นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง กล่าวถึงแผนการลงทุนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในโครงการความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างจีนกับไทย ที่รัฐบาลได้ทำบันทึกความเข้าใจว่า จะกู้เงินจากจีนมาลงทุนเองในเส้นทางรถไฟ สายหนองคาย -โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด (ความยาว 734 กม.) ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านคมนาคมที่วางไว้ตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2553 โดยกำหนดเส้นทางหลักว่าจะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และใช้วิธีการร่วมลงทุน ไม่ใช่ไทยลงทุนฝ่ายเดียว จึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดรัฐบาลจึงตัดสินใจเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้ จีนเคยทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นกับไทยแล้ว ว่าจะลงทุนร่วมกัน
"ผมอยากเห็นเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทย-จีน เพราะผลตอบแทนทางการเงินของโครงการคุ้มค่ายากในบางเส้นทาง ซึ่งจะทำให้ภาระด้านการเงินตกหนักที่ประเทศไทย จึงควรหาวิธีลดภาระด้วยการให้ผู้ที่ได้ประโยชน์อื่นมาร่วมรับภาระกับเรา โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมจีน เป็นแนวคิดตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นโครงการร่วมลงทุน และจีนในขณะนั้นก็ลงนามเบื้องต้นตกลงแล้ว เพราะมีผลประโยชน์ต่อจีนในเชิงยุทธศาสตร์อย่างมาก ถ้าไทยไม่สร้าง แผนการสร้างรถไฟเอเชียสายใต้ไม่มีทางประสบความสำเร็จ ดังนั้น จีนมีกำลังทางการเงินที่เข้มแข็ง และเคยแสดงความพร้อมในอดีตที่จะมาร่วมภาระในส่วนเส้นทางที่ผ่านประเทศไทยด้วย จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนวิธีการใหม่"
นายกรณ์ กล่าวด้วยว่าไม่เข้าใจว่าทำไมเราจึงคิดว่า ควรจะรับภาระนี้ไว้เองคนเดียว ซึ่งเป็นภารที่ไม่น้อย ต้องกู้ยืมเงินหลายแสนล้านบาท ซึ่งในอดีตเกือบทุกโครงการ สุดท้ายต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่ตั้งไว้ครั้งแรก จะเป็นภาระขั้นตอนต่อไปที่มากกว่านี้ ถ้ามีผลการดำเนินการขาดทุน จะเป็นภาระซ้ำซ้อน ทั้งในแง่ของภาระดอกเบี้ย การชำระเงินต้น และภาระขาดทุนเพิ่มเติมด้วย ถ้ารัฐบาลกู้เงินสร้างเอง 100 % จะเป็นภาระประชาชนเต็ม 100
" คนที่จะได้ประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบราง คือจีน แต่ไทยต้องแบกภาระทางการเงิน และผู้ได้ประโยชน์อื่นๆ คือผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ขายอุปกรณ์รถไฟ ระบบสัญญาณต่างๆ ซึ่งก็น่าจะเป็นทั้งจีน และบริษัทไทยบางบริษัท ถ้าคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ควบคู่ไปด้วย ก็เท่ากับสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ผลักภาระหนี้มาให้ประชาชน" นายกรณ์ กล่าว
อดีต รมว.คลัง ยังเสนอว่า หากพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และต้องลงทุนเอง 100 % คงจะทุ่มเทในการลงทุนในระบบรถไฟทางคู่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้เท่าตัว เมื่อเทียบกับปัจจุบัน และจะมีการลงทุนที่น้อยกว่า อีกทั้งมีผลในการขนส่งสินค้ามากกว่า ส่วรถไฟความเร็วสูง มีก็ดีแต่ต้องไม่เป็นภาระการเงินการคลังมากเกินไป ตนกังวลว่า ถ้ากู้มาลงทุนฝ่ายเดียวอาจจะเป็นภาระการเงินที่มากเกินไปสำหรับเรา เพราะสถานะของประเทศยังไม่มั่นคงพอที่จะลงทุนเองทั้งหมด ยกตัวอย่างที่ อังกฤษ ซึ่งร่ำรวยกว่าเราก็ยังหาข้อสรุปหรือไม่ในการสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 เชื่อม ลอนดอนทางเหนือ
ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ นั้น นายกรณ์ ระบุว่า ยิ่งไม่มีความคุ้มค่า เพราะให้ผลแทนทางเศรษฐกิจที่ต่ำ ซึ่งในช่วงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผลการศึกษาของราชการเองก็พบว่าไม่คุ้มค่า ทั้งนี้หากรัฐบาลเดินตามแผนการก่อสร้างในทุกเส้นทางที่ระบุออกมา ก็เท่ากับประเทศไทยจะมีหนี้ราว 8 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐต้องทบทวนให้ดี ว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ และจะกระทบต่อสถานะการเงินของประเทศหรือไม่
"ผมอยากเห็นเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทย-จีน เพราะผลตอบแทนทางการเงินของโครงการคุ้มค่ายากในบางเส้นทาง ซึ่งจะทำให้ภาระด้านการเงินตกหนักที่ประเทศไทย จึงควรหาวิธีลดภาระด้วยการให้ผู้ที่ได้ประโยชน์อื่นมาร่วมรับภาระกับเรา โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมจีน เป็นแนวคิดตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นโครงการร่วมลงทุน และจีนในขณะนั้นก็ลงนามเบื้องต้นตกลงแล้ว เพราะมีผลประโยชน์ต่อจีนในเชิงยุทธศาสตร์อย่างมาก ถ้าไทยไม่สร้าง แผนการสร้างรถไฟเอเชียสายใต้ไม่มีทางประสบความสำเร็จ ดังนั้น จีนมีกำลังทางการเงินที่เข้มแข็ง และเคยแสดงความพร้อมในอดีตที่จะมาร่วมภาระในส่วนเส้นทางที่ผ่านประเทศไทยด้วย จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนวิธีการใหม่"
นายกรณ์ กล่าวด้วยว่าไม่เข้าใจว่าทำไมเราจึงคิดว่า ควรจะรับภาระนี้ไว้เองคนเดียว ซึ่งเป็นภารที่ไม่น้อย ต้องกู้ยืมเงินหลายแสนล้านบาท ซึ่งในอดีตเกือบทุกโครงการ สุดท้ายต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่ตั้งไว้ครั้งแรก จะเป็นภาระขั้นตอนต่อไปที่มากกว่านี้ ถ้ามีผลการดำเนินการขาดทุน จะเป็นภาระซ้ำซ้อน ทั้งในแง่ของภาระดอกเบี้ย การชำระเงินต้น และภาระขาดทุนเพิ่มเติมด้วย ถ้ารัฐบาลกู้เงินสร้างเอง 100 % จะเป็นภาระประชาชนเต็ม 100
" คนที่จะได้ประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบราง คือจีน แต่ไทยต้องแบกภาระทางการเงิน และผู้ได้ประโยชน์อื่นๆ คือผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ขายอุปกรณ์รถไฟ ระบบสัญญาณต่างๆ ซึ่งก็น่าจะเป็นทั้งจีน และบริษัทไทยบางบริษัท ถ้าคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ควบคู่ไปด้วย ก็เท่ากับสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ผลักภาระหนี้มาให้ประชาชน" นายกรณ์ กล่าว
อดีต รมว.คลัง ยังเสนอว่า หากพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และต้องลงทุนเอง 100 % คงจะทุ่มเทในการลงทุนในระบบรถไฟทางคู่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้เท่าตัว เมื่อเทียบกับปัจจุบัน และจะมีการลงทุนที่น้อยกว่า อีกทั้งมีผลในการขนส่งสินค้ามากกว่า ส่วรถไฟความเร็วสูง มีก็ดีแต่ต้องไม่เป็นภาระการเงินการคลังมากเกินไป ตนกังวลว่า ถ้ากู้มาลงทุนฝ่ายเดียวอาจจะเป็นภาระการเงินที่มากเกินไปสำหรับเรา เพราะสถานะของประเทศยังไม่มั่นคงพอที่จะลงทุนเองทั้งหมด ยกตัวอย่างที่ อังกฤษ ซึ่งร่ำรวยกว่าเราก็ยังหาข้อสรุปหรือไม่ในการสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 เชื่อม ลอนดอนทางเหนือ
ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ นั้น นายกรณ์ ระบุว่า ยิ่งไม่มีความคุ้มค่า เพราะให้ผลแทนทางเศรษฐกิจที่ต่ำ ซึ่งในช่วงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผลการศึกษาของราชการเองก็พบว่าไม่คุ้มค่า ทั้งนี้หากรัฐบาลเดินตามแผนการก่อสร้างในทุกเส้นทางที่ระบุออกมา ก็เท่ากับประเทศไทยจะมีหนี้ราว 8 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐต้องทบทวนให้ดี ว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ และจะกระทบต่อสถานะการเงินของประเทศหรือไม่