วานนี้ (10 มิ.ย.) ที่ห้องพิจารณา 807 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.858/2553 ที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นโจทก์ฟ้อง นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตโฆษกประจำตัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา กรณี นายเทพไทให้สัมภาษณ์ทำนองว่า นายปลอดประสพ เป็นคนในระบอบทักษิณ และเป็นพวกล้มเจ้า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ.53
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าจำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเชิงตั้งคำถามว่า โจทก์เป็นคนในระบอบทักษิณ เป็นพวกล้มเจ้า จริงหรือไม่ ซึ่งโจทก์เป็นนักการเมือง ย่อมอยู่ในฐานะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และจำเลยพูดในลักษณะตั้งคำถาม ไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง และเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม เป็นการพูดในสิ่งที่ตนมีส่วนได้เสีย จึงไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1)
ต่อมา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษากันแล้วเห็นว่า ช่วงเกิดเหตุเป็นช่วงที่มีการขัดแย้งทางการเมืองสูง กลุ่ม นปช. ประท้วงขับไล่รัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ รวมทั้งมีการโจมตีสถาบันเบื้องสูง หรือเรียกกันว่า ขบวนการล้มเจ้า ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้หลายราย
โดยจำเลยให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่ม นปช. เกี่ยวข้องกับขบวนการล้มเจ้า ซึ่งเป็นการพูดในทำนองสอดคล้องกับโจทก์ ที่พูดว่าเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ หรือคนในระบบทักษิณ ซึ่งคำให้สัมภาษณ์ของจำเลย เป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามต่อโจทก์ ว่า กระบวนการล้มเจ้า มีจริงหรือไม่ โดยมีมูลเหตุมาจากคำให้สัมภาษณ์ของโจทก์ เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
ต่อมาโจทก์ยื่นฎีกาโดยให้อัยการโจทก์รับรองฎีกา ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า ที่โจทก์ให้สัมภาษณ์ว่า มีการบริหารแบบพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งคนทั่วไปที่ฟังคำสัมภาษณ์ของโจทก์ อาจเข้าใจได้ว่า พรรคเพื่อไทยมีการบริหารพรรคแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งจำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในลักษณะที่คนทั่วไปสามารถจะตั้งคำถาม หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
ภายหลังฟังคำพิพากษา นายเทพไท ให้สัมภาษณ์ว่า คดีนี้ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ซึ่งเห็นว่าได้ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์การให้สัมภาษณ์ของนายปลอดประสพ ด้วยความสุจริต และเป็นการติชมในฐานะที่บุคคลทั่วไปสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เห็นว่าคดีนี้มูลการฟ้องตั้งแต่ต้นก็แทบจะฟังไม่ขึ้นเลย และคดีควรจะยุติในชั้นอุทธรณ์ แต่ภายหลังโจทก์ได้ให้อัยการสูงสุดขณะนั้น รับรองฎีกา เห็นว่าตามกฎหมายแล้วสามารถทำได้ แต่คดีนี้นายปลอดประสพ เป็นโจทก์ในฐานะส่วนบุคคล ซึ่งไม่ใช่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ อัยการสูงสุด จึงไม่ควรจะเซ็นรับรอง แต่เมื่อเซ็นรับรองฎีกาไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของสังคมที่จะพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อไป
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าจำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเชิงตั้งคำถามว่า โจทก์เป็นคนในระบอบทักษิณ เป็นพวกล้มเจ้า จริงหรือไม่ ซึ่งโจทก์เป็นนักการเมือง ย่อมอยู่ในฐานะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และจำเลยพูดในลักษณะตั้งคำถาม ไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง และเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม เป็นการพูดในสิ่งที่ตนมีส่วนได้เสีย จึงไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1)
ต่อมา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษากันแล้วเห็นว่า ช่วงเกิดเหตุเป็นช่วงที่มีการขัดแย้งทางการเมืองสูง กลุ่ม นปช. ประท้วงขับไล่รัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ รวมทั้งมีการโจมตีสถาบันเบื้องสูง หรือเรียกกันว่า ขบวนการล้มเจ้า ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้หลายราย
โดยจำเลยให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่ม นปช. เกี่ยวข้องกับขบวนการล้มเจ้า ซึ่งเป็นการพูดในทำนองสอดคล้องกับโจทก์ ที่พูดว่าเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ หรือคนในระบบทักษิณ ซึ่งคำให้สัมภาษณ์ของจำเลย เป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามต่อโจทก์ ว่า กระบวนการล้มเจ้า มีจริงหรือไม่ โดยมีมูลเหตุมาจากคำให้สัมภาษณ์ของโจทก์ เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
ต่อมาโจทก์ยื่นฎีกาโดยให้อัยการโจทก์รับรองฎีกา ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า ที่โจทก์ให้สัมภาษณ์ว่า มีการบริหารแบบพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งคนทั่วไปที่ฟังคำสัมภาษณ์ของโจทก์ อาจเข้าใจได้ว่า พรรคเพื่อไทยมีการบริหารพรรคแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งจำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในลักษณะที่คนทั่วไปสามารถจะตั้งคำถาม หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
ภายหลังฟังคำพิพากษา นายเทพไท ให้สัมภาษณ์ว่า คดีนี้ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ซึ่งเห็นว่าได้ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์การให้สัมภาษณ์ของนายปลอดประสพ ด้วยความสุจริต และเป็นการติชมในฐานะที่บุคคลทั่วไปสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เห็นว่าคดีนี้มูลการฟ้องตั้งแต่ต้นก็แทบจะฟังไม่ขึ้นเลย และคดีควรจะยุติในชั้นอุทธรณ์ แต่ภายหลังโจทก์ได้ให้อัยการสูงสุดขณะนั้น รับรองฎีกา เห็นว่าตามกฎหมายแล้วสามารถทำได้ แต่คดีนี้นายปลอดประสพ เป็นโจทก์ในฐานะส่วนบุคคล ซึ่งไม่ใช่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ อัยการสูงสุด จึงไม่ควรจะเซ็นรับรอง แต่เมื่อเซ็นรับรองฎีกาไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของสังคมที่จะพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อไป