ASTVผู้จัดการรายวัน – วิกฤติสื่อวิทยุขยับตัวยาก เหตุทีวีดิจิตอลส่งผลกระทบ บวกความคลุมเครือ ต่อการเกิดวิทยุดิจิตอล “แกรมมี่” ชูศักยภาพ ประคองรายได้ปีนี้โต 10% สู่เป้า 720 ล้านบาท ด้าน“ซีเอเอ็มจี” รีแบรนด์จับมือวิทยุชมชน 30 จังหวัด หวังสิ้นปีมีรายได้ 80 ล้านบาท
นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้า ที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม แชนแนล ดิจิตอล ทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ดูแลในส่วนธุรกิจวิทยุ เอไทม์มีเดีย เปิดเผยถึง ธุรกิจสื่อวิทยุว่า สถานการณ์ของสื่อวิทยุในปีนี้ ค่อนข้างทรงตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แค่ทำให้ดีหรือเทียบเท่ากับปีก่อนก็ถือว่าดีเยี่ยมแล้ว ดังนั้นในส่วนของผู้ประกอบการด้านสื่อวิทยุเองจึงยังไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงหรือการลงทุนทำอะไรแต่อย่างใด
ทั้งนี้มองว่าบรรยากาศโดยรวมเองก็ไม่เอื้อต่อการลงทุนเช่นกัน ผลจากนโยบายวิทยุดิจิตอลทีวี ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ และจากสภาพเศรษฐกิจเอง ก็ยังนิ่ง ส่งผลให้สปอนเซอร์และเจ้าของสินค้า นิ่งตามไปด้วย การลงโฆษณาลดลงจากผลกระทบ ที่เกิดจากทีวีดิจิตอล เนื่องจากราคาโฆษณาในสื่อ ทีวีดิจิตอลไม่สูงตามที่ควรจะเป็น อันเกิดจากเรตติ้ง ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นเมื่อราคาโฆษณา ทีวีดิจิตอลไม่แตกต่างจากสื่อวิทยุ สปอนเซอร์ จึงเลือกใช้งบโฆษณาในสื่อทีวีดิจิตอลมากกว่าสื่อวิทยุ ทำให้สื่อวิทยุตกลง
“สื่อวิทยุยังคงเป็นสื่อที่ยังสามารถไปได้อยู่ โดยมองเป็นสื่อที่มีจุดแข็งแตกต่างจากสื่ออื่นๆ คือ เป็นสื่อที่สามารถสร้างความใกล้ชิดกับผู้ฟังและผู้บริโภคได้ดีกว่าสื่ออื่นๆ เช่น ความใกล้ชิดระหว่างดีเจ กับผู้ฟัง ส่งผลให้การทำตลาด ในรูปแบบการจัดทำ กิจกรรมผ่านสื่อวิทยุ จะช่วยในการเข้าถึงกลุ่มคนฟัง และกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่ออื่นๆ ดังนั้นแม้ว่าใน สถานการณ์ปัจจุบันสื่อวิทยุจะไม่สามารถปรับราคาโฆษณาขึ้นได้ก็ตาม แต่หากรู้จักใช้จุดแข็งให้ เป็นประโยชน์ ชูอีเวนต์เป็นตัวนำการขายโฆษณา สร้างแพกเกจการขายโฆษณาใหม่ ถือเป็นส่วน สำคัญที่จะยังทำให้มีรายได้โฆษณาเพิ่มขึ้น” นางสายทิพย์ กล่าว
สำหรับเอไทม์ มีเดีย ปัจจุบันมีคลื่นวิทยุอยู่ 3 คลื่น คือ 1.กรีนเวฟ 106.5 เป็นคลื่นวิทยุที่ทำรายได้สูงสุด อยู่ที่ 60% 2.Chill89 ทำรายได้ 20% และ 3.EFM94 ทำรายได้ที่ 20% เช่นกัน ทั้งนี้เมื่อเทียบ กับปีก่อนหน้า มองว่ารายได้รวมวิทยุในปีนี้น่า จะยังคงมีอัตราการเติบโตได้อีก 10% หรือมีมูลค่าที่ 720 ล้านบาท
ด้านนายสกนธ์ เจียมบรรจง ประธานกรรมการ บริษัท ซี เอ เอ็ม จี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารคลื่นวิทยุ 103 FM กล่าวว่า ในส่วนของคลื่น 103 ไลค์ เอฟเอ็ม จะมีการรีแบรนด์ดิ้งเปลี่ยนชื่อเป็น เอฟเอ็ม 103 ไลค์ แซทเทิลไลท์ โดยหลังจากนี้จะมีการ ร่วมมือกับวิทยุท้องถิ่น 30 จังหวัดภายในปีนี้ ในการนำคลื่นเอฟเอ็ม 103 ไลค์ฯ ไปออกอากาศ ซึ่งขณะนี้เจรจาเรียบร้อยแล้ว 17 จังหวัด ถึงสิ้นปีน่า จะครบทั้ง 30 จังหวัด
โดยในปีหน้าเชื่อว่าจะครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศ เชื่อว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการขายโฆษณา ให้กับลูกค้า จากเดิมจำกัดแค่ในกทม. หลังจากนี้จะ สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้ทั้งประเทศ ส่งผลให้มั่นใจว่า สิ้นปีนี้น่าจะมีรายได้จากวิทยุกว่า 80 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ซี เอ เอ็ม จีฯ เป็นบริษัทของกลุ่ม ทุนจีนด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ในธุรกิจสื่อวิทยุและทีวี โดยการลงทุนในประเทศไทยยังพร้อมที่จะเพิ่มคลื่นวิทยุเข้ามาอีกอย่างน้อย 1 คลื่น ซึ่งขณะนี้กำลัง มองดูโอกาสอยู่ ซึ่งเริ่มมีการติดต่อเข้ามาบ้างแล้ว เช่นกัน โดยโอกาสในการทำคลื่นวิทยุใหม่ครั้งนี้ สนใจที่จะทำเป็นคลื่นลูกทุ่ง หรือคลื่นเพลงสำหรับ คนจีนที่อยู่ในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ต้องดูจังหวะและ นโยบายต่างๆของทางภาครัฐที่จะออกมาด้วย
นายสกนธ์ กล่าวด้วยว่า การจัดสรรคลื่นวิทยุในการ ขอสัมปทานคลื่นวิทยุของไทย ถือว่าเป็นระบบ และมีระยะเวลาสั้นสุดในเอเชีย กับการต่อสัญญา สัมปทานทุกๆ 2 ปี ส่งผลให้ธุรกิจสื่อวิทยุในไทย อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือลงทุนเกิดขึ้นได้น้อย รายเก่าเริ่มถอดใจลดจำนวนคลื่นลง ถึงแม้ในปีนี้ จะเห็นผู้เล่นรายใหม่เข้ามา อย่าง โมโน กับคลื่น 91.5 FM ก็ตาม แต่มองว่าเป็นการต่อยอดธุรกิจ เดิมมากกว่าที่จะเข้ามารุกในธุรกิจนี้อย่างจริงจัง แต่สำหรับซี เอ เอ็ม จี ยังคงวางตัวเองเป็นผู้เล่นใน สื่อวิทยุเป็นหลัก และพร้อมมองหาโอกาสในการ เติบโตในธุรกิจนี้ต่อไป
นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้า ที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม แชนแนล ดิจิตอล ทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ดูแลในส่วนธุรกิจวิทยุ เอไทม์มีเดีย เปิดเผยถึง ธุรกิจสื่อวิทยุว่า สถานการณ์ของสื่อวิทยุในปีนี้ ค่อนข้างทรงตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แค่ทำให้ดีหรือเทียบเท่ากับปีก่อนก็ถือว่าดีเยี่ยมแล้ว ดังนั้นในส่วนของผู้ประกอบการด้านสื่อวิทยุเองจึงยังไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงหรือการลงทุนทำอะไรแต่อย่างใด
ทั้งนี้มองว่าบรรยากาศโดยรวมเองก็ไม่เอื้อต่อการลงทุนเช่นกัน ผลจากนโยบายวิทยุดิจิตอลทีวี ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ และจากสภาพเศรษฐกิจเอง ก็ยังนิ่ง ส่งผลให้สปอนเซอร์และเจ้าของสินค้า นิ่งตามไปด้วย การลงโฆษณาลดลงจากผลกระทบ ที่เกิดจากทีวีดิจิตอล เนื่องจากราคาโฆษณาในสื่อ ทีวีดิจิตอลไม่สูงตามที่ควรจะเป็น อันเกิดจากเรตติ้ง ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นเมื่อราคาโฆษณา ทีวีดิจิตอลไม่แตกต่างจากสื่อวิทยุ สปอนเซอร์ จึงเลือกใช้งบโฆษณาในสื่อทีวีดิจิตอลมากกว่าสื่อวิทยุ ทำให้สื่อวิทยุตกลง
“สื่อวิทยุยังคงเป็นสื่อที่ยังสามารถไปได้อยู่ โดยมองเป็นสื่อที่มีจุดแข็งแตกต่างจากสื่ออื่นๆ คือ เป็นสื่อที่สามารถสร้างความใกล้ชิดกับผู้ฟังและผู้บริโภคได้ดีกว่าสื่ออื่นๆ เช่น ความใกล้ชิดระหว่างดีเจ กับผู้ฟัง ส่งผลให้การทำตลาด ในรูปแบบการจัดทำ กิจกรรมผ่านสื่อวิทยุ จะช่วยในการเข้าถึงกลุ่มคนฟัง และกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่ออื่นๆ ดังนั้นแม้ว่าใน สถานการณ์ปัจจุบันสื่อวิทยุจะไม่สามารถปรับราคาโฆษณาขึ้นได้ก็ตาม แต่หากรู้จักใช้จุดแข็งให้ เป็นประโยชน์ ชูอีเวนต์เป็นตัวนำการขายโฆษณา สร้างแพกเกจการขายโฆษณาใหม่ ถือเป็นส่วน สำคัญที่จะยังทำให้มีรายได้โฆษณาเพิ่มขึ้น” นางสายทิพย์ กล่าว
สำหรับเอไทม์ มีเดีย ปัจจุบันมีคลื่นวิทยุอยู่ 3 คลื่น คือ 1.กรีนเวฟ 106.5 เป็นคลื่นวิทยุที่ทำรายได้สูงสุด อยู่ที่ 60% 2.Chill89 ทำรายได้ 20% และ 3.EFM94 ทำรายได้ที่ 20% เช่นกัน ทั้งนี้เมื่อเทียบ กับปีก่อนหน้า มองว่ารายได้รวมวิทยุในปีนี้น่า จะยังคงมีอัตราการเติบโตได้อีก 10% หรือมีมูลค่าที่ 720 ล้านบาท
ด้านนายสกนธ์ เจียมบรรจง ประธานกรรมการ บริษัท ซี เอ เอ็ม จี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารคลื่นวิทยุ 103 FM กล่าวว่า ในส่วนของคลื่น 103 ไลค์ เอฟเอ็ม จะมีการรีแบรนด์ดิ้งเปลี่ยนชื่อเป็น เอฟเอ็ม 103 ไลค์ แซทเทิลไลท์ โดยหลังจากนี้จะมีการ ร่วมมือกับวิทยุท้องถิ่น 30 จังหวัดภายในปีนี้ ในการนำคลื่นเอฟเอ็ม 103 ไลค์ฯ ไปออกอากาศ ซึ่งขณะนี้เจรจาเรียบร้อยแล้ว 17 จังหวัด ถึงสิ้นปีน่า จะครบทั้ง 30 จังหวัด
โดยในปีหน้าเชื่อว่าจะครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศ เชื่อว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการขายโฆษณา ให้กับลูกค้า จากเดิมจำกัดแค่ในกทม. หลังจากนี้จะ สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้ทั้งประเทศ ส่งผลให้มั่นใจว่า สิ้นปีนี้น่าจะมีรายได้จากวิทยุกว่า 80 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ซี เอ เอ็ม จีฯ เป็นบริษัทของกลุ่ม ทุนจีนด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ในธุรกิจสื่อวิทยุและทีวี โดยการลงทุนในประเทศไทยยังพร้อมที่จะเพิ่มคลื่นวิทยุเข้ามาอีกอย่างน้อย 1 คลื่น ซึ่งขณะนี้กำลัง มองดูโอกาสอยู่ ซึ่งเริ่มมีการติดต่อเข้ามาบ้างแล้ว เช่นกัน โดยโอกาสในการทำคลื่นวิทยุใหม่ครั้งนี้ สนใจที่จะทำเป็นคลื่นลูกทุ่ง หรือคลื่นเพลงสำหรับ คนจีนที่อยู่ในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ต้องดูจังหวะและ นโยบายต่างๆของทางภาครัฐที่จะออกมาด้วย
นายสกนธ์ กล่าวด้วยว่า การจัดสรรคลื่นวิทยุในการ ขอสัมปทานคลื่นวิทยุของไทย ถือว่าเป็นระบบ และมีระยะเวลาสั้นสุดในเอเชีย กับการต่อสัญญา สัมปทานทุกๆ 2 ปี ส่งผลให้ธุรกิจสื่อวิทยุในไทย อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือลงทุนเกิดขึ้นได้น้อย รายเก่าเริ่มถอดใจลดจำนวนคลื่นลง ถึงแม้ในปีนี้ จะเห็นผู้เล่นรายใหม่เข้ามา อย่าง โมโน กับคลื่น 91.5 FM ก็ตาม แต่มองว่าเป็นการต่อยอดธุรกิจ เดิมมากกว่าที่จะเข้ามารุกในธุรกิจนี้อย่างจริงจัง แต่สำหรับซี เอ เอ็ม จี ยังคงวางตัวเองเป็นผู้เล่นใน สื่อวิทยุเป็นหลัก และพร้อมมองหาโอกาสในการ เติบโตในธุรกิจนี้ต่อไป