พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวานนี้ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ ร่างแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2558 –2562 ตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) นโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเสนอ โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดกิจการที่เหมาะสมให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 กิจการที่สมควรให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน จำนวน 6 กิจการ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาระบบรางภายในเมือง 2. การพัฒนาทางพิเศษที่จัดเก็บค่าผ่านทางในเมือง 3. การพัฒนาท่าเรือสำหรับขนส่งสินค้า 4. การพัฒนารถไฟความเร็วสูง และความเร็วปานกลาง 5. โครงการที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม และ 6. โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยทั้ง 6 กิจการนี้ หากภาครัฐพิจารณาแล้วต้องการลงทุนเองทั้งหมด ก็ต้องนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากบอร์ดนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐก่อน
ประเภทที่ 2 เป็นกิจการที่รัฐส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน หรือจะให้เอกชนร่วมลงทุนด้วยหรือไม่ก็ได้ จำนวน 14 กิจการ รวม 2 ประเภท จำนวน 20 กิจการ ซึ่งจะมีการดำเนินการในช่วง พ.ศ.2558 –2562 รวม 65 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1.41 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาหลักการโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง หรือ ท่าเทียบเรือ A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้เสนอ โดย กทท.เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือยกขนหลักทั้งหมด มูลค่ารวมถึงบริหาร และประกอบการ โดยใช้งบประมาณลงทุนรวม 1,864 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 2 ปี ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบอัตราค่าภาระขั้นต่ำ–ขั้นสูง ในอัตรา 1,545 - 3,180 บาท โดยที่ กทท. สามารถปรับลดค่าให้บริการได้ไม่เกินร้อยละ 20
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ครม.ได้อนุมติในหลักการในการดำเนินการพัฒนาศูนย์การขนส่ง จ.นครพนม ตามที่กรมการขนส่งทางบกเสนอ มูลค่าโครงการ 1,111 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ระหว่างปี 2559-2562 โดยต้องการให้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อการขนส่งในภูมิภาคกับประเทศลาว เวียดนาม และจีน ทั้งยังเป็นศูนย์บริการในเรื่องการนำเข้าและส่งออก รองรับการเชื่อมต่อถนน และระบบรางในอนาคต รวมไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะที่ 2 ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้กรมการขนส่งทางบกกลับไปทบทวนในส่วนของการลงทุนที่เสนอมาว่า กรมการขนส่งทางบกจะเป็นผู้ลงทุนสิ่งก่อสร้างทั้งหมด และให้เอกชนรับสัมปทานการบริหารจัดการ ซึ่งนายกฯเห็นว่าควรให้สัดส่วนสำหรับเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการก่อสร้างด้วย
ประเภทที่ 1 กิจการที่สมควรให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน จำนวน 6 กิจการ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาระบบรางภายในเมือง 2. การพัฒนาทางพิเศษที่จัดเก็บค่าผ่านทางในเมือง 3. การพัฒนาท่าเรือสำหรับขนส่งสินค้า 4. การพัฒนารถไฟความเร็วสูง และความเร็วปานกลาง 5. โครงการที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม และ 6. โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยทั้ง 6 กิจการนี้ หากภาครัฐพิจารณาแล้วต้องการลงทุนเองทั้งหมด ก็ต้องนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากบอร์ดนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐก่อน
ประเภทที่ 2 เป็นกิจการที่รัฐส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน หรือจะให้เอกชนร่วมลงทุนด้วยหรือไม่ก็ได้ จำนวน 14 กิจการ รวม 2 ประเภท จำนวน 20 กิจการ ซึ่งจะมีการดำเนินการในช่วง พ.ศ.2558 –2562 รวม 65 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1.41 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาหลักการโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง หรือ ท่าเทียบเรือ A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้เสนอ โดย กทท.เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือยกขนหลักทั้งหมด มูลค่ารวมถึงบริหาร และประกอบการ โดยใช้งบประมาณลงทุนรวม 1,864 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 2 ปี ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบอัตราค่าภาระขั้นต่ำ–ขั้นสูง ในอัตรา 1,545 - 3,180 บาท โดยที่ กทท. สามารถปรับลดค่าให้บริการได้ไม่เกินร้อยละ 20
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ครม.ได้อนุมติในหลักการในการดำเนินการพัฒนาศูนย์การขนส่ง จ.นครพนม ตามที่กรมการขนส่งทางบกเสนอ มูลค่าโครงการ 1,111 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ระหว่างปี 2559-2562 โดยต้องการให้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อการขนส่งในภูมิภาคกับประเทศลาว เวียดนาม และจีน ทั้งยังเป็นศูนย์บริการในเรื่องการนำเข้าและส่งออก รองรับการเชื่อมต่อถนน และระบบรางในอนาคต รวมไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะที่ 2 ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้กรมการขนส่งทางบกกลับไปทบทวนในส่วนของการลงทุนที่เสนอมาว่า กรมการขนส่งทางบกจะเป็นผู้ลงทุนสิ่งก่อสร้างทั้งหมด และให้เอกชนรับสัมปทานการบริหารจัดการ ซึ่งนายกฯเห็นว่าควรให้สัดส่วนสำหรับเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการก่อสร้างด้วย