คำว่า ประชาธิปไตย เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า ประชาชนเป็นใหญ่ หรือความเป็นใหญ่จากประชาชน
ในทางพุทธศาสนา ความเป็นใหญ่หรืออธิปไตยมีอยู่ 3 ประการคือ
1. อัตตาธิปไตย ได้แก่การถือตนเองเป็นใหญ่ ถือตนเองเป็นศูนย์กลางเปรียบได้กับเผด็จการ
2. โลกาธิปไตย ได้แก่การถือกระแสประชาชนเป็นใหญ่ หรือฟังเสียงคนหมู่มากเปรียบได้กับประชาธิปไตย
3. ธัมมาธิปไตย ได้แก่การถือธรรมะหรือถือความถูกต้องเป็นใหญ่
โดยนัยแห่งคำสอนดังกล่าวข้างต้น หมายถึงเหตุปรารภหรือเหตุจูงใจบุคคลคิด พูด และทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเกิดจากเหตุจูงใจ 3 ประการคือ ยึดถือความคิดเห็นของตนเอง ไม่ฟังใครแล้วกระทำไปตามที่ใจตนเองต้องการเรียกว่า อัตตาธิปไตยเป็นประการที่หนึ่ง การไม่ยึดตนเองเป็นใหญ่ แต่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ และลงมือกระทำการใดๆ ลงไป โดยอาศัยเสียงข้างมากเรียกว่า โลกาธิปไตย เป็นประการหนึ่ง และการยึดความถูกต้องแล้วกระทำสิ่งใดๆ ลงไปโดยอาศัยหลักการที่เห็นว่าถูกต้องนั้น เรียกว่า ธัมมาธิปไตย เป็นประการสุดท้าย
ในวิชาการเมืองการปกครองหรือรัฐศาสตร์ มีรูปแบบหรือระบบการปกครองมี 2 ประการคือ
1. ระบบเผด็จการ รัฐบาลที่ปกครองในระบอบเผด็จการ และได้รับการกล่าวขานในทางบวก เห็นจะไม่มีรัฐบาลเผด็จการไหนยิ่งไปกว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยมีผลงานที่โดดเด่นในหลายด้านที่คนไทยในยุคนั้นประทับใจได้แก่ ความสะอาดของบ้านเมือง การพัฒนาถนนหนทาง และการปราบปรามอาชญากรรมในทุกรูปแบบ แต่ที่เด่นที่สุดเห็นจะได้แก่การปราบกลุ่มอันธพาลกวนเมือง และผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น
ส่วนรัฐบาลเผด็จการที่มีผลงานในทางลบถึงขั้นบันทึกเป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทยเห็นจะได้แก่ รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพลถนอม กิตติขจร จะเห็นได้จากการที่คนบางคนซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐบาลใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ และปิดกั้นเสรีภาพ จึงทำให้มีการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยจากนักศึกษา และทำให้เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งหนีเข้าป่าซ่องสุมกำลังต่อสู้กับรัฐในนามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
2. ระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลภายใต้ระบอบนี้ที่มีผลงานโดดเด่น และได้การกล่าวขานมากที่สุด เห็นจะไม่มีรัฐบาลไหนเกินรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยมีผลงานเป็นที่ยอมรับในด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะได้แก่ความเป็นผู้นำที่ซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ส่วนรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีผลงานในทางลบมากที่สุดในด้านสังคม และการเมืองจนเป็นเหตุจูงใจให้ผู้คนออกมาชุมนุมขับไล่เห็นจะได้แก่ รัฐบาลภายใต้การนำของระบอบทักษิณ และรัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง ทั้งนี้เนื่องมาจากการแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ และมีพฤติกรรมจาบจ้วงเบื้องสูงจนกลายเป็นเหตุจูงใจให้กองทัพโค่นล้มรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
สำหรับรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐบาลผสมผสานระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย จะเห็นได้จากการมี คสช.ซึ่งเกิดจากการยึดอำนาจ และทำหน้าที่กำกับการทำงานด้านความมั่นคง เป็นเสมือนพี่เลี้ยงคอยประคับประคองรัฐบาล และในขณะเดียวกัน มี คสช.ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติในทำนองเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย ทั้งยังมี สปช.ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบ และแนวทางการปฏิรูปประเทศ
จากลักษณะปกครองดังกล่าวข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า รัฐบาลในปัจจุบันมิได้ปกครองในรูปแบบเผด็จการ 100 เปอร์เซ็นต์ เฉกเช่นเผด็จการในยุคต้นๆ ของการปกครองในระบบนี้ ดังนั้น จึงอาจเรียกรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่ากึ่งเผด็จการ และกึ่งประชาธิปไตย
ส่วนว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จัดเข้าประเภทมีผลงานเป็นบวกหรือลบนั้น ในขณะนี้ยังจะให้คำตอบไม่ได้ แต่จะต้องรอไปจนกว่าจะครบเทอมตามที่กำหนดไว้ในโรดแมป เพราะขืนรีบสรุปในขณะนี้ ก็จะเข้าทำนองภาษิตไทยที่ว่า ติเรือทั้งโกลน ติโขนไม่ได้ทรงเครื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ประเมินผลงานที่ผ่านมาในระยะหนึ่งปี โดยการอนุมานจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ก็มีผลทั้งลบ และบวกขึ้นอยู่กับการมองโดยยึดแบบการปกครองดังนี้
1. ถ้ามองในรูปของการเป็นรัฐบาลเผด็จการก็จะได้ผลเป็นลบ เนื่องจากขาดความรวดเร็ว และเด็ดขาด เฉกเช่นรัฐบาลเผด็จการที่ได้รับการยกย่องในอดีต
2. แต่ถ้ามองในรูปแบบของการเป็นรัฐบาลผสม และเน้นหนักไปในการแก้ปัญหา โดยใช้ตามปกติเป็นส่วนใหญ่ เฉกเช่นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ผลงานที่ได้ถือว่าเป็นบวก เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งแก้ไม่ได้ หรือไม่แก้ได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลเป็นรูปธรรม ดังจะเห็นได้จากการแก้ปัญหาการบุกรุกป่า และการฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น
ในทางพุทธศาสนา ความเป็นใหญ่หรืออธิปไตยมีอยู่ 3 ประการคือ
1. อัตตาธิปไตย ได้แก่การถือตนเองเป็นใหญ่ ถือตนเองเป็นศูนย์กลางเปรียบได้กับเผด็จการ
2. โลกาธิปไตย ได้แก่การถือกระแสประชาชนเป็นใหญ่ หรือฟังเสียงคนหมู่มากเปรียบได้กับประชาธิปไตย
3. ธัมมาธิปไตย ได้แก่การถือธรรมะหรือถือความถูกต้องเป็นใหญ่
โดยนัยแห่งคำสอนดังกล่าวข้างต้น หมายถึงเหตุปรารภหรือเหตุจูงใจบุคคลคิด พูด และทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเกิดจากเหตุจูงใจ 3 ประการคือ ยึดถือความคิดเห็นของตนเอง ไม่ฟังใครแล้วกระทำไปตามที่ใจตนเองต้องการเรียกว่า อัตตาธิปไตยเป็นประการที่หนึ่ง การไม่ยึดตนเองเป็นใหญ่ แต่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ และลงมือกระทำการใดๆ ลงไป โดยอาศัยเสียงข้างมากเรียกว่า โลกาธิปไตย เป็นประการหนึ่ง และการยึดความถูกต้องแล้วกระทำสิ่งใดๆ ลงไปโดยอาศัยหลักการที่เห็นว่าถูกต้องนั้น เรียกว่า ธัมมาธิปไตย เป็นประการสุดท้าย
ในวิชาการเมืองการปกครองหรือรัฐศาสตร์ มีรูปแบบหรือระบบการปกครองมี 2 ประการคือ
1. ระบบเผด็จการ รัฐบาลที่ปกครองในระบอบเผด็จการ และได้รับการกล่าวขานในทางบวก เห็นจะไม่มีรัฐบาลเผด็จการไหนยิ่งไปกว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยมีผลงานที่โดดเด่นในหลายด้านที่คนไทยในยุคนั้นประทับใจได้แก่ ความสะอาดของบ้านเมือง การพัฒนาถนนหนทาง และการปราบปรามอาชญากรรมในทุกรูปแบบ แต่ที่เด่นที่สุดเห็นจะได้แก่การปราบกลุ่มอันธพาลกวนเมือง และผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น
ส่วนรัฐบาลเผด็จการที่มีผลงานในทางลบถึงขั้นบันทึกเป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทยเห็นจะได้แก่ รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพลถนอม กิตติขจร จะเห็นได้จากการที่คนบางคนซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐบาลใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ และปิดกั้นเสรีภาพ จึงทำให้มีการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยจากนักศึกษา และทำให้เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งหนีเข้าป่าซ่องสุมกำลังต่อสู้กับรัฐในนามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
2. ระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลภายใต้ระบอบนี้ที่มีผลงานโดดเด่น และได้การกล่าวขานมากที่สุด เห็นจะไม่มีรัฐบาลไหนเกินรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยมีผลงานเป็นที่ยอมรับในด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะได้แก่ความเป็นผู้นำที่ซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ส่วนรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีผลงานในทางลบมากที่สุดในด้านสังคม และการเมืองจนเป็นเหตุจูงใจให้ผู้คนออกมาชุมนุมขับไล่เห็นจะได้แก่ รัฐบาลภายใต้การนำของระบอบทักษิณ และรัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง ทั้งนี้เนื่องมาจากการแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ และมีพฤติกรรมจาบจ้วงเบื้องสูงจนกลายเป็นเหตุจูงใจให้กองทัพโค่นล้มรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
สำหรับรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐบาลผสมผสานระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย จะเห็นได้จากการมี คสช.ซึ่งเกิดจากการยึดอำนาจ และทำหน้าที่กำกับการทำงานด้านความมั่นคง เป็นเสมือนพี่เลี้ยงคอยประคับประคองรัฐบาล และในขณะเดียวกัน มี คสช.ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติในทำนองเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย ทั้งยังมี สปช.ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบ และแนวทางการปฏิรูปประเทศ
จากลักษณะปกครองดังกล่าวข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า รัฐบาลในปัจจุบันมิได้ปกครองในรูปแบบเผด็จการ 100 เปอร์เซ็นต์ เฉกเช่นเผด็จการในยุคต้นๆ ของการปกครองในระบบนี้ ดังนั้น จึงอาจเรียกรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่ากึ่งเผด็จการ และกึ่งประชาธิปไตย
ส่วนว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จัดเข้าประเภทมีผลงานเป็นบวกหรือลบนั้น ในขณะนี้ยังจะให้คำตอบไม่ได้ แต่จะต้องรอไปจนกว่าจะครบเทอมตามที่กำหนดไว้ในโรดแมป เพราะขืนรีบสรุปในขณะนี้ ก็จะเข้าทำนองภาษิตไทยที่ว่า ติเรือทั้งโกลน ติโขนไม่ได้ทรงเครื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ประเมินผลงานที่ผ่านมาในระยะหนึ่งปี โดยการอนุมานจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ก็มีผลทั้งลบ และบวกขึ้นอยู่กับการมองโดยยึดแบบการปกครองดังนี้
1. ถ้ามองในรูปของการเป็นรัฐบาลเผด็จการก็จะได้ผลเป็นลบ เนื่องจากขาดความรวดเร็ว และเด็ดขาด เฉกเช่นรัฐบาลเผด็จการที่ได้รับการยกย่องในอดีต
2. แต่ถ้ามองในรูปแบบของการเป็นรัฐบาลผสม และเน้นหนักไปในการแก้ปัญหา โดยใช้ตามปกติเป็นส่วนใหญ่ เฉกเช่นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ผลงานที่ได้ถือว่าเป็นบวก เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งแก้ไม่ได้ หรือไม่แก้ได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลเป็นรูปธรรม ดังจะเห็นได้จากการแก้ปัญหาการบุกรุกป่า และการฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น