นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ในการประชุม สปช. วันที่ 9 มิ.ย.นี้ คณะกรรมการฯ จะเสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่องธนาคารที่ดิน และร่าง พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน พ.ศ. ...โดยธนาคารที่ดิน จะเป็นกลไกให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืน อยู่ใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีหน้าที่หลัก 4ประการ คือ
1. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรที่ที่ดินกำลังจะหลุดมือ ตลอดจนการช่วยผู้ยากจนในการเช่าซื้อที่อยู่อาศัย โดยอาศัยคำขอสินเชื่อที่ส่งเข้ามาจากชุมชนหรือ ธ.ก.ส. เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชน 2. บริหารจัดการที่ดินของรัฐ 3. บริหารจัดการที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ 4. จัดซื้อที่ดินเข้าธนาคารที่ดิน
สำหรับการดำเนินการในระยะแรก เน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ที่ดินหลุดจำนอง สำหรับเงินทุนที่จะใช้ในการดำเนินการจะมาจากเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม 5,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตร ที่กระทรวงการคลังช่วยค้ำประกัน ส่วนระยะกลาง จะดำเนินการบริหารที่ดินของหน่วยงานรัฐ และระยะยาว ดำเนินการบริหารที่ดินเอกชน และจัดซื้อที่ดิน
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อความยั่งยืนและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ธนาคารที่ดินได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังนี้ 1. ที่ดินที่หลุดจำนองที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารที่ดิน ให้เจ้าของเดิม หรือทายาทโดยธรรม มีสิทธิไถ่ถอนที่ดินนั้นได้ภายใน 5 ปี โดยวิธีการเช่าซื้อ ที่มีกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
2. ที่ดินของรัฐที่ธนาคารที่ดินรับมาบริหาร คงเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นโฉนดที่ดินของเอกชนได้ 3. ที่ดินที่ธนาคารจัดซื้อ ถือเป็นสินทรัพย์ของธนาคารที่ดิน ที่สามารถให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้ยากจน หรือชุมชน เช่าได้ตามเกณฑ์ที่จะกำหนด (ในลักษณะเดียวกับที่ดินของกรมธนารักษ์ และสำนักงานทรัพย์สินฯ) แต่ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นโฉนดที่ดินของเอกชนได้
4. ค่าเช่าของที่ดินของธนาคารที่ดิน จะแปรตามคุณสมบัติของที่ตั้งของที่ดิน ตามที่คณะกรรมการธนาคารประกาศกำหนด โดยทางธนาคารจะต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลที่ดิน ระบบการประเมินราคาที่ดินและระบบการแบ่งประเภทที่ดินที่เหมาะสม ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อม สภาพผังเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
นายกอบศักดิ์ กล่าวต่อว่า รัฐสามารถนำที่ดินของธนาคารที่ดินไปใช้สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ตามมติของครม. โดยรัฐชดเชยให้ธนาคารที่ดินตามราคาประเมิน และให้ผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์ตามความเป็นธรรม นอกจากนี้ธนาคารอาจใช้ที่ดินที่อยู่ในความครอบครองเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาทิ จัดทำพื้นที่สีเขียว พื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยธนาคารที่ดินมีเป้าหมายช่วยดำเนินการจัดหาที่ดินให้แก่เกษตรกรและคนยากจนได้ไม่น้อยกว่า 1 แสนราย ในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงาน และ 3 แสนรายในช่วง 10 ปี ทั้งนี้หากที่ประชุมสปช.เห็นชอบก็จะส่งให้กับทาง ครม.และสนช. ต่อไป และคาดว่าจะสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้ภายในปีนี้
1. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรที่ที่ดินกำลังจะหลุดมือ ตลอดจนการช่วยผู้ยากจนในการเช่าซื้อที่อยู่อาศัย โดยอาศัยคำขอสินเชื่อที่ส่งเข้ามาจากชุมชนหรือ ธ.ก.ส. เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชน 2. บริหารจัดการที่ดินของรัฐ 3. บริหารจัดการที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ 4. จัดซื้อที่ดินเข้าธนาคารที่ดิน
สำหรับการดำเนินการในระยะแรก เน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ที่ดินหลุดจำนอง สำหรับเงินทุนที่จะใช้ในการดำเนินการจะมาจากเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม 5,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตร ที่กระทรวงการคลังช่วยค้ำประกัน ส่วนระยะกลาง จะดำเนินการบริหารที่ดินของหน่วยงานรัฐ และระยะยาว ดำเนินการบริหารที่ดินเอกชน และจัดซื้อที่ดิน
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อความยั่งยืนและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ธนาคารที่ดินได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังนี้ 1. ที่ดินที่หลุดจำนองที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารที่ดิน ให้เจ้าของเดิม หรือทายาทโดยธรรม มีสิทธิไถ่ถอนที่ดินนั้นได้ภายใน 5 ปี โดยวิธีการเช่าซื้อ ที่มีกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
2. ที่ดินของรัฐที่ธนาคารที่ดินรับมาบริหาร คงเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นโฉนดที่ดินของเอกชนได้ 3. ที่ดินที่ธนาคารจัดซื้อ ถือเป็นสินทรัพย์ของธนาคารที่ดิน ที่สามารถให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้ยากจน หรือชุมชน เช่าได้ตามเกณฑ์ที่จะกำหนด (ในลักษณะเดียวกับที่ดินของกรมธนารักษ์ และสำนักงานทรัพย์สินฯ) แต่ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นโฉนดที่ดินของเอกชนได้
4. ค่าเช่าของที่ดินของธนาคารที่ดิน จะแปรตามคุณสมบัติของที่ตั้งของที่ดิน ตามที่คณะกรรมการธนาคารประกาศกำหนด โดยทางธนาคารจะต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลที่ดิน ระบบการประเมินราคาที่ดินและระบบการแบ่งประเภทที่ดินที่เหมาะสม ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อม สภาพผังเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
นายกอบศักดิ์ กล่าวต่อว่า รัฐสามารถนำที่ดินของธนาคารที่ดินไปใช้สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ตามมติของครม. โดยรัฐชดเชยให้ธนาคารที่ดินตามราคาประเมิน และให้ผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์ตามความเป็นธรรม นอกจากนี้ธนาคารอาจใช้ที่ดินที่อยู่ในความครอบครองเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาทิ จัดทำพื้นที่สีเขียว พื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยธนาคารที่ดินมีเป้าหมายช่วยดำเนินการจัดหาที่ดินให้แก่เกษตรกรและคนยากจนได้ไม่น้อยกว่า 1 แสนราย ในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงาน และ 3 แสนรายในช่วง 10 ปี ทั้งนี้หากที่ประชุมสปช.เห็นชอบก็จะส่งให้กับทาง ครม.และสนช. ต่อไป และคาดว่าจะสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้ภายในปีนี้