00 ในสัปดาห์หน้า วันที่ 22 พ.ค.58 ก็จะครบอายุ 1 ปี ของการเข้ามายึดอำนาจการปกครองของ คสช. ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และกว่า 6 เดือนของรัฐบาล ที่มีผู้นำเป็นคนเดียวกัน ระยะเวลาแบบนี้มันก็ถึงเวลาที่จะต้องมีการตรวจสอบไล่เรียงกันได้เสียทีแล้วว่า "มีผลงานอยู่ในระดับใด" กันแน่ ของจริงหรือของปลอม หรือเข้ามาเพื่อบังคับคนอื่น แล้วตัวเองขอมีอำนาจไปวันๆ หรือเปล่า ก็ต้องมาตั้งสติ มานั่งทบทวนพิจารณากันว่าเป็นแบบใด กันแน่
00 สำหรับ ผลงาน 1 ปีของคสช. แน่นอนว่าในระยะหลังอาจจะไม่ชัดเจนนัก เมื่อเทียบกันในช่วงแรกๆ ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ เพราะในระยะหลังเป็นการใช้อำนาจผ่านทางรัฐบาลเสียมากกว่า ในลักษณะที่ทับซ้อนกัน แต่ถ้าจะพูด ก็ต้องพิจารณาแบบควบอำนาจ และต้องเริ่มจากระดับผู้นำลงมาเพียงไม่กี่คน นั่นคือ ต้องเริ่มจาก หัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ถือว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จ ในเรื่องผลงานเฉพาะตัว ก็ต้องยอมรับว่าโดดเด่นเหนือคนอื่น จนเรียกได้ว่า ทิ้งระยะห่างจากทีมงานร่วมคณะเดียวกัน "หลายช่วงตัว" จนกลายเป็นว่า ระยะหลังจะ "เหนื่อยอยู่คนเดียว"
00 หันมาพิจารณาแบบต่อเนื่อง ในฐานะเป็นรัฐบาลกันบ้าง เมื่อนับเวลาแล้วก็ผ่านมา 6 เดือนกว่า ทุกอย่างก็น่าจะเริ่มเห็นหน้าเห็นหลังกันบ้างแล้ว ก็ออกมาในแบบเดียวกันคือ คนที่มีผลงาน ทำงานกระฉับกระเฉง มีเพียง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่คนเดียว ส่วนรมต.คนอื่นที่เหลือ หากจะพอจดจำชื่อได้ ก็อาจจะมี รองนายกฯ ด้านความมั่นคง และ รมว.กลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เท่านั้น มีรมว.ยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ที่ระยะหลังเริ่มมีผลงาน มีแนวคิดที่พอจับต้องได้ อาจจะมี รมว.ต่างประเทศ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ที่พยายามสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รมว.ท่องเที่ยวฯ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ส่วนรมต.คนอื่น นอกจากเป็นข่าวคราวเพราะตำแหน่งหน้าที่แล้ว ส่วนผลงานความคิดริเริ่ม แทบจะมองไม่เห็น และยังมีรมต.อีกหลายคน "มีเหมือนไม่มี" แทบจะไม่มีประโยชน์ อย่าว่าแต่ผลงานเลย เอาแค่เคยโผล่หน้าออกมาให้เห็นบ้างก็แทบไม่มี ทำงานไม่ต่างจากข้าราชการประจำ แบบ "ไปเช้าเย็นกลับ" พูดแบบนี้เดี๋ยวก็โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงกันอีก แต่ขอถามสักคำว่า จริงหรือเปล่าล่ะ !!
00 ในที่สุดก็เป็นไปตามคาดหมายมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า รธน.ฉบับใหม่ จะต้องมีการทำประชามติแน่นอน เพราะสร้างความชอบธรรม และเป็นเกราะป้องกันเอาไว้สักชั้นหนึ่ง อ้างได้ว่าประชาชนได้อนุมัติมาให้แล้ว และที่สำคัญไว้ป้องกันพวกนักการเมืองไม่ให้สร้างเงื่อนไขป่วนลงได้ในระดับหนึ่ง ตามขั้นตอนหลังจากที่ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ลงนามในหนังสือเสนอทำประชามติแล้ว จะเสนอไปยังรัฐบาล และ คสช. ว่าจะให้ลงมติกันแบบไหน และก็กระจ่างกันเลยว่า จะมีการเลือกตั้งในราวปลายปีหน้า แต่ถ้ารธน.ไม่ผ่าน หรือถูกคว่ำใน สปช. ก็ต้องนับหนึ่งใหม่ ใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 1-2 ปี !!
00 ที่น่าดีใจก็คือ เมื่อได้ฟังคำตอบจาก รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ที่ปฏิเสธข้อเสนอของสปช.บางกลุ่ม ที่ให้มีการต่ออายุการปฏิรูปอีก 2 ปี โดยให้กำหนดในรธน.ไปเลย ก็โชคดีที่ไหวตัวทัน ไม่เช่นนั้นเละแน่ ที่เละ เพราะมันจะทำให้เรื่องอื่นที่เริ่มตั้งไข่ จะถูกบิดเบือนเจตนาให้เข้าใจผิดแบบเหมารวมว่า "บ้าอำนาจ" และสุดท้ายก็จบไม่สวย !!
00 สำหรับ ผลงาน 1 ปีของคสช. แน่นอนว่าในระยะหลังอาจจะไม่ชัดเจนนัก เมื่อเทียบกันในช่วงแรกๆ ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ เพราะในระยะหลังเป็นการใช้อำนาจผ่านทางรัฐบาลเสียมากกว่า ในลักษณะที่ทับซ้อนกัน แต่ถ้าจะพูด ก็ต้องพิจารณาแบบควบอำนาจ และต้องเริ่มจากระดับผู้นำลงมาเพียงไม่กี่คน นั่นคือ ต้องเริ่มจาก หัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ถือว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จ ในเรื่องผลงานเฉพาะตัว ก็ต้องยอมรับว่าโดดเด่นเหนือคนอื่น จนเรียกได้ว่า ทิ้งระยะห่างจากทีมงานร่วมคณะเดียวกัน "หลายช่วงตัว" จนกลายเป็นว่า ระยะหลังจะ "เหนื่อยอยู่คนเดียว"
00 หันมาพิจารณาแบบต่อเนื่อง ในฐานะเป็นรัฐบาลกันบ้าง เมื่อนับเวลาแล้วก็ผ่านมา 6 เดือนกว่า ทุกอย่างก็น่าจะเริ่มเห็นหน้าเห็นหลังกันบ้างแล้ว ก็ออกมาในแบบเดียวกันคือ คนที่มีผลงาน ทำงานกระฉับกระเฉง มีเพียง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่คนเดียว ส่วนรมต.คนอื่นที่เหลือ หากจะพอจดจำชื่อได้ ก็อาจจะมี รองนายกฯ ด้านความมั่นคง และ รมว.กลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เท่านั้น มีรมว.ยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ที่ระยะหลังเริ่มมีผลงาน มีแนวคิดที่พอจับต้องได้ อาจจะมี รมว.ต่างประเทศ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ที่พยายามสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รมว.ท่องเที่ยวฯ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ส่วนรมต.คนอื่น นอกจากเป็นข่าวคราวเพราะตำแหน่งหน้าที่แล้ว ส่วนผลงานความคิดริเริ่ม แทบจะมองไม่เห็น และยังมีรมต.อีกหลายคน "มีเหมือนไม่มี" แทบจะไม่มีประโยชน์ อย่าว่าแต่ผลงานเลย เอาแค่เคยโผล่หน้าออกมาให้เห็นบ้างก็แทบไม่มี ทำงานไม่ต่างจากข้าราชการประจำ แบบ "ไปเช้าเย็นกลับ" พูดแบบนี้เดี๋ยวก็โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงกันอีก แต่ขอถามสักคำว่า จริงหรือเปล่าล่ะ !!
00 ในที่สุดก็เป็นไปตามคาดหมายมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า รธน.ฉบับใหม่ จะต้องมีการทำประชามติแน่นอน เพราะสร้างความชอบธรรม และเป็นเกราะป้องกันเอาไว้สักชั้นหนึ่ง อ้างได้ว่าประชาชนได้อนุมัติมาให้แล้ว และที่สำคัญไว้ป้องกันพวกนักการเมืองไม่ให้สร้างเงื่อนไขป่วนลงได้ในระดับหนึ่ง ตามขั้นตอนหลังจากที่ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ลงนามในหนังสือเสนอทำประชามติแล้ว จะเสนอไปยังรัฐบาล และ คสช. ว่าจะให้ลงมติกันแบบไหน และก็กระจ่างกันเลยว่า จะมีการเลือกตั้งในราวปลายปีหน้า แต่ถ้ารธน.ไม่ผ่าน หรือถูกคว่ำใน สปช. ก็ต้องนับหนึ่งใหม่ ใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 1-2 ปี !!
00 ที่น่าดีใจก็คือ เมื่อได้ฟังคำตอบจาก รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ที่ปฏิเสธข้อเสนอของสปช.บางกลุ่ม ที่ให้มีการต่ออายุการปฏิรูปอีก 2 ปี โดยให้กำหนดในรธน.ไปเลย ก็โชคดีที่ไหวตัวทัน ไม่เช่นนั้นเละแน่ ที่เละ เพราะมันจะทำให้เรื่องอื่นที่เริ่มตั้งไข่ จะถูกบิดเบือนเจตนาให้เข้าใจผิดแบบเหมารวมว่า "บ้าอำนาจ" และสุดท้ายก็จบไม่สวย !!