ASTVผู้จัดการรายวัน-สาธารณสุขจ่อประกาศให้ "เมอร์" เป็นโรคติดต่ออันตรายอันดับที่ 7 ของไทย เพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่กักตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ละเมิดสิทธิ เผยผู้ต้องสงสัย 11 รายตรวจแล้วไม่พบเชื้อ จับตาเกาหลีใต้ 4 พันคนมาประชุมในไทย เตรียมตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิสกัดคนมีไข้เข้าร่วมประชุม "หมอรัชตะ"สั่งโรงพยาบาลรัฐ-เอกชนรับมือ เข้มดูแลผู้ป่วยไข้ ไอ
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการระบาดเห็นชอบตามผู้เชี่ยวชาญกรมควบคุมโรคเสนอในการที่จะประกาศให้โรคเมอร์ส เป็นโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523 ซึ่งหากพบโรคดังกล่าวจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยจะเร่งออกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายใน 1-2 วัน
ทั้งนี้ มาตรการทางสาธารณสุขยังคงเหมือนเดิม แต่เป็นเพียงการเพิ่มอำนาจทางกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดำเนินการได้สะดวกขึ้น สามารถกักตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ละเมิดสิทธิ
สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากเกาหลีใต้แล้วสมัครใจเข้ารับการตรวจเชื้อทั้ง 11 ราย ผลออกมาแล้วเป็นลบทั้งหมด คือ ไม่มีผู้ใดเป็นโรคเมอร์ส
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมามีการกำหนดโรคติดต่ออันตรายไว้ 6 โรค คือ 1.อหิวาตกโรค 2.กาฬโรค 3.ไข้ทรพิษ 4.ไข้เหลือง 5.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส และ 6.โรคติดเชื้ออีโบลา โดยโรคเมอร์สจะถือเป็นโรคที่ 7 ที่กำหนดให้เป็นโรคติดต่ออันตราย โดยหากพบผู้ป่วยแล้วไม่แจ้ง หรือไม่ยอมเข้ารับการรักษา หรือยินยอมถูกกักตัว จะมีโทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท
วันเดียวกันนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สถานการณ์การป่วยโรคเมอร์สทั่วโลก ณ วันที่ 8 มิ.ย.2558 ป่วยแล้ว 1,218 คน เสียชีวิต 449 คน ซึ่งขณะนี้เกิดความวิตกกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดในเกาหลีใต้ เนื่องจากอยู่ใกล้กับไทยและมีการเดินทางไปมาต่อเนื่อง โดยมีคนไทยเดินทางไปเกาหลีใต้ประมาณ 1,000 คน และคนเกาหลีใต้เดินทางมาไทยอีกประมาณวันละ 4,000 คน ส่วนการระบาดในเกาหลีใต้พบว่าแพร่กระจายเกือบทุกจังหวัด แต่ยังจำกัดเฉพาะในโรงพยาบาล โดยตั้งแต่มีการระบาดจนถึงข้อมูลวันที่ 10 มิ.ย. พบผู้ป่วยแล้ว 122 คน เสียชีวิต 9 คน
สาเหตุที่การระบาดในเกาหลีใต้เป็นไปอย่างรวดเร็ว มองว่าไม่ได้ระวังตั้งแต่ต้น คือ 1.ปล่อยให้คนไข้ที่ติดเชื้อนอนกับคนไข้ทั่วไป 2.ระบบอากาศในห้องไม่ดีพอ ทำให้ผู้ป่วยอื่นๆ ในหอผู้ป่วยในวอร์ดเดียวติดเชื้อไปด้วย และ 3.การควบคุมผู้ป่วยเข้าออกไม่เข้มงวด แต่ขณะนี้มีการเข้มงวดเพิ่มขึ้นแล้ว ดังนั้น หากใครจะเดินทางไปเกาหลีใต้ สามารถเดินทางไปได้ เพราะยังไม่มีการประกาศห้ามเดินทาง แต่ต้องระวังอย่าไปอยู่ในแหล่งชุมชน และอย่าเข้าโรงพยาบาล เพราะขณะนี้ระบาดในโรงพยาบาลมาก
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า วันที่ 10 มิ.ย. ภาคเอกชนได้เข้าหารือกับกรมฯ เพื่อขอคำแนะนำในการจัดประชุมเครื่องมือแพทย์ในไทย ระหว่างวันที่ 12-14 มิ.ย. มีผู้ประกอบการจากทั่วโลกประมาณ 20,000 คนเดินทางมาไทย โดยเป็นชาวเกาหลีใต้ประมาณ 4,000 คน ซึ่งบริษัทมีความรับผิดชอบมาก ได้เข้ามาแจ้งและรับคำแนะนำต่างๆ เบื้องต้นจะติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิความร้อนภายในห้องประชุม หากพบบุคคลใดอุณหภูมิร่างกายสูงก็จะขอความร่วมมือไม่ให้เข้าร่วมประชุม และติดตามเฝ้าระวัง
อย่างไรก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อพบไข้จะป่วยเป็นโรคเมอร์ส แต่เป็นการคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากอาการของโรค จะมีไข้ ไอ และจะมีการตั้งหน่วยแพทย์คัดกรอง รวมถึงแจกแผ่นพับในการป้องกันตัวด้วยว่าเมื่อมีอาการไข้ ควรทำอย่างไร ติดต่อพบแพทย์ได้อย่างไร ซึ่งคงไม่ถึงขั้นต้องส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพราะมีการเฝ้าระวังดี แต่หากมีใครป่วยก็จะไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ
"การเดินทางระหว่างไทยและเกาหลีเป็นเรื่องปกติประจำอยู่แล้ว ซึ่งสนามบินนานาชาติจะมีด่านควบคุมโรค และมีเครื่องเทอร์โมสแกนตรวจวัดความร้อน และมีการคัดกรองเบื้องต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเจอผู้ป่วยทุกราย แต่เป็นการกระตุ้นเตือนให้รู้ว่าหากมีอาการป่วยไข้ควรจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรและต้องไปพบแพทย์ แต่หากพบมีไข้ก็จะมีการติดตามเฝ้าระวังไปอีก 14 วัน ไม่ได้กักตัว ดังนั้น หากใครเดินทางมาจากเกาหลีใต้ และมีอาการไข้ หรือป่วยภายในระยะเวลากำหนดให้รีบพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทาง” นพ.คำนวณ กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยไวรัสสัตว์สู่คน และอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการติดตามพบว่าคนที่มีสุขภาพดีแข็งแรงอาจไม่เป็นโรคที่รุนแรง แต่เป็นผู้แพร่โรคได้ โดยระยะการฝักตัวของโรคนี้จะใช้เวลาในช่วง 14 วัน ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงพบว่าจะมีระยะเวลาแพร่โรคไปได้อาจนาน 20-30 วัน โดยเชื้อจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจ แพร่สู่ผู้อื่นได้เหมือนไข้หวัด คือ สารคัดหลั่ง ด้วยการสัมผัส หรือ รับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันว่าแพร่เชื้อทางอากาศ
"ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจับตาโรคเมอร์ส เพราะเป็นพี่น้องกับโรคซาร์ส ในตระกูลโคโรนาไวรัส ที่มีวิวัฒนการสูงมาก สามารถเล็ดลอดการตรวจจับและหลบอยู่ในอวัยวะอื่นนอกจากทางเดินหายใจได้ นักไวรัสจึงติดตามเฝ้าระวังเพื่อดูพัฒนาการ และดักจับไวรัสที่จะพัฒนาจนก่อโรคต่อไปด้วย"
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้ให้โรงพยาบาลในสังกัด และขอความร่วมมือ รพ.เอกชนทุกแห่ง จัดจุดตรวจรักษาผู้ป่วยนอกที่มีอาการไข้ ไอ คล้ายไข้หวัด แยกออกจากผู้ป่วยนอกอื่นๆ ให้ผู้ป่วยทุกคนใส่หน้ากากอนามัย บริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เพื่อลดการปะปนกับผู้ป่วยอื่น และซักประวัติการเดินทางจากต่างประเทศทุกราย และขอความร่วมมือคลินิกต่างๆ ส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว และมีประวัติเดินทางกลับจากต่างประเทศไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. และได้ให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดห้องแยกโรคมาตรฐาน ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโดยเฉพาะ และกำชับบุคลากรการแพทย์ทุกคนทุกระดับ เคร่งครัดมาตรการป้องกันการติดเชื้อขั้นสูงสุด เพื่อความปลอดภัยทั้งบุคลากรและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล รวมทั้งให้ซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยโรงพยาบาลในสังกัด สธ. มีห้องแยกแล้ว 69 แห่ง
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการระบาดเห็นชอบตามผู้เชี่ยวชาญกรมควบคุมโรคเสนอในการที่จะประกาศให้โรคเมอร์ส เป็นโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523 ซึ่งหากพบโรคดังกล่าวจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยจะเร่งออกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายใน 1-2 วัน
ทั้งนี้ มาตรการทางสาธารณสุขยังคงเหมือนเดิม แต่เป็นเพียงการเพิ่มอำนาจทางกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดำเนินการได้สะดวกขึ้น สามารถกักตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ละเมิดสิทธิ
สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากเกาหลีใต้แล้วสมัครใจเข้ารับการตรวจเชื้อทั้ง 11 ราย ผลออกมาแล้วเป็นลบทั้งหมด คือ ไม่มีผู้ใดเป็นโรคเมอร์ส
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมามีการกำหนดโรคติดต่ออันตรายไว้ 6 โรค คือ 1.อหิวาตกโรค 2.กาฬโรค 3.ไข้ทรพิษ 4.ไข้เหลือง 5.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส และ 6.โรคติดเชื้ออีโบลา โดยโรคเมอร์สจะถือเป็นโรคที่ 7 ที่กำหนดให้เป็นโรคติดต่ออันตราย โดยหากพบผู้ป่วยแล้วไม่แจ้ง หรือไม่ยอมเข้ารับการรักษา หรือยินยอมถูกกักตัว จะมีโทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท
วันเดียวกันนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สถานการณ์การป่วยโรคเมอร์สทั่วโลก ณ วันที่ 8 มิ.ย.2558 ป่วยแล้ว 1,218 คน เสียชีวิต 449 คน ซึ่งขณะนี้เกิดความวิตกกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดในเกาหลีใต้ เนื่องจากอยู่ใกล้กับไทยและมีการเดินทางไปมาต่อเนื่อง โดยมีคนไทยเดินทางไปเกาหลีใต้ประมาณ 1,000 คน และคนเกาหลีใต้เดินทางมาไทยอีกประมาณวันละ 4,000 คน ส่วนการระบาดในเกาหลีใต้พบว่าแพร่กระจายเกือบทุกจังหวัด แต่ยังจำกัดเฉพาะในโรงพยาบาล โดยตั้งแต่มีการระบาดจนถึงข้อมูลวันที่ 10 มิ.ย. พบผู้ป่วยแล้ว 122 คน เสียชีวิต 9 คน
สาเหตุที่การระบาดในเกาหลีใต้เป็นไปอย่างรวดเร็ว มองว่าไม่ได้ระวังตั้งแต่ต้น คือ 1.ปล่อยให้คนไข้ที่ติดเชื้อนอนกับคนไข้ทั่วไป 2.ระบบอากาศในห้องไม่ดีพอ ทำให้ผู้ป่วยอื่นๆ ในหอผู้ป่วยในวอร์ดเดียวติดเชื้อไปด้วย และ 3.การควบคุมผู้ป่วยเข้าออกไม่เข้มงวด แต่ขณะนี้มีการเข้มงวดเพิ่มขึ้นแล้ว ดังนั้น หากใครจะเดินทางไปเกาหลีใต้ สามารถเดินทางไปได้ เพราะยังไม่มีการประกาศห้ามเดินทาง แต่ต้องระวังอย่าไปอยู่ในแหล่งชุมชน และอย่าเข้าโรงพยาบาล เพราะขณะนี้ระบาดในโรงพยาบาลมาก
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า วันที่ 10 มิ.ย. ภาคเอกชนได้เข้าหารือกับกรมฯ เพื่อขอคำแนะนำในการจัดประชุมเครื่องมือแพทย์ในไทย ระหว่างวันที่ 12-14 มิ.ย. มีผู้ประกอบการจากทั่วโลกประมาณ 20,000 คนเดินทางมาไทย โดยเป็นชาวเกาหลีใต้ประมาณ 4,000 คน ซึ่งบริษัทมีความรับผิดชอบมาก ได้เข้ามาแจ้งและรับคำแนะนำต่างๆ เบื้องต้นจะติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิความร้อนภายในห้องประชุม หากพบบุคคลใดอุณหภูมิร่างกายสูงก็จะขอความร่วมมือไม่ให้เข้าร่วมประชุม และติดตามเฝ้าระวัง
อย่างไรก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อพบไข้จะป่วยเป็นโรคเมอร์ส แต่เป็นการคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากอาการของโรค จะมีไข้ ไอ และจะมีการตั้งหน่วยแพทย์คัดกรอง รวมถึงแจกแผ่นพับในการป้องกันตัวด้วยว่าเมื่อมีอาการไข้ ควรทำอย่างไร ติดต่อพบแพทย์ได้อย่างไร ซึ่งคงไม่ถึงขั้นต้องส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพราะมีการเฝ้าระวังดี แต่หากมีใครป่วยก็จะไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ
"การเดินทางระหว่างไทยและเกาหลีเป็นเรื่องปกติประจำอยู่แล้ว ซึ่งสนามบินนานาชาติจะมีด่านควบคุมโรค และมีเครื่องเทอร์โมสแกนตรวจวัดความร้อน และมีการคัดกรองเบื้องต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเจอผู้ป่วยทุกราย แต่เป็นการกระตุ้นเตือนให้รู้ว่าหากมีอาการป่วยไข้ควรจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรและต้องไปพบแพทย์ แต่หากพบมีไข้ก็จะมีการติดตามเฝ้าระวังไปอีก 14 วัน ไม่ได้กักตัว ดังนั้น หากใครเดินทางมาจากเกาหลีใต้ และมีอาการไข้ หรือป่วยภายในระยะเวลากำหนดให้รีบพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทาง” นพ.คำนวณ กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยไวรัสสัตว์สู่คน และอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการติดตามพบว่าคนที่มีสุขภาพดีแข็งแรงอาจไม่เป็นโรคที่รุนแรง แต่เป็นผู้แพร่โรคได้ โดยระยะการฝักตัวของโรคนี้จะใช้เวลาในช่วง 14 วัน ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงพบว่าจะมีระยะเวลาแพร่โรคไปได้อาจนาน 20-30 วัน โดยเชื้อจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจ แพร่สู่ผู้อื่นได้เหมือนไข้หวัด คือ สารคัดหลั่ง ด้วยการสัมผัส หรือ รับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันว่าแพร่เชื้อทางอากาศ
"ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจับตาโรคเมอร์ส เพราะเป็นพี่น้องกับโรคซาร์ส ในตระกูลโคโรนาไวรัส ที่มีวิวัฒนการสูงมาก สามารถเล็ดลอดการตรวจจับและหลบอยู่ในอวัยวะอื่นนอกจากทางเดินหายใจได้ นักไวรัสจึงติดตามเฝ้าระวังเพื่อดูพัฒนาการ และดักจับไวรัสที่จะพัฒนาจนก่อโรคต่อไปด้วย"
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้ให้โรงพยาบาลในสังกัด และขอความร่วมมือ รพ.เอกชนทุกแห่ง จัดจุดตรวจรักษาผู้ป่วยนอกที่มีอาการไข้ ไอ คล้ายไข้หวัด แยกออกจากผู้ป่วยนอกอื่นๆ ให้ผู้ป่วยทุกคนใส่หน้ากากอนามัย บริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เพื่อลดการปะปนกับผู้ป่วยอื่น และซักประวัติการเดินทางจากต่างประเทศทุกราย และขอความร่วมมือคลินิกต่างๆ ส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว และมีประวัติเดินทางกลับจากต่างประเทศไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. และได้ให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดห้องแยกโรคมาตรฐาน ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโดยเฉพาะ และกำชับบุคลากรการแพทย์ทุกคนทุกระดับ เคร่งครัดมาตรการป้องกันการติดเชื้อขั้นสูงสุด เพื่อความปลอดภัยทั้งบุคลากรและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล รวมทั้งให้ซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยโรงพยาบาลในสังกัด สธ. มีห้องแยกแล้ว 69 แห่ง