เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (21พ.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “มิติใหม่การศึกษา เดินหน้าประเทศไทย” โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ข้าราชการและบุคลกรให้การต้อนรับ
โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวระหว่างเปิดงานตอนหนึ่ง ว่า ประเทศไทยติดหล่มตัวเองมานานแล้วหลายเรื่อง ซึ่งตนเคยบอกหลายครั้งแล้วว่า สิ่งที่จะแก้ปัญหาได้คือ การศึกษา โดยต้องมีการจัดหมวดหมู่ของปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะครูที่มีความรู้ความสามารถ ในการขับเคลื่อนให้การศึกษาเดินไปข้างหน้า โดยรัฐบาลจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนต่าง ๆ และดูแลกฎหมาย และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาควบคู่ จะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่หากไม่มีการจัดหมวดหมู่ใหม่ งบประมาณที่ได้รับไป ก็จะเป็นเบี้ยหัวแตก การใช้จ่ายงบประมาณก็จะไม่คุ้มค่า ทั้งที่ในแต่ละปีจะได้รับงบประมาณที่สูงมาก
ขณะที่ การส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกล ตามโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวล ที่ผ่านมานั้นสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนครู โรงเรียนขนาดเล็กได้ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และพลังงานไฟฟ้าในหลายพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลกำลังแก้ปัญหาอยู่ และอีกไม่นานก็จะดีขึ้น
ดังนั้น ช่วงนี้ยังต้องพึ่งพาการจัดการศึกษาทางไกลขณะเดียวกันก็จะต้องหาครูเก่ง เข้ามาช่วยเสริมการจัดการเรียนการสอนทางไกลด้วย โดยตนคิดว่า จะให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางเทคโนโลยีของ ศธ. เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนทางไกล เพื่อให้เป็นศูนย์ดูแลนักเรียน ที่อาจจะให้ดูไปถึงเรื่องของการกวดวิชา เป็นทางเลือกให้กับเด็กจะได้ไม่ต้องไปเสียเงินเรียนกวดวิชา เพราะบ้านเรามีทั้งคนรวย คนฐานะปานกลาง และคนยากจน ที่มีถึง 40%ของประชากรทั้งหมด ทั้งจนมาก จนน้อย ที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแล
“นอกจากนั้นยังมีปัญหาการอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ เป็นสิ่งสำคัญ แต่เท่าที่พบปัจจุบันเด็กไทย จะเป็นเด็กที่มีขีดความสามารถ แต่ไม่สามารถคิดต่อได้ เป็นโจทย์ที่เราต้องมาคิดแก้ปัญหา ทำอย่างไรจะสอนให้เด็กคิดเป็น เพราะเด็กสมัยนี้สมาธิสั้น ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบทำอะไรที่ซับซ้อน ไม่รู้อนาคตของตัวเอง ไม่มีระเบียบวินัย ติดความทันสมัย อยากได้โทรศัพท์มือถือ พ่อแม่ก็ต้องไปหาให้ กู้หนี้ยืมสิน เป็นปัญหาให้รัฐบาลต้องมาตามแก้ ดังนั้นจะต้องสอนให้รู้จัดความพอเพียง และประหยัดอดออม” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นอกจากนั้นตนยังได้ย้ำถึงการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ที่จะต้องผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของประเทศ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่จะต้องมีความเชื่อมโยงทั้งระบบ ทั้งการค้า และการลงทุน ส่วนเรื่องของการกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่นก็ต้องทำแผนเป็นระยะ ระยะแรก ให้ท้องถิ่นรับผิดชอบเฉพาะหน้าที่ไปก่อน หากให้ท้องถิ่นรับผิดชอบทั้งหมดในทันที ก็อาจจะมีปัญหาได้ และตอนนี้ครูก็ยังไม่พร้อม ที่สำคัญประเทศไทย อย่าเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป มิฉะนั้นจะมีปัญหาได้
ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ต้องการประชาสัมพันธ์ผลงานที่ผ่านมา และสร้างการรับรู้สู่สังคม เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เห็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถนำไปใช้ ในการเรียนการสอนได้ งานครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เราได้มีวิวัฒนาการรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งหากสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ ก็จะทำให้เด็กได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมแน่นอน
ทั้งนี้ นายกฯ ได้ฝากให้ ศธ.ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตครูให้ดีขึ้น รวมถึงระบบการเรียนการสอนในห้องเรียน เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าสมัยที่นายกฯ ยังเป็นเด็กนักเรียน ดังนั้นการพัฒนาเด็กในยุคปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องทำให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งครูและผู้บริหารจะต้องดูแลเด็กให้ดีด้วยเช่นกัน
“ในปี 2558 นั้นการปฎิรูปการศึกษามีหลายเรื่องที่จะดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น การปฎิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียน การยกระดับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ การพัฒนา เป็นต้น ส่วนประเด็นที่นายกฯเป็นห่วงคุณภาพชีวิตครู โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินครู อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดเป็นมาตรการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งจะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญ เพราะเมื่อครูยังมีหนี้สิ้นอยู่ ก็จะไม่มีกำลังใจในการเตรียมการสอนให้แก่เด็กได้ แต่แน่นอนว่าแม้จะหาหนทางช่วยบรรเทาภาระหนี้สินครูก็จะต้องดูแลและสร้างวินัยการใช้จ่ายเงินด้วย โดยเฉพาะการต้องรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เป็นเรื่องที่นายกฯ ย้ำมาตลอด” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
สำหรับรูปแบบการจัดงาน เป็นนิทรรศการที่บูรณาการงานขององค์กรหลักเข้าด้วยกัน ตามงานสำคัญที่ดำเนินการ ประกอบด้วย 9 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนและการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โซนที่ 2 การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โซนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพครู โซนที่ 4 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล โซนที่ 5 การขยายโอกาสทางการศึกษาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โซนที่ 6 การจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โซนที่ 7 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โซนที่ 8 การจัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริ และโซนที่ 9 การศึกษาเดินหน้าประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเวทีสัมมนาทางวิชาการในห้วงเวลาที่จัดงาน 2 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาแก่ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาและผู้สนใจทั่วไป
โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวระหว่างเปิดงานตอนหนึ่ง ว่า ประเทศไทยติดหล่มตัวเองมานานแล้วหลายเรื่อง ซึ่งตนเคยบอกหลายครั้งแล้วว่า สิ่งที่จะแก้ปัญหาได้คือ การศึกษา โดยต้องมีการจัดหมวดหมู่ของปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะครูที่มีความรู้ความสามารถ ในการขับเคลื่อนให้การศึกษาเดินไปข้างหน้า โดยรัฐบาลจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนต่าง ๆ และดูแลกฎหมาย และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาควบคู่ จะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่หากไม่มีการจัดหมวดหมู่ใหม่ งบประมาณที่ได้รับไป ก็จะเป็นเบี้ยหัวแตก การใช้จ่ายงบประมาณก็จะไม่คุ้มค่า ทั้งที่ในแต่ละปีจะได้รับงบประมาณที่สูงมาก
ขณะที่ การส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกล ตามโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวล ที่ผ่านมานั้นสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนครู โรงเรียนขนาดเล็กได้ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และพลังงานไฟฟ้าในหลายพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลกำลังแก้ปัญหาอยู่ และอีกไม่นานก็จะดีขึ้น
ดังนั้น ช่วงนี้ยังต้องพึ่งพาการจัดการศึกษาทางไกลขณะเดียวกันก็จะต้องหาครูเก่ง เข้ามาช่วยเสริมการจัดการเรียนการสอนทางไกลด้วย โดยตนคิดว่า จะให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางเทคโนโลยีของ ศธ. เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนทางไกล เพื่อให้เป็นศูนย์ดูแลนักเรียน ที่อาจจะให้ดูไปถึงเรื่องของการกวดวิชา เป็นทางเลือกให้กับเด็กจะได้ไม่ต้องไปเสียเงินเรียนกวดวิชา เพราะบ้านเรามีทั้งคนรวย คนฐานะปานกลาง และคนยากจน ที่มีถึง 40%ของประชากรทั้งหมด ทั้งจนมาก จนน้อย ที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแล
“นอกจากนั้นยังมีปัญหาการอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ เป็นสิ่งสำคัญ แต่เท่าที่พบปัจจุบันเด็กไทย จะเป็นเด็กที่มีขีดความสามารถ แต่ไม่สามารถคิดต่อได้ เป็นโจทย์ที่เราต้องมาคิดแก้ปัญหา ทำอย่างไรจะสอนให้เด็กคิดเป็น เพราะเด็กสมัยนี้สมาธิสั้น ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบทำอะไรที่ซับซ้อน ไม่รู้อนาคตของตัวเอง ไม่มีระเบียบวินัย ติดความทันสมัย อยากได้โทรศัพท์มือถือ พ่อแม่ก็ต้องไปหาให้ กู้หนี้ยืมสิน เป็นปัญหาให้รัฐบาลต้องมาตามแก้ ดังนั้นจะต้องสอนให้รู้จัดความพอเพียง และประหยัดอดออม” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นอกจากนั้นตนยังได้ย้ำถึงการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ที่จะต้องผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของประเทศ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่จะต้องมีความเชื่อมโยงทั้งระบบ ทั้งการค้า และการลงทุน ส่วนเรื่องของการกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่นก็ต้องทำแผนเป็นระยะ ระยะแรก ให้ท้องถิ่นรับผิดชอบเฉพาะหน้าที่ไปก่อน หากให้ท้องถิ่นรับผิดชอบทั้งหมดในทันที ก็อาจจะมีปัญหาได้ และตอนนี้ครูก็ยังไม่พร้อม ที่สำคัญประเทศไทย อย่าเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป มิฉะนั้นจะมีปัญหาได้
ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ต้องการประชาสัมพันธ์ผลงานที่ผ่านมา และสร้างการรับรู้สู่สังคม เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เห็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถนำไปใช้ ในการเรียนการสอนได้ งานครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เราได้มีวิวัฒนาการรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งหากสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ ก็จะทำให้เด็กได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมแน่นอน
ทั้งนี้ นายกฯ ได้ฝากให้ ศธ.ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตครูให้ดีขึ้น รวมถึงระบบการเรียนการสอนในห้องเรียน เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าสมัยที่นายกฯ ยังเป็นเด็กนักเรียน ดังนั้นการพัฒนาเด็กในยุคปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องทำให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งครูและผู้บริหารจะต้องดูแลเด็กให้ดีด้วยเช่นกัน
“ในปี 2558 นั้นการปฎิรูปการศึกษามีหลายเรื่องที่จะดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น การปฎิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียน การยกระดับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ การพัฒนา เป็นต้น ส่วนประเด็นที่นายกฯเป็นห่วงคุณภาพชีวิตครู โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินครู อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดเป็นมาตรการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งจะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญ เพราะเมื่อครูยังมีหนี้สิ้นอยู่ ก็จะไม่มีกำลังใจในการเตรียมการสอนให้แก่เด็กได้ แต่แน่นอนว่าแม้จะหาหนทางช่วยบรรเทาภาระหนี้สินครูก็จะต้องดูแลและสร้างวินัยการใช้จ่ายเงินด้วย โดยเฉพาะการต้องรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เป็นเรื่องที่นายกฯ ย้ำมาตลอด” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
สำหรับรูปแบบการจัดงาน เป็นนิทรรศการที่บูรณาการงานขององค์กรหลักเข้าด้วยกัน ตามงานสำคัญที่ดำเนินการ ประกอบด้วย 9 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนและการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โซนที่ 2 การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โซนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพครู โซนที่ 4 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล โซนที่ 5 การขยายโอกาสทางการศึกษาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โซนที่ 6 การจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โซนที่ 7 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โซนที่ 8 การจัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริ และโซนที่ 9 การศึกษาเดินหน้าประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเวทีสัมมนาทางวิชาการในห้วงเวลาที่จัดงาน 2 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาแก่ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาและผู้สนใจทั่วไป