"รอง ผบ.ตร.เอก" ไล่บี้คดีโรฮีนจา สั่งเจ้าหน้าที่เร่งทำงานแข่งกับเวลาก่อนส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ก่อนยื่นฟ้องศาล ขณะที่ จนท.เร่งติดตามชาวโรฮีนจา 11 คนที่หลบหนีออกจากที่พักพิงชั่วคราวภายในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนูษย์ คาดซ่อนตัวในป่าเขาแก้ว
วานนี้ (8 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้าตลอดทั้งวัน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ได้ลงพื้นที่มาติดตามความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์โรฮีนจาได้ควบคุมการสอบสวนและสอบพยานบางคนด้วยตนเอง และได้มีการนำพยานทั้งที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่น ตำรวจ และผู้นำศาสนาในพื้นที่ จ.สงขลา และสตูล มาสอบปากคำเพื่อนำไปประกอบสำนวนการสอบสวนเอาผิดกับผู้ต้องหาในคดีนี้
โดยบรรยากาศค่อนข้างเคร่งเครียด เนื่องจากทางฝ่ายสอบสวนทั้งตำรวจและพนักงานอัยการต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลาใกล้ถึงกำหนดส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ก่อนยื่นฟ้องศาล และต้องเรียกพยานแวดล้อมทั้งในพื้นที่ จ.สงขลา สตูล และระนอง มาสอบสวนอีกหลายปาก และในวันนี้ (8 มิ.ย.) ทาง พล.ต.อ.เอก จะมีการประชุมกับ ร.ท.สมนึก เสียงก้อง รองอธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน อัยการเขต ตำรวจภูธรภาค 8 และภาค 9 เพื่อสรุปความคืบหน้าภาพรวมทั้งหมดของคดี
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีการออกหมายจับหรือมีผู้ต้องหาเข้ามอบตัวเพิ่มเติมโดยหมายจับยังอยู่ที่ 84 หมาย ควบคุมตัวได้แล้ว 53 คน และยังหลบหนีอีก 31 คน แต่มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่กำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อออกหมายจับผู้ต้องหาคนสำคัญเพิ่มเติมอีก 1 คน
ส่วนความคืบหน้ากรณีชาวโรฮีนจาที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์หลบหนีออกจากที่พักพิงภายในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เมื่อช่วงกลางดึกของเมื่อคืนนี้
โดยล่าสุดพบว่าได้หลบหนีออกไปทั้งหมด 11 คน จากที่อยู่ภายในศูนย์พักพิงแห่งนี้ 112 คน โดยจนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รัตภูมิ และฝ่ายปกครองอำเภอรัตภูมิยังคงเร่งติดตามชาวโรฮีนจาทั้ง 11 คนแต่ยังไม่พบตัวโดยคาดว่าน่าจะยังคงซ่อนตัวอยู่ตามชายป่าในหมู่บ้านไม่ไกลจากศูนย์พักพิงหรือตามแนวเชิงเขาแก้ว พร้อมกับประสานผู้นำท้องถิ่นและชาวบ้านในพื้นที่ช่วยแจ้งเบาะแส เพราะ จากสภาพความหิวโหยอาจจะออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน
สำหรับชาวโรฮีนจาทั้ง 11 คนได้หลบหนีออกจากสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เมื่อประมาณเที่ยงคืนที่ผ่านมาโดยปีนกำแพงที่อยู่ด้านหลังเรือนนอนออกไปแม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยเฝ้าดูแลอยู่ 2 นายก็ตาม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เชื่อว่าไม่น่าจะมีนายหน้ามารับตัวไป เนื่องจากที่ผ่านมามีการคุมเข้มการเข้าออกภายในสถานคุ้มครองเป็นอย่างดี ห้ามไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าออกอย่างเด็ดขาด แต่สาเหตุน่าจะมาจากความอึดอัดที่ต้องอยู่โดยไม่ทราบชะตากรรม และต้องการหลบหนีเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม
และหลังจากที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวน ทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการในคดีค้ามนุษย์ 12 นายพร้อมเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน ได้นำตัวเหยื่อค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา 1 รายไปสำรวจเส้นทางบนเทือกเขาแก้วตั้งแต่ อ.สะเดา จ.สงขลา ถึง อ.ควนโดน จ.สตูล ซึ่งถูกระบุว่าใช้เป็นเส้นทางลำเลียงชาวโรฮีนจา ปรากฏว่าพบข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี เนื่องจากเมื่อนำเหยื่อไปถึงหลักเขตไทย-มาเลเซีย ที่ 4C/34 พบแคมป์โรฮีนจาอยู่ในเขตประเทศมาเลเซีย ซึ่งเหยื่อระบุว่า แคมป์แห่งนี้เป็นของ นายเจ๊ะอาด โต๊ะดิน หนึ่งในผู้ต้องหาเครือข่ายค้ามนุษย์ใน จ.สตูลที่ถูกออกหมายจับและยังหลบหนี
แคมป์นี้อยู่ห่างจากฝั่งไทยใช้เวลาเดินประมาณ 15-20 นาทีมีคนอพยพมาอยู่ราว 200-1,500 คนส่วนใหญ่เป็นชาวบังคลาเทศและโรฮีนจา โดยเหยื่อระบุว่าอยู่ที่แคมป์นี้มานานกว่า 4 ปี รับจ้างทำอาหารเลี้ยงผู้อพยพ ได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ซึ่งข้อมูลและคำให้การทั้งหมดเจ้าหน้าที่จะนำไปประกอบสำนวนการสอบสวน.
วานนี้ (8 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้าตลอดทั้งวัน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ได้ลงพื้นที่มาติดตามความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์โรฮีนจาได้ควบคุมการสอบสวนและสอบพยานบางคนด้วยตนเอง และได้มีการนำพยานทั้งที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่น ตำรวจ และผู้นำศาสนาในพื้นที่ จ.สงขลา และสตูล มาสอบปากคำเพื่อนำไปประกอบสำนวนการสอบสวนเอาผิดกับผู้ต้องหาในคดีนี้
โดยบรรยากาศค่อนข้างเคร่งเครียด เนื่องจากทางฝ่ายสอบสวนทั้งตำรวจและพนักงานอัยการต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลาใกล้ถึงกำหนดส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ก่อนยื่นฟ้องศาล และต้องเรียกพยานแวดล้อมทั้งในพื้นที่ จ.สงขลา สตูล และระนอง มาสอบสวนอีกหลายปาก และในวันนี้ (8 มิ.ย.) ทาง พล.ต.อ.เอก จะมีการประชุมกับ ร.ท.สมนึก เสียงก้อง รองอธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน อัยการเขต ตำรวจภูธรภาค 8 และภาค 9 เพื่อสรุปความคืบหน้าภาพรวมทั้งหมดของคดี
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีการออกหมายจับหรือมีผู้ต้องหาเข้ามอบตัวเพิ่มเติมโดยหมายจับยังอยู่ที่ 84 หมาย ควบคุมตัวได้แล้ว 53 คน และยังหลบหนีอีก 31 คน แต่มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่กำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อออกหมายจับผู้ต้องหาคนสำคัญเพิ่มเติมอีก 1 คน
ส่วนความคืบหน้ากรณีชาวโรฮีนจาที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์หลบหนีออกจากที่พักพิงภายในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เมื่อช่วงกลางดึกของเมื่อคืนนี้
โดยล่าสุดพบว่าได้หลบหนีออกไปทั้งหมด 11 คน จากที่อยู่ภายในศูนย์พักพิงแห่งนี้ 112 คน โดยจนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รัตภูมิ และฝ่ายปกครองอำเภอรัตภูมิยังคงเร่งติดตามชาวโรฮีนจาทั้ง 11 คนแต่ยังไม่พบตัวโดยคาดว่าน่าจะยังคงซ่อนตัวอยู่ตามชายป่าในหมู่บ้านไม่ไกลจากศูนย์พักพิงหรือตามแนวเชิงเขาแก้ว พร้อมกับประสานผู้นำท้องถิ่นและชาวบ้านในพื้นที่ช่วยแจ้งเบาะแส เพราะ จากสภาพความหิวโหยอาจจะออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน
สำหรับชาวโรฮีนจาทั้ง 11 คนได้หลบหนีออกจากสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เมื่อประมาณเที่ยงคืนที่ผ่านมาโดยปีนกำแพงที่อยู่ด้านหลังเรือนนอนออกไปแม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยเฝ้าดูแลอยู่ 2 นายก็ตาม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เชื่อว่าไม่น่าจะมีนายหน้ามารับตัวไป เนื่องจากที่ผ่านมามีการคุมเข้มการเข้าออกภายในสถานคุ้มครองเป็นอย่างดี ห้ามไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าออกอย่างเด็ดขาด แต่สาเหตุน่าจะมาจากความอึดอัดที่ต้องอยู่โดยไม่ทราบชะตากรรม และต้องการหลบหนีเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม
และหลังจากที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวน ทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการในคดีค้ามนุษย์ 12 นายพร้อมเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน ได้นำตัวเหยื่อค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา 1 รายไปสำรวจเส้นทางบนเทือกเขาแก้วตั้งแต่ อ.สะเดา จ.สงขลา ถึง อ.ควนโดน จ.สตูล ซึ่งถูกระบุว่าใช้เป็นเส้นทางลำเลียงชาวโรฮีนจา ปรากฏว่าพบข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี เนื่องจากเมื่อนำเหยื่อไปถึงหลักเขตไทย-มาเลเซีย ที่ 4C/34 พบแคมป์โรฮีนจาอยู่ในเขตประเทศมาเลเซีย ซึ่งเหยื่อระบุว่า แคมป์แห่งนี้เป็นของ นายเจ๊ะอาด โต๊ะดิน หนึ่งในผู้ต้องหาเครือข่ายค้ามนุษย์ใน จ.สตูลที่ถูกออกหมายจับและยังหลบหนี
แคมป์นี้อยู่ห่างจากฝั่งไทยใช้เวลาเดินประมาณ 15-20 นาทีมีคนอพยพมาอยู่ราว 200-1,500 คนส่วนใหญ่เป็นชาวบังคลาเทศและโรฮีนจา โดยเหยื่อระบุว่าอยู่ที่แคมป์นี้มานานกว่า 4 ปี รับจ้างทำอาหารเลี้ยงผู้อพยพ ได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ซึ่งข้อมูลและคำให้การทั้งหมดเจ้าหน้าที่จะนำไปประกอบสำนวนการสอบสวน.