ASTV ผู้จัดการายวัน-“หม่อมอุ๋ย” อวดไตรมาสแรกปี 58 เศรษฐกิจโต 3% อัดนโยบายค่าแรง 300 ทำส่งออกติดลบ แนะให้บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ใครเป็นคนทำนโยบายไม่ดีเอาไว้ คาดหลังรัฐบาลเดินหน้าวาง 3 ฐานเศรษฐกิจสำเร็จ ทั้งการปรับโฉมหน้าอุตสาหกรรมไทย การปฏิรูปภาษี และเศรษฐกิจดิจิตอล จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยโตได้ถึง 5%
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวในที่ประชุมสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปี 2557 ไตรมาสที่ 1 ติดลบร้อยละ 0.4 ไตรมาสที่ 2 บวกร้อยละ 0.9 ไตรมาสที่ 3 บวกร้อยละ 1 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามาบริหารงาน และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหาร พบว่าไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเพิ่มร้อยละ 2.1 กระทั่งไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจเติบโตเพิ่มร้อยละ 3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็ค่อยๆ ฟื้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการส่งออกจะติดลบร้อยละ 2.5 แต่ก็มีตัวช่วย คือ การลงทุนจากภาครัฐ การท่องเที่ยวและบริการ ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นบวก
ทั้งนี้ ในส่วนของการส่งออกที่ติดลบนั้น เป็นการติดลบอยู่แล้วตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของรัฐบาลที่แล้ว ทำให้สูญเสียความสามรถทางการแข่งขัน ซึ่งไม่ได้ทับถมใคร แต่ใครทำนโยบายไม่ดีไว้ ก็น่าจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าวว่า การแก้ปัญหา รัฐบาลชุดนี้ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหา 3 ฐานเศรษฐกิจ ฐานเศรษฐกิจแรก คือ ปรับปรุงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยในระยะสั้นต้องปรับค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับปรุงการค้าขายเงินตราต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงจาก 32.70 บาท เป็น 33.17 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การแก้ปัญหาระยะยาวต้องทำในลักษณะการปฏิรูป โดยจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผลิตสินค้าใหม่ออกมาขาย เป็นสินค้าที่ขายในตลาดโลกได้ ซึ่งควรเป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงที่อุตสาหกรรมไทยรองรับได้แล้ว แต่คู่แข่งยังรองรับไม่ได้ เช่น อาหารทางการแพทย์ อาหารคุณค่าสูง ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เน้นความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้มีการประกาศ และออกโรดแมปมาแล้ว
โดยผลที่ได้รับถือว่าเร็วเกินคาด เฉพาะเดือน ม.ค.-พ.ค.ที่ผ่านมา ในกลุ่มสินค้าสายการผลิตใหม่ มีผู้มายื่นขอส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว 127 ราย อนุมัติแล้ว 25 ราย ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ Modern Industries จำนวน 197 โครงการ
นอกจากนี้ ต้องมีการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นแทนที่ล้าสมัย ซึ่งภายใน 2 ปี ถึง 2ปีครึ่ง จะเห็นผลของโครงการ และถ้าบอกว่าทำเพื่อรัฐบาลหน้า ก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นการทำเพื่อประเทศ
ฐานเศรษฐกิจต่อมา คือ การปฏิรูปภาษี ซึ่งได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยเฉพาะภาษีรายได้จากเงินปันผล กำไร การขายทรัพย์สิน ถ้าเอากำไรกลับมายังประเทศจะไม่ต้องเสียภาษี เพื่อให้นักอุตสาหกรรมหันกลับมาตั้งฐานการค้าในไทย ซึ่งได้อนุมัติไปแล้ว 31โครงการ และในอนาคตเชื่อว่าจะเป็นประเทศเทรดดิ้งเนชั่นได้ เหมือนในประเทศเกาหลี และสิงคโปร์ แต่นอกจากการปรับปรุงภาษี ยังต้องรองรับการก่อสร้างคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุน โดยกระทรวงคมนาคม ได้วางแผนเชื่อมโยงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางหลวงแผ่นดินเพิ่ม การบูรณะทาง และการสร้างทางหลวงชนบทเพิ่ม ซึ่งจะทำให้การคมนาคมภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศดีขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการสร้างรถไฟทางคู่ ตลอดจนรถไฟความเร็วปานกลาง และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมีการทำคู่สัญญาระหว่างไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการเปิดประมูลตั้งแต่เดือนส.ค.2558-59
ส่วนฐานเศรษฐกิจที่ 3 ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งไทยยังล้าหลัง และขาดโครงสร้างพื้นฐานบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ จึงมีแผนพัฒนา อาทิ การวางโครงข่ายบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2560 การตั้งศูนย์คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ภายใน 2 ปี การเพิ่มเกตเวย์เป็น 10 เกท และระบบดิจิตอลแบงค์กิ้ง เป็นต้น
"ทั้งหมดถือเป็น 3 ฐานหลักในการดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้เสร็จแล้ว 2 ฐาน หากเสร็จ 3 ฐาน จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ และถ้าถึงวันนั้น พลังงานจะไม่เพียงพอ วันนี้จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องหาแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ ซึ่งตนจะรีบกลับไปดำเนินการให้ถูกใจทุกคน และเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อประเทศ"ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวในที่ประชุมสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปี 2557 ไตรมาสที่ 1 ติดลบร้อยละ 0.4 ไตรมาสที่ 2 บวกร้อยละ 0.9 ไตรมาสที่ 3 บวกร้อยละ 1 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามาบริหารงาน และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหาร พบว่าไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเพิ่มร้อยละ 2.1 กระทั่งไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจเติบโตเพิ่มร้อยละ 3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็ค่อยๆ ฟื้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการส่งออกจะติดลบร้อยละ 2.5 แต่ก็มีตัวช่วย คือ การลงทุนจากภาครัฐ การท่องเที่ยวและบริการ ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นบวก
ทั้งนี้ ในส่วนของการส่งออกที่ติดลบนั้น เป็นการติดลบอยู่แล้วตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของรัฐบาลที่แล้ว ทำให้สูญเสียความสามรถทางการแข่งขัน ซึ่งไม่ได้ทับถมใคร แต่ใครทำนโยบายไม่ดีไว้ ก็น่าจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าวว่า การแก้ปัญหา รัฐบาลชุดนี้ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหา 3 ฐานเศรษฐกิจ ฐานเศรษฐกิจแรก คือ ปรับปรุงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยในระยะสั้นต้องปรับค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับปรุงการค้าขายเงินตราต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงจาก 32.70 บาท เป็น 33.17 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การแก้ปัญหาระยะยาวต้องทำในลักษณะการปฏิรูป โดยจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผลิตสินค้าใหม่ออกมาขาย เป็นสินค้าที่ขายในตลาดโลกได้ ซึ่งควรเป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงที่อุตสาหกรรมไทยรองรับได้แล้ว แต่คู่แข่งยังรองรับไม่ได้ เช่น อาหารทางการแพทย์ อาหารคุณค่าสูง ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เน้นความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้มีการประกาศ และออกโรดแมปมาแล้ว
โดยผลที่ได้รับถือว่าเร็วเกินคาด เฉพาะเดือน ม.ค.-พ.ค.ที่ผ่านมา ในกลุ่มสินค้าสายการผลิตใหม่ มีผู้มายื่นขอส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว 127 ราย อนุมัติแล้ว 25 ราย ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ Modern Industries จำนวน 197 โครงการ
นอกจากนี้ ต้องมีการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นแทนที่ล้าสมัย ซึ่งภายใน 2 ปี ถึง 2ปีครึ่ง จะเห็นผลของโครงการ และถ้าบอกว่าทำเพื่อรัฐบาลหน้า ก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นการทำเพื่อประเทศ
ฐานเศรษฐกิจต่อมา คือ การปฏิรูปภาษี ซึ่งได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยเฉพาะภาษีรายได้จากเงินปันผล กำไร การขายทรัพย์สิน ถ้าเอากำไรกลับมายังประเทศจะไม่ต้องเสียภาษี เพื่อให้นักอุตสาหกรรมหันกลับมาตั้งฐานการค้าในไทย ซึ่งได้อนุมัติไปแล้ว 31โครงการ และในอนาคตเชื่อว่าจะเป็นประเทศเทรดดิ้งเนชั่นได้ เหมือนในประเทศเกาหลี และสิงคโปร์ แต่นอกจากการปรับปรุงภาษี ยังต้องรองรับการก่อสร้างคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุน โดยกระทรวงคมนาคม ได้วางแผนเชื่อมโยงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางหลวงแผ่นดินเพิ่ม การบูรณะทาง และการสร้างทางหลวงชนบทเพิ่ม ซึ่งจะทำให้การคมนาคมภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศดีขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการสร้างรถไฟทางคู่ ตลอดจนรถไฟความเร็วปานกลาง และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมีการทำคู่สัญญาระหว่างไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการเปิดประมูลตั้งแต่เดือนส.ค.2558-59
ส่วนฐานเศรษฐกิจที่ 3 ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งไทยยังล้าหลัง และขาดโครงสร้างพื้นฐานบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ จึงมีแผนพัฒนา อาทิ การวางโครงข่ายบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2560 การตั้งศูนย์คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ภายใน 2 ปี การเพิ่มเกตเวย์เป็น 10 เกท และระบบดิจิตอลแบงค์กิ้ง เป็นต้น
"ทั้งหมดถือเป็น 3 ฐานหลักในการดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้เสร็จแล้ว 2 ฐาน หากเสร็จ 3 ฐาน จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ และถ้าถึงวันนั้น พลังงานจะไม่เพียงพอ วันนี้จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องหาแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ ซึ่งตนจะรีบกลับไปดำเนินการให้ถูกใจทุกคน และเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อประเทศ"ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าว