กระทรวงครู โชว์ 6 กลุ่มผลงานรอบ 6 เดือน อาทิ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา - การเรียนรู้ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เพิ่มโอกาส นร. กว่า 1 ล้านคนเข้าถึงการศึกษา พร้อมวางระบบการพัฒนา - ผลิตครู เพื่อแก้ปัญหาครู การจัดการศึกษาทวิภาคี “ณรงค์” ชี้ภาพรวมพอใจการทำงานทุกองค์กร รับไม่กล้าประเมินคะแนนตัวเอง ขอให้คนภายนอกประเมินเหมาะกว่า พร้อมหยอดงานการศึกษาคงไม่สามารถเห็นผลได้ใน 3 - 6 เดือน
วันนี้ (23 เม.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการ ศธ. พร้อมด้วย นายกฤษณพงศ์ กีรติกร พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.แถลงผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลของ ศธ. ในรอบ 6 เดือน ว่า ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ศธ. ได้เร่งแก้ไขปัญหาที่สะสมมายาวควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบการศึกษาระยะยาว โดยยึดตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งสรุปเป็นผลงานของ ศธ. 6 กลุ่มหลัก ดังนี้ กลุ่มที่ 1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ โดยตั้งเป้าในปีการศึกษา 2558 จะเป็นปีปลอดเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีเด็กกว่า 2 หมื่นคน กระจายอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนชายขอบ ที่ยังมีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มาเป็นแบบแจกลูกสะกดคำ เป็นต้น ปรับปรุงหลักสูตรและการทดสอบ บรรจุวิชาประวัติศาสตร์หน้าที่พลเมือง และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการไว้ในหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับช่วงวัย ลดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เหลือ 5 กลุ่มสาระวิชา ให้โรงเรียนลดกิจกรรมที่ดึงครูออกจากห้องเรียนให้เหลือไม่เกิน 10% ของเวลาเรียนทั้งหมด เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ลดความเหลื่อล้ำทางการศึกษา ขยายผลโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีโรงเรียนได้รับประโยชน์แล้ว 15,369 แห่ง ครอบคลุมนักเรียนทั้งสิ้น 1,015,974 คน และกำลังขยายผลเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาได้มากขึ้น กลุ่มที่ 3 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งแก้ปัญหาขาดแคลนครู ผลักดันให้คุรุสภาผ่อนผันให้ผู้ที่จบในสาขาขาดแคลนมาสอบเป็นครูผู้ช่วยได้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การโยกย้ายและการเลื่อนวิทยฐานะ ลดวิธีการประเมินที่ทำให้ครูต้องทิ้งห้องเรียนมาประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กแทน รวมถึงนำโครงการคุรุทายาทกลับมาดำเนินการอีกครั้งเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู และแก้ปัญหาหนี้สินครู โดยดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น ประสานผู้เกี่ยวข้องชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี และให้มีการชำระหนี้เฉพาะเงินต้นเป็นเวลา 3 ปี ระยะปานกลาง ให้ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ภาวะใกล้วิกฤตมียอดค้างชำระมากกว่า 12 เดือน และระยะยาว ช่วยเหลือลูกหนี้ชั้นดี โดยพิจารณาลดดอกเบี้ยและส่งเสริมวินัยททางการเงินเพื่อชีวิตที่ดี
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า กลุ่มที่ 4 การผลิตและพัฒนาคนรองรับการพัฒนาประเทศ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชน จัดการศึกษาทวิภาคี จัดทำโครงการทุนช่างเทคนิคและนักปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ รวมถึงแก้ปัญหาความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยจัดทำหลักสูตรเตรียมอาชีวะ กลุ่มที่ 5 การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ศธ. ให้ความสำคัญโดยดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สนช. และซุปเปอร์บอร์ดด้านการศึกษาที่มีนายกฯ เป็นประธาน โดยให้ความสำคัญกับการปฏิรูปในห้องเรียน จัดทำแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ และกลุ่มที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาเซียนในภูมิภาค 13 แห่ง
“ส่วนตัวผมรู้สึกพอใจกับการทำงานแก้ปัญหาการศึกษาของแต่ละองค์กร และหน่วยงานของ ศธ. ที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังกัด แต่ถ้าให้ผมให้คะแนนตัวเองคงไม่สามารถประเมินได้ คงต้องให้คนภายนอกเป็นผู้ประเมิน แต่ต้องยอมรับว่าการทำงานของ ศธ. ไม่สามารถเห็นผลได้ทันทีภายใน 3 - 6 เดือน เพราะการปฏิรูปการศึกษา ในคราวนี้ ศธ.เน้นปฏิรูปการเรียนรู้จากห้องเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอย่างต่อเนื่อง ต่างจากการปรับโครงสร้างที่จะเห็นผลในทันที แต่เป้าหมายสำคัญสูงสุด.คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นพลเมืองที่มีความรู้ มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความยึดมั่นในสถาบัยชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งทีความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 เม.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการ ศธ. พร้อมด้วย นายกฤษณพงศ์ กีรติกร พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.แถลงผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลของ ศธ. ในรอบ 6 เดือน ว่า ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ศธ. ได้เร่งแก้ไขปัญหาที่สะสมมายาวควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบการศึกษาระยะยาว โดยยึดตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งสรุปเป็นผลงานของ ศธ. 6 กลุ่มหลัก ดังนี้ กลุ่มที่ 1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ โดยตั้งเป้าในปีการศึกษา 2558 จะเป็นปีปลอดเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีเด็กกว่า 2 หมื่นคน กระจายอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนชายขอบ ที่ยังมีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มาเป็นแบบแจกลูกสะกดคำ เป็นต้น ปรับปรุงหลักสูตรและการทดสอบ บรรจุวิชาประวัติศาสตร์หน้าที่พลเมือง และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการไว้ในหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับช่วงวัย ลดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เหลือ 5 กลุ่มสาระวิชา ให้โรงเรียนลดกิจกรรมที่ดึงครูออกจากห้องเรียนให้เหลือไม่เกิน 10% ของเวลาเรียนทั้งหมด เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ลดความเหลื่อล้ำทางการศึกษา ขยายผลโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีโรงเรียนได้รับประโยชน์แล้ว 15,369 แห่ง ครอบคลุมนักเรียนทั้งสิ้น 1,015,974 คน และกำลังขยายผลเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาได้มากขึ้น กลุ่มที่ 3 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งแก้ปัญหาขาดแคลนครู ผลักดันให้คุรุสภาผ่อนผันให้ผู้ที่จบในสาขาขาดแคลนมาสอบเป็นครูผู้ช่วยได้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การโยกย้ายและการเลื่อนวิทยฐานะ ลดวิธีการประเมินที่ทำให้ครูต้องทิ้งห้องเรียนมาประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กแทน รวมถึงนำโครงการคุรุทายาทกลับมาดำเนินการอีกครั้งเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู และแก้ปัญหาหนี้สินครู โดยดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น ประสานผู้เกี่ยวข้องชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี และให้มีการชำระหนี้เฉพาะเงินต้นเป็นเวลา 3 ปี ระยะปานกลาง ให้ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ภาวะใกล้วิกฤตมียอดค้างชำระมากกว่า 12 เดือน และระยะยาว ช่วยเหลือลูกหนี้ชั้นดี โดยพิจารณาลดดอกเบี้ยและส่งเสริมวินัยททางการเงินเพื่อชีวิตที่ดี
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า กลุ่มที่ 4 การผลิตและพัฒนาคนรองรับการพัฒนาประเทศ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชน จัดการศึกษาทวิภาคี จัดทำโครงการทุนช่างเทคนิคและนักปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ รวมถึงแก้ปัญหาความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยจัดทำหลักสูตรเตรียมอาชีวะ กลุ่มที่ 5 การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ศธ. ให้ความสำคัญโดยดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สนช. และซุปเปอร์บอร์ดด้านการศึกษาที่มีนายกฯ เป็นประธาน โดยให้ความสำคัญกับการปฏิรูปในห้องเรียน จัดทำแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ และกลุ่มที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาเซียนในภูมิภาค 13 แห่ง
“ส่วนตัวผมรู้สึกพอใจกับการทำงานแก้ปัญหาการศึกษาของแต่ละองค์กร และหน่วยงานของ ศธ. ที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังกัด แต่ถ้าให้ผมให้คะแนนตัวเองคงไม่สามารถประเมินได้ คงต้องให้คนภายนอกเป็นผู้ประเมิน แต่ต้องยอมรับว่าการทำงานของ ศธ. ไม่สามารถเห็นผลได้ทันทีภายใน 3 - 6 เดือน เพราะการปฏิรูปการศึกษา ในคราวนี้ ศธ.เน้นปฏิรูปการเรียนรู้จากห้องเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอย่างต่อเนื่อง ต่างจากการปรับโครงสร้างที่จะเห็นผลในทันที แต่เป้าหมายสำคัญสูงสุด.คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นพลเมืองที่มีความรู้ มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความยึดมั่นในสถาบัยชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งทีความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่