วานนี้ (26พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงความเป็นห่วงเรื่องปัญหาภัยแล้งว่า ต้องการให้ประชาชนเข้าใจถึงสภาพลมฟ้าอากาศประจำปีนี้ โดยฤดูฝนนี้อาจจะมีฝนลดน้อยลง อาจตกไม่ทั่วถึง และอาจจะมีปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้น ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องการเตรียมการปลูกพืชในฤดูกาลใหม่ ปัจจุบันปริมาณน้ำในเขื่อนมีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และในแหล่งน้ำขนาดใหญ่มีประมาณไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องบริหารจัดการน้ำที่มีอยูให้ได้ ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค น้ำประปา การดูแลเรื่องของผลผลิตด้านการเกษตร รวมทั้งดูแลเรื่องของการผลักดันน้ำเค็มด้วย ดังนั้นในปีนี้ ขอให้ทุกคนระมัดระวัง
" ขอให้ประชาชนทุกคนช่วยรัฐขุด หรือทำที่กักเก็บน้ำที่บ้านเพื่อเอาไว้ใช้จะทำขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ได้ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพราะการช่วยเหลือจากภาครัฐไม่อาจไปได้ทั่วถึงทุกที่ ยิ่งถ้าต้องใช้พลังงานไฟฟ้ายิ่งลำบาก เพราะถ้าไม่เตรียมการตั้งแต่วันนี้ จะมีปัญหาในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน นอกจากนี้เกษตรกรจะเพาะปลูกพืชอะไร ขอให้ปรึกษาหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหารือกับทางศูนย์ดำรงธรรมของกระทรวงมหาดไทยด้วย ว่ามีความเหมาะสมที่จะปลูกหรือไม่ และถ้าปลูกแล้วหากเกิดความเสียหายจะทำอย่างไร เพราะรัฐเองไม่สามารถที่จะอุดหนุนได้มากนัก จึงขอให้เกษตรกรเข้าใจถึงสภาวะการณ์ในปัจจุบัน เรียกว่าเป็นการทำงานของเกษตรสมัยใหม่ ไม่ใช่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ต้องนำความรู้ เทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ มาใช้ " นายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลทำได้นอกเหนือจากการหาแหล่งน้ำเท่าที่ทำได้ และการจัดทำฝนหลวงให้มากขึ้น ซึ่งก็ต้องอาศัยเมฆจำนวนมาก คือเรื่องการออก พ.ร.บ.การเช่าที่นา ซึ่งได้สั่งการอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เช่า โดยเจ้าของนากับผู้เช่านา จะต้องมีสัญญา เพื่อจะได้ทราบถึงตัวเลขที่แท้จริงที่จะไปลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการทำการเกษตร เป็นความพยายามลดความเหลื่อมล้ำ เช่น ที่นาใน และนอกเขตชลประทาน ควรจะต้องต่างกัน และต้องชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของนาที่แท้จริง เพื่อแก้ปัญหาทับซ้อนของข้อมูล ซึ่งตนได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ และมหาดไทย สำรวจข้อมูลให้ได้ข้อเท็จจริงโดยเร็ว ถือเป็นเรื่องการปฏิรูปอะไรที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วน จะต้องเร่งปฏิรูป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
" รวมทั้งการจัดหารถไถ ก็กำลังดำเนินการในระยะแรก ซึ่งจะพยายามหาให้ทัน ก็อาจจะไปอยู่ที่ทหารก่อน ทหารก็จะเป็นคนควบคุมที่ในการไถ และการใช้เครื่องมือเครื่องจักร จะได้ลดราคาค่าเช่าเครื่องจักรในการไถ และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะต้องสอดคล้องตามที่ได้สั่งการไว้ก่อนหน้านี้ ว่านาพื้นที่ไม่มาก 5-10 ไร่ เป็นเบี้ยหัวแตก ต้องไปรวมเป็นสหกรณ์นา ให้ได้สัก 100 ไร่ จะไปไถให้ในราคาเดียวกัน ถือเป็นการคิดทั้งระบบ เป็นการปฏิรูป ถ้ามัวแต่คิดแบบเดิมตามยอดที่มีมา ตามข้อมูลเดิม พอขาดเหลือก็เจือจานด้วยการจำนำบ้าง ประกันบ้าง มันก็หายไปเฉยๆ มีการนำไปใช้อย่างอื่นด้วย ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว จึงขอชี้แจงให้เกษตรกรทุกคนเข้าใจว่า รัฐบาลทำทั้งหมด ข้าว ยางพารา ปาล์ม อ้อย สับปะรด ซึ่งทุกอย่างมีคณะกรรมการดูแลทั้งหมด และผมเป็นผู้คุมนโยบายทั้งหมดในทุกกลุ่มการเกษตร เน้นเรื่องการลดคาใช้จ่ายในการเพาะปลูก สร้างห่วงโซ่ทางคุณค่า ว่าทำอย่างไรบริษัทใหญ่ๆ จะเข้าไปซื้อตรงจากเกษตรกร แล้วนำไปเพิ่มมูลค่า จากนั้นก็ไปทำสัญญากับประเทศต่างๆ เศรษฐกิจในภาพรวมก็จะเดินหน้า สร้างห่วงโซ่เป็นสังคมพึ่งพาอาศัยกัน ที่สำคัญต้องลดค่าใช้จ่ายทางการผลิต" นายกรัฐมนตรี กล่าว
" ขอให้ประชาชนทุกคนช่วยรัฐขุด หรือทำที่กักเก็บน้ำที่บ้านเพื่อเอาไว้ใช้จะทำขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ได้ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพราะการช่วยเหลือจากภาครัฐไม่อาจไปได้ทั่วถึงทุกที่ ยิ่งถ้าต้องใช้พลังงานไฟฟ้ายิ่งลำบาก เพราะถ้าไม่เตรียมการตั้งแต่วันนี้ จะมีปัญหาในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน นอกจากนี้เกษตรกรจะเพาะปลูกพืชอะไร ขอให้ปรึกษาหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหารือกับทางศูนย์ดำรงธรรมของกระทรวงมหาดไทยด้วย ว่ามีความเหมาะสมที่จะปลูกหรือไม่ และถ้าปลูกแล้วหากเกิดความเสียหายจะทำอย่างไร เพราะรัฐเองไม่สามารถที่จะอุดหนุนได้มากนัก จึงขอให้เกษตรกรเข้าใจถึงสภาวะการณ์ในปัจจุบัน เรียกว่าเป็นการทำงานของเกษตรสมัยใหม่ ไม่ใช่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ต้องนำความรู้ เทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ มาใช้ " นายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลทำได้นอกเหนือจากการหาแหล่งน้ำเท่าที่ทำได้ และการจัดทำฝนหลวงให้มากขึ้น ซึ่งก็ต้องอาศัยเมฆจำนวนมาก คือเรื่องการออก พ.ร.บ.การเช่าที่นา ซึ่งได้สั่งการอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เช่า โดยเจ้าของนากับผู้เช่านา จะต้องมีสัญญา เพื่อจะได้ทราบถึงตัวเลขที่แท้จริงที่จะไปลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการทำการเกษตร เป็นความพยายามลดความเหลื่อมล้ำ เช่น ที่นาใน และนอกเขตชลประทาน ควรจะต้องต่างกัน และต้องชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของนาที่แท้จริง เพื่อแก้ปัญหาทับซ้อนของข้อมูล ซึ่งตนได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ และมหาดไทย สำรวจข้อมูลให้ได้ข้อเท็จจริงโดยเร็ว ถือเป็นเรื่องการปฏิรูปอะไรที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วน จะต้องเร่งปฏิรูป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
" รวมทั้งการจัดหารถไถ ก็กำลังดำเนินการในระยะแรก ซึ่งจะพยายามหาให้ทัน ก็อาจจะไปอยู่ที่ทหารก่อน ทหารก็จะเป็นคนควบคุมที่ในการไถ และการใช้เครื่องมือเครื่องจักร จะได้ลดราคาค่าเช่าเครื่องจักรในการไถ และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะต้องสอดคล้องตามที่ได้สั่งการไว้ก่อนหน้านี้ ว่านาพื้นที่ไม่มาก 5-10 ไร่ เป็นเบี้ยหัวแตก ต้องไปรวมเป็นสหกรณ์นา ให้ได้สัก 100 ไร่ จะไปไถให้ในราคาเดียวกัน ถือเป็นการคิดทั้งระบบ เป็นการปฏิรูป ถ้ามัวแต่คิดแบบเดิมตามยอดที่มีมา ตามข้อมูลเดิม พอขาดเหลือก็เจือจานด้วยการจำนำบ้าง ประกันบ้าง มันก็หายไปเฉยๆ มีการนำไปใช้อย่างอื่นด้วย ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว จึงขอชี้แจงให้เกษตรกรทุกคนเข้าใจว่า รัฐบาลทำทั้งหมด ข้าว ยางพารา ปาล์ม อ้อย สับปะรด ซึ่งทุกอย่างมีคณะกรรมการดูแลทั้งหมด และผมเป็นผู้คุมนโยบายทั้งหมดในทุกกลุ่มการเกษตร เน้นเรื่องการลดคาใช้จ่ายในการเพาะปลูก สร้างห่วงโซ่ทางคุณค่า ว่าทำอย่างไรบริษัทใหญ่ๆ จะเข้าไปซื้อตรงจากเกษตรกร แล้วนำไปเพิ่มมูลค่า จากนั้นก็ไปทำสัญญากับประเทศต่างๆ เศรษฐกิจในภาพรวมก็จะเดินหน้า สร้างห่วงโซ่เป็นสังคมพึ่งพาอาศัยกัน ที่สำคัญต้องลดค่าใช้จ่ายทางการผลิต" นายกรัฐมนตรี กล่าว