“กมล” ยันปี 58 ใช้ O-Net จบช่วงชั้นแค่ 30% ชี้ควรคงไว้อย่างน้อย 3 ปี ถึงปรับเพิ่ม ปลื้มคะแนน O-Net ป.6 กระเตื้องขึ้นภาพรวมมีเด็กสอบได้เต็ม 100คะแนน รวม 518 คน
วันนี้ (18 มี.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) แถลงข่าวเรื่องผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2557 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ว่า คะแนน O-Net มีความสำคัญอย่างมากต่อการวัดระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศ และยังมีการนำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา การเข้าเรียนต่อในระดับ ม.1 และ ม.4 และนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินจบช่วงชั้นการศึกษาด้วย ที่ผ่านมา สพฐ.ให้ความสำคัญต่อการยกระดับคะแนน O-Net ต่อเนื่อง สำหรับคะแนน O-Net ป.6 ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลนั้นภาพรวม ได้ผลเป็นที่น่าพอใจและมีคะแนนเพิ่มขึ้นกว่าปีการศึกษา 2556 โดยเฉพาะใน5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 42.35 จากเดิม 39.30 แต่หากดูใน 8 กลุ่มสาระฯ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 45.73 จากเดิม 44.81 และนี้มีนักเรียน ป.6 ทั่วประเทศที่ทำคะแนน O-Net เต็ม 100 คะแนน จำนวน 518 คน แบ่งเป็น คะแนนเต็ม 100 คะแนนใน 1 วิชา จำนวน 433 คน และคะแนนเต็ม100 คะแนนมากกว่า 1 วิชา จำนวน 85 คน ส่วนผลคะแนนของเด็ก ม.3 ก็มีคะแนนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
“ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากความทุ่มเทและการทำงานอย่างหนักของ สพฐ. และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศที่ต้องการยกระดับผลคะแนน O-Net ให้สูงขึ้น ส่วนบางกลุ่มสาระฯ ที่ได้คะแนนไม่ถึงค่าเฉลี่ยนั้น ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าการประมวลผลจะอิงคะแนนกลุ่ม เมื่อภาพรวมคะแนนเด็กอยู่ที่กลุ่มใดค่าเฉลี่ยก็จะออกมาในลักษณะนั้น ซึ่งต้องยอมรับว่าเรายังมีปัญหาโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีกว่า 15,000 โรง มีปัญหาขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น ไม่ตรงวิชาเอก ซึ่ง สพฐ. ก็ได้พยายามหาวิธีการที่จะเข้าไปช่วยนักเรียนและครูได้รับการพัฒนา โดยจากนี้ สพฐ. จะไปวิเคราะห์รายเขตพื้นที่เพื่อดูว่าเรามีจุดอ่อน จุดแข็งวิชาใดบ้าง เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาต่อไป เพราะฉะนั้น แม้เราจะมีเด็กเก่งที่ทำคะแนนได้ดีเต็ม 100 คะแนนแต่เราก็จะไม่ทอดทิ้งเด็กกลุ่มอื่นๆ แน่นอน และหวังว่าผู้ที่ได้คะแนน O-Net สูงจะส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจแก่เด็กคนอื่นๆ ต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
นายกมล กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้ากรณีการทบทวนการใช้คะแนน O-Net เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินจบช่วงชั้นระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 นั้น ยังอยู่ระหว่างหารือกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งในหลักทางวิชาการแล้วประเด็นนี้สามารถพูดคุยทำความเช้าใจกันได้และยังมีเวลาอีกพอสมควร เพราะฉะนั้น สพฐ. จะหาหนทางที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด และยืนยันว่าในปีการศึกษา 2558 จะใช้ O-Net ในสัดส่วน 30% ร่วมกับคะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) สัดส่วน 70% แม้ในประกาศ ศธ. จะระบุว่าปีต่อไปจะเพิ่มสัดส่วนคะแนน O-Net เป็น 50% เพราะ สพฐ. มองว่าการเพิ่มสัดส่วนลักษณะนี้เป็นการก้าวกระโดดจนเกินไป เพราะเด็กจะเตรียมตัวไม่ทัน และส่วนตัวมองว่าการเพิ่มสัดส่วน O-Net จบช่วงชั้นนั้นควรจะคงสัดส่วนไว้ที่ 30% ไว้ 3 ปีหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยนประกาศในการเพิ่มสัดส่วนใหม่ ซึ่งไม่ใช้ปรับเพิ่มสัดส่วนทุกปีแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะทำให้เด็กรับภาระหนัก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 มี.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) แถลงข่าวเรื่องผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2557 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ว่า คะแนน O-Net มีความสำคัญอย่างมากต่อการวัดระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศ และยังมีการนำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา การเข้าเรียนต่อในระดับ ม.1 และ ม.4 และนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินจบช่วงชั้นการศึกษาด้วย ที่ผ่านมา สพฐ.ให้ความสำคัญต่อการยกระดับคะแนน O-Net ต่อเนื่อง สำหรับคะแนน O-Net ป.6 ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลนั้นภาพรวม ได้ผลเป็นที่น่าพอใจและมีคะแนนเพิ่มขึ้นกว่าปีการศึกษา 2556 โดยเฉพาะใน5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 42.35 จากเดิม 39.30 แต่หากดูใน 8 กลุ่มสาระฯ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 45.73 จากเดิม 44.81 และนี้มีนักเรียน ป.6 ทั่วประเทศที่ทำคะแนน O-Net เต็ม 100 คะแนน จำนวน 518 คน แบ่งเป็น คะแนนเต็ม 100 คะแนนใน 1 วิชา จำนวน 433 คน และคะแนนเต็ม100 คะแนนมากกว่า 1 วิชา จำนวน 85 คน ส่วนผลคะแนนของเด็ก ม.3 ก็มีคะแนนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
“ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากความทุ่มเทและการทำงานอย่างหนักของ สพฐ. และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศที่ต้องการยกระดับผลคะแนน O-Net ให้สูงขึ้น ส่วนบางกลุ่มสาระฯ ที่ได้คะแนนไม่ถึงค่าเฉลี่ยนั้น ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าการประมวลผลจะอิงคะแนนกลุ่ม เมื่อภาพรวมคะแนนเด็กอยู่ที่กลุ่มใดค่าเฉลี่ยก็จะออกมาในลักษณะนั้น ซึ่งต้องยอมรับว่าเรายังมีปัญหาโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีกว่า 15,000 โรง มีปัญหาขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น ไม่ตรงวิชาเอก ซึ่ง สพฐ. ก็ได้พยายามหาวิธีการที่จะเข้าไปช่วยนักเรียนและครูได้รับการพัฒนา โดยจากนี้ สพฐ. จะไปวิเคราะห์รายเขตพื้นที่เพื่อดูว่าเรามีจุดอ่อน จุดแข็งวิชาใดบ้าง เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาต่อไป เพราะฉะนั้น แม้เราจะมีเด็กเก่งที่ทำคะแนนได้ดีเต็ม 100 คะแนนแต่เราก็จะไม่ทอดทิ้งเด็กกลุ่มอื่นๆ แน่นอน และหวังว่าผู้ที่ได้คะแนน O-Net สูงจะส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจแก่เด็กคนอื่นๆ ต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
นายกมล กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้ากรณีการทบทวนการใช้คะแนน O-Net เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินจบช่วงชั้นระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 นั้น ยังอยู่ระหว่างหารือกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งในหลักทางวิชาการแล้วประเด็นนี้สามารถพูดคุยทำความเช้าใจกันได้และยังมีเวลาอีกพอสมควร เพราะฉะนั้น สพฐ. จะหาหนทางที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด และยืนยันว่าในปีการศึกษา 2558 จะใช้ O-Net ในสัดส่วน 30% ร่วมกับคะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) สัดส่วน 70% แม้ในประกาศ ศธ. จะระบุว่าปีต่อไปจะเพิ่มสัดส่วนคะแนน O-Net เป็น 50% เพราะ สพฐ. มองว่าการเพิ่มสัดส่วนลักษณะนี้เป็นการก้าวกระโดดจนเกินไป เพราะเด็กจะเตรียมตัวไม่ทัน และส่วนตัวมองว่าการเพิ่มสัดส่วน O-Net จบช่วงชั้นนั้นควรจะคงสัดส่วนไว้ที่ 30% ไว้ 3 ปีหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยนประกาศในการเพิ่มสัดส่วนใหม่ ซึ่งไม่ใช้ปรับเพิ่มสัดส่วนทุกปีแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะทำให้เด็กรับภาระหนัก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่