ASTVผู้จัดการรายวัน-"รสนา"จับมือมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เดินหน้าทวงคืนท่อก๊าซ หลังผู้ตรวจการแผ่นดินย้ำ "คลัง-พลังงาน-ปตท." สุมหัวรายงานเท็จต่อศาลปกครองสูงสุด ฮุบสมบัติชาติ ส่งไม้ต่อให้ สตง. ตรวจสอบตามกฎหมาย เตรียมฟ้องเพิกถอนคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ระบุว่าคืนทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว หวัง "ประยุทธ์" ใช้อำนาจคืนท่อก๊าซสู่สาธารณะ ลั่นไม่ทำ ประชาชนจะไม่หยุดปกป้องทรัพย์สมบัติของชาติ
น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการปฏิรูปพลังงาน เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้ ตนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำส่งหลักฐานเพิ่มเติมต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หลังจากที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ส่งคำวินิจฉัยมายัง ประธานกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภา ซึ่งทำหนังสือถามเกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินไม่ครบถ้วนของ ปตท. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 เม.ย. โดยสำนักงานวุฒิสภาได้รับ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ผ่านมา หลังจากยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยตั้งแต่ 3 พ.ย.2554
โดยก่อนหน้านี้ ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง ที่ 800/2557 ยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและประชาชน1,455 คน ที่ขอให้ศาลปกครองตรวจสอบการแบ่งแยกทรัพย์สินคืนกระทรวงการคลังที่ไม่ครบถ้วนเพราะการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ที่ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แต่ศาลยกฟ้องเนื่องจากประชาชนไม่ใช่ผู้เสียหาย โดยเป็นเรื่องของของกระทรวงการคลังที่จะต้องดำเนินการเอง ซึ่งเมื่อศาลวินิจฉัยว่า "ให้หน่วยงานไปว่ากล่าวกันเอง" ตาม พ.ร.บผู้ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ 2542 สตง.มีอำนาจหน้าที่ที่จะตรวจสอบว่าหน่วยงานที่เป็นหน่วยตรวจรับเหล่านี้ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง มติครม.ครบถ้วนหรือไม่
นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นหัวใจของเรื่องราว ที่ว่าเอกสารรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินของ บมจ.ปตท จำกัด (มหาชน) ที่รายงานต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2551ไม่ได้ปฏิบัติตามมติ ครม. ที่ให้ สตง. เป็นผู้ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้องในการแบ่งแยกทรัพย์สินเสียก่อน "ซึ่งเป็นการลัดขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญในการแบ่งแยกทรัพย์สิน อำนาจ และสิทธิดังกล่าวออกจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ดังนั้น การกล่าวอ้างของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดที่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดครบถ้วนแล้ว จึงเป็นการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุด ที่ส่งผลต่อการพิจารณาการบังคับคดีของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้"
น.ส.รสนา กล่าวว่า ตนจะร้องให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 26 ธ.ค.2551 ที่ตุลาการเจ้าของคดี ได้มีคำสั่งเป็นลายมือ บนหัวกระดาษในรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินที่ บริษัท ปตท. ส่งถึงศาลปกครองสูงสุด ตามหนังสือลงวันที่ 25 ธ.ค.2551 โดยตุลาการเจ้าของคดี มีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2551 ว่า "ได้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว" ซึ่งเป็นผลจากการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาลปกครอง ตามคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ทั้งนี้ การแบ่งแยกทรัพย์สินนั้น สตง. ที่ได้รับมอบหมายตามมติ ครม. ให้เป็นผู้ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้องในการแบ่งแยกทรัพย์สินถูกกันออกไปจากกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อนรายงานต่อศาลปกครองสูงสุด และตลอดเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2551 ไม่มีหน่วยงานรัฐหน่วยงานใด ที่ตามกฎหมายกำหนดให้เป็น "เจ้าของทรัพย์" แทนประชาชน อยากได้ทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินคืน จึงไม่ให้ความสนใจกับรายงานและการทักท้วงของ สตง. ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันว่าการคืนทรัพย์สินให้แผ่นดิน ยังไม่ครบถ้วน
"เหมือนการเล่นหมากรุกกันบนกระดานระหว่างประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ตัวจริง กับหน่วยงานรัฐหรือเจ้าของทรัพย์ตัวแทน ที่มีทั้งข้าราชการ นักการเมือง กลุ่มทุน ทั้งสองฝ่ายเดินหมากกันคนละตา อันที่จริงประชาชน เดินได้ทีละตา แต่อีกฝ่ายเดินได้ไม่จำกัดตาในทุกทิศทาง ประชาชนเดินได้ช้า เพราะมีอุปสรรคเยอะ ตานี้ ก็ห้ามเดิน เพราะไม่ใช่ผู้ชนะคดี ตานั้น ก็ห้ามเดิน เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ต้องคลำทางหาเส้นทางเดินเรื่อยไป เส้นทางคดเคี้ยวและรกชัฎ อย่างไรก็ตาม ในหลายปีที่ผ่านมา ได้ฝึกให้พวกเรามีความอดทนและรอคอยได้ การที่เราไม่หยุดเดิน ทำให้เราก็เดินมาได้ไกลพอสมควร ตอนนี้หวังแต่ว่าผู้มีอำนาจจะไม่ล้มกระดานเสียก่อน เพราะกลัวตลาดหุ้นถูกกระทบยิ่งกว่ามองเห็นว่าประชาชนและประเทศถูกเอาเปรียบ"
น.ส.รสนา กล่าวอีกว่า ตนอยากจะหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะใช้อำนาจบริหารตัดสินให้มีการแบ่งแยกและคืนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งมีรายงานการตรวจสอบของ สตง. และคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินรองรับอยู่แล้ว และศาลปกครองก็ยังวินิจฉัยให้หน่วยราชการ ภายใต้การกำกับของท่านนายกรัฐมนตรีไปว่ากล่าวกันเอง
"หากนายกรัฐมนตรีรีบดำเนินการว่ากล่าว ให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะได้รับการยกย่องสรรเสริญ และได้ใจของประชาชนในกรณีนี้ มิเช่นนั้นแล้วประชาชนก็ยังคงเดินหน้าต่อไปไม่หยุด จนกว่าจะได้ทรัพย์สินของแผ่นดินกลับคืนสู่สถานะที่แท้จริง ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินว่า เงินแผ่นดินนั้น คือ เงินของประชาชนทั้งชาติ ดังนั้น ทรัพย์สินของแผ่นดิน ก็คือ ทรัพย์สินของประชาชนทั้งชาติ ที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องรักษา และปกป้องทรัพย์สินนั้นจากการทุจริตฉ้อโกงไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใด"น.ส.รสนากล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการปฏิรูปพลังงาน เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้ ตนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำส่งหลักฐานเพิ่มเติมต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หลังจากที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ส่งคำวินิจฉัยมายัง ประธานกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภา ซึ่งทำหนังสือถามเกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินไม่ครบถ้วนของ ปตท. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 เม.ย. โดยสำนักงานวุฒิสภาได้รับ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ผ่านมา หลังจากยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยตั้งแต่ 3 พ.ย.2554
โดยก่อนหน้านี้ ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง ที่ 800/2557 ยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและประชาชน1,455 คน ที่ขอให้ศาลปกครองตรวจสอบการแบ่งแยกทรัพย์สินคืนกระทรวงการคลังที่ไม่ครบถ้วนเพราะการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ที่ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แต่ศาลยกฟ้องเนื่องจากประชาชนไม่ใช่ผู้เสียหาย โดยเป็นเรื่องของของกระทรวงการคลังที่จะต้องดำเนินการเอง ซึ่งเมื่อศาลวินิจฉัยว่า "ให้หน่วยงานไปว่ากล่าวกันเอง" ตาม พ.ร.บผู้ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ 2542 สตง.มีอำนาจหน้าที่ที่จะตรวจสอบว่าหน่วยงานที่เป็นหน่วยตรวจรับเหล่านี้ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง มติครม.ครบถ้วนหรือไม่
นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นหัวใจของเรื่องราว ที่ว่าเอกสารรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินของ บมจ.ปตท จำกัด (มหาชน) ที่รายงานต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2551ไม่ได้ปฏิบัติตามมติ ครม. ที่ให้ สตง. เป็นผู้ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้องในการแบ่งแยกทรัพย์สินเสียก่อน "ซึ่งเป็นการลัดขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญในการแบ่งแยกทรัพย์สิน อำนาจ และสิทธิดังกล่าวออกจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ดังนั้น การกล่าวอ้างของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดที่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดครบถ้วนแล้ว จึงเป็นการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุด ที่ส่งผลต่อการพิจารณาการบังคับคดีของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้"
น.ส.รสนา กล่าวว่า ตนจะร้องให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 26 ธ.ค.2551 ที่ตุลาการเจ้าของคดี ได้มีคำสั่งเป็นลายมือ บนหัวกระดาษในรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินที่ บริษัท ปตท. ส่งถึงศาลปกครองสูงสุด ตามหนังสือลงวันที่ 25 ธ.ค.2551 โดยตุลาการเจ้าของคดี มีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2551 ว่า "ได้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว" ซึ่งเป็นผลจากการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาลปกครอง ตามคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ทั้งนี้ การแบ่งแยกทรัพย์สินนั้น สตง. ที่ได้รับมอบหมายตามมติ ครม. ให้เป็นผู้ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้องในการแบ่งแยกทรัพย์สินถูกกันออกไปจากกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อนรายงานต่อศาลปกครองสูงสุด และตลอดเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2551 ไม่มีหน่วยงานรัฐหน่วยงานใด ที่ตามกฎหมายกำหนดให้เป็น "เจ้าของทรัพย์" แทนประชาชน อยากได้ทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินคืน จึงไม่ให้ความสนใจกับรายงานและการทักท้วงของ สตง. ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันว่าการคืนทรัพย์สินให้แผ่นดิน ยังไม่ครบถ้วน
"เหมือนการเล่นหมากรุกกันบนกระดานระหว่างประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ตัวจริง กับหน่วยงานรัฐหรือเจ้าของทรัพย์ตัวแทน ที่มีทั้งข้าราชการ นักการเมือง กลุ่มทุน ทั้งสองฝ่ายเดินหมากกันคนละตา อันที่จริงประชาชน เดินได้ทีละตา แต่อีกฝ่ายเดินได้ไม่จำกัดตาในทุกทิศทาง ประชาชนเดินได้ช้า เพราะมีอุปสรรคเยอะ ตานี้ ก็ห้ามเดิน เพราะไม่ใช่ผู้ชนะคดี ตานั้น ก็ห้ามเดิน เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ต้องคลำทางหาเส้นทางเดินเรื่อยไป เส้นทางคดเคี้ยวและรกชัฎ อย่างไรก็ตาม ในหลายปีที่ผ่านมา ได้ฝึกให้พวกเรามีความอดทนและรอคอยได้ การที่เราไม่หยุดเดิน ทำให้เราก็เดินมาได้ไกลพอสมควร ตอนนี้หวังแต่ว่าผู้มีอำนาจจะไม่ล้มกระดานเสียก่อน เพราะกลัวตลาดหุ้นถูกกระทบยิ่งกว่ามองเห็นว่าประชาชนและประเทศถูกเอาเปรียบ"
น.ส.รสนา กล่าวอีกว่า ตนอยากจะหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะใช้อำนาจบริหารตัดสินให้มีการแบ่งแยกและคืนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งมีรายงานการตรวจสอบของ สตง. และคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินรองรับอยู่แล้ว และศาลปกครองก็ยังวินิจฉัยให้หน่วยราชการ ภายใต้การกำกับของท่านนายกรัฐมนตรีไปว่ากล่าวกันเอง
"หากนายกรัฐมนตรีรีบดำเนินการว่ากล่าว ให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะได้รับการยกย่องสรรเสริญ และได้ใจของประชาชนในกรณีนี้ มิเช่นนั้นแล้วประชาชนก็ยังคงเดินหน้าต่อไปไม่หยุด จนกว่าจะได้ทรัพย์สินของแผ่นดินกลับคืนสู่สถานะที่แท้จริง ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินว่า เงินแผ่นดินนั้น คือ เงินของประชาชนทั้งชาติ ดังนั้น ทรัพย์สินของแผ่นดิน ก็คือ ทรัพย์สินของประชาชนทั้งชาติ ที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องรักษา และปกป้องทรัพย์สินนั้นจากการทุจริตฉ้อโกงไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใด"น.ส.รสนากล่าว