xs
xsm
sm
md
lg

มติ สปช.เห็นชอบ พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน หนุนช่วยหลุดจำนอง-กระจายระยะยาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

สภาปฏิรูปแห่งชาติ(แฟ้มภาพ)
สปช.ประชุมพิจารณา พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน ที่ กมธ.ปฏิรูปสังคมฯ เสนอ ก่อนมีมติเห็นชอบ หนุนรัฐปล่อยสินเชื่อช่วยเกษตรกรที่ดินหลุดจำนอง หวังก๊วนที่ดินรัฐปล่อยประชาชนเช่า กระจายการที่ครองที่ดินระยะยาว

วันนี้ (9 มิ.ย.) ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณารับทราบรายงานพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน วาระปฏิรูปที่ 28 ระบบเพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง เรื่อง ธนาคารที่ดินและร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธนาคารที่ดิน พ.ศ. .... ที่มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นประธานคณะ กมธ.ฯ ทั้งนี้ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กมธ.ได้สรุปสาระสำคัญของการจัดตั้งธนาคารที่ดิน โดยอธิบายว่าธนาคารที่ดินมีหน้าที่หลัก 4 ประการ คือ 1. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ที่ดินหลุดจำนอง ด้วยการให้สินเชื่อ หรือการช่วยเช่าซื้อ โดยคำขอสินเชื่อมาจากชุมชน หรือ ธ.ก.ส. (Demand-driven) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของชุมชน 2. บริหารจัดการที่ดินของรัฐ 3. บริหารจัดการที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และ 4. จัดซื้อที่ดินเข้าธนาคารที่ดิน

นอกจากนั้นแล้ว ธนาคารที่ดินมีหน้าที่ในการวบรวมข้อมูลด้านที่ดิน ซึ่งในระยะแรก เน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ที่ดินหลุดจำนอง โดยอาศัยเครือข่ายธนาคารภาครัฐและสถาบันการออชุมชนเป็นผู้ส่งคำขอสินเชื่อเข้ามาสำหรับเงินทุนที่จะใช้ในการดำเนินการนั้น จะมาจากเงินทุนประเดิมและการออกพันธบัตรที่กระทรวงช่วยค้ำประกัน ระยะกลาง บริหารที่ดินของหน่วยงานรัฐ และระยะยาวดำเนินการบริหารที่ดินเอกชนและจัดซื้อที่ดิน

ทั้งนี้ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการได้มาและการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่่ดิน คือ 1. ที่ดินที่หลุดจำนองที่เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารที่ดิน ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินได้ภายใน 5 ปี โดยวิธีเช่าซื้อที่มีกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี ตามหลักเกณฑ์วิธีการคณะกรรมการกำหนด 2. ที่ดินของรัฐที่ธนาคารที่ดินรับมาบริหารคงเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินของเอกชนได้ 3. ที่ดินที่ธนาคารจัดซื้อถือเป็นสินทรัพย์ของธนาคารที่ดิน ที่สามารถให้เกษตรกรหรือชุมชน เช่าได้ตามกฎเกณฑ์ที่จะกำหนด (ในลักษณธเดียวกับที่ดินของกรมธนารักษ์ และสำนักงานทรัพย์สินฯ) 4. ค่าเช่าของที่ดินของธนาคารที่ดิน จะแปรตามคุณสมบัติของที่ตั้งของที่ดิน ตามที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด โดยธนาคารจะต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลที่ดิน ระบบการประเมินราคาที่ดินและระบบการแบ่งประเภที่ดินที่เหมาะสม 5. รัฐสภาสามารถนำที่ดินของธานารที่ดินไปใช้สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ตามมติของคณะรัฐมนตรี โดยรัฐชดเชยราคาตามประเมิน และ 6. ธนาคารอาจใช้ที่ดินที่อยู่ในความครอบครองเพื่อประโยชน์สาธารณะ

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม สปช.ได้มีมติเห็นชอบหลักการของรายงานฉบับนี้ โดยมีมติเห็นชอบ 166 คะแนนไม่เห็นชอบ 41 คะแนน งดออกเสียง 14 คะแนน และไม่ลงคะแนน 0 คะแนน ฉะนั้นเท่ากับว่า สปช.จะต้องส่งไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนั้นแล้วที่ประชุม สปช. ได้มีมติเห็นชอบกับหลักการของร่าง พ.ร.บ. ธนาคารที่ดิน พ.ศ. ... โดยมีมติเห็นชอบ 143 คะแนน ไม่เห็นชอบ 53 คะแนน งดออกเสียง 25คะแนน และไม่ลงคะแนน 0 คะแนน ฉะนั้นเท่ากับ สปช.จะต้องส่งร่าง พ.ร.บ. และความเห็นของสมาชิก สปช. กลับไปยังคณะ กมธ.เพื่อยกร่าง พ.ร.บ.ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับจากวันที่มติจากที่ประชุม สปช.ต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น