ASTV ผู้จัดการรายวัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สยบข่าวเตรียมทิ้งหุ้น 10 ในมือ ย้ำชัดจะพิจารณาขายหุ้นที่คลังถืออยู่ในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ที่รัฐไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนักเป็นหลักก่อน ส่วนบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะไม่แตะต้องมาก โดยต้องพิจารณาเป็นกรณีไป ด้านกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุปกติต้องมีการเจรจาก่อนดำเนินการเพราะหุ้นที่ก.คลังถือเป็นหุ้นขนาดใหญ่อยู่ใน SET 50 อาจกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกระแสข่าวกระทรวงการคลังจะขายหุ้นขนาดใหญ่ 10 บริษัทตามที่มีกระแสข่าว ว่า เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกกฎหมายบริหารจัดการหนี้กว่า 7.2 แสนล้านบาท เพื่อนำรายได้จากการขายทรัพย์สินหรือกิจการของรัฐมาใช้หนี้ราว 1 แสนล้านบาท ที่ต้องการวางเกณฑ์ไว้ในรัฐบาลชุดนี้ พร้อมยืนยันว่าการขายทรัพย์สินของก.คลังต้องอาศัยเวลา และการพิจารณาอย่างรอบครอบ
“เคยบอกว่าจะมีการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ แต่จะพิจารณาขายหุ้นที่คลังถืออยู่ในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ที่รัฐไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนักเป็นหลักก่อน ส่วนบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะต้องพิจารณาเป็นกรณีไป ดูอันไหนไม่คุ้มก็ขายไป คือ จะดูว่ากลุ่มนอกตลาดฯ ถ้าดี ๆ ก็เก็บไว้ แต่ถ้าไม่ดีจะเก็บไว้ทำไม นี่รวมถึงบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจด้วย หลายแห่งไปทำกัน บริหารกันจนคิดว่าเป็นของตัวเอง ไม่คิดว่าเป็นของหลวง ซึ่งเมื่อได้เงินมาจะไม่เข้างบประมาณ แต่จะนำไปใช้ชำระหนี้ เพื่อให้ลดเงินต้นที่มีสูงถึง 7.2 แสนล้านบาทได้บ้าง โดยจะต้องวางเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย และเมื่อจะขายตัวใดก็ต้องนำเข้าคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดเห็นชอบต่อไป” นายสมหมายกล่าว
นายสมหมาย กล่าวถึงหนี้จำนวนกว่า 7.2 แสนล้านบาท ว่า หากไม่มีการจัดการจะเกิดการกระจุกตัวในการตั้งงบประมาณชำระแต่ละปี โดยหากนำมาคิดระยะเวลาการชำระภายใน 20 ปี เฉลี่ยแล้ว ต้องตั้งงบประมาณจ่ายทั้งต้นทั้งดอกเบี้ย ตกปีละ 6.54 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยถ้าดูจากงบชำระหนี้ในปีงบประมาณ 2559 จะมีอยู่ 6.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่พูดถึงดอกเบี้ย ดังนั้นตนจึงคิดว่าต้องมีการขายกิจการที่ไม่คุ้มค่าออกไปเพื่อมาใช้ลดต้นเงินบางส่วน
"ยังมีดอกเบี้ยอีก 1.39 แสนล้านบาท รวมแล้วตั้ง 2 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.35% เทียบกับรายจ่ายทั้งหมด แต่ถ้าเทียบกับรายได้จะตก 8.59% ของประมาณการรายได้ปีงบประมาณ 2559 ส่วนหนี้ที่จะออกกฎหมายใหม่อีก 6.4 หมื่นล้านบาทต่อปีบวกเข้าไป ก็มากกว่า 10% ของประมาณการรายได้ หรือเกือบ 10% ของงบประมาณรายจ่าย แปลว่าหาเงินมาก็ต้องจ่ายหนี้หมด เพราะรัฐบาลเบี้ยวหนี้ไม่ได้" นายสมหมาย กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการออกกฎหมายพิเศษเพื่อล้างหนี้ วงเงินกว่า 720,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการออกกฎหมายดังกล่าว โดยระหว่างนี้จะหารือเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ หรือแนวทางการจำหน่ายหุ้น
ด้านนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวยอมรับว่าหากกระทรวงการคลังจะมีการขายหุ้น 10 บริษัท ประกอบด้วย ด้วย บมจ. ผาแดงอินดัสทรี (PDI) สัดส่วน 13.81% , บลจ. เอ็มเอฟซี (MFC) สัดส่วน 16.67% , ธนาคารทหารไทย (TMB) สัดส่วน 25.98% บมจ. เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม (NEP) สัดส่วน 20.45% , บมจ. อสมท (MCOT) 65.80% , บมจ.การบินไทย (THAI) 51.03% , บมจ. ปตท. (PTT) 51.11% , บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) 9.98% , บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) 70.00% และ บมจ. ทุ่งคาฮาเบอร์ (THL) สัดส่วน 1.98% ออกมาเพื่อเพื่อนำเงินมาชำระหนี้กว่า 7.2 แสนล้านบาท อาจจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ได้ ดังนั้นคงต้องมีการหารือในเรื่องของรายละเอียด จำนวนหุ้น ปริมาณและระยะเวลาในการขาย
“ถ้ากระทรวงการคลังจะขายหุ้นตามที่มีข่าวออกมาจริง จะถือเป็นกรณีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะที่ผ่านมาการขายหุ้นของกระทรวงการคลังจะดำเนินการเป็นรายตัวในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นใหม่ หากจะมีการขายต้องหารือในเรื่องของรายละเอียด ทั้งในส่วนของหุ้นที่จะขาย ปริมาณและห้วงเวลาที่เหมาะสม” นางเกศรา กล่าว
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกระแสข่าวกระทรวงการคลังจะขายหุ้นขนาดใหญ่ 10 บริษัทตามที่มีกระแสข่าว ว่า เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกกฎหมายบริหารจัดการหนี้กว่า 7.2 แสนล้านบาท เพื่อนำรายได้จากการขายทรัพย์สินหรือกิจการของรัฐมาใช้หนี้ราว 1 แสนล้านบาท ที่ต้องการวางเกณฑ์ไว้ในรัฐบาลชุดนี้ พร้อมยืนยันว่าการขายทรัพย์สินของก.คลังต้องอาศัยเวลา และการพิจารณาอย่างรอบครอบ
“เคยบอกว่าจะมีการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ แต่จะพิจารณาขายหุ้นที่คลังถืออยู่ในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ที่รัฐไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนักเป็นหลักก่อน ส่วนบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะต้องพิจารณาเป็นกรณีไป ดูอันไหนไม่คุ้มก็ขายไป คือ จะดูว่ากลุ่มนอกตลาดฯ ถ้าดี ๆ ก็เก็บไว้ แต่ถ้าไม่ดีจะเก็บไว้ทำไม นี่รวมถึงบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจด้วย หลายแห่งไปทำกัน บริหารกันจนคิดว่าเป็นของตัวเอง ไม่คิดว่าเป็นของหลวง ซึ่งเมื่อได้เงินมาจะไม่เข้างบประมาณ แต่จะนำไปใช้ชำระหนี้ เพื่อให้ลดเงินต้นที่มีสูงถึง 7.2 แสนล้านบาทได้บ้าง โดยจะต้องวางเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย และเมื่อจะขายตัวใดก็ต้องนำเข้าคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดเห็นชอบต่อไป” นายสมหมายกล่าว
นายสมหมาย กล่าวถึงหนี้จำนวนกว่า 7.2 แสนล้านบาท ว่า หากไม่มีการจัดการจะเกิดการกระจุกตัวในการตั้งงบประมาณชำระแต่ละปี โดยหากนำมาคิดระยะเวลาการชำระภายใน 20 ปี เฉลี่ยแล้ว ต้องตั้งงบประมาณจ่ายทั้งต้นทั้งดอกเบี้ย ตกปีละ 6.54 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยถ้าดูจากงบชำระหนี้ในปีงบประมาณ 2559 จะมีอยู่ 6.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่พูดถึงดอกเบี้ย ดังนั้นตนจึงคิดว่าต้องมีการขายกิจการที่ไม่คุ้มค่าออกไปเพื่อมาใช้ลดต้นเงินบางส่วน
"ยังมีดอกเบี้ยอีก 1.39 แสนล้านบาท รวมแล้วตั้ง 2 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.35% เทียบกับรายจ่ายทั้งหมด แต่ถ้าเทียบกับรายได้จะตก 8.59% ของประมาณการรายได้ปีงบประมาณ 2559 ส่วนหนี้ที่จะออกกฎหมายใหม่อีก 6.4 หมื่นล้านบาทต่อปีบวกเข้าไป ก็มากกว่า 10% ของประมาณการรายได้ หรือเกือบ 10% ของงบประมาณรายจ่าย แปลว่าหาเงินมาก็ต้องจ่ายหนี้หมด เพราะรัฐบาลเบี้ยวหนี้ไม่ได้" นายสมหมาย กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการออกกฎหมายพิเศษเพื่อล้างหนี้ วงเงินกว่า 720,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการออกกฎหมายดังกล่าว โดยระหว่างนี้จะหารือเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ หรือแนวทางการจำหน่ายหุ้น
ด้านนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวยอมรับว่าหากกระทรวงการคลังจะมีการขายหุ้น 10 บริษัท ประกอบด้วย ด้วย บมจ. ผาแดงอินดัสทรี (PDI) สัดส่วน 13.81% , บลจ. เอ็มเอฟซี (MFC) สัดส่วน 16.67% , ธนาคารทหารไทย (TMB) สัดส่วน 25.98% บมจ. เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม (NEP) สัดส่วน 20.45% , บมจ. อสมท (MCOT) 65.80% , บมจ.การบินไทย (THAI) 51.03% , บมจ. ปตท. (PTT) 51.11% , บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) 9.98% , บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) 70.00% และ บมจ. ทุ่งคาฮาเบอร์ (THL) สัดส่วน 1.98% ออกมาเพื่อเพื่อนำเงินมาชำระหนี้กว่า 7.2 แสนล้านบาท อาจจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ได้ ดังนั้นคงต้องมีการหารือในเรื่องของรายละเอียด จำนวนหุ้น ปริมาณและระยะเวลาในการขาย
“ถ้ากระทรวงการคลังจะขายหุ้นตามที่มีข่าวออกมาจริง จะถือเป็นกรณีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะที่ผ่านมาการขายหุ้นของกระทรวงการคลังจะดำเนินการเป็นรายตัวในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นใหม่ หากจะมีการขายต้องหารือในเรื่องของรายละเอียด ทั้งในส่วนของหุ้นที่จะขาย ปริมาณและห้วงเวลาที่เหมาะสม” นางเกศรา กล่าว