ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตรฯ พร้อมพวก 6 คน คนละ 2 ปี คดีชุมนุมภายในทำเนียบรัฐบาลเรียกร้อง "สมัคร สุนทรเวช" ลาออก เมื่อปี 51 ชี้ผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ ด้านทนายความยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวคนละ 2 แสนบาท ศาลพิจารณาแล้วอนุญาต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (28 พ.ค.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ห้องพิจารณาคดี 708 ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดีแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) บุกทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551 หมายเลขดำ อ.4925/2555 ที่ พ.ต.ต.สุรพงษ์ สายวงศ์ อัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อายุ 80 ปี, นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 67 ปี, นายพิภพ ธงไชย อายุ 69 ปี, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อายุ 65 ปี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข อายุ 69 ปี และนายสุริยะใส กตะศิลา อายุ 42 ปี ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน หรือกลุ่มการเมืองสีเขียว และอดีตผู้ประสานงาน พธม. เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 358, 362 และ 365
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ฟ้องบรรยายความผิด สรุปว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551 ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งมีจำเลยเป็นแกนนำ ได้ชักชวนประชาชนเข้าร่วมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อกดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเคลื่อนขบวนฝ่าแนวกั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังทำเนียบรัฐบาล กระจายกำลังปิดล้อมสถานที่ราชการ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียง กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนต่อมานายสมัคร ได้พ้นจากตำแหน่งตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ แล้วนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนและมีกำหนดวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 7 ต.ค.2551
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2551 จำเลยกับพวกได้เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล และปิดทางเข้าออกทุกด้าน ได้ทำลายสิ่งกีดขวางแล้วปีนรั้วเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล บางส่วนตัดโซ่คล้องกุญแจ และผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยจนศาลรัฐธรรมนูญได้ยุบพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2551 และได้ยุติการชุมนุมเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2551
ทั้งนี้ พบว่า ในระหว่างจัดเวทีปราศรัย ผู้ชุมนุมจำนวนมากได้เหยียบสนามหญ้าและต้นไม้ประดับจนตาย ทำให้ระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ ระบบไฟสนาม หน้าตึกไทยคู่ฟ้าและหน้าตึกสันติไมตรี ซึ่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับความเสียหายรวม 5 ล้านบาท อีกทั้งเมื่อมีฝนตกทำให้น้ำฝนซึมเข้าขังในถุงดำที่ห่อหุ้มกล้องวงจรปิด ทำให้ระบบอิเลคโทรนิกส์ของกล้องเสียหายรวม 10 ตัว ค่าเสียหายอีก 1,766,548 บาท โดยจำเลยทั้ง 6 คนให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 6 เป็นความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการและร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป พิพากษาว่าจำเลยที่ 1-6 กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 365 อนุมาตราสอง ,362 และ 83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมผิด ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดในความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ จำคุกคนละ 3 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกคนละ 2 ปี
ภายหลังนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ กล่าวว่า ได้เตรียมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพในวงเงินคนละ 2 แสนบาท เพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีตามกฎหมายภายใน 30 วัน แต่ก็สามารถขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ โดยจะนำคำพิพากษากรณีของนายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมกับพวกบุกรุกอาคารสภา ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือนให้รอลงอาญา แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยศาลเห็นว่าจำเลยขาดเจตนา เพื่อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อไป
ต่อมาศาลอาญาพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันโดยตีราคาหลักทรัพย์คนละ 2 แสนบาทและไม่ได้กำหนดเงื่อนไขแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (28 พ.ค.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ห้องพิจารณาคดี 708 ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดีแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) บุกทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551 หมายเลขดำ อ.4925/2555 ที่ พ.ต.ต.สุรพงษ์ สายวงศ์ อัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อายุ 80 ปี, นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 67 ปี, นายพิภพ ธงไชย อายุ 69 ปี, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อายุ 65 ปี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข อายุ 69 ปี และนายสุริยะใส กตะศิลา อายุ 42 ปี ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน หรือกลุ่มการเมืองสีเขียว และอดีตผู้ประสานงาน พธม. เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 358, 362 และ 365
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ฟ้องบรรยายความผิด สรุปว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551 ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งมีจำเลยเป็นแกนนำ ได้ชักชวนประชาชนเข้าร่วมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อกดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเคลื่อนขบวนฝ่าแนวกั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังทำเนียบรัฐบาล กระจายกำลังปิดล้อมสถานที่ราชการ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียง กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนต่อมานายสมัคร ได้พ้นจากตำแหน่งตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ แล้วนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนและมีกำหนดวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 7 ต.ค.2551
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2551 จำเลยกับพวกได้เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล และปิดทางเข้าออกทุกด้าน ได้ทำลายสิ่งกีดขวางแล้วปีนรั้วเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล บางส่วนตัดโซ่คล้องกุญแจ และผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยจนศาลรัฐธรรมนูญได้ยุบพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2551 และได้ยุติการชุมนุมเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2551
ทั้งนี้ พบว่า ในระหว่างจัดเวทีปราศรัย ผู้ชุมนุมจำนวนมากได้เหยียบสนามหญ้าและต้นไม้ประดับจนตาย ทำให้ระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ ระบบไฟสนาม หน้าตึกไทยคู่ฟ้าและหน้าตึกสันติไมตรี ซึ่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับความเสียหายรวม 5 ล้านบาท อีกทั้งเมื่อมีฝนตกทำให้น้ำฝนซึมเข้าขังในถุงดำที่ห่อหุ้มกล้องวงจรปิด ทำให้ระบบอิเลคโทรนิกส์ของกล้องเสียหายรวม 10 ตัว ค่าเสียหายอีก 1,766,548 บาท โดยจำเลยทั้ง 6 คนให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 6 เป็นความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการและร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป พิพากษาว่าจำเลยที่ 1-6 กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 365 อนุมาตราสอง ,362 และ 83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมผิด ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดในความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ จำคุกคนละ 3 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกคนละ 2 ปี
ภายหลังนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ กล่าวว่า ได้เตรียมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพในวงเงินคนละ 2 แสนบาท เพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีตามกฎหมายภายใน 30 วัน แต่ก็สามารถขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ โดยจะนำคำพิพากษากรณีของนายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมกับพวกบุกรุกอาคารสภา ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือนให้รอลงอาญา แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยศาลเห็นว่าจำเลยขาดเจตนา เพื่อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อไป
ต่อมาศาลอาญาพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันโดยตีราคาหลักทรัพย์คนละ 2 แสนบาทและไม่ได้กำหนดเงื่อนไขแต่อย่างใด