เมื่อเดือนที่แล้ว องค์กรเอกชนชื่อ GRAIN พิมพ์รายงานเกี่ยวกับที่ดินออกมา โดยเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ว่า 2 ใน 3 ของที่ดินเพื่อการเกษตรในย่านเอเชียแปซิฟิกอยู่ในกำมือของผู้ถือครองที่ดินเพียง 6% เท่านั้น ชาวไร่ชาวนาสูญเสียที่ดินให้แก่ผู้ถือครองขนาดใหญ่เพราะนโยบายของรัฐเอื้อให้เกิดขึ้น สภาพเช่นนี้มีผลร้ายต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบการผลิตอาหารที่วางอยู่บนฐานของการทำกสิกรรมขนาดย่อมในชุมชน ในส่วนที่เกี่ยวกับเมืองไทย รายงานบ่งว่า นโยบายของรัฐบาลไทยไม่เปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลา 40 ปี อย่างไรก็ดี แผนแม่บทของการใช้พื้นที่ป่าซึ่งคลอดออกมาเมื่อปีที่แล้วยังเปิดโอกาสให้เอกชนขอสัมปทานเพื่อทำสวนป่าได้ นั่นหมายความว่า ชาวไร่ชาวนาที่ทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อนอาจถูกขับไล่ออกไปเพื่อเอื้อให้บริษัทซึ่งอาจเป็นจำพวกข้ามชาติและเศรษฐีใช้พื้นที่ป่าปลูกพืชเชิงเดี่ยว
ผมนำรายงานมาปันกันในสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กพร้อมกับความเห็นสั้น ๆ ว่า ชาวไร่ชาวนาสูญเสียที่ดินทำกินเพราะนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งเสริมให้กู้หนี้ยืมสิน ชาวไร่ชาวนานำที่ดินไปวางเป็นหลักประกัน ที่ดินนั้นมีโอกาสถูกยึดและไปตกอยู่ในมือของเศรษฐีสูง สมาชิกสังคมออนไลน์หลายคนเขียนความเห็นไว้ในหน้านั้น ความเห็นที่รัฐบาลน่าจะพิจารณาพร้อมปรึกษากับผู้เขียนความเห็นอย่างเร่งด่วนได้แก่ของคุณโฉลก สัมพันธารักษ์ ซึ่งเขียนไว้ดังนี้
Chaloke Sambandaraksa ทำไมต้องใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน ถ้าพลาดก็โดนยึดที่ดิน ถ้าเช่าที่ดินเขาทำนาก็ไม่มีโฉนดไปค้ำประกันเงินกู้ ต้องกู้นอกระบบ จนแล้วจนอีก ถ้าเข้าใจคำว่า “พอเพียง” ราคาข้าวเปลือกที่ Chicago Board of Trade ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เคลื่อนไหวต่ำสุดที่ $9.60/hundredweight (ประมาณ ฿6,500 ต่อตัน) และสูงสุดที่ $24.85/hundredweight (ประมาณ ฿18,000 ต่อตัน) ต้นทุนของชาวนาอยู่ที่ประมาณ ฿7,000 ต่อตัน ถ้าความ “พอเพียง” ของเราอยู่ที่กำไร 50% คือ ฿10,500 ต่อตัน (ประมาณ $15/hundredweight) เราก็รอให้ราคาตลาดโลกขึ้นไปถึง $15/hundredweight แล้วกำหนดราคาขายล่วงหน้าโดยการซื้อ Put Option หมายความว่าถ้าถึงเวลาส่งมอบ ถ้าราคาลง ถือว่าได้ขายแล้วที่ ฿10,500 ต่อตัน แต่ถ้าราคาขึ้น ก็ใช้สิทธิยกเลิก Put Option แล้วขายที่ราคาสูงกว่าในตลาดขณะนั้น เป็นการประกันราคาโดยใช้กลไกของตลาด
เมื่อ ซื้อ Put Option แล้ว ก็แปลวว่ารัฐบาลอเมริกันเป็นประกันให้แล้ว ว่าขายได้อย่างน้อยเท่ากับราคาที่ “พอเพียง” นั้น เอกสารจาก CBOT ก็นำมากู้เงิน
1. ไม่ต้องใช้โฉนด ไม่มีการกู้เงินนอกระบบ
2. ถ้าไม่กำหนดราคาที่ “พอเพียง” ก่อน ก็ไม่มีเอกสาร ไม่สามารถกู้เงินได้ เป็นการบังคับให้ชาวนามีกำไรในการทำนา
3. ถ้าราคาข้าวตกต่ำมาก ไม่สามารถกำหนดราคาได้ ก็หันไปศึกษาว่าจะปลูกพืชอื่น พืชอะไรได้กำไรมากที่สุด เป็นการจัด Zoning ตามราคาตลาดโลก ไม่ต้องมีการบังคับ
เงิน ทุนซื้อ Put Option รัฐขอยืมเงินจากกองทุน ขายเสร็จแล้วหักคืนพร้อมดอกเบี้ยปกติ บ้านเรามี AFET (The Agricultural Futures Exchange of Thailand) เรามีราคาสินค้าทางการเกษตรทุกชนิดทุกวัน เช่นที่ตลาดไทย เพียงแค่รัฐบาลจัดการให้ AFET ทำงานได้ ชาวไร่ชาวนาทั้งประเทศก็หายยากจนแล้ว
นี่คือเศรษฐกิจพอเพียงครับ (ความฝันของเกษตรกรไทย)
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมพยายามด้วยวิธีต่างๆ อย่างต่อเนื่องที่จะเชิญชวนให้ผู้มีอำนาจพิจารณาข้อเสนอของคุณโฉลกอย่างจริงจัง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลนี้ คงไม่มีนักการเมืองฉ้อฉลปะปนอยู่ด้วย ผมมองว่าถ้ารัฐบาลคิดว่าการแก้ปัญหาของชาวไร่ชาวนาเป็นงานสำคัญ รัฐบาลควรปรึกษาคุณโฉลกเร็วที่สุด งานนี้จะไม่มีการสูญเงินเป็นแสนล้านบาทแน่นอน ตรงข้าม รัฐบาลมีโอกาสทำเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ยั่งยืน
ไม่ปรากฏอย่างแจ้งชัดว่ารายงานดังกล่าวมีข้อมูลการถือครองที่ดินในเมืองไทยซึ่งหลายต่อหลายคนนำมาเผยแพร่ในสังคมออนไลน์หรือไม่ ข้อมูลชุดนั้นชี้ว่า ตระกูลมหาเศรษฐีหมายเลข 1 และ 2 ของไทยถือครองที่ดินจำนวน 2 แสนไร่และ 6.3 แสนไร่ตามลำดับ (ภาพต่อไป) นอกจากสองตระกูลนี้แล้ว ไม่มีใครถือครองที่ดินในระดับแสนไร่ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่มีผู้นำข้อมูลมาเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ สมาชิกจำนวนมากจะเข้ามาเขียนความเห็นซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปในทางต่อต้านมหาเศรษฐี ความเห็นเหล่านั้นสะท้อนความรู้สึกลึกๆ ในสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งไม่เคยมีมาก่อน หากภาครัฐไม่ใส่ใจและไม่ทำอะไรที่ส่งผลให้ความรู้สึกนั้นเปลี่ยนไปในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ ในวันหนึ่งข้างหน้าเป็นไปได้สูงว่าเหตุการณ์รุนแรงที่มีการเกลียดมหาเศรษฐีเป็นต้นเหตุจะปะทุออกมา
จะทำอย่างไรให้การต่อต้านมหาเศรษฐีมีโอกาสสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่สังคม? คำตอบอยู่ที่ต้องกำจัดที่มาของการต่อต้านซึ่งพออ่านได้ว่า สมาชิกในสังคมเชื่อว่ามหาเศรษฐีเหล่านี้ไม่มีจรรยาบรรณ นอกจากนั้น ยังอาจละเมิดกฎหมายในหลายๆ กรณีอีกด้วย มหาเศรษฐีทำได้เพราะอาศัยอำนาจเงินและบารมีของผู้มีอำนาจรัฐ เรื่องนี้แสดงออกมาให้เห็นทันตาเมื่อสองมหาเศรษฐีเข้าห้อมล้อมหัวหน้า คสช.ไม่นานหลังเขายึดอำนาจ (ภาพต่อไป) ภาพเช่นนี้มีประวัติยาวนานย้อนไปถึงก่อนสมัยนายพลผ้าขาวม้าแดงอันเป็นการชี้บ่งว่าเมืองไทยมิได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่วันนั้นมา มหาเศรษฐีเหล่านี้มีผลประโยชน์ขัดกับของชาวไร่ชาวนาซึ่งทำมาหาเลี้ยงชีพแบบขัดสนจนต้องสูญเสียที่ดิน
ฉะนั้น หากรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาของชาวไร่ชาวนาอย่างจริงจัง กรุณาอย่าฟังคำแนะนำของบรรดามหาเศรษฐีผู้มักมีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ คำแนะนำจำพวกทฤษฎีสองสูงและค่าแรงชั้นต่ำในขณะนี้ควรอยู่ที่ 500 บาทต่อวันเป็นคำแนะนำชั้นต่ำทั้งสิ้น ตรงข้าม รัฐบาลควรพยายาม “ฟังให้ได้ยิน” ข้อเสนอเกี่ยวกับการใช้ตลาดล่วงหน้าแก้ปัญหาราคาของผลผลิตการเกษตรในกรอบของเศรษฐกิจพอเพียง
ผมนำรายงานมาปันกันในสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กพร้อมกับความเห็นสั้น ๆ ว่า ชาวไร่ชาวนาสูญเสียที่ดินทำกินเพราะนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งเสริมให้กู้หนี้ยืมสิน ชาวไร่ชาวนานำที่ดินไปวางเป็นหลักประกัน ที่ดินนั้นมีโอกาสถูกยึดและไปตกอยู่ในมือของเศรษฐีสูง สมาชิกสังคมออนไลน์หลายคนเขียนความเห็นไว้ในหน้านั้น ความเห็นที่รัฐบาลน่าจะพิจารณาพร้อมปรึกษากับผู้เขียนความเห็นอย่างเร่งด่วนได้แก่ของคุณโฉลก สัมพันธารักษ์ ซึ่งเขียนไว้ดังนี้
Chaloke Sambandaraksa ทำไมต้องใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน ถ้าพลาดก็โดนยึดที่ดิน ถ้าเช่าที่ดินเขาทำนาก็ไม่มีโฉนดไปค้ำประกันเงินกู้ ต้องกู้นอกระบบ จนแล้วจนอีก ถ้าเข้าใจคำว่า “พอเพียง” ราคาข้าวเปลือกที่ Chicago Board of Trade ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เคลื่อนไหวต่ำสุดที่ $9.60/hundredweight (ประมาณ ฿6,500 ต่อตัน) และสูงสุดที่ $24.85/hundredweight (ประมาณ ฿18,000 ต่อตัน) ต้นทุนของชาวนาอยู่ที่ประมาณ ฿7,000 ต่อตัน ถ้าความ “พอเพียง” ของเราอยู่ที่กำไร 50% คือ ฿10,500 ต่อตัน (ประมาณ $15/hundredweight) เราก็รอให้ราคาตลาดโลกขึ้นไปถึง $15/hundredweight แล้วกำหนดราคาขายล่วงหน้าโดยการซื้อ Put Option หมายความว่าถ้าถึงเวลาส่งมอบ ถ้าราคาลง ถือว่าได้ขายแล้วที่ ฿10,500 ต่อตัน แต่ถ้าราคาขึ้น ก็ใช้สิทธิยกเลิก Put Option แล้วขายที่ราคาสูงกว่าในตลาดขณะนั้น เป็นการประกันราคาโดยใช้กลไกของตลาด
เมื่อ ซื้อ Put Option แล้ว ก็แปลวว่ารัฐบาลอเมริกันเป็นประกันให้แล้ว ว่าขายได้อย่างน้อยเท่ากับราคาที่ “พอเพียง” นั้น เอกสารจาก CBOT ก็นำมากู้เงิน
1. ไม่ต้องใช้โฉนด ไม่มีการกู้เงินนอกระบบ
2. ถ้าไม่กำหนดราคาที่ “พอเพียง” ก่อน ก็ไม่มีเอกสาร ไม่สามารถกู้เงินได้ เป็นการบังคับให้ชาวนามีกำไรในการทำนา
3. ถ้าราคาข้าวตกต่ำมาก ไม่สามารถกำหนดราคาได้ ก็หันไปศึกษาว่าจะปลูกพืชอื่น พืชอะไรได้กำไรมากที่สุด เป็นการจัด Zoning ตามราคาตลาดโลก ไม่ต้องมีการบังคับ
เงิน ทุนซื้อ Put Option รัฐขอยืมเงินจากกองทุน ขายเสร็จแล้วหักคืนพร้อมดอกเบี้ยปกติ บ้านเรามี AFET (The Agricultural Futures Exchange of Thailand) เรามีราคาสินค้าทางการเกษตรทุกชนิดทุกวัน เช่นที่ตลาดไทย เพียงแค่รัฐบาลจัดการให้ AFET ทำงานได้ ชาวไร่ชาวนาทั้งประเทศก็หายยากจนแล้ว
นี่คือเศรษฐกิจพอเพียงครับ (ความฝันของเกษตรกรไทย)
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมพยายามด้วยวิธีต่างๆ อย่างต่อเนื่องที่จะเชิญชวนให้ผู้มีอำนาจพิจารณาข้อเสนอของคุณโฉลกอย่างจริงจัง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลนี้ คงไม่มีนักการเมืองฉ้อฉลปะปนอยู่ด้วย ผมมองว่าถ้ารัฐบาลคิดว่าการแก้ปัญหาของชาวไร่ชาวนาเป็นงานสำคัญ รัฐบาลควรปรึกษาคุณโฉลกเร็วที่สุด งานนี้จะไม่มีการสูญเงินเป็นแสนล้านบาทแน่นอน ตรงข้าม รัฐบาลมีโอกาสทำเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ยั่งยืน
ไม่ปรากฏอย่างแจ้งชัดว่ารายงานดังกล่าวมีข้อมูลการถือครองที่ดินในเมืองไทยซึ่งหลายต่อหลายคนนำมาเผยแพร่ในสังคมออนไลน์หรือไม่ ข้อมูลชุดนั้นชี้ว่า ตระกูลมหาเศรษฐีหมายเลข 1 และ 2 ของไทยถือครองที่ดินจำนวน 2 แสนไร่และ 6.3 แสนไร่ตามลำดับ (ภาพต่อไป) นอกจากสองตระกูลนี้แล้ว ไม่มีใครถือครองที่ดินในระดับแสนไร่ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่มีผู้นำข้อมูลมาเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ สมาชิกจำนวนมากจะเข้ามาเขียนความเห็นซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปในทางต่อต้านมหาเศรษฐี ความเห็นเหล่านั้นสะท้อนความรู้สึกลึกๆ ในสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งไม่เคยมีมาก่อน หากภาครัฐไม่ใส่ใจและไม่ทำอะไรที่ส่งผลให้ความรู้สึกนั้นเปลี่ยนไปในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ ในวันหนึ่งข้างหน้าเป็นไปได้สูงว่าเหตุการณ์รุนแรงที่มีการเกลียดมหาเศรษฐีเป็นต้นเหตุจะปะทุออกมา
จะทำอย่างไรให้การต่อต้านมหาเศรษฐีมีโอกาสสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่สังคม? คำตอบอยู่ที่ต้องกำจัดที่มาของการต่อต้านซึ่งพออ่านได้ว่า สมาชิกในสังคมเชื่อว่ามหาเศรษฐีเหล่านี้ไม่มีจรรยาบรรณ นอกจากนั้น ยังอาจละเมิดกฎหมายในหลายๆ กรณีอีกด้วย มหาเศรษฐีทำได้เพราะอาศัยอำนาจเงินและบารมีของผู้มีอำนาจรัฐ เรื่องนี้แสดงออกมาให้เห็นทันตาเมื่อสองมหาเศรษฐีเข้าห้อมล้อมหัวหน้า คสช.ไม่นานหลังเขายึดอำนาจ (ภาพต่อไป) ภาพเช่นนี้มีประวัติยาวนานย้อนไปถึงก่อนสมัยนายพลผ้าขาวม้าแดงอันเป็นการชี้บ่งว่าเมืองไทยมิได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่วันนั้นมา มหาเศรษฐีเหล่านี้มีผลประโยชน์ขัดกับของชาวไร่ชาวนาซึ่งทำมาหาเลี้ยงชีพแบบขัดสนจนต้องสูญเสียที่ดิน
ฉะนั้น หากรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาของชาวไร่ชาวนาอย่างจริงจัง กรุณาอย่าฟังคำแนะนำของบรรดามหาเศรษฐีผู้มักมีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ คำแนะนำจำพวกทฤษฎีสองสูงและค่าแรงชั้นต่ำในขณะนี้ควรอยู่ที่ 500 บาทต่อวันเป็นคำแนะนำชั้นต่ำทั้งสิ้น ตรงข้าม รัฐบาลควรพยายาม “ฟังให้ได้ยิน” ข้อเสนอเกี่ยวกับการใช้ตลาดล่วงหน้าแก้ปัญหาราคาของผลผลิตการเกษตรในกรอบของเศรษฐกิจพอเพียง