ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงภายใต้การบริหารประเทศของคณะรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ไม่ได้ทำให้กระเป๋าตังค์ของมหาเศรษฐีเมืองไทยแฟบลงแม้แต่น้อย หนำซ้ำมูลค่าทรัพย์สินรวมของ 50 มหาเศรษฐียังรวยเพิ่มขึ้นสวนกระแส และที่น่าอัศจรรย์ก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กลายเป็นนักโทษหนีคดีเร่ร่อนในต่างประเทศ ยังรวยติดอันดับท็อปเทนเช่นเดิม แถมมูลค่าทรัพย์สินยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นิตยสารฟอร์ปส์ไทยแลนด์ เผยแพร่รายงานอันดับ 50 มหาเศรษฐีของประเทศไทย ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2558 ว่าแม้เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตช้าลง ท่ามกลางบรรยากาศการบริหารงานของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่มูลค่าทรัพย์สินของ 50 มหาเศรษฐีไทย กลับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.355 ล้านล้านบาท เทียบเป็น 1 ส่วน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน โดยที่มาของความร่ำรวยส่วนใหญ่มาจากตลาดหุ้น
สำหรับรายชื่อมหาเศรษฐีไทยปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอันดับสลับสับเปลี่ยนกันบ้าง กล่าวคือ อันดับหนึ่งปีนี้ตกเป็นของนายธนินทร์ เจียรวนนท์ เจ้าสัวแห่งเครือซีพี ที่มีทรัพย์สินกว่า 480,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97,300 ล้านบาท หรือ25% หลังจากราคาหุ้นที่นายธนินทร์ซื้อจากนายผิง อัน บริษัทประกันชีวิตยักษ์ใหญ่ของจีนพุ่งทะยานขึ้น ส่งผลให้นายธนินทร์ กลับมาขึ้นแท่นครองอันดับที่ 1 ของทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีไทยอีกครั้งในปีนี้ หลังเสียตำแหน่งอันดับหนึ่งให้กับนายทศ จิราธิวัฒน์ แห่งเครือเซ็นทรัลพัฒนา เมื่อปี 2557
ส่วนอันดับ 2 เป็นของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมาเบียร์ช้างแห่งไทยเบฟฯ ไต่ขึ้นจาก อันดับ 3 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีทรัพย์สินรวมทั้งหมดกว่า 436,000 ล้านบาท แม้ว่าเจอนโยบายควบคุมแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าสัวเจริญ หันไปเน้นการส่งออกและต่อยอดทางธุรกิจเพื่อขยายฐานไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น ล่าสุด เจ้าสัวเจริญ กำลังเจรจากับรัฐบาลเวียดนาม เพื่อขอซื้อรัฐวิสาหกิจผู้ผลิตเบียร์ไซ่ง่อน ด้วยมูลค่า 33,500 ล้านบาท แต่ทว่าขณะเดียวกัน ไทยเบฟฯ อาจต้องขายหุ้นของเอฟแอนด์เอ็น ในโรงงานผลิตเบียร์ของเมียนมาร์ หลังจากแพ้ข้อพิพาททางการฎหมาย
ขณะที่ตระกูลจิราธิวัฒน์ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีก ตกอันดับจากแชมป์อันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ในอันดับ 3 ปีนี้ โดยมีทรัพย์สินลดลงอยู่ที่ 410,000 ล้านบาท จากภาวะกำลังซื้อภาคครัวเรือนที่ลดลงเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดการอุดหนุนภาคการเกษตร รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศลดลงอีก
อันดับ 4 นายเฉลิม อยู่วิทยา จากค่ายกระทิงแดง มีทรัพย์สิน 320,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2557 ที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 322,690.50 โดยธุรกิจหลักยังมาจากเครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง และ Red Bull ที่ส่งออกไปจำหน่ายมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
อันดับ 5 นายกฤตย์ รัตนรักษ์ มีทรัพย์สินรวม 150,000 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว ที่มีทรัพย์สิน 166,234.50 ล้านบาท จากการทำธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ช่อง 7 สี และธุรกิจธนาคารที่รวยขึ้นจากการขายหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้กับกลุ่มไฟแนนซ์จากญี่ปุ่น
อันดับ 6 นายวานิช ไชยวรรณ แห่งไทยประกันชีวิต มีทรัพย์สิน 130,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 127,120.50 ล้านบาท
อันดับ 7 นายสันติ ภิรมย์ภักดี จากค่ายเบียร์สิงห์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 97,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 91,266 ล้านบาท
อันดับ 8 นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ มีทรัพย์สิน 93,000 ล้านบาท
อันดับ 9 นายวิชัย ศรีวัฒนประภา แห่งคิงส์พาวเวอร์ มีทรัพย์สิน 83,000 ล้านบาท
และที่รั้งอันดับที่ 10 เหมือนเดิม คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีทรัพย์สินเพิ่มเป็น 57,000 ล้านบาท โดยตัวเลขทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 4,000 ล้านบาท จากปี 2557 ที่มีทรัพย์สินอยู่ 53,781.75 ล้านบาท มาจากการลงทุนและธุรกิจอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันตระกูลชินวัตรถือครองหุ้นส่วนใหญ่ของ บมจ. เอสซี แอสเสท
ฟอร์บส์ ระบุว่า มหาเศรษฐีในลำดับอื่นๆ นั้น ส่วนใหญ่ล้วนได้ประโยชน์จากราคาของหุ้นพลังงานทดแทน และการก่อสร้างที่พุ่งขึ้นไปกับความฝันในอนาคตในการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ และการเปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประชาชนเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) เช่น นายสมโภชน์ อาหุนัย อดีตนายหน้าค้าหลักทรัพย์ กลายเป็นเศรษฐีพันล้านเหรียญไปแล้วในปีนี้ หลังจากที่ราคาหุ้นของ บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (อีเอ) พุ่งทะยาน ดึงตำแหน่งของนายสมโภชน์ ขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 24 ในปีนี้ จากอันดับที่ 40 เมื่อปีก่อน
ส่วนนางนิจพร จรณะจิตต์ และนายเปรมชัย กรรณสูตร แห่ง บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ไอทีดี) ก็กลับสู่ทำเนียบมหาเศรษฐีของฟอร์บอีกครั้งในปีนี้ หลังหลุดจากโผไปเมื่อปีที่แล้ว
ทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีปีนี้ ยังมีน้องใหม่ถึง 6 คน ซึ่ง 3 ใน 6 คน รวยจากการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในรอบปีที่ผ่านมา เช่น นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ แห่ง บมจ.คาราบาว กรุ๊ป ที่ติดโผคนรวยอันดับที่ 47 นายฉัตรชัย แก้วบุตตา แห่ง บมจ.ศรีสวัสดิ์ เพาเวอร์ ที่เติบโตจากตลาดรากหญ้าสู่ทรัพย์สินมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 34
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ที่หดตัวส่งผลให้อันดับของตระกูลผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หล่นอันดับลงมาด้วย และมีเศรษฐี 7 คนที่ต้องหลุดจากทำเนียบ 50 คน ในปีนี้ รวมทั้งนายนพพร ศุภพิพัฒน์ นักธุรกิจพลังงานลม ที่หนีคดีอาญา มาตรา 112 ไปอยู่ต่างประเทศ
นิตยสารฟอร์ปส์ไทยแลนด์ เผยแพร่รายงานอันดับ 50 มหาเศรษฐีของประเทศไทย ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2558 ว่าแม้เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตช้าลง ท่ามกลางบรรยากาศการบริหารงานของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่มูลค่าทรัพย์สินของ 50 มหาเศรษฐีไทย กลับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.355 ล้านล้านบาท เทียบเป็น 1 ส่วน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน โดยที่มาของความร่ำรวยส่วนใหญ่มาจากตลาดหุ้น
สำหรับรายชื่อมหาเศรษฐีไทยปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอันดับสลับสับเปลี่ยนกันบ้าง กล่าวคือ อันดับหนึ่งปีนี้ตกเป็นของนายธนินทร์ เจียรวนนท์ เจ้าสัวแห่งเครือซีพี ที่มีทรัพย์สินกว่า 480,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97,300 ล้านบาท หรือ25% หลังจากราคาหุ้นที่นายธนินทร์ซื้อจากนายผิง อัน บริษัทประกันชีวิตยักษ์ใหญ่ของจีนพุ่งทะยานขึ้น ส่งผลให้นายธนินทร์ กลับมาขึ้นแท่นครองอันดับที่ 1 ของทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีไทยอีกครั้งในปีนี้ หลังเสียตำแหน่งอันดับหนึ่งให้กับนายทศ จิราธิวัฒน์ แห่งเครือเซ็นทรัลพัฒนา เมื่อปี 2557
ส่วนอันดับ 2 เป็นของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมาเบียร์ช้างแห่งไทยเบฟฯ ไต่ขึ้นจาก อันดับ 3 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีทรัพย์สินรวมทั้งหมดกว่า 436,000 ล้านบาท แม้ว่าเจอนโยบายควบคุมแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าสัวเจริญ หันไปเน้นการส่งออกและต่อยอดทางธุรกิจเพื่อขยายฐานไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น ล่าสุด เจ้าสัวเจริญ กำลังเจรจากับรัฐบาลเวียดนาม เพื่อขอซื้อรัฐวิสาหกิจผู้ผลิตเบียร์ไซ่ง่อน ด้วยมูลค่า 33,500 ล้านบาท แต่ทว่าขณะเดียวกัน ไทยเบฟฯ อาจต้องขายหุ้นของเอฟแอนด์เอ็น ในโรงงานผลิตเบียร์ของเมียนมาร์ หลังจากแพ้ข้อพิพาททางการฎหมาย
ขณะที่ตระกูลจิราธิวัฒน์ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีก ตกอันดับจากแชมป์อันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ในอันดับ 3 ปีนี้ โดยมีทรัพย์สินลดลงอยู่ที่ 410,000 ล้านบาท จากภาวะกำลังซื้อภาคครัวเรือนที่ลดลงเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดการอุดหนุนภาคการเกษตร รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศลดลงอีก
อันดับ 4 นายเฉลิม อยู่วิทยา จากค่ายกระทิงแดง มีทรัพย์สิน 320,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2557 ที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 322,690.50 โดยธุรกิจหลักยังมาจากเครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง และ Red Bull ที่ส่งออกไปจำหน่ายมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
อันดับ 5 นายกฤตย์ รัตนรักษ์ มีทรัพย์สินรวม 150,000 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว ที่มีทรัพย์สิน 166,234.50 ล้านบาท จากการทำธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ช่อง 7 สี และธุรกิจธนาคารที่รวยขึ้นจากการขายหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้กับกลุ่มไฟแนนซ์จากญี่ปุ่น
อันดับ 6 นายวานิช ไชยวรรณ แห่งไทยประกันชีวิต มีทรัพย์สิน 130,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 127,120.50 ล้านบาท
อันดับ 7 นายสันติ ภิรมย์ภักดี จากค่ายเบียร์สิงห์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 97,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 91,266 ล้านบาท
อันดับ 8 นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ มีทรัพย์สิน 93,000 ล้านบาท
อันดับ 9 นายวิชัย ศรีวัฒนประภา แห่งคิงส์พาวเวอร์ มีทรัพย์สิน 83,000 ล้านบาท
และที่รั้งอันดับที่ 10 เหมือนเดิม คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีทรัพย์สินเพิ่มเป็น 57,000 ล้านบาท โดยตัวเลขทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 4,000 ล้านบาท จากปี 2557 ที่มีทรัพย์สินอยู่ 53,781.75 ล้านบาท มาจากการลงทุนและธุรกิจอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันตระกูลชินวัตรถือครองหุ้นส่วนใหญ่ของ บมจ. เอสซี แอสเสท
ฟอร์บส์ ระบุว่า มหาเศรษฐีในลำดับอื่นๆ นั้น ส่วนใหญ่ล้วนได้ประโยชน์จากราคาของหุ้นพลังงานทดแทน และการก่อสร้างที่พุ่งขึ้นไปกับความฝันในอนาคตในการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ และการเปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประชาชนเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) เช่น นายสมโภชน์ อาหุนัย อดีตนายหน้าค้าหลักทรัพย์ กลายเป็นเศรษฐีพันล้านเหรียญไปแล้วในปีนี้ หลังจากที่ราคาหุ้นของ บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (อีเอ) พุ่งทะยาน ดึงตำแหน่งของนายสมโภชน์ ขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 24 ในปีนี้ จากอันดับที่ 40 เมื่อปีก่อน
ส่วนนางนิจพร จรณะจิตต์ และนายเปรมชัย กรรณสูตร แห่ง บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ไอทีดี) ก็กลับสู่ทำเนียบมหาเศรษฐีของฟอร์บอีกครั้งในปีนี้ หลังหลุดจากโผไปเมื่อปีที่แล้ว
ทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีปีนี้ ยังมีน้องใหม่ถึง 6 คน ซึ่ง 3 ใน 6 คน รวยจากการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในรอบปีที่ผ่านมา เช่น นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ แห่ง บมจ.คาราบาว กรุ๊ป ที่ติดโผคนรวยอันดับที่ 47 นายฉัตรชัย แก้วบุตตา แห่ง บมจ.ศรีสวัสดิ์ เพาเวอร์ ที่เติบโตจากตลาดรากหญ้าสู่ทรัพย์สินมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 34
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ที่หดตัวส่งผลให้อันดับของตระกูลผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หล่นอันดับลงมาด้วย และมีเศรษฐี 7 คนที่ต้องหลุดจากทำเนียบ 50 คน ในปีนี้ รวมทั้งนายนพพร ศุภพิพัฒน์ นักธุรกิจพลังงานลม ที่หนีคดีอาญา มาตรา 112 ไปอยู่ต่างประเทศ