากความเป็นจริงลดลงถึง 10% และจะทำให้ข้อมูลมีความเสถียรมากขึ้น
โดยเอเจนซี่จะได้รับประโยชน์ในการนำข้อมูลมาเจาะลึกได้ดียิ่งขึ้น ส่วนทางสถานีโทรทัศน์ จากเดิมที่การรายงานเรตติ้งอาจจะทำได้เพียง 50 รายการ จะเพิ่มขึ้นมาอีก 10 รายการ ถือเป็นกลุ่มรายการใหม่ที่ทางสถานีจะนำไปหารายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้
“การลงทุนเพิ่มกลุ่มตัวอย่างใหม่ในครั้งนี้ เมื่อรวมกับการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กล่องวัดเรตติ้ง ค่าแรง ค่าอินเซนทีฟ ซอฟท์แวร์ และอื่นๆ รวมแล้วน่าจะใช้งบลงทุน ใกล้เคียงที่ตัวเลข 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นการล งทุนที่ทางบริษัท และทางสถานีโทรทัศน์ พร้อมให้การสนับสนุน โดยที่การให้บริการกับทาง เอเจนซี่ ยังคงราคาเดิม ไม่ได้มีการปรับราคาขึ้น แต่อย่างใด”
ทั้งนี้จากการสำรวจระหว่างเดือน ก.ย. 2555- ส.ค. 2556 และ ก.ย.2556-ส.ค.2557 พบว่า แพลทฟอร์มการรับชมทีวี แบ่งออกเป็น เสาก้างปลา 32% ทรูวิชั่น 8% เคเบิล 11% ทีวีดาวเทียม 49% และหลังจากที่เริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านมาทีวีดิจิตอลในช่วงเดือนก.ย.2556-ส.ค.2557 พบว่าสัดส่วนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป เป็น ก้างปลา 16% กล่องทีวีดิจิตอล 10% ทรูวิชั่น 8% เคเบิล 10% และทีวีดาวเทียม 56% โดยมองว่า กลุ่มกล่องทีวีดิจิตอลในช่วงนั้นที่มี การแลกกล่องมาอยู่ที่ 50% มีการติตั้งใช้จริงเพียง 10% และอนาคตของการดูผ่านกล่องทีวีดิจิตอล มากขึ้นนั้น จะมาจากกลุ่มก้างปลาและเคเบิลเป็นหลัก
ด้านนางสาวสมวลี ลิมป์รัชตามร ผู้อำนวยการบริหาร ธุรกิจมีเดีย บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อย่างไรก็ตามทางบริษัทยังได้พัฒนา รูปแบบการวัดเรตติ้งในกลุ่มมัลติสกรีนด้วย ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงทดลองระบบ เริ่มจาก กลุ่มผู้ใช้งานผ่านมือถือและและแท็ปเลต จำนวน 1,500 เครื่อง และเพิ่มเป็น 3,000 เครื่อง
หลังจากนั้นจะเพิ่มการวัดเรตติ้งในจอพีซีและทีวี รวมเป็น 4 สกรีนสำคัญที่จะอยู่ในการวัดเรตติ้ง มัลติสกรีนครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มนำมาใช้วัดเรตติ้ง ได้จริงตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป ภายใต้ความต้องการของลูกค้าแต่ละรายด้วย
นายสินธุ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันลูกค้าหลักของนีลเส็น คือ ช่องทีวีทั้ง 24 ช่อง และเอเจนซี่ระดับท็อป5 ซึ่งปัจจุบันยังคงนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้อยู่ แม้ว่าสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่ง ประเทศไทย ได้ตั้งหน่วยงาน Media Research Bureau ขึ้นมาดูแลการวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอล แต่ลูกค้าที่ยังใช้บริการกับนีลเส็น ไม่ได้ลดลง ทั้งนี้มองว่าหากมีบริษัทขึ้นมาวัดเรตติ้งถึง 2 ราย ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าในตอนนั้นแล้วว่าจะเลือกใช้ข้อมูลจากทางใด
โดยก่อนหน้านี้เคยให้สัมภาษณ์แล้วว่า สาเหตุที่นีลเส็นไม่เข้าร่วมวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอลครั้งนี้ เนื่องจาก 1. ได้เวลาในการตัดสินใจน้อยมาก 2.ไม่มีขอบเขตข้อมูลทั้งหมดของการวัดเรตติ้ง 3.นีลเส็นได้ลงทุนด้านการวัดเรตติ้งไปสูงมากแล้วตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ต้องดูแลและสร้างรายได้จาก สิ่งที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ถือเป็นการลง ทุนครั้งที่ 5 เพื่อให้ครอบคลุมช่องทีวีที่เกิดขึ้น