ASTVผู้จัดการรายวัน-"อภิสิทธิ์"ชี้ไทยสัมพันธ์รัสเซีย-จีน เป็นเรื่องธรรมชาติ พร้อมแนะชาติตะวันตกคิดให้ดีก่อนตัดสัมพันธ์รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เชื่อกระบวนการล็อบบี้ยิสต์ ทำเข้าใจผิด มองไม่เห็นเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง ห่วงใช้มาตรา 44 ยิ่งตอกย้ำอำนาจพิเศษ ทำให้ต่างชาติเข้าใจยากขึ้น รัฐบาลปัดสหรัฐฯ เร่งตั้งเอกอัครราชทูตคนใหม่ ไม่เกี่ยวนายกฯ รัสเซียเยือนไทย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการวางนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีการสร้างสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียและจีนมากขึ้น ว่า รัฐบาลทำงานภายใต้ข้อจำกัด เนื่องจากมิตรประเทศบางภูมิภาคมีแนวปฏิบัติที่เป็นกฎ กติกาภายใน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยได้เต็มที่ แต่มีมิตรประเทศบางส่วนที่ไม่มีข้อจำกัด รัฐบาลจึงสามารถทำงานร่วมกับจีน รัสเซีย หรือแม้กระทั่ง ญี่ปุ่น ในขณะที่โลกตะวันตก ไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่ ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ
ส่วนสถานการณ์เช่นนี้ จะทำให้เสียดุลยภาพทางการต่างประเทศหรือไม่นั้น อดีตนายกรัฐมนตรี มองว่า รัฐบาลต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไม่ใช่ข้อจำกัดที่เราต้องการ เมื่อเขาตัดสินใจว่าไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับไทยได้อย่างปกติ ก็ต้องยืนยันว่าไม่มีปัญหาในการเป็นมิตร และพร้อมเพิ่มพูนความสัมพันธ์ต่อไปในอนาคต จึงอยู่ที่ทางประเทศเหล่านั้นเองว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะแก้ปัญหานี้
"ทุกครั้งที่ผมได้พบกับผู้แทนของอียู จะบอกเสมอว่างานด้านการค้าการลงทุนที่เกี่ยวกับการเจรจาระดับเทคนิคหรือเจ้าหน้าที่ น่าจะเดินต่อได้ แต่ถ้าจะมีจุดยืนว่าไม่ทำข้อตกลงกับรัฐบาลที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถประกาศได้ แต่การหยุดทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเสียสมดุลของความสัมพันธ์ ซึ่งเขาก็รับฟังว่าจะไปพิจารณาปรับแก้ได้หรือไม่"นายอภิสิทธิ์กล่าว
***ไม่ใช่เรื่องผิดปกติสหรัฐฯ-อียูกดดันไทย
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงท่าทีของสหรัฐฯ และอียู ที่กดดันไทยในช่วงเวลานี้มากกว่าการรัฐประหารในปี 2549 ว่า ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติอยู่แล้ว แต่มีการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันในบางประเทศ เช่น ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ผู้นำเขาก็ไปเยือนมีการอ้างว่า เพราะประเทศเหล่านั้นไม่ได้เป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ต้น ส่วนเหตุผลจะฟังขึ้นหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
"ข้อมูลที่เขาได้รับ เป็นข้อมูลที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะการมองปัญหารัฐประหารว่ามีการจำกัดสิทธิเสรีภาพ มองเห็นง่าย แต่เวลาที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเข้ามาทำสิ่งที่ไม่ดี ระดมคน ข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิเหมือนกัน ต่างประเทศกลับมองไม่ออก จึงมองแค่ว่า ปฏิวัติ ไม่มีการเลือกตั้งเป็นเผด็จการ แต่เวลาที่มีการเลือกตั้งแล้วทำตัวเหมือนเผด็จการ เขาก็ไม่สามารถรับรู้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวล็อบบี้เพื่อให้ต่างประเทศรับรู้ความจริงด้านเดียว ทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น"นายอภิสิทธิ์กล่าว
***ต่างชาติมอง ม.44เป็นอำนาจพิเศษ
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรา 44 จะทำให้ต่างชาติมีความเข้าใจมากกว่ากฎอัยการศึกหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ มองว่า ต่างชาติก็ยังเห็นว่าเป็นการใช้อำนาจพิเศษ ขึ้นอยู่กับว่าเขาดูรายละเอียดมากน้อยแค่ไหน แต่ตนอยากให้ระมัดระวัง เพราะล่าสุดมีการออกคำสั่งเพิ่มบทบาททหาร แม้ในมุมที่เรามองเป็นการบังคับใช้กฎหมาย แต่จะทำให้เกิดคำถามมากขึ้นว่าเหตุใดเจ้าหน้าที่บ้านเมืองฝ่ายอื่นไม่บังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีกฎอัยการศึกหรือไม่ มาตรา 44 ก็มีอยู่ดี และสามารถใช้แบบเบ็ดเสร็จโดยไม่ต้องมีหลักเกณฑ์ การออกมาก็คงเพราะพยายามให้มีหลักเกณฑ์ แต่ไม่ง่ายที่จะทำความเข้าใจกับคนที่อยู่ห่างไกล
**สัมพันธ์ไทย-รัสเซียกระทบขั้วการเมืองโลก
นายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง กล่าวถึงการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียในรอบ 25 ปีว่า ถือว่ามีนัยทางการเมืองระหว่างประเทศ เพราะเกิดขึ้นในช่วงที่ทั้งไทยและรัสเซีย ต้องเผชิญกับการบีบคั้นของอเมริกา และสหภาพยุโรป
"การกระชับความสัมพันธ์ในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นเหตุการณ์ปกติ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และการเมืองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะรัสเซียถูกบีบจากมหาอำนาจตะวันตก และยุโรป แซงชันการค้า ที่รัสเซียไปหนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยูเครน ไม่ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอียู ส่งผลอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรัสเซียติดลบ แม้ว่าครอบครองขีปนาวุธไว้จำนวนมาก ก็ยังมีความจำเป็นขยายความสัมพันธ์กับจีน อินเดีย อาเซียน และประเทศอื่นๆ ไทยจึงเป็นเป้าหมายเพื่อถ่วงดุลอเมริกา"
***เผยรู้ทั้งรู้แต่แกล้งโง่
นายสมชายกล่าวว่า ในส่วนของไทย หลังจากที่มีการรัฐประหาร อเมริกา และสหภาพยุโรป ก็แสดงท่าทีบีบบังคับรัฐบาลไทย โดยหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การบีบบังคับดังกล่าว คือ ไม่ยอมรับนายกรัฐมนตรี โดยมีการห้ามเข้าประเทศ แนวนโยบายของอเมริกาในเรื่องประชาธิปไตย ก็ถือว่ามี 2 มาตรฐาน สถานการณ์อย่างเดียวกันที่เกิดขึ้นกับไทย ก็เกิดกับอียิปต์ และยูเครน แต่อเมริกากลับไปสนับสนุนรัฐบาลที่ก่อการรัฐประหารล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
"ความจริงแล้ว อเมริกาและสหภาพยุโรป เขาก็รู้ แต่แกล้งโง่ และไม่ยอมรับรู้ ว่า คนไทยยอมรับรัฐบาลคสช. ที่เข้ามาระงับสงครามกลางเมืองจากรัฐบาลที่แม้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็เป็นเผด็จการเสียงข้างมาก ซึ่งสหรัฐฯ เองดำเนินนโยบายสองหน้า หน้าหนึ่งสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน โดยอ้างเรื่องการเลือกตั้ง เผื่อในอนาคตถ้าฝ่ายนี้ได้เสียงข้างมาก อเมริกาก็จะได้ประโยชน์ที่มากกว่ารัฐบาลชุดนี้ นั่นคือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่คอร์รัปชันนั้นจะเป็นเหยื่อของการดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ง่าย เพราะผู้นำเหล่านี้สามารถแลกผลประโยชน์ต่างตอบแทนส่วนตัวบนหน้ากากของการเลือกตั้ง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ารัฐบาลชุดนี้ยังอยู่ต่อ และเมื่อมีการเลือกตั้งจากฝ่ายที่ต้องการประชาธิไตยที่แท้จริง อเมริกาก็ยังไม่มีอะไรเสีย เพราะในความเป็นจริง อเมริกาบีบคั้นด้วยคำพูดมากกว่าการกระทำ"
อย่างไรก็ตาม การกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับรัสเซีย ในครั้งนี้ ก็ถือว่ามีนัยทางการเมือง โดยไทยต้องการแสดงออกทางสัญลักษณ์ว่า ไทยก็ยังมีทางออกด้วยการพึ่งพาประเทศอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงออกถึงท่าทีต่ออเมริกาในทำนองว่า “ยิ่งบีบมาก ก็ยิ่งเสียพันธมิตรมากขึ้น” ไทยเองก็รู้ดีว่า อเมริกา กำลังถ่วงดุลอำนาจจากจีน ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย แม้จะมีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมของความเชื่อมโยงมากขึ้นก็ตาม แต่สิ่งสำคัญตอนนี้รัฐบาลไทยแสดงออกทางสัญลักษณ์ให้อเมริกาได้รับรู้ว่า อย่าเดินนโยบายพลาดแม้ไทยเป็นเพียงประเทศเล็กๆ
***“ปณิธาน”ชี้เรื่องปกติมะกันตั้ง“กลิน เดวีส์”
นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ แต่งตั้งนายกลิน เดวีส์ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยแทนนางคริสตี้ เคนนีย์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เป็นการแต่งตั้งตามปกติ เพราะถ้ามีเอกอัครราชทูตที่มีอำนาจเต็ม มันก็จะดีกับเขาในการรักษาผลประโยชน์ และดีทั้งเขาและเราในการทำงานร่วมกัน ยิ่งบ้านเรารัฐธรรมนูญใหม่กำลังจะเสร็จ เลือกตั้งกำลังจะมา หลายประเทศที่มีสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์กับเราได้ประโยชน์ไปเยอะ ถ้าทูตคนใหม่ถอดประสบการณ์บทเรียนให้เราใช้ได้ เขาจะมีบทบาทในการเมืองไทย สำหรับนายกลิน เดวีส์ มีการวางตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพียงแต่ต้องผ่านหลายขั้นตอน มีการส่งตัวไปฝีกอบรม เรียนภาษาไทย แต่การเร่งรัดอาจเพราะนายกฯ รัสเซียเพิ่งมาเยือนไทยหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ
**ปัดไม่เกี่ยวนายกฯรัสเซียเยือนไทย
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีการประสาน ถามความคิดเห็นไทยมาระยะหนึ่งแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับว่าตั้งทูตมาใหม่ เพราะนายกฯ รัสเซียมาเยือนไทยก่อนหน้านี้ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่ผ่านมาก็ดีมาตลอด ไม่ได้มีผลกระทบอะไร การดำเนินการด้านความสัมพันธ์โดยรวมยังเป็นไปตามปกติ เรื่องการแลกเปลี่ยนการค้า การลงทุน ยังดำเนินต่อไป แม้สหรัฐฯ จะมีมุมมองสถานการณ์ในประเทศไทยไปอีกทางหนึ่งก็ตาม แต่ถือเป็นโอกาสที่ดีการกระชับสัมพันธ์ได้ทำต่อเนื่องต่อไป และเชื่อว่าทูตคนใหม่ที่จะมา ก็จะดำเนินงานเหมือยทูตสหรัฐฯ คนอื่นๆ ที่ผ่านมา กระชับสัมพันธ์มา มีความร่วมมือในหลายมิติ หวังว่าทูตสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์สูงด้านการต่างประเทศ จะทำให้ความร่วมมือแน่นแฟ้นมากขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการวางนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีการสร้างสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียและจีนมากขึ้น ว่า รัฐบาลทำงานภายใต้ข้อจำกัด เนื่องจากมิตรประเทศบางภูมิภาคมีแนวปฏิบัติที่เป็นกฎ กติกาภายใน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยได้เต็มที่ แต่มีมิตรประเทศบางส่วนที่ไม่มีข้อจำกัด รัฐบาลจึงสามารถทำงานร่วมกับจีน รัสเซีย หรือแม้กระทั่ง ญี่ปุ่น ในขณะที่โลกตะวันตก ไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่ ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ
ส่วนสถานการณ์เช่นนี้ จะทำให้เสียดุลยภาพทางการต่างประเทศหรือไม่นั้น อดีตนายกรัฐมนตรี มองว่า รัฐบาลต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไม่ใช่ข้อจำกัดที่เราต้องการ เมื่อเขาตัดสินใจว่าไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับไทยได้อย่างปกติ ก็ต้องยืนยันว่าไม่มีปัญหาในการเป็นมิตร และพร้อมเพิ่มพูนความสัมพันธ์ต่อไปในอนาคต จึงอยู่ที่ทางประเทศเหล่านั้นเองว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะแก้ปัญหานี้
"ทุกครั้งที่ผมได้พบกับผู้แทนของอียู จะบอกเสมอว่างานด้านการค้าการลงทุนที่เกี่ยวกับการเจรจาระดับเทคนิคหรือเจ้าหน้าที่ น่าจะเดินต่อได้ แต่ถ้าจะมีจุดยืนว่าไม่ทำข้อตกลงกับรัฐบาลที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถประกาศได้ แต่การหยุดทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเสียสมดุลของความสัมพันธ์ ซึ่งเขาก็รับฟังว่าจะไปพิจารณาปรับแก้ได้หรือไม่"นายอภิสิทธิ์กล่าว
***ไม่ใช่เรื่องผิดปกติสหรัฐฯ-อียูกดดันไทย
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงท่าทีของสหรัฐฯ และอียู ที่กดดันไทยในช่วงเวลานี้มากกว่าการรัฐประหารในปี 2549 ว่า ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติอยู่แล้ว แต่มีการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันในบางประเทศ เช่น ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ผู้นำเขาก็ไปเยือนมีการอ้างว่า เพราะประเทศเหล่านั้นไม่ได้เป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ต้น ส่วนเหตุผลจะฟังขึ้นหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
"ข้อมูลที่เขาได้รับ เป็นข้อมูลที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะการมองปัญหารัฐประหารว่ามีการจำกัดสิทธิเสรีภาพ มองเห็นง่าย แต่เวลาที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเข้ามาทำสิ่งที่ไม่ดี ระดมคน ข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิเหมือนกัน ต่างประเทศกลับมองไม่ออก จึงมองแค่ว่า ปฏิวัติ ไม่มีการเลือกตั้งเป็นเผด็จการ แต่เวลาที่มีการเลือกตั้งแล้วทำตัวเหมือนเผด็จการ เขาก็ไม่สามารถรับรู้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวล็อบบี้เพื่อให้ต่างประเทศรับรู้ความจริงด้านเดียว ทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น"นายอภิสิทธิ์กล่าว
***ต่างชาติมอง ม.44เป็นอำนาจพิเศษ
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรา 44 จะทำให้ต่างชาติมีความเข้าใจมากกว่ากฎอัยการศึกหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ มองว่า ต่างชาติก็ยังเห็นว่าเป็นการใช้อำนาจพิเศษ ขึ้นอยู่กับว่าเขาดูรายละเอียดมากน้อยแค่ไหน แต่ตนอยากให้ระมัดระวัง เพราะล่าสุดมีการออกคำสั่งเพิ่มบทบาททหาร แม้ในมุมที่เรามองเป็นการบังคับใช้กฎหมาย แต่จะทำให้เกิดคำถามมากขึ้นว่าเหตุใดเจ้าหน้าที่บ้านเมืองฝ่ายอื่นไม่บังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีกฎอัยการศึกหรือไม่ มาตรา 44 ก็มีอยู่ดี และสามารถใช้แบบเบ็ดเสร็จโดยไม่ต้องมีหลักเกณฑ์ การออกมาก็คงเพราะพยายามให้มีหลักเกณฑ์ แต่ไม่ง่ายที่จะทำความเข้าใจกับคนที่อยู่ห่างไกล
**สัมพันธ์ไทย-รัสเซียกระทบขั้วการเมืองโลก
นายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง กล่าวถึงการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียในรอบ 25 ปีว่า ถือว่ามีนัยทางการเมืองระหว่างประเทศ เพราะเกิดขึ้นในช่วงที่ทั้งไทยและรัสเซีย ต้องเผชิญกับการบีบคั้นของอเมริกา และสหภาพยุโรป
"การกระชับความสัมพันธ์ในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นเหตุการณ์ปกติ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และการเมืองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะรัสเซียถูกบีบจากมหาอำนาจตะวันตก และยุโรป แซงชันการค้า ที่รัสเซียไปหนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยูเครน ไม่ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอียู ส่งผลอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรัสเซียติดลบ แม้ว่าครอบครองขีปนาวุธไว้จำนวนมาก ก็ยังมีความจำเป็นขยายความสัมพันธ์กับจีน อินเดีย อาเซียน และประเทศอื่นๆ ไทยจึงเป็นเป้าหมายเพื่อถ่วงดุลอเมริกา"
***เผยรู้ทั้งรู้แต่แกล้งโง่
นายสมชายกล่าวว่า ในส่วนของไทย หลังจากที่มีการรัฐประหาร อเมริกา และสหภาพยุโรป ก็แสดงท่าทีบีบบังคับรัฐบาลไทย โดยหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การบีบบังคับดังกล่าว คือ ไม่ยอมรับนายกรัฐมนตรี โดยมีการห้ามเข้าประเทศ แนวนโยบายของอเมริกาในเรื่องประชาธิปไตย ก็ถือว่ามี 2 มาตรฐาน สถานการณ์อย่างเดียวกันที่เกิดขึ้นกับไทย ก็เกิดกับอียิปต์ และยูเครน แต่อเมริกากลับไปสนับสนุนรัฐบาลที่ก่อการรัฐประหารล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
"ความจริงแล้ว อเมริกาและสหภาพยุโรป เขาก็รู้ แต่แกล้งโง่ และไม่ยอมรับรู้ ว่า คนไทยยอมรับรัฐบาลคสช. ที่เข้ามาระงับสงครามกลางเมืองจากรัฐบาลที่แม้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็เป็นเผด็จการเสียงข้างมาก ซึ่งสหรัฐฯ เองดำเนินนโยบายสองหน้า หน้าหนึ่งสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน โดยอ้างเรื่องการเลือกตั้ง เผื่อในอนาคตถ้าฝ่ายนี้ได้เสียงข้างมาก อเมริกาก็จะได้ประโยชน์ที่มากกว่ารัฐบาลชุดนี้ นั่นคือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่คอร์รัปชันนั้นจะเป็นเหยื่อของการดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ง่าย เพราะผู้นำเหล่านี้สามารถแลกผลประโยชน์ต่างตอบแทนส่วนตัวบนหน้ากากของการเลือกตั้ง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ารัฐบาลชุดนี้ยังอยู่ต่อ และเมื่อมีการเลือกตั้งจากฝ่ายที่ต้องการประชาธิไตยที่แท้จริง อเมริกาก็ยังไม่มีอะไรเสีย เพราะในความเป็นจริง อเมริกาบีบคั้นด้วยคำพูดมากกว่าการกระทำ"
อย่างไรก็ตาม การกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับรัสเซีย ในครั้งนี้ ก็ถือว่ามีนัยทางการเมือง โดยไทยต้องการแสดงออกทางสัญลักษณ์ว่า ไทยก็ยังมีทางออกด้วยการพึ่งพาประเทศอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงออกถึงท่าทีต่ออเมริกาในทำนองว่า “ยิ่งบีบมาก ก็ยิ่งเสียพันธมิตรมากขึ้น” ไทยเองก็รู้ดีว่า อเมริกา กำลังถ่วงดุลอำนาจจากจีน ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย แม้จะมีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมของความเชื่อมโยงมากขึ้นก็ตาม แต่สิ่งสำคัญตอนนี้รัฐบาลไทยแสดงออกทางสัญลักษณ์ให้อเมริกาได้รับรู้ว่า อย่าเดินนโยบายพลาดแม้ไทยเป็นเพียงประเทศเล็กๆ
***“ปณิธาน”ชี้เรื่องปกติมะกันตั้ง“กลิน เดวีส์”
นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ แต่งตั้งนายกลิน เดวีส์ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยแทนนางคริสตี้ เคนนีย์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เป็นการแต่งตั้งตามปกติ เพราะถ้ามีเอกอัครราชทูตที่มีอำนาจเต็ม มันก็จะดีกับเขาในการรักษาผลประโยชน์ และดีทั้งเขาและเราในการทำงานร่วมกัน ยิ่งบ้านเรารัฐธรรมนูญใหม่กำลังจะเสร็จ เลือกตั้งกำลังจะมา หลายประเทศที่มีสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์กับเราได้ประโยชน์ไปเยอะ ถ้าทูตคนใหม่ถอดประสบการณ์บทเรียนให้เราใช้ได้ เขาจะมีบทบาทในการเมืองไทย สำหรับนายกลิน เดวีส์ มีการวางตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพียงแต่ต้องผ่านหลายขั้นตอน มีการส่งตัวไปฝีกอบรม เรียนภาษาไทย แต่การเร่งรัดอาจเพราะนายกฯ รัสเซียเพิ่งมาเยือนไทยหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ
**ปัดไม่เกี่ยวนายกฯรัสเซียเยือนไทย
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีการประสาน ถามความคิดเห็นไทยมาระยะหนึ่งแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับว่าตั้งทูตมาใหม่ เพราะนายกฯ รัสเซียมาเยือนไทยก่อนหน้านี้ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่ผ่านมาก็ดีมาตลอด ไม่ได้มีผลกระทบอะไร การดำเนินการด้านความสัมพันธ์โดยรวมยังเป็นไปตามปกติ เรื่องการแลกเปลี่ยนการค้า การลงทุน ยังดำเนินต่อไป แม้สหรัฐฯ จะมีมุมมองสถานการณ์ในประเทศไทยไปอีกทางหนึ่งก็ตาม แต่ถือเป็นโอกาสที่ดีการกระชับสัมพันธ์ได้ทำต่อเนื่องต่อไป และเชื่อว่าทูตคนใหม่ที่จะมา ก็จะดำเนินงานเหมือยทูตสหรัฐฯ คนอื่นๆ ที่ผ่านมา กระชับสัมพันธ์มา มีความร่วมมือในหลายมิติ หวังว่าทูตสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์สูงด้านการต่างประเทศ จะทำให้ความร่วมมือแน่นแฟ้นมากขึ้น