"บิ๊กตู่" เปิดโครงการต้านทุจริต สร้างจิตสำนึกไทยไม่โกง ระบุแก้ได้มากว่า 90 % แต่ยังไม่พอใจ วอนทุกฝ่ายให้ละอายต่อบาป ยกหลักธรรมอริยสัจสี่เตือนใจ "แช่ง" ใครไม่ทำตามประกาศเจตนารมณ์ขอให้มันมีอันเป็นไป ชี้คนโกงมีทุกภาคส่วน อย่าเหมารวมว่ามีแต่ข้าราชการ ขู่ผิดต้องลงโทษทั้งคู่ ฐานสมยอม บอก 152 รายชื่อพัวพันทุจริต ถึงมือนานแล้ว ไม่จำเป็นต้องเร่ง ปล่อยให้มีการตรวจสอบตามขั้นตอน แฉขบวนการ อปท. กินรวบงาบงบฯ ท้องถิ่น จัดงานวัฒนธรรม พบหลายพื้นที่เซ็ตโครงการลอยๆ ขอเงินอุดหนุน แบ่งเค้กก้อนโตถ้วนหน้า ส่วนหน่วยตรวจสอบภายในไม่กล้ารายงานข้อเท็จจริง หวั่นเก้าอี้หลุด
เมื่อเวลา 08.45 น. วานนี้ (8 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประกาศเจตนารมณ์ "ต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึกไทยไม่โกง" ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วย นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเรามีความจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศ มีทั้งเหตุการณ์ที่ดี และไม่ดี อยากให้ทุกคนศึกษาปัญหา และร่วมกันหาทางออกตามหลักพระพุทธศาสนา อริยสัจสี่ รู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และแก้ที่ตรงไหน อย่างเช่น ข้าราชการก็ต้องมีคำว่า "How to do"ไม่ใช่ประกาศเจตนารมณ์วันนี้แล้วก็จบ ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบวางผลสำฤทธิ์ที่ต้องการเช่นเดียวกับ คสช. ที่เมื่อปีที่แล้วคาดว่า สถานการณ์จะเป็นปกติแบบวันนี้ และมีการเริ่มการปฏิรูปบางอย่างเพื่อส่งต่อรัฐบาลต่อไปจะต้องไม่ได้เริ่มใหม่ทั้งหมด
" วันนี้มีปัญหาหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ความแตกแยกทางความคิด การเป็นประชาธิปไตยที่มีปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา เพราะจิตสำนึกของคน ทำให้ระบบข้าราชการเสียหาย ความน่าเชื่อถือลดลง ผมจึงต้องใช้เวลาที่อยู่ในขณะนี้ สร้างความเชื่อมั่นให้หน่วยงานราชการให้ได้ โดยจะไม่เลือกปฏิบัติ " นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปัญหาการทุจริตมีหลายรูปแบบ ไม่รู้ว่าแก้ไขปัญหาได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ แต่เชื่อว่า เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ทำได้แล้ว ทั้งนี้การทุจริตส่งผลกระทบเสียหายกับทุกด้าน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่างๆ อย่างเช่น ค่าอำนวยความสะดวก ซึ่งมันไม่เคยมีมาก่อน ใครเสียก็ขอให้มาแจ้งที่หน่วยราชการ เพราะแจ้งตำรวจก็ไม่เชื่อมั่น แจ้งทหารก็ไม่ไว้ใจ ก็ให้ไปแจ้งที่ศูนย์ดำรงธรรม ทุกคนต้องกล้าแสดงออก ไม่ต้องกลัว จะเสียแค่ 100 บาท หรือ1,000 บาทก็ไม่ได้ทั้งสิ้น
ปัญหาการทุจริตนั้น อยู่ที่คนและสิ่งแวดล้อมจิตวิทยา เพราะโลกเจริญก้าวไกล แต่จิตใจมนุษย์อยู่ที่เดิม ไม่รู้จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี
" ค่านิยมเหล่านี้ทำให้เกิดคำพูดที่ว่า โกงได้ไม่เป็นไร แต่ต้องแบ่งปัน ก็ถือเป็นการโกงตัวเอง โกงประเทศชาติ สอนให้ลูกหลานโกงต่อไปเรื่อยๆ ถือเป็นบาปกรรม ทุกคนจะต้องมีหิริโอตัปปะ ละอายและเกรงกลัวต่อบาป แต่วันนี้คนที่ละอายต่อบาป กลายเป็นคนจน แต่คนไม่อาย ก็รวยขึ้นไปเรื่อยๆ จึงต้องลดช่องว่างตรงนี้ให้ได้ โดยการอยู่ร่วมกันด้วยความพอเพียง วันนี้ทุกอย่างดีขึ้น ฝากบอกคณะทูตานุทูตว่า อย่ากังวล ประเทศไทยไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด และขณะนี้กำลังปรับปรุงให้สอดคล้องกับการค้าการลงทุน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 2 ปี ที่ผ่านมาตัวเลขของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า มีโครงการข้าวผิดพลาดขาดทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ขายข้าวได้เพียง 1.5 แสนล้านบาท และประเมินว่าจะขายออกไปได้ แต่ก็คงไม่มีรายได้มากกว่านี้ ส่วนเรื่องนี้ใครจะผิดหรือถูก ก็ว่ากันไปตามกระบวนการ ประชาชนเข้าใจเรื่องดังกล่าวมากขึ้น วันนี้เรากำลังปรับโครงสร้างที่สำคัญทุกประเภท ไม่ใชเพียงใช้งบประมาณอย่างเดียวจนส่งผกระทบต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี 2557 ได้คะแนน 38 จาก 100 อยู่ในอันดับที่ 85 จากทั้งหมด 175 ประเทศทั่วโลก เป็นอันดับที่ 12 จาก 28 ประเทศในภุมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากการอันดับในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้อันดับเดีกว่าเดิม จากปีก่อนหน้านี้ได้อันดับที่ 102 ของโลก และอันอับที่ 16 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อพิจารณาจากกลุ่มประเทศในอาเซียน มีเพียงสิงคโปร์ และมาเลเซียเท่านั้นที่มีคะแนนเกิน 50 โดยไทยอยู่อันดับที่ 3 จาก 9 ประเทศในอาเซียน
"แม้คะแนนประเทศจะสูงขึ้น ดีใจ แต่ก็ยังไม่พอใจ ไม่อยากอวดว่า คสช.เข้ามาแล้วอันดับประเทศดีขึ้น เมื่อไรเราจะได้ที่ 1 ก็ไม่รู้ ระวังโลกจะแตกเสียก่อน แต่ต้องเอาให้ได้ในอาเซียนก่อนแล้วกัน สิทธิเสรีภาพ ของทุกคนมีเท่าเทียใกัน หากละเมิดคนอื่นเมื่อไร ถือว่าโกงเมื่อนั้น คิดว่าจะทำผิดก็คือโกง จะรอเวลาหมดโรดแมปแล้วกลับมาทำก็ไม่ได้ ยืนยันทุกอย่างเดินตามโรดแมปที่มีอยู่ ขอร้องว่าเรื่องโกง อย่ามองเรื่องเงินอย่างเดียว แค่คิดผิดก็ถือเป็นการโกงคนอื่นแล้ว" นายกรัฐมนตรี กล่าว
วันนี้รัฐบาลแก้ปัญหาทุจริตทั้งระบบ โดยเฉพาะการจัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งหลายโครงการวันนี้ก็ลดราคาลงได้ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินส่วนนี้ก่อนหน้านี้เป็นตัวเลขที่สูญเปล่าไปเฉยๆ และถูกนำไปใช้เชื่อมโยงกับธุรกิจสีเทา วันนี้ธุรกิจสีเทาหายไปหมด ทำให้เศรษฐกิจไทยบางส่วนตกต่ำ แล้วก็ยังมาโทษตนทำให้เศรษฐกิจประเทศแย่ลง แล้วจะให้ทำอย่างไร ทำต่อหรือไม่ เพราะเงินเหล่านี้ผิดกฎหมายทั้งหมด
" จะยอมให้มีการทำผิดกฎหมายกันหรือไม่ ผมจำเป็นต้องจัดการทั้งหมด และไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง เพียงแต่ต้องการความพึงพอใจ ไม่ต้องการให้ต่อต้าน หรือประท้วง เพราะประท้วงไม่ได้อยู่แล้ว อย่าคิดเตรียมการใดๆ ผมรู้ทั้งหมดว่าใครเตรียมการประท้วง ไม่งั้นจะเข้ามาทำไม ผมรู้ตัวผมอยู่ อย่าหลอกว่าทำอะไรก็ได้ พูดอะไรก็ได้ เพราะเป็นประชาธิปไตย เข้าใจอะไรผิดไปหรือไม่ วันนี้ผมเป็นคนกำหนดกติกา ที่ผ่านมาหลายรัฐบาล หลายพวกทำไม่ได้ วันนี้ผมมาออกกติกา ท่านก็ต้องทำให้ได้ วันนี้ต้องไม่มีการทุจริต ได้สั่งให้รัฐมนตรีตรวจสอบในหลายโครงการ ตอนนี้ทราบว่ามีความกล้ากันมากขึ้น เริ่มมีชื่อให้เห็น "
ลั่นคนทั้งปท.ต้องเข้าสู่ระบบภาษีให้ได้
นายกรัฐมนตรี ถึงเรื่องของภาษีจำเป็นที่ต้องแก้ไขการจัดเก็บภาษี ต้องเอาคนทั้งประเทศเข้าสู่ระบบภาษีให้ได้ จะต้องมีรายชื่อ ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ก็ตาม ถ้าถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องเสีย แต่ถ้าใครไมีรายได้ไม่ถึงก็ไม่เก็บ เพียงแต่ต้องมีรายชื่อไว้ในระบบ เพื่อที่ทางราชการจะได้ดูแลช่วยเหลือได้ในอนาคต ซึ่งได้สั่งการไปยังกระทรวงการคลังแล้วว่า จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ และต้องทำให้การกรอกภาษีทำได้ง่ายขึ้น เพราะมีทั้งเกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า ที่อาจไม่เข้าใจ บางคนก็ยังอ่านหนังสือไม่ออก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี พร้อมผู้ร่วมงานได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึกไทยไม่โกง อย่างพร้อมเพรียงกัน โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวหลังประกาศเจตนารมย์เสร็จ ว่า "ถ้าทำได้ก็ขอให้มีความเจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าใครไม่ทำตามคำนี้ ก็ขอให้มีอันเป็นไป ผมถวายสัตย์ฯมาก็อย่างนี้ "
ทั้งนี้ ภายหลังการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตฯ นายกฯได้ถือโอกาสเรียกรัฐมนตรีที่ร่วมงานทั้งหมด มาหารือ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า เพื่อติดตามความคืบหน้าในการทำงาน โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 20 นาที
ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ปัญหาข้าราชการทุจริต คอร์รัปชัน มีทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน อย่ามาโทษภาคราชการอย่างเดียว ฉะนั้นจะลงโทษทั้งคู่ ถือเป็นการสมยอม แต่จะโทษข้าราชการอย่างเดียวไมได้ ตนก็เป็นข้าราชการ คนดีๆก็มีอยู่ วันนี้ชอบพูดนัก ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ แล้วคนดีๆ เขาอยู่ไหน ลูกเต้าเขาอยู่ไหน ครอบครัวเขาอยู่ที่ไหน มันเลวทั้งหมดหรืออย่างไร เขียนให้ดีบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายชื่อข้าราชการทุจริต ถึงมือหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ถึงนานแล้ว แล้วทำไม จะให้ฆ่าทั้งหมด ทั้ง 100 กว่าคนเลยหรืออย่างไร ก็กำลังดำเนินการอยู่ บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งหน้าที่หลัก ก็เอาออกมา และสอบสวนลงโทษ เมื่อถามว่า ทั้งหมด 152 รายชื่อ ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินการตรวจสอบ 152 รายชื่อ มีขั้นตอนในการทำงาน แต่การตรวจสอบมันง่ายนักหรือไง ทำไมจะต้องไปเร่งกฎหมายว่าต้องเสร็จวันนู้น วันนี้ มันได้อะไรขึ้นมา ความเสียหายที่เกิดอยู่ ได้อะไรจากตรงนี้หรือไม่ คนผิดก็เอาเข้าคุกตรวจสอบไป ถ้าถูกก็เอาอออกมา มันไม่เห็นจะเป็นจะตายอะไรหนักหนา ต้องทำอย่างไรให้คนอยู่ทำงานได้ รัฐบาลที่แล้วทำไมไม่ไปไล่เขาทำบ้าง แต่ทำไมเหลือมาถึงวันนี้
แฉอปท.ตั้งโครงการลอยๆหวังงบอุดหนุน
วานนี้ (8 มิ.ย.) โรงแรมทาว์นอินทาว์น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ”ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กับการบริหารจัดการงานวัฒนธรรม ประจำปี 2558 ทั้งนี้ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนได้มอบนโยบายให้ อปท.ซึ่งมีส่วนใกล้ชิดกับคนในชุมชนได้มีส่วนส่งเสริมความร่วมมือกับ สวธ. เพื่อสืบสานมรดกชาติ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแสดงพื้นบ้านของศิลปินท้องถิ่นโดยส่งเสริมการจ้างงาน การอนุรักษ์ภาษาถิ่น การจัดในวันภาษาไทยช่วงเดือนกรกฎาคม รวมถึงการส่งเสริมการใช้ผ้าไทยพื้นถิ่น ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าประชาชนให้ความร่วมมือใส่ผ้าไทยมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายวีระ กล่าวเปิดงาน ได้มีกลุ่มผู้แทนของ อปท.หลายจังหวัดเข้ามาขอหารือถึงปัญหาเกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณด้านวัฒนธรรม ที่ปัจจุบันไม่สามารถเข้าไปจ้างงานการแสดงในท้องถิ่นได้ เนื่องจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะท้วงติงและมีการตรวจสอบรายละเอียดการจัดแสดงอย่างเข้มงวด อีกทั้งบางงานที่มีการจัดจ้างการแสดง การละเล่นต่างๆ แม้จะมีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว บางครั้งก็จะถูกเรียกเงินคืน เพราะว่าไม่เป็นไปตามระเบียบทางราชการ เป็นผลให้ที่สตง.ไม่ให้เบิกจ่าย ทั้งที่มีการตั้งงบประมาณไปแล้ว
ด้านดร. สาธิต กฤตลักษณ์ เลขาธิการนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด กล่าวว่ายอมรับว่า อปท.หลายพื้นที่ที่เกิดปัญหาการจัดงานวัฒนธรรม เนื่องจากไม่มีที่มาที่ไปของการจัดงบประมาณสนับสนุนโครงการด้านวัฒนธรรม จึงเป็นที่มาให้ สตง.เพ่งเล็งตรวจสอบการใช้งบประมาณของอปท.เป็นพิเศษ
“ทั้งนี้ การทำโครงการที่ถูกต้อง จะต้องมีการศึกษาที่มาที่ไป ระยะเวลา หน่วยงานที่ทำ รายละเอียดจำนวนเงิน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะมีนายก อปท. บางคนไม่เข้าใจการบริหารการคลัง อยากได้ทุนคืน ในการเข้าสู่ตำแหน่ง จึงเซ็ตจัดงานขึ้นมา เพื่อใช้เงินงบประมาณของท้องถิ่นที่มี ซึ่งไม่ใช่การจัดตั้งโครงการ เพราะถ้าเป็นโครงการจะต้องผ่านการพิจารณาของสมาชิกสภาท้องถิ่นก่อน ดังนั้น จึงมีการสร้างเรื่องขึ้นมาเป็นโครงการสมมุติ และผันเงินให้กลายเป็นเงินอุดหนุนที่ไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภา ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ สตง.เรียกเงินคืน และมองอปท.ไปทางลบ” ดร. สาธิต กล่าว
เลขาธิการนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด กล่าวว่า อันที่จริงในทางปฏิบัติอปท.มีหน้าที่ ส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นอยู่แล้ว เป็นหน้าที่หลักของ อปท. ทุกระดับ อาทิ งานสงกรานต์ แห่เทียน ลอยกระทง ฟังเทศน์ เข้าวัด ฟังธรรม เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม และการที่ สตง.มองว่าเงินไม่ถึงโครงการจริงๆ แต่จะไปตกที่ข้าราชการประจำส่วนหนึ่ง ผู้บริหารส่วนหนึ่ง และเงินไม่ตกถึงประชาชน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ. ร้อยเอ็ด มีมากถึง 80 % ซึ่งถือว่า มีการกินรวบ ที่ร่วมมือทำเป็นขบวนการ อาทิ หมู่บ้านหนึ่งจะจัดงานบุญบั้งไฟ แต่มีเงินน้อยมาก โดย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รวมถึงชาวบ้านล่ารายชื่อ เขียนโครงการจรมาให้ นายก อบจ. ในพื้นที่ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 4 แสนบาท โดยให้เหตุผลสำคัญว่า เป็นงานประเพณี แต่เมื่อจัดจริง งานก็ไม่ใหญ่โต ทั้งนื้ เป็นเพราะก่อนหน้านี้ทุกฝ่ายมีการคุยกันแล้วว่า จัดงานให้ได้ แต่ขอเงินทอนให้นายกด้วย ถึงจะตีเชคสนับสนุนให้ ทั้งหมดเป็นกระบวนการคนในองค์กร คนในหมู่บ้านร่วมกันทำเสร็จสรรพ และมีใบเสร็จออกมาเรียบร้อย ว่าจัดโครงการไป ทุกฝ่ายได้เงินกันครบ แถมเหลือเงินทอนคืนนายกตามสั่งด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของผู้จัดที่จะไปซื้อบิลอะไรมาก็ได้ ให้ผนวกครบค่าจัดงาน คนซื้อบิลก็ได้เงิน คนขายบิลก็ได้เงินอีกทอด
เมื่อเวลา 08.45 น. วานนี้ (8 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประกาศเจตนารมณ์ "ต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึกไทยไม่โกง" ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วย นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเรามีความจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศ มีทั้งเหตุการณ์ที่ดี และไม่ดี อยากให้ทุกคนศึกษาปัญหา และร่วมกันหาทางออกตามหลักพระพุทธศาสนา อริยสัจสี่ รู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และแก้ที่ตรงไหน อย่างเช่น ข้าราชการก็ต้องมีคำว่า "How to do"ไม่ใช่ประกาศเจตนารมณ์วันนี้แล้วก็จบ ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบวางผลสำฤทธิ์ที่ต้องการเช่นเดียวกับ คสช. ที่เมื่อปีที่แล้วคาดว่า สถานการณ์จะเป็นปกติแบบวันนี้ และมีการเริ่มการปฏิรูปบางอย่างเพื่อส่งต่อรัฐบาลต่อไปจะต้องไม่ได้เริ่มใหม่ทั้งหมด
" วันนี้มีปัญหาหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ความแตกแยกทางความคิด การเป็นประชาธิปไตยที่มีปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา เพราะจิตสำนึกของคน ทำให้ระบบข้าราชการเสียหาย ความน่าเชื่อถือลดลง ผมจึงต้องใช้เวลาที่อยู่ในขณะนี้ สร้างความเชื่อมั่นให้หน่วยงานราชการให้ได้ โดยจะไม่เลือกปฏิบัติ " นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปัญหาการทุจริตมีหลายรูปแบบ ไม่รู้ว่าแก้ไขปัญหาได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ แต่เชื่อว่า เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ทำได้แล้ว ทั้งนี้การทุจริตส่งผลกระทบเสียหายกับทุกด้าน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่างๆ อย่างเช่น ค่าอำนวยความสะดวก ซึ่งมันไม่เคยมีมาก่อน ใครเสียก็ขอให้มาแจ้งที่หน่วยราชการ เพราะแจ้งตำรวจก็ไม่เชื่อมั่น แจ้งทหารก็ไม่ไว้ใจ ก็ให้ไปแจ้งที่ศูนย์ดำรงธรรม ทุกคนต้องกล้าแสดงออก ไม่ต้องกลัว จะเสียแค่ 100 บาท หรือ1,000 บาทก็ไม่ได้ทั้งสิ้น
ปัญหาการทุจริตนั้น อยู่ที่คนและสิ่งแวดล้อมจิตวิทยา เพราะโลกเจริญก้าวไกล แต่จิตใจมนุษย์อยู่ที่เดิม ไม่รู้จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี
" ค่านิยมเหล่านี้ทำให้เกิดคำพูดที่ว่า โกงได้ไม่เป็นไร แต่ต้องแบ่งปัน ก็ถือเป็นการโกงตัวเอง โกงประเทศชาติ สอนให้ลูกหลานโกงต่อไปเรื่อยๆ ถือเป็นบาปกรรม ทุกคนจะต้องมีหิริโอตัปปะ ละอายและเกรงกลัวต่อบาป แต่วันนี้คนที่ละอายต่อบาป กลายเป็นคนจน แต่คนไม่อาย ก็รวยขึ้นไปเรื่อยๆ จึงต้องลดช่องว่างตรงนี้ให้ได้ โดยการอยู่ร่วมกันด้วยความพอเพียง วันนี้ทุกอย่างดีขึ้น ฝากบอกคณะทูตานุทูตว่า อย่ากังวล ประเทศไทยไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด และขณะนี้กำลังปรับปรุงให้สอดคล้องกับการค้าการลงทุน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 2 ปี ที่ผ่านมาตัวเลขของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า มีโครงการข้าวผิดพลาดขาดทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ขายข้าวได้เพียง 1.5 แสนล้านบาท และประเมินว่าจะขายออกไปได้ แต่ก็คงไม่มีรายได้มากกว่านี้ ส่วนเรื่องนี้ใครจะผิดหรือถูก ก็ว่ากันไปตามกระบวนการ ประชาชนเข้าใจเรื่องดังกล่าวมากขึ้น วันนี้เรากำลังปรับโครงสร้างที่สำคัญทุกประเภท ไม่ใชเพียงใช้งบประมาณอย่างเดียวจนส่งผกระทบต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี 2557 ได้คะแนน 38 จาก 100 อยู่ในอันดับที่ 85 จากทั้งหมด 175 ประเทศทั่วโลก เป็นอันดับที่ 12 จาก 28 ประเทศในภุมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากการอันดับในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้อันดับเดีกว่าเดิม จากปีก่อนหน้านี้ได้อันดับที่ 102 ของโลก และอันอับที่ 16 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อพิจารณาจากกลุ่มประเทศในอาเซียน มีเพียงสิงคโปร์ และมาเลเซียเท่านั้นที่มีคะแนนเกิน 50 โดยไทยอยู่อันดับที่ 3 จาก 9 ประเทศในอาเซียน
"แม้คะแนนประเทศจะสูงขึ้น ดีใจ แต่ก็ยังไม่พอใจ ไม่อยากอวดว่า คสช.เข้ามาแล้วอันดับประเทศดีขึ้น เมื่อไรเราจะได้ที่ 1 ก็ไม่รู้ ระวังโลกจะแตกเสียก่อน แต่ต้องเอาให้ได้ในอาเซียนก่อนแล้วกัน สิทธิเสรีภาพ ของทุกคนมีเท่าเทียใกัน หากละเมิดคนอื่นเมื่อไร ถือว่าโกงเมื่อนั้น คิดว่าจะทำผิดก็คือโกง จะรอเวลาหมดโรดแมปแล้วกลับมาทำก็ไม่ได้ ยืนยันทุกอย่างเดินตามโรดแมปที่มีอยู่ ขอร้องว่าเรื่องโกง อย่ามองเรื่องเงินอย่างเดียว แค่คิดผิดก็ถือเป็นการโกงคนอื่นแล้ว" นายกรัฐมนตรี กล่าว
วันนี้รัฐบาลแก้ปัญหาทุจริตทั้งระบบ โดยเฉพาะการจัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งหลายโครงการวันนี้ก็ลดราคาลงได้ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินส่วนนี้ก่อนหน้านี้เป็นตัวเลขที่สูญเปล่าไปเฉยๆ และถูกนำไปใช้เชื่อมโยงกับธุรกิจสีเทา วันนี้ธุรกิจสีเทาหายไปหมด ทำให้เศรษฐกิจไทยบางส่วนตกต่ำ แล้วก็ยังมาโทษตนทำให้เศรษฐกิจประเทศแย่ลง แล้วจะให้ทำอย่างไร ทำต่อหรือไม่ เพราะเงินเหล่านี้ผิดกฎหมายทั้งหมด
" จะยอมให้มีการทำผิดกฎหมายกันหรือไม่ ผมจำเป็นต้องจัดการทั้งหมด และไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง เพียงแต่ต้องการความพึงพอใจ ไม่ต้องการให้ต่อต้าน หรือประท้วง เพราะประท้วงไม่ได้อยู่แล้ว อย่าคิดเตรียมการใดๆ ผมรู้ทั้งหมดว่าใครเตรียมการประท้วง ไม่งั้นจะเข้ามาทำไม ผมรู้ตัวผมอยู่ อย่าหลอกว่าทำอะไรก็ได้ พูดอะไรก็ได้ เพราะเป็นประชาธิปไตย เข้าใจอะไรผิดไปหรือไม่ วันนี้ผมเป็นคนกำหนดกติกา ที่ผ่านมาหลายรัฐบาล หลายพวกทำไม่ได้ วันนี้ผมมาออกกติกา ท่านก็ต้องทำให้ได้ วันนี้ต้องไม่มีการทุจริต ได้สั่งให้รัฐมนตรีตรวจสอบในหลายโครงการ ตอนนี้ทราบว่ามีความกล้ากันมากขึ้น เริ่มมีชื่อให้เห็น "
ลั่นคนทั้งปท.ต้องเข้าสู่ระบบภาษีให้ได้
นายกรัฐมนตรี ถึงเรื่องของภาษีจำเป็นที่ต้องแก้ไขการจัดเก็บภาษี ต้องเอาคนทั้งประเทศเข้าสู่ระบบภาษีให้ได้ จะต้องมีรายชื่อ ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ก็ตาม ถ้าถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องเสีย แต่ถ้าใครไมีรายได้ไม่ถึงก็ไม่เก็บ เพียงแต่ต้องมีรายชื่อไว้ในระบบ เพื่อที่ทางราชการจะได้ดูแลช่วยเหลือได้ในอนาคต ซึ่งได้สั่งการไปยังกระทรวงการคลังแล้วว่า จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ และต้องทำให้การกรอกภาษีทำได้ง่ายขึ้น เพราะมีทั้งเกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า ที่อาจไม่เข้าใจ บางคนก็ยังอ่านหนังสือไม่ออก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี พร้อมผู้ร่วมงานได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึกไทยไม่โกง อย่างพร้อมเพรียงกัน โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวหลังประกาศเจตนารมย์เสร็จ ว่า "ถ้าทำได้ก็ขอให้มีความเจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าใครไม่ทำตามคำนี้ ก็ขอให้มีอันเป็นไป ผมถวายสัตย์ฯมาก็อย่างนี้ "
ทั้งนี้ ภายหลังการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตฯ นายกฯได้ถือโอกาสเรียกรัฐมนตรีที่ร่วมงานทั้งหมด มาหารือ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า เพื่อติดตามความคืบหน้าในการทำงาน โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 20 นาที
ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ปัญหาข้าราชการทุจริต คอร์รัปชัน มีทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน อย่ามาโทษภาคราชการอย่างเดียว ฉะนั้นจะลงโทษทั้งคู่ ถือเป็นการสมยอม แต่จะโทษข้าราชการอย่างเดียวไมได้ ตนก็เป็นข้าราชการ คนดีๆก็มีอยู่ วันนี้ชอบพูดนัก ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ แล้วคนดีๆ เขาอยู่ไหน ลูกเต้าเขาอยู่ไหน ครอบครัวเขาอยู่ที่ไหน มันเลวทั้งหมดหรืออย่างไร เขียนให้ดีบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายชื่อข้าราชการทุจริต ถึงมือหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ถึงนานแล้ว แล้วทำไม จะให้ฆ่าทั้งหมด ทั้ง 100 กว่าคนเลยหรืออย่างไร ก็กำลังดำเนินการอยู่ บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งหน้าที่หลัก ก็เอาออกมา และสอบสวนลงโทษ เมื่อถามว่า ทั้งหมด 152 รายชื่อ ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินการตรวจสอบ 152 รายชื่อ มีขั้นตอนในการทำงาน แต่การตรวจสอบมันง่ายนักหรือไง ทำไมจะต้องไปเร่งกฎหมายว่าต้องเสร็จวันนู้น วันนี้ มันได้อะไรขึ้นมา ความเสียหายที่เกิดอยู่ ได้อะไรจากตรงนี้หรือไม่ คนผิดก็เอาเข้าคุกตรวจสอบไป ถ้าถูกก็เอาอออกมา มันไม่เห็นจะเป็นจะตายอะไรหนักหนา ต้องทำอย่างไรให้คนอยู่ทำงานได้ รัฐบาลที่แล้วทำไมไม่ไปไล่เขาทำบ้าง แต่ทำไมเหลือมาถึงวันนี้
แฉอปท.ตั้งโครงการลอยๆหวังงบอุดหนุน
วานนี้ (8 มิ.ย.) โรงแรมทาว์นอินทาว์น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ”ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กับการบริหารจัดการงานวัฒนธรรม ประจำปี 2558 ทั้งนี้ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนได้มอบนโยบายให้ อปท.ซึ่งมีส่วนใกล้ชิดกับคนในชุมชนได้มีส่วนส่งเสริมความร่วมมือกับ สวธ. เพื่อสืบสานมรดกชาติ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแสดงพื้นบ้านของศิลปินท้องถิ่นโดยส่งเสริมการจ้างงาน การอนุรักษ์ภาษาถิ่น การจัดในวันภาษาไทยช่วงเดือนกรกฎาคม รวมถึงการส่งเสริมการใช้ผ้าไทยพื้นถิ่น ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าประชาชนให้ความร่วมมือใส่ผ้าไทยมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายวีระ กล่าวเปิดงาน ได้มีกลุ่มผู้แทนของ อปท.หลายจังหวัดเข้ามาขอหารือถึงปัญหาเกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณด้านวัฒนธรรม ที่ปัจจุบันไม่สามารถเข้าไปจ้างงานการแสดงในท้องถิ่นได้ เนื่องจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะท้วงติงและมีการตรวจสอบรายละเอียดการจัดแสดงอย่างเข้มงวด อีกทั้งบางงานที่มีการจัดจ้างการแสดง การละเล่นต่างๆ แม้จะมีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว บางครั้งก็จะถูกเรียกเงินคืน เพราะว่าไม่เป็นไปตามระเบียบทางราชการ เป็นผลให้ที่สตง.ไม่ให้เบิกจ่าย ทั้งที่มีการตั้งงบประมาณไปแล้ว
ด้านดร. สาธิต กฤตลักษณ์ เลขาธิการนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด กล่าวว่ายอมรับว่า อปท.หลายพื้นที่ที่เกิดปัญหาการจัดงานวัฒนธรรม เนื่องจากไม่มีที่มาที่ไปของการจัดงบประมาณสนับสนุนโครงการด้านวัฒนธรรม จึงเป็นที่มาให้ สตง.เพ่งเล็งตรวจสอบการใช้งบประมาณของอปท.เป็นพิเศษ
“ทั้งนี้ การทำโครงการที่ถูกต้อง จะต้องมีการศึกษาที่มาที่ไป ระยะเวลา หน่วยงานที่ทำ รายละเอียดจำนวนเงิน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะมีนายก อปท. บางคนไม่เข้าใจการบริหารการคลัง อยากได้ทุนคืน ในการเข้าสู่ตำแหน่ง จึงเซ็ตจัดงานขึ้นมา เพื่อใช้เงินงบประมาณของท้องถิ่นที่มี ซึ่งไม่ใช่การจัดตั้งโครงการ เพราะถ้าเป็นโครงการจะต้องผ่านการพิจารณาของสมาชิกสภาท้องถิ่นก่อน ดังนั้น จึงมีการสร้างเรื่องขึ้นมาเป็นโครงการสมมุติ และผันเงินให้กลายเป็นเงินอุดหนุนที่ไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภา ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ สตง.เรียกเงินคืน และมองอปท.ไปทางลบ” ดร. สาธิต กล่าว
เลขาธิการนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด กล่าวว่า อันที่จริงในทางปฏิบัติอปท.มีหน้าที่ ส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นอยู่แล้ว เป็นหน้าที่หลักของ อปท. ทุกระดับ อาทิ งานสงกรานต์ แห่เทียน ลอยกระทง ฟังเทศน์ เข้าวัด ฟังธรรม เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม และการที่ สตง.มองว่าเงินไม่ถึงโครงการจริงๆ แต่จะไปตกที่ข้าราชการประจำส่วนหนึ่ง ผู้บริหารส่วนหนึ่ง และเงินไม่ตกถึงประชาชน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ. ร้อยเอ็ด มีมากถึง 80 % ซึ่งถือว่า มีการกินรวบ ที่ร่วมมือทำเป็นขบวนการ อาทิ หมู่บ้านหนึ่งจะจัดงานบุญบั้งไฟ แต่มีเงินน้อยมาก โดย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รวมถึงชาวบ้านล่ารายชื่อ เขียนโครงการจรมาให้ นายก อบจ. ในพื้นที่ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 4 แสนบาท โดยให้เหตุผลสำคัญว่า เป็นงานประเพณี แต่เมื่อจัดจริง งานก็ไม่ใหญ่โต ทั้งนื้ เป็นเพราะก่อนหน้านี้ทุกฝ่ายมีการคุยกันแล้วว่า จัดงานให้ได้ แต่ขอเงินทอนให้นายกด้วย ถึงจะตีเชคสนับสนุนให้ ทั้งหมดเป็นกระบวนการคนในองค์กร คนในหมู่บ้านร่วมกันทำเสร็จสรรพ และมีใบเสร็จออกมาเรียบร้อย ว่าจัดโครงการไป ทุกฝ่ายได้เงินกันครบ แถมเหลือเงินทอนคืนนายกตามสั่งด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของผู้จัดที่จะไปซื้อบิลอะไรมาก็ได้ ให้ผนวกครบค่าจัดงาน คนซื้อบิลก็ได้เงิน คนขายบิลก็ได้เงินอีกทอด