นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ครม.ไม่ได้เสนอให้มีการแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจของ คณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ ที่สามารถเสนอ ออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษได้ว่า ตนยังยืนยันว่าบทบัญญัตินี้ จะนำมาสู่ความข้ดแย้งในอนาคต ซึ่งได้เสนอขอให้ตัดทิ้ง และหวังว่า กมธ.ยกร่างฯ จะรับฟังเสียงนี้ เพราะนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ พูดมาตลอดว่า จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อคน 63 ล้านคน แต่นี่กลับเป็นการเขียนให้คนแค่ไม่กี่คน ทั้งยังเป็นการทำลายระบบกฎหมายด้วย ทุกฝ่ายต้องช่วยกันโน้มน้าวให้ กมธ.ยกร่างฯ นำบทบัญญัติเกี่ยวกับ กก.ปรองดองออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะสร้างปัญหาแน่นอน ทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบรวมถึงครม. ที่ไม่เสนอแก้เรื่องนี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตนแปลกใจว่าเหตุใดประเด็นนี้จึงไม่มีการเสนอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข พรรคยืนยันในเรื่องนี้ เพราะเป็นจุดยืนที่เรียกร้องมาแต่แรก และขอให้สังคมอย่ามองข้ามเรื่องนี้ เพราะขณะนี้มีการปลุกกระแสว่า ถ้าเป็นคำพูดของนักการเมือง ก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัว แต่เรื่องนี้เป็นต้นเหตุที่มาของวิกฤติ ที่คนออกมาร่วมชุมนุม ประเทศต้องก้าวพ้นจุดนี้ให้ได้ ไม่ควรเปิดช่องจนปัญหากลับมาซ้ำรอยเดิมอีก ทั้งนี้ ไม่เคยมีคำอธิบายที่สมเหตุผลในเรื่องนี้จาก กมธ.ยกร่างฯ เพราะบทบัญญัตินี้ระบุชัดว่า จะใช้บังคับเฉพาะบุคคลที่เข้าเงื่อนไข หรือ จะเขียนว่าไม่รวมถึงบุคคลที่ทุจริตก็ยังไม่มีการเขียนระบุไว้ แสดงว่า ผู้เขียนเห็นว่าควรจะเปิดทางไว้ ซึ่งตนไม่เห็นด้วย
ส่วนนายบุญเลิศ คชายุทธเดช สปช. ระบุว่า สนัสนุนให้มีการนิรโทษกรรมให้มวลชนของทุกสีเสื้อนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยถ้าจะนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนที่เข้าร่วม ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย แต่ถ้ามีการทำผิดคดีอาญา ก็ไม่ควรใช้วิธีการนี้ ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมก่อน จากนั้นจะพิจารณาเรื่องอภัยโทษ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และขอเตือนให้ระมัดระวัง เพราะถ้ามองว่า การสร้างโครงสร้างอำนาจอย่างนี้ จะดำเนินการบางอย่างที่ฝืนหลักสังคม ตนคิดว่าไม่ง่าย เพราะเชื่อว่าจุดยืนของประชาชน ยังมั่นคงในกรณีนี้
**ขวางตัดกลุ่มการเมือง-นายกฯคนนอก
นายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีหลายความเห็น เสนอให้ตัดกลุ่มการเมืองออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ว่าเรื่องนี้สามารถมองได้หลายความเห็น แต่หลักการที่ทางกมธ.ยกร่างฯ ได้บัญญัติให้มีกลุ่มการเมืองนั้น มาจากเสียงเรียกร้องของภาคประชาชน ที่ต้องการให้มีการสมัครส.ส. โดยอิสระ ไม่สังกัดพรรค ซึ่งต่อมาทางกมธ.ยกร่างฯ ได้มีการบัญญัติเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนขึ้น ทำให้การสมัครลงเลือกตั้ง ส.ส.โดยไม่สังกัดพรรค ก็ทำไม่ได้ เพราะจะต้องมีการส่งบัญชีรายชื่อ ดังนั้น จะไม่ตรงกับความเห็นของประชาชน และไม่สามารถตอบโจทย์ ของเหตุการณ์ก่อนรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค. 57 ที่มองว่า พรรคการเมืองผูกขาดอำนาจ ซึ่งจะนำไปสู่ระบบการเมืองที่ล้มเหลวไม่ได้ ดังนั้นจึงมีการบัญญัติเรื่องกลุ่มการเมืองขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกส.ส.โดยไม่ต้องสังกัดพรรค ถ้าไม่เอากลุ่มการเมืองนั้น ตนคิดว่าต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า เราเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ปฏิรูปอะไรบ้างหรือไม่ ต้องแก้ปัญหาของเหตุการณ์ก่อนการรัฐประหารให้ได้ การปฏิรูปจะได้ไม่เสียของ
ส่วนเรื่องที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) และหลายภาคส่วน ได้ส่งคำขอให้มีการปรับเรื่องของการเลือกตั้งใหม่นั้น เป็นความคิดที่ดี ต้องรับฟัง เพราะสิ่งที่เป็นห่วงก็คือระบบเลือกตั้งที่ กมธ.ยกร่างฯได้เสนอนั้นยังใหม่ และมีข้อถกเถียงอยู่เยอะ แต่ทั้งนี้ ถ้าเอาระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนมาแล้วไปตัดเรื่องกลุ่มการเมืองออกไป ให้มีแต่พรรคการเมือง ถ้าเป็นแบบนี้ ตนคงต้องขอท้วง เพราะว่าจะทำให้ระบบปาร์ตี้ลิสต์ ที่ตนคัดค้านนั้น มีแต่แบ่งเขต ทำให้มี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ เพิ่มมากขึ้นไปอีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรกับขณะนี้ที่ทางกมธ.ปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้ตัดเรื่องการมีนายกรัฐมนตรีคนนอกออกไป แม้ในยามวิกฤติ นายไพบูลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็มีบางคำขอ แต่หลายคำขอนั้นไม่ได้ตัดประเด็นนี้ โดยส่วนตัวนั้น ตนมีจุดยืนว่า ทำไมต้องเขียน แล้วยิ่งถ้าไปพูดถึงปัญหาก่อนรัฐประหารวันที่ 22 พ.ค. ก็จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องกำหนดให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกเข้ามา เพื่อจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะกำหนดให้เป็นอย่างเก่าไม่ได้ ต้องให้ระบบมีความยืดหยุ่น
"ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลุ่มการเมือง เรื่องอะไรต่างๆ ถ้าจะต้องกลับไปสู่ระบบปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน แล้ว ส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว ผมแย้งแน่นอนเพราะมันไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย แต่ถ้าเป็นแบบแบ่งเขต แบบหลายเบอร์ หรือเขตทั้งจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครสามารถจะไม่สังกัดพรรคได้ด้วย อันนั้นอาจจะสามารถตอบโจทย์ของผมได้" นายไพบูลย์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตนแปลกใจว่าเหตุใดประเด็นนี้จึงไม่มีการเสนอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข พรรคยืนยันในเรื่องนี้ เพราะเป็นจุดยืนที่เรียกร้องมาแต่แรก และขอให้สังคมอย่ามองข้ามเรื่องนี้ เพราะขณะนี้มีการปลุกกระแสว่า ถ้าเป็นคำพูดของนักการเมือง ก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัว แต่เรื่องนี้เป็นต้นเหตุที่มาของวิกฤติ ที่คนออกมาร่วมชุมนุม ประเทศต้องก้าวพ้นจุดนี้ให้ได้ ไม่ควรเปิดช่องจนปัญหากลับมาซ้ำรอยเดิมอีก ทั้งนี้ ไม่เคยมีคำอธิบายที่สมเหตุผลในเรื่องนี้จาก กมธ.ยกร่างฯ เพราะบทบัญญัตินี้ระบุชัดว่า จะใช้บังคับเฉพาะบุคคลที่เข้าเงื่อนไข หรือ จะเขียนว่าไม่รวมถึงบุคคลที่ทุจริตก็ยังไม่มีการเขียนระบุไว้ แสดงว่า ผู้เขียนเห็นว่าควรจะเปิดทางไว้ ซึ่งตนไม่เห็นด้วย
ส่วนนายบุญเลิศ คชายุทธเดช สปช. ระบุว่า สนัสนุนให้มีการนิรโทษกรรมให้มวลชนของทุกสีเสื้อนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยถ้าจะนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนที่เข้าร่วม ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย แต่ถ้ามีการทำผิดคดีอาญา ก็ไม่ควรใช้วิธีการนี้ ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมก่อน จากนั้นจะพิจารณาเรื่องอภัยโทษ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และขอเตือนให้ระมัดระวัง เพราะถ้ามองว่า การสร้างโครงสร้างอำนาจอย่างนี้ จะดำเนินการบางอย่างที่ฝืนหลักสังคม ตนคิดว่าไม่ง่าย เพราะเชื่อว่าจุดยืนของประชาชน ยังมั่นคงในกรณีนี้
**ขวางตัดกลุ่มการเมือง-นายกฯคนนอก
นายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีหลายความเห็น เสนอให้ตัดกลุ่มการเมืองออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ว่าเรื่องนี้สามารถมองได้หลายความเห็น แต่หลักการที่ทางกมธ.ยกร่างฯ ได้บัญญัติให้มีกลุ่มการเมืองนั้น มาจากเสียงเรียกร้องของภาคประชาชน ที่ต้องการให้มีการสมัครส.ส. โดยอิสระ ไม่สังกัดพรรค ซึ่งต่อมาทางกมธ.ยกร่างฯ ได้มีการบัญญัติเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนขึ้น ทำให้การสมัครลงเลือกตั้ง ส.ส.โดยไม่สังกัดพรรค ก็ทำไม่ได้ เพราะจะต้องมีการส่งบัญชีรายชื่อ ดังนั้น จะไม่ตรงกับความเห็นของประชาชน และไม่สามารถตอบโจทย์ ของเหตุการณ์ก่อนรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค. 57 ที่มองว่า พรรคการเมืองผูกขาดอำนาจ ซึ่งจะนำไปสู่ระบบการเมืองที่ล้มเหลวไม่ได้ ดังนั้นจึงมีการบัญญัติเรื่องกลุ่มการเมืองขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกส.ส.โดยไม่ต้องสังกัดพรรค ถ้าไม่เอากลุ่มการเมืองนั้น ตนคิดว่าต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า เราเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ปฏิรูปอะไรบ้างหรือไม่ ต้องแก้ปัญหาของเหตุการณ์ก่อนการรัฐประหารให้ได้ การปฏิรูปจะได้ไม่เสียของ
ส่วนเรื่องที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) และหลายภาคส่วน ได้ส่งคำขอให้มีการปรับเรื่องของการเลือกตั้งใหม่นั้น เป็นความคิดที่ดี ต้องรับฟัง เพราะสิ่งที่เป็นห่วงก็คือระบบเลือกตั้งที่ กมธ.ยกร่างฯได้เสนอนั้นยังใหม่ และมีข้อถกเถียงอยู่เยอะ แต่ทั้งนี้ ถ้าเอาระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนมาแล้วไปตัดเรื่องกลุ่มการเมืองออกไป ให้มีแต่พรรคการเมือง ถ้าเป็นแบบนี้ ตนคงต้องขอท้วง เพราะว่าจะทำให้ระบบปาร์ตี้ลิสต์ ที่ตนคัดค้านนั้น มีแต่แบ่งเขต ทำให้มี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ เพิ่มมากขึ้นไปอีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรกับขณะนี้ที่ทางกมธ.ปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้ตัดเรื่องการมีนายกรัฐมนตรีคนนอกออกไป แม้ในยามวิกฤติ นายไพบูลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็มีบางคำขอ แต่หลายคำขอนั้นไม่ได้ตัดประเด็นนี้ โดยส่วนตัวนั้น ตนมีจุดยืนว่า ทำไมต้องเขียน แล้วยิ่งถ้าไปพูดถึงปัญหาก่อนรัฐประหารวันที่ 22 พ.ค. ก็จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องกำหนดให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกเข้ามา เพื่อจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะกำหนดให้เป็นอย่างเก่าไม่ได้ ต้องให้ระบบมีความยืดหยุ่น
"ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลุ่มการเมือง เรื่องอะไรต่างๆ ถ้าจะต้องกลับไปสู่ระบบปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน แล้ว ส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว ผมแย้งแน่นอนเพราะมันไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย แต่ถ้าเป็นแบบแบ่งเขต แบบหลายเบอร์ หรือเขตทั้งจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครสามารถจะไม่สังกัดพรรคได้ด้วย อันนั้นอาจจะสามารถตอบโจทย์ของผมได้" นายไพบูลย์ กล่าว