ในขณะที่ประเทศไทยได้วางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นอีก 9 โรงในอีก 21 ปีข้างหน้าตามแผนพีดีพี 2015 (ซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ) แต่จังหวัดออนตาริโอ (Ontario) ซึ่งมีประชากรเกือบ 40% ของประเทศแคนาดากลับได้ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดอย่างถาวรตั้งแต่สิ้นปี 2557 เป็นต้นมา
นับเป็นเขตการปกครองแรกในทวีปอเมริกาเหนือที่ปราศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินไปแล้ว (และน่าจะเป็นเขตปกครองแรกในโลกด้วย) เขาคิดอะไร และเขาทำได้อย่างไร แล้วทำไมประเทศไทยเราจึงมักจะทำอะไรที่สวนทางกับประเทศที่เขาพัฒนาแล้วอยู่เสมอๆ
“มันไม่ใช่กรรม ไม่ใช่เวรเลยหรอกเธอจ๋า” แต่มันเป็นเพราะส่วนหนึ่งภาคประชาชนของเรายังอ่อนแอ ไม่รู้เรื่องรู้ราว และไม่สนใจปัญหาของสาธารณะเท่าที่ควร จึงเปิดโอกาสให้คนหยิบมือเดียวเขียนแผนพัฒนาเพื่อหาผลกำไรเข้าพกเข้าห่อให้พวกพ้องของตนเองเสมอมา โดยอ้างวาทกรรมง่ายๆ ที่ว่า “ถ่านหินสะอาด” เท่านั้นเอง
ผมได้รับข่าวชิ้นนี้จากอีเมลของ Dr. John Farrell จาก Institute for Local Self-Reliance (ILSR สถาบันเพื่อความมั่นใจในตนเองของท้องถิ่น ซึ่งก่อตั้งในปี 2517 ใครสนใจก็สมัครเป็นสมาชิกได้ เขามีบทความทุกสัปดาห์ จะได้ช่วยกันนำมาเผยแพร่ต่อคนไทยครับ)
ผู้ว่าราชการจังหวัดออนตาริโอ (เขาใช้คำว่า Premier of Ontario) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งได้เริ่มวางแผนที่จะยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดตั้งแต่ปี 2003 (ซึ่งขณะนั้นมีโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 25%) ภายในปี 2014 เหตุผลสำคัญก็เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศที่ใหญ่ที่สุด
ในปี 2003 จังหวัดออนตาริโอมีสภาพอากาศที่มีหมอกควันหนาแน่นถึง 53 วันในหนึ่งปี โดยค่อยๆ ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 โรง โดยที่ 4 โรงแรกถูกปลดระวางไปในปี 2005 จนกระทั่งในปี 2013 จำนวนวันที่มีหมอกควันหนาแน่นลดลงเหลือเพียง 2 วันเท่านั้น
“เราจะแทนที่โรงไฟฟ้าที่สกปรก ล้าสมัยและเป็นแหล่งมลพิษทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดด้วยพลังงานที่สะอาดกว่าคือก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนซึ่งได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์” ข้อความดังกล่าวคือส่วนหนึ่งของคำหาเสียงของผู้นำการเลือกตั้งจากพรรคเสรีนิยม (Liberal) คือคุณ DaltanMcGuinty ซึ่งได้ครองตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดติดต่อกันนาน 10 ปีจนถึงมกราคม 2013
ผู้ว่า DaltanMcGuinty ของจังหวัดที่มีประชากรเกือบ 14 ล้านคน ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งไม่นานว่า “ทุกวันนี้ ชาวออนตาริโอทุกคนสามารถหายใจได้ง่ายกว่าเดิมเล็กน้อย”
“วันนี้เราเฉลิมฉลองให้กับอนาคตที่สะอาดกว่าเพื่อรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะได้จากแหล่งพลังงานที่สะอาดกว่าของเรา”รัฐมนตรีพลังงาน Bob Chujiarelli กล่าวกับผู้สื่อข่าว
และเพื่อป้องกันไม่ให้โรงไฟฟ้าถ่านหินกลับมาอีกในอนาคต ทางจังหวัดจึงได้ออกกฎหมายที่ชื่อว่า “Ending Coal for Cleaner Air in Ontario” (อวสานของถ่านหินเพื่อคุณภาพอากาศที่สะอาดกว่าในออนตาริโอ)
ตามแผนการของจังหวัดออนตาริโอได้มีเป้าหมายว่าในปี 2018 จะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 18% ของไฟฟ้าทั้งหมด (โดยที่โรงไฟฟ้าถ่านหินได้ปิดตัวหมดแล้วตั้งแต่ปี 2014) ในขณะที่ในปี 2014 ประเทศเยอรมนีได้ใช้พลังงานหมุนเวียนจนทะลุ 27.3% ไปแล้ว ในจำนวนนี้มาจากพลังงานลมมากที่สุดกว่า 52,400 ล้านหน่วย(หรือเกือบ 1 ใน 3 ของที่คนไทยใช้ทั้งประเทศ)
อย่างไรก็ตาม ทางองค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกมาโวยวายว่า แผนการของจังหวัดออนตาริโอดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อบริษัทต่างชาติ โดยอ้างว่าทางจังหวัดได้จ่ายเงินชดเชยให้กับพลังงานสีเขียว นี่แหละครับองค์กร “โลกบาล” เขาคิดและทำอย่างนี้กัน
แนวคิดที่เป็นจุดเด่นมากของโครงการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินไปสู่พลังงานหมุนเวียน คือ การซื้อพลังงานหมุนเวียนจากท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของจังหวัดแล้ว ยังมีการจ้างงานใหม่เกิดขึ้นกว่า 31,000 อัตราดังภาพที่ผมนำมาแนบไว้ด้วย
ผมขอหยุดเรื่องการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดออนตาริโอ ประเทศแคนาดาเอาไว้เพียงเท่านี้นะครับ แค่นี้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยเราได้มากมายแล้ว เรามาดูแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือแผนพีดีพี 2015 ของประเทศไทยเรากันสักหน่อยนะครับ
ความแตกต่างที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือในขณะที่ชาวจังหวัดออนตาริโอได้วางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด 19 โรงภายในเวลา 11-12 ปี แต่ประเทศไทยเรากำลังวางแผนที่จะสร้างเพิ่มขึ้นอีกถึง 9 โรง โดยแต่ละโรงจะมีอายุการใช้งานไปนานถึง 30 ปีเป็นอย่างน้อย ดังนั้น นับจากนี้ไปประมาณ 50-60 ปีประเทศไทยเราจะยังไม่ปลอดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทั้งๆ ที่ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนได้ลดต่ำลงมากแล้ว และเป็นพลังงานที่ไม่เป็นพิษกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าในระดับพื้นที่รอบๆ โรงไฟฟ้าและระดับโลก
ผมได้ตั้งข้อสังเกตไว้ 2 ข้อ (ในแผ่นภาพ) คือ
(1) ทั้งๆ ที่แผนดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติได้มีข้อผูกพันไว้เรียบร้อยแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร แต่ผมเข้าใจเอาเองว่าเป็นการทำสัญญาเอาไว้แล้ว แต่ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกไป เพราะขณะนี้เรามีปริมาณสำรองสูงกว่าที่ควรจะเป็นเยอะมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแผนพีดีพีที่ผ่านๆ มามีการคาดการณ์ที่สูงเกินความจริงมาตลอด (หมายเหตุ เท่าที่ผมทราบ ไม่ว่าสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และแคนาดามีการใช้ไฟฟ้าลดลง เพราะประชาชนรู้จักการประหยัด)
ผมได้ลงพื้นที่ไปกับคณะอนุกรรมาธิการพลังงานทดแทนฯ ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ พบว่าในภาคอีสาน ผู้ผลิตไฟฟ้าจากไบโอก๊าซไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายได้ เพราะสายส่งเต็ม
(2) พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานที่ประชาชนธรรมดาๆ ที่มีบ้านสามารถผลิตเพื่อใช้เอง ถ้ามีส่วนที่เหลือใช้ก็ขายสู่สายส่ง ก็ไม่สามารถทำได้
นอกจากนี้ก็ยังถูกเลื่อนไปอีก 10 ปีกว่าจะเปิดโอกาสให้ และเมื่อเปิดโอกาสแล้วก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้เฉพาะนายทุนใหญ่ที่เป็นโซลาร์ฟาร์ม
ผมเคยเล่าครั้งหนึ่งแล้วว่า คุณกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศได้กล่าวที่มหาวิทยาลัยรังสิต (7 พ.ค.58) ว่า บริษัทธุรกิจเหมืองถ่านหินของไทยซึ่งไปมีสัมปทานเหมืองในต่างประเทศ กำลังไปลงทุนทำโซลาร์เซลล์ในญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าบ้านเรา แต่ไม่ทำในเมืองไทยด้วยเหตุผลที่ท่านกษิตพูดว่า “เป็นที่รู้กันดีถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ…” (ขอโทษผมจับความไม่ทันจริงๆ จึงไม่กล้าเขียน ทั้งๆ ที่รู้ความหมาย)
มาวันนี้ เราได้ทราบแล้วนะครับว่าส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะแผนพีดีพี 2015 นี่เอง และถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดได้ในเมืองไทย ก็บริษัทนี้นั่นแหละที่จะนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศมาใช้เมืองไทย
ผมขอสรุปบทความนี้ด้วยการเสนอภาพ “สามเหลี่ยมอันตราย (Toxic Triangle)” ซึ่งสะท้อนสถานการณ์พลังงานในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และแผนพีดีพี 2015
สามเหลี่ยมอันตรายประกอบด้วย 3 ด้าน ด้านแรกเพราะผู้วางแผนเห็นแก่ผลประโยชน์ระยะสั้น ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านอื่นๆ ไม่ว่าการท่องเที่ยว การประมง และสภาวะโลกร้อน ด้านที่สองเพราะผู้สนับสนุนพลังงานฟอสซิลเพียงเพราะหวังผลกำไรของตนเองเท่านั้น ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนได้ก้าวหน้าและมีต้นทุนที่ถูกลงมาก ด้านที่สามเป็นความเฉื่อยชาทางการเมืองของผู้บริหารประเทศ ที่เลือกรับฟังแต่เพียงบางกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ปฏิเสธเสียงของประชาชนซึ่งมีเหตุผลและมีตัวอย่างดีๆ ที่เป็นจริง เช่น กรณีจังหวัดออนตาริโอ เป็นต้น
นับเป็นเขตการปกครองแรกในทวีปอเมริกาเหนือที่ปราศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินไปแล้ว (และน่าจะเป็นเขตปกครองแรกในโลกด้วย) เขาคิดอะไร และเขาทำได้อย่างไร แล้วทำไมประเทศไทยเราจึงมักจะทำอะไรที่สวนทางกับประเทศที่เขาพัฒนาแล้วอยู่เสมอๆ
“มันไม่ใช่กรรม ไม่ใช่เวรเลยหรอกเธอจ๋า” แต่มันเป็นเพราะส่วนหนึ่งภาคประชาชนของเรายังอ่อนแอ ไม่รู้เรื่องรู้ราว และไม่สนใจปัญหาของสาธารณะเท่าที่ควร จึงเปิดโอกาสให้คนหยิบมือเดียวเขียนแผนพัฒนาเพื่อหาผลกำไรเข้าพกเข้าห่อให้พวกพ้องของตนเองเสมอมา โดยอ้างวาทกรรมง่ายๆ ที่ว่า “ถ่านหินสะอาด” เท่านั้นเอง
ผมได้รับข่าวชิ้นนี้จากอีเมลของ Dr. John Farrell จาก Institute for Local Self-Reliance (ILSR สถาบันเพื่อความมั่นใจในตนเองของท้องถิ่น ซึ่งก่อตั้งในปี 2517 ใครสนใจก็สมัครเป็นสมาชิกได้ เขามีบทความทุกสัปดาห์ จะได้ช่วยกันนำมาเผยแพร่ต่อคนไทยครับ)
ผู้ว่าราชการจังหวัดออนตาริโอ (เขาใช้คำว่า Premier of Ontario) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งได้เริ่มวางแผนที่จะยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดตั้งแต่ปี 2003 (ซึ่งขณะนั้นมีโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 25%) ภายในปี 2014 เหตุผลสำคัญก็เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศที่ใหญ่ที่สุด
ในปี 2003 จังหวัดออนตาริโอมีสภาพอากาศที่มีหมอกควันหนาแน่นถึง 53 วันในหนึ่งปี โดยค่อยๆ ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 โรง โดยที่ 4 โรงแรกถูกปลดระวางไปในปี 2005 จนกระทั่งในปี 2013 จำนวนวันที่มีหมอกควันหนาแน่นลดลงเหลือเพียง 2 วันเท่านั้น
“เราจะแทนที่โรงไฟฟ้าที่สกปรก ล้าสมัยและเป็นแหล่งมลพิษทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดด้วยพลังงานที่สะอาดกว่าคือก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนซึ่งได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์” ข้อความดังกล่าวคือส่วนหนึ่งของคำหาเสียงของผู้นำการเลือกตั้งจากพรรคเสรีนิยม (Liberal) คือคุณ DaltanMcGuinty ซึ่งได้ครองตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดติดต่อกันนาน 10 ปีจนถึงมกราคม 2013
ผู้ว่า DaltanMcGuinty ของจังหวัดที่มีประชากรเกือบ 14 ล้านคน ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งไม่นานว่า “ทุกวันนี้ ชาวออนตาริโอทุกคนสามารถหายใจได้ง่ายกว่าเดิมเล็กน้อย”
“วันนี้เราเฉลิมฉลองให้กับอนาคตที่สะอาดกว่าเพื่อรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะได้จากแหล่งพลังงานที่สะอาดกว่าของเรา”รัฐมนตรีพลังงาน Bob Chujiarelli กล่าวกับผู้สื่อข่าว
และเพื่อป้องกันไม่ให้โรงไฟฟ้าถ่านหินกลับมาอีกในอนาคต ทางจังหวัดจึงได้ออกกฎหมายที่ชื่อว่า “Ending Coal for Cleaner Air in Ontario” (อวสานของถ่านหินเพื่อคุณภาพอากาศที่สะอาดกว่าในออนตาริโอ)
ตามแผนการของจังหวัดออนตาริโอได้มีเป้าหมายว่าในปี 2018 จะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 18% ของไฟฟ้าทั้งหมด (โดยที่โรงไฟฟ้าถ่านหินได้ปิดตัวหมดแล้วตั้งแต่ปี 2014) ในขณะที่ในปี 2014 ประเทศเยอรมนีได้ใช้พลังงานหมุนเวียนจนทะลุ 27.3% ไปแล้ว ในจำนวนนี้มาจากพลังงานลมมากที่สุดกว่า 52,400 ล้านหน่วย(หรือเกือบ 1 ใน 3 ของที่คนไทยใช้ทั้งประเทศ)
อย่างไรก็ตาม ทางองค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกมาโวยวายว่า แผนการของจังหวัดออนตาริโอดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อบริษัทต่างชาติ โดยอ้างว่าทางจังหวัดได้จ่ายเงินชดเชยให้กับพลังงานสีเขียว นี่แหละครับองค์กร “โลกบาล” เขาคิดและทำอย่างนี้กัน
แนวคิดที่เป็นจุดเด่นมากของโครงการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินไปสู่พลังงานหมุนเวียน คือ การซื้อพลังงานหมุนเวียนจากท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของจังหวัดแล้ว ยังมีการจ้างงานใหม่เกิดขึ้นกว่า 31,000 อัตราดังภาพที่ผมนำมาแนบไว้ด้วย
ผมขอหยุดเรื่องการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดออนตาริโอ ประเทศแคนาดาเอาไว้เพียงเท่านี้นะครับ แค่นี้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยเราได้มากมายแล้ว เรามาดูแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือแผนพีดีพี 2015 ของประเทศไทยเรากันสักหน่อยนะครับ
ความแตกต่างที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือในขณะที่ชาวจังหวัดออนตาริโอได้วางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด 19 โรงภายในเวลา 11-12 ปี แต่ประเทศไทยเรากำลังวางแผนที่จะสร้างเพิ่มขึ้นอีกถึง 9 โรง โดยแต่ละโรงจะมีอายุการใช้งานไปนานถึง 30 ปีเป็นอย่างน้อย ดังนั้น นับจากนี้ไปประมาณ 50-60 ปีประเทศไทยเราจะยังไม่ปลอดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทั้งๆ ที่ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนได้ลดต่ำลงมากแล้ว และเป็นพลังงานที่ไม่เป็นพิษกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าในระดับพื้นที่รอบๆ โรงไฟฟ้าและระดับโลก
ผมได้ตั้งข้อสังเกตไว้ 2 ข้อ (ในแผ่นภาพ) คือ
(1) ทั้งๆ ที่แผนดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติได้มีข้อผูกพันไว้เรียบร้อยแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร แต่ผมเข้าใจเอาเองว่าเป็นการทำสัญญาเอาไว้แล้ว แต่ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกไป เพราะขณะนี้เรามีปริมาณสำรองสูงกว่าที่ควรจะเป็นเยอะมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแผนพีดีพีที่ผ่านๆ มามีการคาดการณ์ที่สูงเกินความจริงมาตลอด (หมายเหตุ เท่าที่ผมทราบ ไม่ว่าสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และแคนาดามีการใช้ไฟฟ้าลดลง เพราะประชาชนรู้จักการประหยัด)
ผมได้ลงพื้นที่ไปกับคณะอนุกรรมาธิการพลังงานทดแทนฯ ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ พบว่าในภาคอีสาน ผู้ผลิตไฟฟ้าจากไบโอก๊าซไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายได้ เพราะสายส่งเต็ม
(2) พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานที่ประชาชนธรรมดาๆ ที่มีบ้านสามารถผลิตเพื่อใช้เอง ถ้ามีส่วนที่เหลือใช้ก็ขายสู่สายส่ง ก็ไม่สามารถทำได้
นอกจากนี้ก็ยังถูกเลื่อนไปอีก 10 ปีกว่าจะเปิดโอกาสให้ และเมื่อเปิดโอกาสแล้วก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้เฉพาะนายทุนใหญ่ที่เป็นโซลาร์ฟาร์ม
ผมเคยเล่าครั้งหนึ่งแล้วว่า คุณกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศได้กล่าวที่มหาวิทยาลัยรังสิต (7 พ.ค.58) ว่า บริษัทธุรกิจเหมืองถ่านหินของไทยซึ่งไปมีสัมปทานเหมืองในต่างประเทศ กำลังไปลงทุนทำโซลาร์เซลล์ในญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าบ้านเรา แต่ไม่ทำในเมืองไทยด้วยเหตุผลที่ท่านกษิตพูดว่า “เป็นที่รู้กันดีถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ…” (ขอโทษผมจับความไม่ทันจริงๆ จึงไม่กล้าเขียน ทั้งๆ ที่รู้ความหมาย)
มาวันนี้ เราได้ทราบแล้วนะครับว่าส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะแผนพีดีพี 2015 นี่เอง และถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดได้ในเมืองไทย ก็บริษัทนี้นั่นแหละที่จะนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศมาใช้เมืองไทย
ผมขอสรุปบทความนี้ด้วยการเสนอภาพ “สามเหลี่ยมอันตราย (Toxic Triangle)” ซึ่งสะท้อนสถานการณ์พลังงานในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และแผนพีดีพี 2015
สามเหลี่ยมอันตรายประกอบด้วย 3 ด้าน ด้านแรกเพราะผู้วางแผนเห็นแก่ผลประโยชน์ระยะสั้น ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านอื่นๆ ไม่ว่าการท่องเที่ยว การประมง และสภาวะโลกร้อน ด้านที่สองเพราะผู้สนับสนุนพลังงานฟอสซิลเพียงเพราะหวังผลกำไรของตนเองเท่านั้น ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนได้ก้าวหน้าและมีต้นทุนที่ถูกลงมาก ด้านที่สามเป็นความเฉื่อยชาทางการเมืองของผู้บริหารประเทศ ที่เลือกรับฟังแต่เพียงบางกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ปฏิเสธเสียงของประชาชนซึ่งมีเหตุผลและมีตัวอย่างดีๆ ที่เป็นจริง เช่น กรณีจังหวัดออนตาริโอ เป็นต้น