โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
สมัยเป็นนักศึกษา เคยถามอาจารย์ว่า... “การดำรงชีวิตที่ดีมีความสุข ควรยึดหลักอะไรเป็นแนวทาง” อาจารย์ตอบว่า... “เรื่องหลักที่ควรยึด มีร้อยแปดพันเก้า แต่แบบง่ายๆ และได้ผลคือ...อย่าเบียดเบียน และจงเมตตา” ส่วนรายละเอียดและวิธีการ อาจารย์บอกว่า เป็นเรื่องของแต่ละปัจเจกชนที่คิดเอง ทำเอง แล้วก็จะรู้เองเห็นเอง ว่ามันดี หรือไม่ดีอย่างไร
จากวันนั้นเป็นต้นมา ได้พินิจพิจารณาไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็พบหลักทั้งสอง คือเบญจศีล และเบญจธรรม หรือศีลห้า และธรรมห้า ที่เรารู้จักกันดี
เบญจศีล คือการควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมี 5 ข้อ
เบญจธรรม คือธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีล ได้แก่...
1. เมตตากรุณาคู่กับศีลข้อ 1 เว้นจากการปลงชีวิต
2. สัมมาอาชีวะคู่กับศีลข้อ 2 เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. กามสังวรคู่กับศีลข้อ 3 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. สัจจะคู่กับศีลข้อ 4 เว้นจากการพูดเท็จ
5. สติสัมปชัญญะคู่กับศีลข้อ 5 เว้นจากการดื่มน้ำเมาและสิ่งเสพติดให้โทษ
ที่คนเรารักษาศีลห้าไม่ค่อยได้ เพราะเราขาดธรรมห้านี่เอง เช่น บรรดานักโกงทั้งหลาย ถ้าเขาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต เขาก็ไม่โกง แต่นี่เขาหาเลี้ยงชีพในทางทุจริต เขาเลยกลายเป็นผู้ชำนาญด้านโกง
สรุป หลักสองข้อที่ควรยึดอย่าเบียดเบียนก็คือ ศีลห้า จงเมตตา ก็คือ ธรรมห้า นั่นเอง
การบ้านการเมือง
ผู้หลักผู้ใหญ่มักอบรมสั่งสอนว่า “อย่าไปยุ่งเรื่องการบ้านการเมือง ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำไป นักเรียน นักศึกษาก็เรียนหนังสือ ข้าราชการก็ซ้ายหันขวาหันตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา”
เมื่อไม่ให้ยุ่ง ก็เลยไม่รู้เรื่องการบ้านการเมือง รู้แต่เรื่องสัพเพเหระ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน รู้แต่การโฆษณาชวนเชื่อ รู้แต่ละครน้ำเน่าเลยถูกเป่าหู จูงจมูกได้ง่ายๆ
เรื่องแปลกแต่จริงอเมซิ่งเหลือหลายคือ ประชาชนทุกคนต้องรู้กฎหมาย แต่ไม่เคยสอนกฎหมายให้ประชาชนอย่างจริงจัง อย่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาชนทุกคนต้องรู้อย่างยิ่ง เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายตัวพ่อตัวแม่ กฎหมายอื่นใด หรือกฎระเบียบข้อบังคับใดๆ จะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้โดยเด็ดขาด
มีใครกล้าปฏิเสธว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆ ไม่เกี่ยวกับการบ้านการเมือง
การบ้านการเมือง งานบ้านงานเมือง เรื่องบ้านเรื่องเมือง เป็นสิ่งเดียวกัน
สรุปสั้นๆ ก็คือ การบ้านการเมือง เป็นทุกเรื่องของบุคคล ของสังคมประเทศชาติ
ถ้าเราหวังดีต่อชาติบ้านเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ ต้องส่งเสริมให้ทุกคนสนใจการบ้านการเมืองอย่างจริงจัง ใครชั่วก็รู้ ใครดีก็รู้ ส่งเสริมให้คนดีได้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง ขจัดหรือต่อต้านคนชั่วให้พ้นทาง ประเทศชาติจึงจะเดินหน้าไปได้อย่างสมจริง และสมศักดิ์ศรี
มิเช่นนั้น หากยังให้คนชั่วมีอำนาจและเป็นผู้นำทางอยู่ ประเทศชาติก็ยังเดินหน้าได้เหมือนกัน แต่ก็ต่างกันตรงที่...
ผู้นำ ดี เก่ง กล้า จะนำประเทศไปสู่ความโชติช่วงชัชวาล
ผู้นำ ชั่ว เก่ง กล้า จะนำประเทศไปสู่หุบเหวนรก
นี่คือสัจจะ ความจริง ที่ยังดำรงอยู่คู่โลกมาทุกยุคทุกสมัย
การบ้านการเมือง เป็นเรื่องเดียวกัน แต่คนชอบแยกเป็นสอง คือการบ้านหนึ่ง และการเมืองหนึ่ง การบ้านเป็นเรื่องเล็กๆ ภายในครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล ส่วนการเมืองเป็นเรื่องใหญ่ระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ หรือการบ้านเป็นเรื่องของชาวบ้าน การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง ฯลฯ
ก็ว่ากันไป ปรุงแต่งให้มันซับซ้อนซ่อนเงื่อนกันไป มิเช่นนั้นจะไม่ได้ชื่อว่า ผู้ฉลาดรอบรู้ มีประตูหลบหลีกเสมอ
ผมเห็นว่า...ครอบครัว หรือหมู่บ้าน เป็นต้นธาร ประเทศชาติเป็นลำธาร... “ถ้าไม่มีต้นธาร จะมีลำธารได้อย่างไร?” แม่นบ่ คอการเมืองทั้งหลาย
“ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ คือตัวตนของการบ้านการเมืองที่แท้จริง” จะพัฒนาหรือเดินหน้าประเทศไทยอย่างไร ต้องดูที่ตัวตนให้ทั่วถึง อย่าดูเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
ดูให้ชัด ทำให้ถูกต้อง มีธรรมนำหน้า อย่าหลงไปมอมเมาประชาชนเพิ่มเข้าไปอีก ทุกวันนี้เขาก็รับเละอยู่แล้ว มิเช่นนั้นคงไม่ขายบ้านขายช่องขายที่ดิน แล้วเช่าเขาอยู่ เช่าเขาทำกินไปวันๆ หรอก บางรายหมดทางแก้ปัญหาถึงกับฆ่าตัวตาย มีนายมีบอสที่ไหน เห็นอกเห็นใจเขาบ้าง
ภาวะตกนรกทั้งเป็นของประชาชนคนยากไร้ ที่รู้เห็นและเป็นอยู่ในทุกวันนี้ มันคือ “ผล” ซึ่งมาจาก “เหตุ” ที่ไม่ให้ประชาชนรู้เรื่องการบ้านการเมือง จนในที่สุด การบ้านการเมืองแบบชั่วๆ ก็กลับมาเล่นงานประชาชนผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่เสียเอง
เป็นเรื่องของชาติ
“ชาติ” ก็คือประเทศที่มีดินแดน มีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยของตน และมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบ
อย่างประเทศไทยของเรา ก็มีการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขณะนี้อยู่ในช่วงรัฐประหาร กำลังร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดและสำคัญยิ่งของประเทศ ท่านผู้รู้ทั้งหลายต่างก็ถกเถียงกัน วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่มีปัญญา ในสังคมประชาธิปไตย
ได้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว ก็อย่าลืมพิมพ์แจกประชาชนทุกครอบครัว ทุกหมู่บ้าน มีการเรียนรู้ให้เข้าใจ เข้าถึงกฎหมายแต่ละมาตรา จะได้รู้ทันคนดี คนชั่ว รู้ทันใครทำตามกฎหมาย ใครละเมิดกฎหมาย
ลงทุนอย่างอื่นเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน ยังทำได้ ถ้ามาลงทุนให้ประชาชนรู้กฎหมาย รู้การบ้านการเมือง มันเสียหายตรงไหน วานบอก? วิทยากรที่จะมาอบรมกฎหมายรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน ควรเอานิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นการสร้างคุณค่าให้นักศึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (ค่าเบี้ยเลี้ยง) ให้รู้จักช่วยเหลือตัวเอง และแล้วนักศึกษาก็จะเกิดภาวะผู้นำตั้งแต่ยังไม่มีงานทำ
คำว่า “เป็นเรื่องของชาติ” มิได้หมายความเฉพาะระดับประเทศ หากแต่หมายถึงตั้งแต่ระดับครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ตามลำดับ
สรุปก็คือ การบ้านการเมืองเป็นเรื่องของชาติ เป็นเรื่องของทุกคน ที่จะต้องเรียนรู้ และตื่นรู้นั่นเอง
นักโกงนักปราชญ์
โรคร้ายแรงระดับมะเร็งของประเทศ คือการทุจริตคอร์รัปชัน หรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง (คือโกงเอาเงินของรัฐ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ)
ผมชอบคำว่า “โกง” หมายถึงใช้อำนาจหรือเล่ห์เหลี่ยมเอาเปรียบผู้อื่น โดยไม่ถือตามกติกา
โกงบ้านผลาญเมือง, โคตรโกง, โกงทั้งโคตร ฯลฯ คำเหล่านี้สังคมใช้บ่อยๆ ถูกลูกหลานถามบ่อยๆ ไม่ตอบตรงๆ แต่เลี่ยงให้ไปเปิดพจนานุกรมดูเอง
เรารู้ว่าเราเป็นโรคร้ายแรง แต่เราพอใจรักษาด้วยพารายาแก้ปวด ไม่ต่างอะไรกับชาติบ้านเมืองที่มีปัญหาสาหัสสากรรจ์ คือคอร์รัปชัน แต่เราแก้ปัญหาแบบลูบหน้าปะจมูก คือไม่กล้าทำอะไรให้เด็ดขาดเพราะเกรงใจผู้เกี่ยวข้อง
อีกไม่นาน เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็จะมีการเลือกตั้ง แล้วมนุษย์พันธุ์โกง ก็จะเข้ามาบริหารปกครองประเทศอีก อาจเกิดภาวะโคตรโกง และโกงทั้งโครตอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยชั่ว อนิจจา น่าสงสาร สยามประเทศไทย อันเป็นบ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน
นักโกง นักปราชญ์ ก็เป็นคนเหมือนกัน ต่างกันที่จิตใจ และความประพฤติ มีอดีตเป็นกระจกเงา
ผู้นำหรือหัวหน้าตั้งแต่ระดับต้นธาร ครอบครัว-หมู่บ้าน-ตำบล-อำเภอ-จังหวัด-ประเทศ ตามลำดับ ใครๆ ก็อยากได้ผู้นำที่เป็นนักปราชญ์ คงไม่มีใครอยากได้ “นักโกง” เป็นบอสหรอก เพราะกลัวจะมืดบอดไปทั้งประเทศ
ปราชญ์ คือผู้มีปัญญารอบรู้ มีคาถาประจำใจว่า สุ. จิ. ปุ. ลิ. คือ ฟัง (สุตะ) คิด (จิตตะ) ถาม (ปุจฉา) เขียน (ลิขิต)
บัณฑิต คือผู้มีสติปัญญา หรือผู้ทรงความรู้ หรือนักปราชญ์นั่นเอง
ลองฟังพุทธภาษิต สะกิดใจสักเล็กน้อย...
- เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
- เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
- เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
- เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
- ห้วยน้ำน้อย ไหลดังสนั่น ห้วงน้ำใหญ่ ไหลนิ่งสงบ
- สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ
- คนพาลเหมือนหม้อมีน้ำครึ่งเดียว บัณฑิตเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม
- บัณฑิตได้สุขหรือทุกข์กระทบ ไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ
- บัณฑิต ย่อมฝึกตน
ส่วน “นักโกง” นั้น คงไม่ต้องอธิบายขยายความอะไร เพราะแค่คำพูดง่ายๆ ธรรมดาๆ ก็เข้าสูตร “ยิ้มเห็นแก้ม แย้มเห็นไรฟัน” คือรู้เท่าทันซะแล้ว เช่น “โกงบ้างไม่เป็นไร ขอให้ฉันได้ด้วย”... “เลี้ยงช้าง กินขี้ช้าง” (หาผลประโยชน์มิชอบจากงานที่ทำ) เป็นของธรรมดาอยู่แล้ว (คิดเข้าข้างตัวเองที่มักโกงเป็นนิสัย)
สร้างชาติตามใจ
การทำงาน หรือการทำหน้าที่ของเราทุกคน ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับประเทศ จะมีผลออกมาใน 2 ลักษณะคือ “สร้างชาติ” และ “ทำลายชาติ” ตัวบงการที่ให้ทำเช่นนั้นคือ “ใจ” ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจนำหน้าทุกการกระทำ
ถ้าใจหมอง ก็ทำชั่ว กลายเป็นนักโกง
ถ้าใจผ่อง ก็ทำดี กลายเป็นนักปราชญ์
ธรรมชาติ หรือนิสัยของคนชั่ว หรือนักโกงทำเรื่องชั่วง่าย ทำเรื่องดียาก
ธรรมชาติ หรือนิสัยของคนดี หรือนักปราชญ์ ทำเรื่องดีง่าย ทำเรื่องชั่วยาก หรือไม่ทำเลย
การจะแก้ไขคนชั่วให้เป็นคนดี หรือแก้ไขนักโกง ให้เป็นนักปราชญ์ พอทำได้ แต่ทำได้ยาก
คือไปแก้ที่ใจหมอง ให้กลายเป็นใจผ่อง หรือใจขุ่น ให้กลายเป็นใจใสเหมือนน้ำขุ่นกลายเป็นน้ำใส
น้ำขุ่น ถ้าไม่กระเพื่อม ไม่มีลมพัดให้เป็นระลอกคลื่น นานๆ เข้าตะกอนนอนก้น น้ำก็จะใส
ใจหมอง เพราะใจไม่หยุดนิ่ง คิดไปร้อยแปดพันเก้า ต่างๆ นานาต้องใช้อุบายให้ใจหยุดคิดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมมติลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ พุท-โธ พุท-โธ พุท-โธ ไปเรื่อยๆ นานเข้า นานเข้า คำภาวนา พุท-โธ ก็หายไปเหลือแต่ความว่าง ความสงบ จุดนี้แหละเขาเรียกว่า “ใจใส” หรือ “จิตหนึ่ง” จะมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง มองเห็นความชั่ว ความดีของตน มองเห็นสมมติ มองเห็นปรมัตถ์ มองเห็นโลกิยะ มองเห็นโลกุตตระ ฯลฯ
ทำบ่อยๆ จนชินก็สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จาก “ชั่ว” หรือ “นักโกง” มาเป็น “ดี” หรือ “นักปราชญ์”
นักโกง นักปราชญ์มีอยู่ทุกที่ตั้งแต่ต้นธารถึงลำธาร ตั้งแต่ครอบครัวถึงประเทศชาติ
การพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า ต้องแก้ที่นักโกงให้ลดน้อยลงหรือหมดไป ถ้าแก้นักโกงด้วยการแก้ใจไม่ได้ผล มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้น ที่นักโกงยอมศิโรราบคือ อำนาจเด็ดขาดของผู้นำที่เด็ดขาดเพื่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง
ผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็พึงสังวรไปด้วยว่า หากใช้อำนาจโดยไร้ขอบเขตแบบจัดหนักจนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชนผู้บริสุทธิ์เมื่อไหร่ อำนาจก็จะย้อนกลับมาเล่นงานเจ้าของอำนาจเมื่อนั้น ตามหลักสัจธรรมที่ว่า “อำนาจมักจะทำให้คนเสีย ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไหร่ คนยิ่งเสียมากเท่านั้น”
“การบ้านการเมือง
เป็นเรื่องของชาติ
นักโกงนักปราชญ์
สร้างชาติตามใจ”
กาลเวลาผ่านไป คนก็เปลี่ยน ทุกสิ่งก็เปลี่ยน จากนักศึกษากลายมาเป็นอาจารย์ เลยถูกลูกศิษย์ยุคใหม่ถามบ้าง...
“ใครเป็นต้นเหตุให้นักโกง โกงได้โกงดี ไม่รู้เข็ดหลาบ แถมยังเชิดหน้าปรามาสคนไม่โกงว่าโง่เง่าเต่าตุ่น”
“ก็เธอนะซี”
“ผมเปล่า ไม่เข้าใจ ช่วยขยายความหน่อยครับ”
“ก็เหมือนควายฝูงหนึ่ง ยืนดูเสือกัดเพื่อนควายต่อหน้าต่อตาอย่างชาเย็น ไม่กล้าช่วยเหลือ ไม่กล้ารวมกันลุกขึ้นสู้ ต่างก็เอาตัวรอด เสือก็ล่าเหยื่อมาโดยตลอด ต่อมาควายฝูงนั้นคงทนไม่ได้ ได้รวมพลังฮึดสู้กับเสือทั้งขวิดทั้งเหยียบทั้งกระทืบ จนเสือตายคาเขาคาตีน จากนั้นเสือก็ไม่กล้ามาเข่นฆ่าควายฝูงนั้นอีก ควายก็อยู่สุขสบาย ตามประสาควาย”
“ฮือ...” เสียงลูกศิษย์ครุ่นคิดเชิงเห็นด้วย แล้วอาจารย์ก็ตบท้ายด้วยความหวังเล็กๆ น้อยๆ ว่า
“เมื่อไหร่จะได้เห็นสามัคคีคือพลังของผู้คน ลุกขึ้นสู้กับผู้เบียดเบียน นักโกงกินจนจะสิ้นชาติอยู่แล้วสักที ถ้าไม่กล้าสู้มิอายควายฝูงนั้นบ้างหรือ?!”
สมัยเป็นนักศึกษา เคยถามอาจารย์ว่า... “การดำรงชีวิตที่ดีมีความสุข ควรยึดหลักอะไรเป็นแนวทาง” อาจารย์ตอบว่า... “เรื่องหลักที่ควรยึด มีร้อยแปดพันเก้า แต่แบบง่ายๆ และได้ผลคือ...อย่าเบียดเบียน และจงเมตตา” ส่วนรายละเอียดและวิธีการ อาจารย์บอกว่า เป็นเรื่องของแต่ละปัจเจกชนที่คิดเอง ทำเอง แล้วก็จะรู้เองเห็นเอง ว่ามันดี หรือไม่ดีอย่างไร
จากวันนั้นเป็นต้นมา ได้พินิจพิจารณาไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็พบหลักทั้งสอง คือเบญจศีล และเบญจธรรม หรือศีลห้า และธรรมห้า ที่เรารู้จักกันดี
เบญจศีล คือการควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมี 5 ข้อ
เบญจธรรม คือธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีล ได้แก่...
1. เมตตากรุณาคู่กับศีลข้อ 1 เว้นจากการปลงชีวิต
2. สัมมาอาชีวะคู่กับศีลข้อ 2 เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. กามสังวรคู่กับศีลข้อ 3 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. สัจจะคู่กับศีลข้อ 4 เว้นจากการพูดเท็จ
5. สติสัมปชัญญะคู่กับศีลข้อ 5 เว้นจากการดื่มน้ำเมาและสิ่งเสพติดให้โทษ
ที่คนเรารักษาศีลห้าไม่ค่อยได้ เพราะเราขาดธรรมห้านี่เอง เช่น บรรดานักโกงทั้งหลาย ถ้าเขาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต เขาก็ไม่โกง แต่นี่เขาหาเลี้ยงชีพในทางทุจริต เขาเลยกลายเป็นผู้ชำนาญด้านโกง
สรุป หลักสองข้อที่ควรยึดอย่าเบียดเบียนก็คือ ศีลห้า จงเมตตา ก็คือ ธรรมห้า นั่นเอง
การบ้านการเมือง
ผู้หลักผู้ใหญ่มักอบรมสั่งสอนว่า “อย่าไปยุ่งเรื่องการบ้านการเมือง ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำไป นักเรียน นักศึกษาก็เรียนหนังสือ ข้าราชการก็ซ้ายหันขวาหันตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา”
เมื่อไม่ให้ยุ่ง ก็เลยไม่รู้เรื่องการบ้านการเมือง รู้แต่เรื่องสัพเพเหระ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน รู้แต่การโฆษณาชวนเชื่อ รู้แต่ละครน้ำเน่าเลยถูกเป่าหู จูงจมูกได้ง่ายๆ
เรื่องแปลกแต่จริงอเมซิ่งเหลือหลายคือ ประชาชนทุกคนต้องรู้กฎหมาย แต่ไม่เคยสอนกฎหมายให้ประชาชนอย่างจริงจัง อย่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาชนทุกคนต้องรู้อย่างยิ่ง เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายตัวพ่อตัวแม่ กฎหมายอื่นใด หรือกฎระเบียบข้อบังคับใดๆ จะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้โดยเด็ดขาด
มีใครกล้าปฏิเสธว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆ ไม่เกี่ยวกับการบ้านการเมือง
การบ้านการเมือง งานบ้านงานเมือง เรื่องบ้านเรื่องเมือง เป็นสิ่งเดียวกัน
สรุปสั้นๆ ก็คือ การบ้านการเมือง เป็นทุกเรื่องของบุคคล ของสังคมประเทศชาติ
ถ้าเราหวังดีต่อชาติบ้านเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ ต้องส่งเสริมให้ทุกคนสนใจการบ้านการเมืองอย่างจริงจัง ใครชั่วก็รู้ ใครดีก็รู้ ส่งเสริมให้คนดีได้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง ขจัดหรือต่อต้านคนชั่วให้พ้นทาง ประเทศชาติจึงจะเดินหน้าไปได้อย่างสมจริง และสมศักดิ์ศรี
มิเช่นนั้น หากยังให้คนชั่วมีอำนาจและเป็นผู้นำทางอยู่ ประเทศชาติก็ยังเดินหน้าได้เหมือนกัน แต่ก็ต่างกันตรงที่...
ผู้นำ ดี เก่ง กล้า จะนำประเทศไปสู่ความโชติช่วงชัชวาล
ผู้นำ ชั่ว เก่ง กล้า จะนำประเทศไปสู่หุบเหวนรก
นี่คือสัจจะ ความจริง ที่ยังดำรงอยู่คู่โลกมาทุกยุคทุกสมัย
การบ้านการเมือง เป็นเรื่องเดียวกัน แต่คนชอบแยกเป็นสอง คือการบ้านหนึ่ง และการเมืองหนึ่ง การบ้านเป็นเรื่องเล็กๆ ภายในครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล ส่วนการเมืองเป็นเรื่องใหญ่ระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ หรือการบ้านเป็นเรื่องของชาวบ้าน การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง ฯลฯ
ก็ว่ากันไป ปรุงแต่งให้มันซับซ้อนซ่อนเงื่อนกันไป มิเช่นนั้นจะไม่ได้ชื่อว่า ผู้ฉลาดรอบรู้ มีประตูหลบหลีกเสมอ
ผมเห็นว่า...ครอบครัว หรือหมู่บ้าน เป็นต้นธาร ประเทศชาติเป็นลำธาร... “ถ้าไม่มีต้นธาร จะมีลำธารได้อย่างไร?” แม่นบ่ คอการเมืองทั้งหลาย
“ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ คือตัวตนของการบ้านการเมืองที่แท้จริง” จะพัฒนาหรือเดินหน้าประเทศไทยอย่างไร ต้องดูที่ตัวตนให้ทั่วถึง อย่าดูเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
ดูให้ชัด ทำให้ถูกต้อง มีธรรมนำหน้า อย่าหลงไปมอมเมาประชาชนเพิ่มเข้าไปอีก ทุกวันนี้เขาก็รับเละอยู่แล้ว มิเช่นนั้นคงไม่ขายบ้านขายช่องขายที่ดิน แล้วเช่าเขาอยู่ เช่าเขาทำกินไปวันๆ หรอก บางรายหมดทางแก้ปัญหาถึงกับฆ่าตัวตาย มีนายมีบอสที่ไหน เห็นอกเห็นใจเขาบ้าง
ภาวะตกนรกทั้งเป็นของประชาชนคนยากไร้ ที่รู้เห็นและเป็นอยู่ในทุกวันนี้ มันคือ “ผล” ซึ่งมาจาก “เหตุ” ที่ไม่ให้ประชาชนรู้เรื่องการบ้านการเมือง จนในที่สุด การบ้านการเมืองแบบชั่วๆ ก็กลับมาเล่นงานประชาชนผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่เสียเอง
เป็นเรื่องของชาติ
“ชาติ” ก็คือประเทศที่มีดินแดน มีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยของตน และมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบ
อย่างประเทศไทยของเรา ก็มีการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขณะนี้อยู่ในช่วงรัฐประหาร กำลังร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดและสำคัญยิ่งของประเทศ ท่านผู้รู้ทั้งหลายต่างก็ถกเถียงกัน วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่มีปัญญา ในสังคมประชาธิปไตย
ได้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว ก็อย่าลืมพิมพ์แจกประชาชนทุกครอบครัว ทุกหมู่บ้าน มีการเรียนรู้ให้เข้าใจ เข้าถึงกฎหมายแต่ละมาตรา จะได้รู้ทันคนดี คนชั่ว รู้ทันใครทำตามกฎหมาย ใครละเมิดกฎหมาย
ลงทุนอย่างอื่นเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน ยังทำได้ ถ้ามาลงทุนให้ประชาชนรู้กฎหมาย รู้การบ้านการเมือง มันเสียหายตรงไหน วานบอก? วิทยากรที่จะมาอบรมกฎหมายรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน ควรเอานิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นการสร้างคุณค่าให้นักศึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (ค่าเบี้ยเลี้ยง) ให้รู้จักช่วยเหลือตัวเอง และแล้วนักศึกษาก็จะเกิดภาวะผู้นำตั้งแต่ยังไม่มีงานทำ
คำว่า “เป็นเรื่องของชาติ” มิได้หมายความเฉพาะระดับประเทศ หากแต่หมายถึงตั้งแต่ระดับครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ตามลำดับ
สรุปก็คือ การบ้านการเมืองเป็นเรื่องของชาติ เป็นเรื่องของทุกคน ที่จะต้องเรียนรู้ และตื่นรู้นั่นเอง
นักโกงนักปราชญ์
โรคร้ายแรงระดับมะเร็งของประเทศ คือการทุจริตคอร์รัปชัน หรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง (คือโกงเอาเงินของรัฐ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ)
ผมชอบคำว่า “โกง” หมายถึงใช้อำนาจหรือเล่ห์เหลี่ยมเอาเปรียบผู้อื่น โดยไม่ถือตามกติกา
โกงบ้านผลาญเมือง, โคตรโกง, โกงทั้งโคตร ฯลฯ คำเหล่านี้สังคมใช้บ่อยๆ ถูกลูกหลานถามบ่อยๆ ไม่ตอบตรงๆ แต่เลี่ยงให้ไปเปิดพจนานุกรมดูเอง
เรารู้ว่าเราเป็นโรคร้ายแรง แต่เราพอใจรักษาด้วยพารายาแก้ปวด ไม่ต่างอะไรกับชาติบ้านเมืองที่มีปัญหาสาหัสสากรรจ์ คือคอร์รัปชัน แต่เราแก้ปัญหาแบบลูบหน้าปะจมูก คือไม่กล้าทำอะไรให้เด็ดขาดเพราะเกรงใจผู้เกี่ยวข้อง
อีกไม่นาน เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็จะมีการเลือกตั้ง แล้วมนุษย์พันธุ์โกง ก็จะเข้ามาบริหารปกครองประเทศอีก อาจเกิดภาวะโคตรโกง และโกงทั้งโครตอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยชั่ว อนิจจา น่าสงสาร สยามประเทศไทย อันเป็นบ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน
นักโกง นักปราชญ์ ก็เป็นคนเหมือนกัน ต่างกันที่จิตใจ และความประพฤติ มีอดีตเป็นกระจกเงา
ผู้นำหรือหัวหน้าตั้งแต่ระดับต้นธาร ครอบครัว-หมู่บ้าน-ตำบล-อำเภอ-จังหวัด-ประเทศ ตามลำดับ ใครๆ ก็อยากได้ผู้นำที่เป็นนักปราชญ์ คงไม่มีใครอยากได้ “นักโกง” เป็นบอสหรอก เพราะกลัวจะมืดบอดไปทั้งประเทศ
ปราชญ์ คือผู้มีปัญญารอบรู้ มีคาถาประจำใจว่า สุ. จิ. ปุ. ลิ. คือ ฟัง (สุตะ) คิด (จิตตะ) ถาม (ปุจฉา) เขียน (ลิขิต)
บัณฑิต คือผู้มีสติปัญญา หรือผู้ทรงความรู้ หรือนักปราชญ์นั่นเอง
ลองฟังพุทธภาษิต สะกิดใจสักเล็กน้อย...
- เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
- เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
- เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
- เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
- ห้วยน้ำน้อย ไหลดังสนั่น ห้วงน้ำใหญ่ ไหลนิ่งสงบ
- สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ
- คนพาลเหมือนหม้อมีน้ำครึ่งเดียว บัณฑิตเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม
- บัณฑิตได้สุขหรือทุกข์กระทบ ไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ
- บัณฑิต ย่อมฝึกตน
ส่วน “นักโกง” นั้น คงไม่ต้องอธิบายขยายความอะไร เพราะแค่คำพูดง่ายๆ ธรรมดาๆ ก็เข้าสูตร “ยิ้มเห็นแก้ม แย้มเห็นไรฟัน” คือรู้เท่าทันซะแล้ว เช่น “โกงบ้างไม่เป็นไร ขอให้ฉันได้ด้วย”... “เลี้ยงช้าง กินขี้ช้าง” (หาผลประโยชน์มิชอบจากงานที่ทำ) เป็นของธรรมดาอยู่แล้ว (คิดเข้าข้างตัวเองที่มักโกงเป็นนิสัย)
สร้างชาติตามใจ
การทำงาน หรือการทำหน้าที่ของเราทุกคน ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับประเทศ จะมีผลออกมาใน 2 ลักษณะคือ “สร้างชาติ” และ “ทำลายชาติ” ตัวบงการที่ให้ทำเช่นนั้นคือ “ใจ” ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจนำหน้าทุกการกระทำ
ถ้าใจหมอง ก็ทำชั่ว กลายเป็นนักโกง
ถ้าใจผ่อง ก็ทำดี กลายเป็นนักปราชญ์
ธรรมชาติ หรือนิสัยของคนชั่ว หรือนักโกงทำเรื่องชั่วง่าย ทำเรื่องดียาก
ธรรมชาติ หรือนิสัยของคนดี หรือนักปราชญ์ ทำเรื่องดีง่าย ทำเรื่องชั่วยาก หรือไม่ทำเลย
การจะแก้ไขคนชั่วให้เป็นคนดี หรือแก้ไขนักโกง ให้เป็นนักปราชญ์ พอทำได้ แต่ทำได้ยาก
คือไปแก้ที่ใจหมอง ให้กลายเป็นใจผ่อง หรือใจขุ่น ให้กลายเป็นใจใสเหมือนน้ำขุ่นกลายเป็นน้ำใส
น้ำขุ่น ถ้าไม่กระเพื่อม ไม่มีลมพัดให้เป็นระลอกคลื่น นานๆ เข้าตะกอนนอนก้น น้ำก็จะใส
ใจหมอง เพราะใจไม่หยุดนิ่ง คิดไปร้อยแปดพันเก้า ต่างๆ นานาต้องใช้อุบายให้ใจหยุดคิดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมมติลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ พุท-โธ พุท-โธ พุท-โธ ไปเรื่อยๆ นานเข้า นานเข้า คำภาวนา พุท-โธ ก็หายไปเหลือแต่ความว่าง ความสงบ จุดนี้แหละเขาเรียกว่า “ใจใส” หรือ “จิตหนึ่ง” จะมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง มองเห็นความชั่ว ความดีของตน มองเห็นสมมติ มองเห็นปรมัตถ์ มองเห็นโลกิยะ มองเห็นโลกุตตระ ฯลฯ
ทำบ่อยๆ จนชินก็สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จาก “ชั่ว” หรือ “นักโกง” มาเป็น “ดี” หรือ “นักปราชญ์”
นักโกง นักปราชญ์มีอยู่ทุกที่ตั้งแต่ต้นธารถึงลำธาร ตั้งแต่ครอบครัวถึงประเทศชาติ
การพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า ต้องแก้ที่นักโกงให้ลดน้อยลงหรือหมดไป ถ้าแก้นักโกงด้วยการแก้ใจไม่ได้ผล มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้น ที่นักโกงยอมศิโรราบคือ อำนาจเด็ดขาดของผู้นำที่เด็ดขาดเพื่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง
ผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็พึงสังวรไปด้วยว่า หากใช้อำนาจโดยไร้ขอบเขตแบบจัดหนักจนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชนผู้บริสุทธิ์เมื่อไหร่ อำนาจก็จะย้อนกลับมาเล่นงานเจ้าของอำนาจเมื่อนั้น ตามหลักสัจธรรมที่ว่า “อำนาจมักจะทำให้คนเสีย ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไหร่ คนยิ่งเสียมากเท่านั้น”
“การบ้านการเมือง
เป็นเรื่องของชาติ
นักโกงนักปราชญ์
สร้างชาติตามใจ”
กาลเวลาผ่านไป คนก็เปลี่ยน ทุกสิ่งก็เปลี่ยน จากนักศึกษากลายมาเป็นอาจารย์ เลยถูกลูกศิษย์ยุคใหม่ถามบ้าง...
“ใครเป็นต้นเหตุให้นักโกง โกงได้โกงดี ไม่รู้เข็ดหลาบ แถมยังเชิดหน้าปรามาสคนไม่โกงว่าโง่เง่าเต่าตุ่น”
“ก็เธอนะซี”
“ผมเปล่า ไม่เข้าใจ ช่วยขยายความหน่อยครับ”
“ก็เหมือนควายฝูงหนึ่ง ยืนดูเสือกัดเพื่อนควายต่อหน้าต่อตาอย่างชาเย็น ไม่กล้าช่วยเหลือ ไม่กล้ารวมกันลุกขึ้นสู้ ต่างก็เอาตัวรอด เสือก็ล่าเหยื่อมาโดยตลอด ต่อมาควายฝูงนั้นคงทนไม่ได้ ได้รวมพลังฮึดสู้กับเสือทั้งขวิดทั้งเหยียบทั้งกระทืบ จนเสือตายคาเขาคาตีน จากนั้นเสือก็ไม่กล้ามาเข่นฆ่าควายฝูงนั้นอีก ควายก็อยู่สุขสบาย ตามประสาควาย”
“ฮือ...” เสียงลูกศิษย์ครุ่นคิดเชิงเห็นด้วย แล้วอาจารย์ก็ตบท้ายด้วยความหวังเล็กๆ น้อยๆ ว่า
“เมื่อไหร่จะได้เห็นสามัคคีคือพลังของผู้คน ลุกขึ้นสู้กับผู้เบียดเบียน นักโกงกินจนจะสิ้นชาติอยู่แล้วสักที ถ้าไม่กล้าสู้มิอายควายฝูงนั้นบ้างหรือ?!”