xs
xsm
sm
md
lg

นักวิชาการตีแสกหน้ารบ. ทางรอดศก.ไทยต้องเป็นประชาธิปไตย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นักวิชาการ-นักธุรกิจ ชี้เศรษฐกิจไทยชะงัก เนื่องจากการลงทุนจากต่างชาติหดตัว นักลงทุนในประเทศออกไปลงทุนใน ประเทศเพื่อนบ้าน แถมรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารก็ไม่ได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคการเกษตร ย้ำพื้นฐานสำคัญ เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น รัฐต้องเป็นประชาธิปไตย

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ มีการจัดการสัมนาในหัวข้อ "1ปี เศรษฐกิจไทย ความหวังและ อนาคตโดยมีนายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายวิโรจน์ อาลี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม .ธรรมศาสตร์ นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิบดีฝ่ายวิจัยและบริหารวิชาการ ม.รังสิต นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดนครนายก

นายวิโรจน์ อาลี กล่าวว่า สถานการณ์ระหว่างประเทศ ยังย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง ทูตหลายประเทศแสดงความไม่แน่ใจต่อสถานการณ์ใน บ้านเมืองเรา ทำให้นักลงทุนไม่แน่ใจ หากดูในรายละเอียด มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบ คือ 1. รัฐประหาร 2. ปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงส้ราง ที่ มีมายาวนาน ซึ่งตอนนี้เรายังหาทางออกไม่ได้ ว่าจะให้รัฐเข้าไปจัดการกับเศรษฐกิจอย่างไร

นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์ย่ำแย่ที่ประดังเข้ามาในตอนนี้ เช่น เรื่องค้ามนุษย์ เรื่องICAO มีส่วนของเรื่องการเมืองอยู่บ้าง รัฐบาลที่ มาจากการเลือกตั้งนั้น ได้รับการอะลุ่มอล่วยมากกว่า ทางองค์กรระหว่างประเทศนั้นรอได้ หากเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย
ประเทศไทย เป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออก และการลงทุนจากต่างประเทศค่อนข้างมาก สำหรับการลงทุนของต่างชาตินั้น เริ่มหดตัวลงตั้งแต่ปี 2010 แต่ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่บริษัทไทยเองออกไปลงทุนที่ต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากศักยภาพของการขยายตัวในประเทศนั้นอ่อนแอ และมีปัญหาหลาย ปัจจัย เช่น การกระจายรายได้ ผลกระทบทางการเมือง ทำให้การบริโภคลดลง สภาพแวดล้อมของการลงทุนในภูมิภาคก็เปลี่ยนไป มีเวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย เริ่มมีการแข่งขันที่ดีขึ้น กอปรกับการที่เตรียมเป็นประชาคมอาเซียนด้วย จึงทำให้บริษัทต่างชาติมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น

ถึงแม้รัฐบาลประชาธิปไตย ก็ไม่มีศักยภาพในการจัดการกับเศรษฐกิจเท่าที่ควร แต่ภายหลังรัฐประหารนั้นย่ำแย่กว่าเดิม แต่ปัจจัย สำคัญคือ รัฐประหารหรือไม่นั้นไม่เกี่ยว แต่อยู่ที่นโยบายที่รัฐบาลนั้นๆ ใช้ ซึ่งนโยบายที่ออกมาก็ไม่ได้ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ สรุปคือ ไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่ได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดการกับภาคเกษตร สิ่งที่ทำไปแล้วคือ การจ่ายเงินเรื่องจำนำข้าว และการช่วยใน ปัจจัยการผลิต แต่ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างแต่อย่างใด ภาคอุตสาหกรรมนั้น เรามีปัญหาในเรื่องของการยกระดับประสิทธิภาพใน การผลิต ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็โทษว่าเป็นปัญหาของรัฐบาลที่แล้ว ทั้งที่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย เปิดโอกาสให้คนเข้าถึงทรัพยากรได้ ง่ายมาก ซึ่งเป็นการส่งเสริมระบบทุนนิยมอย่างยิ่ง แต่เราต้องหานโยบายที่เหมาะสมในการจัดการ ไม่ใช่มัวแต่ขายนโยบายที่จะทำไปแล้ว เช่น เรื่องจัดระเบียบรถตู้

ขณะนี้ ในเรื่องการท่องเที่ยวในอาเซียนเราตกไปอยู่ในอันดับ 3 หรือ 4 เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการท่องเที่ยวอย่างที่ มาเลเซียทำ ซึ่งในมาเลเซียได้มีนโยบาย"มาเลเซีย เซคั่นโฮม" คือให้ชาวต่างชาติมาอยู่ในประเทศ โดยสามารถถือครองทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ได้ แต่มีระยะเวลา เช่น 99 ปี ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากชาวต่างชาติที่มาอาศัยอยู่นั้น ก็ใช้จ่ายภายในประเทศอย่าง เดียว

ด้านนายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ กล่าวว่า ปี 57 เกิดปัญหาเศรษฐกิจจากภายในแน่นอน เพราะประเทศอื่นๆ ในอาเซียนนั้นมีอัตราการ เจริญเติบโตดีขึ้น เช่น ในเมียนมา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เหตุที่ในประเทศไทยมีปัญหาเพราะ รายได้ภาคเกษตรหดตัว ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การบริโภค การลงทุน จึงหายหมด ด้านการท่องเที่ยว ส่งผลกระทบตั้งแต่มีการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งเป็นก่อนช่วงรัฐประหาร และต่อเนื่องมา จนถึงสิ้นปี 2557 ในช่วงต้นปี 2558 นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนถึง19% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด รองลงมาคือ มาเลเซีย 11% ภาคการส่งออกของไทยมีปัญหาเรื่องการขยายตัวมา 3 ปีมาแล้ว ซึ่งไม่ได้ดึงดูดลูกค้าในตลาดโลกเหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้เราส่ง ออกสินค้าที่กลุ่มประเทศ CLMV มากที่สุด รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา แต่การส่งออกสินค้าสู่ประเทศจีน และญี่ปุ่นนั้น ลดลงเป็นอย่างมาก เศรษฐกิจไทยติดกับดักรายได้ปานกลาง เนื่องจากมีปัญหาการเมืองไร้เสถียรภาพ ตั้งแต่ปี 2549 เปลี่ยนนายกฯ กันไปหลายคน คนที่เข้ามาใหม่ ก็ต้องเริ่มทำใหม่ รวมทั้งการที่ขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มานาน สูญเสียความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ระบบการขนส่งพื้นฐานก็ล้าสมัย เกิดการย้ายฐานผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยย้ายไปมากที่สุดที่ประเทศเวียดนาม

สำหรับแนวโน้มในครึ่งปีหลัง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยนั้น ขึ้นอยู่กับการส่งออกเยอะ แต่คาดว่าอัตราการส่งออกไทยไม่น่าฟื้น เนื่อง จากประเทศคู่ค้าสามารถหาสินค้ามาตรฐานเดียวกันในราคาที่ถูกกว่าได้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตไม่ถึง 3%

ส่วนนายอนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวว่า หากเปรียบเทียบเศรษฐกิจไทยก่อน และหลังรัฐประหาร 1 ปี ปัจจัยเรื่องรัฐประหารอย่างเดียว ไม่สามารถใช้อธิบายได้ทั้งหมด โดยการรัฐประหารดูเหมือนจะทำให้ความขัดแย้งหมดลงบ้าง แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ และความขัดแย้ง เชิงโครงสร้าง ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงติดอันดับโลก แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประชาชนไปก่อหนี้ แต่ปัญหาคือ จากรายได้ ทุกคนต้องการ คุณภาพชีวิตที่ดี และปัญหาเรื่องการกระจายความมั่งคั่งเป็นประเด็นสำคัญ ความหวังของเศรษฐกิจไทยในอนาคต อยู่ที่ความมั่นคงของระบบ ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ เพราะจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างยั่งยืน และมีความเป็นธรรม หากใช้ระบบอื่นในอนาคตเศรษฐกิจไทยอาจ ไม่ดีนัก ในอนาคตระบอบประชาธิปไตยจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจดีกว่าระบอบอำนาจนิยมหลายเท่าตัว ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่มีประเทศใดเป็นเผด็จการเลย เสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกทำให้เกิดนวัตกรรม และการสร้างมูลค่าเพิ่ม ประเทศที่มีประชาธิปไตย ในระดับสูง ทำให้มีความเท่าเทียมในเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น ความเท่าเทียมกันของรายได้ โอกาสและการสื่อสาร ทำให้คนในสังคมปรับความ คิดให้ใกล้เคียงกัน ความขัดแย้งจะน้อยลงและเป็นพื้นฐานที่ดีในระบบเศรษฐกิจเช่นในสแกนดิเนเวียและบางประเทศในยุโรป ซึ่งพัฒนาต่อไป เป็นรัฐสวัสดิการ

ขณะที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในวันนี้ดีกว่าปี 2540 และเป็นวิกฤตคนละรูุปแบบ แต่วิกฤตเศรษฐกิจที่เรา เจอครั้งนี้นั้น จะเป็นปัญหาที่เรื้อรังอย่างยาวนาน จากปี 2549 เป็นต้นมา นายกฯ ที่เข้ามาทำหน้าที่มีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งเพียงคนละ1 ปี 5 เดือน ซึ่งภายในระยะเวลาเพียงแค่นี้ ไม่สามารถทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ หากเราไม่สามารถสถาปนารัฐที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ เศรษฐกิจก็จะแย่ลงต่อไปเรื่อยๆ ปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ในอนาคต คือระบบการกระจายอำนาจที่ต้องมีความชัดเจน ต้องมีการกระจายรายได้ที่ท้องถิ่นสามารถบริหารตัวเองได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพึ่งส่วนกลาง รวมถึงการจัดการภาษี และกระบวนการยุติธรรม บางส่วน เมื่อท้องถิ่นไม่ได้ตัดสินใจก็ไม่เกิดการพัฒนาบุคลากร มีบริษัทใหญ่ๆหรือธนาคารที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ต่างจังหวัด ประชาชนก็ไม่ ต้องแห่เข้าไปหางานในกรุงเทพมหานคร ซึ่งการแข่งขันในระบบโลกาภิวัฒน์เราต้องการคนที่มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ การปลูกฝัง ค่านิยม12 ประการ การปลูกฝังความเชื่อต่างๆ ทำให้การพัฒนาบุคลากรและระบบทุนนิยมไทยติดขัด.
กำลังโหลดความคิดเห็น