ASTVผู้จัดการรายวัน- "ประยุทธ์" เมิน "โหรวารินทร์" ระบุเป็นนายกฯ 3 ปี ยันทำตามโรดแมปที่กำหนด ยอมรับอุปสรรคการทำงานวันนี้ คือความไม่เข้าใจ หวั่นต่างชาติมองรธน. ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงต้องทำความเข้าใจ แบะท่าไม่ขัดนายกฯคนนอก แก้วิกฤติการเมือง เผยมีกลุ่มการเมืองเคลื่อนไหว อยากเลือกตั้ง ด้านแกนนำ นปช. บุกดีเอสไอ จี้ถามคืบหน้าคดี 99 ศพ จากเหตุสลายม็อบปี 53 หลังมีการเปลี่ยนชุดทำงาน พร้อมขอให้ตัวแทนเข้ารับฟังผลการสืบสวน พร้อมขออนุญาตจัดงานทำบุญ 10 เม.ย. ด้านนายกฯตอก "แก๊งแดง" เปลี่ยนพนักงานสอบสวนไม่ได้ ซัดอย่าอ้างว่าไม่เป็นธรรม
วานนี้ (7 เม.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ หรือ โหรคมช. ระบุว่า นายกฯจะอยู่บริหารต่อถึง 3 ปี ว่า "ไม่ทราบ คงต้องไปถามที่โหรเอง ส่วนผมก็มีโรดแมปของผมเอง และผมก็ได้ส่งสัญญาณไปถึงโหรวารินทร์แล้วว่า อย่าพูดเลย ซึ่งท่านก็คงไม่พูดแล้ว เพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรผม แล้วผมเองก็ไม่ต้องไปตามท่านทุกเรื่อง ผมก็เป็นตัวผม สามารถใช้สติปัญญาที่ผมมี กับความร่วมมือของทุกคน"
เมื่อถามว่า แต่ถ้าหากดวงดาวกำหนดให้เป็นเช่นนั้น ยินดีที่จะทำตามหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ดวงดาวก็คือดวงดาว ถ้าเราทำตัวไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ศีลธรรม ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ต่อให้ดวงดาวดีขนาดไหน จะกี่ดวงมาซ้อนกันเป็นกี่จักร ก็ไปไม่ได้ เพราะคนไม่ดี เมื่อถามว่า แต่ถ้าดวงชะตากำหนดเช่นนั้น จะรับได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอบทันทีว่า "ไม่ต้องมาถ้ากับผม อย่ามาถ้า ผมไม่ได้อยากจะอยู่ ทุกอย่างจะเป็นไปตามโรดแมปของผมก็แล้วกัน โรดแมปว่ายังไง ก็ว่าตามนั้น"
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้มีอะไรเป็นอุปสรรคในการทำงานบ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อุปสรรค คือ ความเข้าใจ ซึ่งทุกคนที่ทำหน้าที่ต่างมีความตั้งใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สนช. สปช. ทุกคนนำบทเรียนที่ผ่านมา มาคิด มาทำ มาแก้ปัญหาในจุดต่างๆ ทั้งในส่วนของที่มา ส.ส. และส.ว. หรือการพิจารณาในการใช้อำนาจที่เหมือนจะเป็นเผด็จการรัฐสภา เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งเราเข้าใจประเด็นที่ตนเห็นต่างอย่างต่างประเทศ ไม่ว่าจะพรคการเมืองใดขึ้นมาบริหาร อะไรที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติก็จะทำต่อ ไม่ใช่พอพรรคหนึ่งขึ้นมาแล้วก็ล้มของอีกพรรคที่ทำไว้แล้วเดิม ก็ต้องเริ่มใหม่กันตลอด เมื่อเปลี่ยนพรรคการเมืองไปเรื่อยๆ งานก็จะเป็นท่อนๆ ไม่ทั่วถึงเสียที อย่างเช่นกรณีการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่เชียงใหม่ และได้ทำบุญรวมทั้งได้รับแรงใจ มีกำลังใจมากขึ้นหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมมีกำลังใจทุกวัน ไม่ต้องไปไหนก็มีกำลังใจ และที่ไปเชียงใหม่ มีคนชื่นชมผม ผมก็ต้องขอบคุณ แต่พอกลับมาสิ่งที่ผมรู้คือ ผมจะต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม เพราะมีคนคาดหวังเช่นนั้น ก็ต้องทำทุกอย่างให้ดีอย่างที่คิดไว้ การให้กำลังใจมาเป็นการดี แต่อย่าไปเหลิงกับมัน อย่าไปเห็นว่าพอมีคนรักแล้วยินดี ถ้าผมจะทำให้คนรักมากๆ ใครขออะไรมาก็คงให้ทั้งหมด แต่พอถึงวันข้าง หน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างก็ไม่รู้ วันนี้เราต้องทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดความยั่งยืน การทุจริตต่างๆ ก็ต้องรื้อทั้งหมด"
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง กรณี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน เตรียมนำรายชื่อข้าราชการระดับต่างๆ ประมาณ 100 รายชื่อที่พัวพันการทุจริต คอร์รัปชัน ว่ากำลังไล่อยู่ จับกลุ่มดูอยู่ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ถ้าส่งมาก็จะให้แต่ละกระทรวงไปดู ว่ามีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันอย่างไร บางทีต้องให้เขาตรวจสอบ ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น ก็อาจจะไม่เข้าใจกันบ้าง หรือผิดจริงก็ไม่รู้ ถ้าไม่ผิดแล้วมีชื่อมา ก็ต้องชี้แจงให้ได้
**แคร์ต่างชาติมองรธน.ไม่เป็นปชต.
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ยืนยันว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใด ไม่ว่าจะเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย ประเด็นสำคัญของรัฐธรรมนูญ คือต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้กับคนทั้งในและนอกประเทศ ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะมีความแตกต่างจากฉบับที่ผ่านมาอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร และประเทศไทยต้องการการปฏิรูปหรือไม่ ที่ต้องปฏิรูปเพราะอะไร เพราะเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้นหากเกิดขึ้นกับต่างประเทศ แล้วเขาจะรู้สึกอย่างไร
ทั้งนี้ การที่เราจะกำหนดกติกากันเองนั้น สามารถทำได้ แต่ถามว่าเมื่อรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนในประเทศไม่รับ ขณะเดียวกันคนนอกประเทศก็บอกว่าไม่เป็นสากล แล้วจะทำอย่างไร ซึ่งตนกำลังหาทางออกในเรื่องดังกล่าว เรื่องนี้ต้องเห็นใจกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย เพราะพยายามสร้างสิ่งที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในวันข้างหน้า แต่ต้องดูว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญออกมาแล้วต่างชาติจะรับได้หรือไม่ ตนในฐานะนายกรัฐมนตรี จะนำข้อพิจารณาต่างๆ มาดูในรายละเอียด และให้ต่างชาติได้พิจารณาด้วย โดยจะถามว่า บ้านเมืองที่มีการปฏิรูป มีการใช้รัฐธรรมนูญรูปแบบใด
** ยันไม่กลับไปใช้รธน.ปี40 หรือปี 50
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีโอกาสที่จะพิจารณาเรื่องการทำประชามติ ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้ เพราะยังไม่ถึงตรงนั้น ยังไม่ถึงเวลา เมื่อถามต่อว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านการทำประชามติ จะหยิบยกรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือฉบับปี 2550 มาใช้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี ถ้าอย่างนั้นต้องทำใหม่ ถามว่ารัฐธรรมนูญเก่ามีปัญหาหรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ไม่ได้นำมาเขียนใหม่ทุกมาตรา แต่เอามาจากรัฐธรรมนูญ 40 และ 50 มาพิจารณาควบคู่กันไป อันไหนใส่ได้ ก็ใส่ ไม่ได้เขียนใหม่ เขียนจาก ก. เป็น ค. เป็น ฮ. ไม่ใช่เลย แต่เอามาจากรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 เป็นหลัก
เมื่อถามว่า ห้วงเวลาที่ร่างรัฐธรรมนูญใกล้เสร็จ รัฐบาลจะสร้างความเข้าใจกับประชาชนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตอนนี้มีการพูดกันอยู่ แต่บางทีคนไม่เข้าใจ คนที่มองในแง่เดียวว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง ให้เสรีภาพประชาชนอย่างเต็มอำนาจ ทุกรูปแบบ แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่องของหน้าที่ของประชาชนว่าอยู่ตรงไหน อยากให้มีคนเข้ามาถามตนว่า หน้าที่ของประชาชน ควรจะอยู่ตรงไหนดี ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของเด็ก ผู้ใหญ่ นักเรียน โดยจะร่วมมือกับรัฐอย่างไร หากรัฐบาลทีได้มาจากการเลือกตั้งโดยสุจริต มีคุณภาพ มีธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม
" อยากให้มีคนถามว่า ประชาชนจะร่วมมือได้อย่างไร แต่ก็ไม่มีใครถาม มีแต่คนถามว่า เมื่อไหร่จะเลือกตั้ง เลือกตั้งทางอ้อม ทางตรง วันนี้ต้องใช้อำนาจแก้ไขปัญหา การใช้งบประมาณ ถามแต่เรื่องที่ไม่ก้าวหน้า เป็นเรื่องการแก้ปัญหาเหมือนเดิม ซึ่งวันหน้าต้องแก้ใหม่อีก แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญถ้าเป็นของต่างประเทศที่ผมดู เช่น ฝรั่งเศส ส่วนประเทศอังกฤษ เป็นจารีต ประเทศเหล่านี้ ประชาชนของเขามีความพร้อม ไม่ได้มีปัญหาอย่างพวกเรา ที่มีความเห็นต่างขัดแย้ง เมื่อมีการเมืองเข้ามา ก็แบ่งเป็นกลุ่มๆ ผลประโยชน์ทับซ้อน การเมืองประเทศไทย แม้แต่คนไทยก็ยังไม่รู้ โดยคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ที่มีการวิเคราะห์แล้ว ที่เด็กรุ่นใหม่บอกว่า โกงหน่อยก็ได้ แต่แบ่งกันยังดีกว่า จะคิดแบบนี้ไม่ได้ รัฐบาลต้องเดินหน้าประเทศ ประชาชนต้องสนับสนุน ขณะเดียวกันรัฐบาลไม่ได้มีเงินมากพอที่จะมาสนับสนุน แต่ทุกเรื่องต้องแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะใช้กลไกท้องถิ่นมาช่วยสร้างความเข้าใจกับประชาชนอย่างไร ในห้วงเวลาที่รัฐธรรมนูญใกล้เสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้มีการเปิดเวที แต่เปิดทุกที่ก็มีขัดแย้งกัน เพราะเขายังไม่ยอมรับกติกา ว่าบ้านเราเกิดอะไรขึ้น คนต่างจังหวัดอาจจะไม่เห็นว่าที่กรุงเทพฯ เกิดอะไรขึ้น หรือแม้กระทั่งสหรัฐฯ อาจจะเห็นหรือไม่ ตนไม่ทราบ แต่เขาคิดแต่ว่าจะให้เราเลือกตั้ง เพราะเขาลืมมาตรฐานคนแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ความเป็นอยู่รายได้ คุณภาพชีวิตการศึกษา ไม่เหมือนกัน ดังนั้นความคิดจึงแตกต่าง เมื่อทุกคนเดือดร้อนหมด ก็ต้องหารัฐบาลที่จะมาดูแล รัฐบาลที่จะดูแล ก็ต้องดูแลทุกกลุ่มทุกฝ่าย ตอนนี้รัฐบาลดุทุกเรื่อง ทั้งข้าว มันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน ปรับโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลก่อนๆไม่ค่อยคิดกัน จึงแก้ปัญหาวกไปวนมา
เมื่อถามว่า เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องรัฐธรรมนูญต้องเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศมาให้ข้อมูลหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีการประชุมตั้งหลายครั้งแล้ว แต่เดี๋ยวจะทำเพื่อสร้างการรับรู้ โดยจะสั่งการในช่วงบ่อยวันนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศด้วย หากทำแบบเรา คิดแบบเราแล้วเขาไม่ยอมรับแล้วจะทำอย่างไร ในประเทศตนไม่ได้ห่วงเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวก็คุยกันรู้เรื่อง แต่ต่างประเทศรับได้หรือไม่ เพราะถ้ารับไม่ได้เขาก็จะบอกว่าประเทศเราไม่มีประชาธิปไตย เหมือนอย่างกับการที่เรานำ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาใช้เพื่อประโยชน์เขายังหาว่าเราไปบังคับขู่เข็ญ
" ถ้าไม่มีแล้วจะยังไง มันก็ไม่ยอมกันสักอย่าง ทุกอย่างอย่างคิดว่ามันสงบ ท่านก็รู้อยู่ว่าเป็นอย่างไร เพราะยังมีเคลื่อนไหวอยู่ทั้งคู่ สองสามฝ่าย ผมไม่ได้โทษว่า ใครดี ไม่ดี แต่เขามองในแง่ของการเมือง ส่วนผมไม่มีการเมือง ผมจึงรู้ว่าปัญหามีอะไรบ้าง แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะท้ายที่สุดผมก็รับผิดชอบ เพราะเป็นผู้ที่กุมอำนาจมา อำนาจอยู่ที่ผม จะสำเร็จหรือล้มเหลว ผมก็รับผิดชอบอีกอยู่ดี ดังนั้นผมจะไม่ตามใจใครสักคน มันชีวิตผม เข้าใจหรือยัง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**จับตากลุ่มการเมืองตัวป่วน
เมื่อถามว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองที่นายกฯ พูดถึงสองสามกลุ่มนั้น เป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ดูอยู่ ทั้งหมดเคยมาคุยกันแล้ว นักการเมืองก็เคยมาคุยกัน เมื่อตอนที่มีคสช.แรกๆ พอหลังๆ เมื่อเขาพูดจาอะไรที่ไม่ค่อยเข้าท่า ก็เชิญมาคุยอีก เขาก็รับปากทุกที แต่พอรับปากเสร็จ เขาก็ออกไปพูดข้างนอก แล้วจะให้ตนทำอย่างไร ปล่อยให้พูดไปเรื่อยๆได้หรือไม่ หรือจะใช้อำนาจอันนี้ตนไม่รู้ และยังไม่ได้ใช้ รอให้มีการพูดไปเรื่อยๆก่อนก็แล้วกัน
เมื่อถามว่ากลุ่มที่เคลื่อนไหวเขาต้องการอะไร นายกฯ กล่าวว่า ต้องการเลือกตั้งไง โดยใช้กติกาเดิม รัฐธรรมนูญเดิม อย่างที่บอกรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 มีข้อดีและปัญหา ดังนั้น เราต้องเลือกมาท่านเคยดูหรือยัง 300 กว่ามาตรา ถ้ายังไม่อ่านทั้งฉบับ ก็ยังคุยกันไม่รู้เรื่อง ตนอ่านทุกอันทุกฉบับ และฉบับที่ร่างใหม่อยู่นี้ เอาจากปี 40 และ 50 มา แล้วก็ยกออกมาต่างหาก เช่น การเมือง การใช้อำนาจ เพื่อลดปัญหา ส่วนที่ไม่ได้ข้อยุติคือประเด็นนายกฯ จากคนนอก ก็เพราะเขาเห็นว่า ก่อนวันที่ 22 พ.ค. 57 ประเทศเดินไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่มีอำนาจเต็ม รัฐบาลรักษาการ ใช้งบประมาณไม่ได้ เมื่อมันติดแล้ว จะทำอย่างไร จำเป็นต้องมีคนหรือนายกฯคนนอก หรือมีองค์กรเข้ามาตรงนี้ ใครสามารถดำเนินการไปได้ แล้วค่อยมาเลือกตั้งกัน คือ ตอนนี้รักษาสภาพไป เพื่อให้ไม่ติด
"ก่อนหน้านี้ ติดปัญหามา 6 เดือนแล้วผมต้องมารีบทำ งบประมาณปี 2557 และ 2558 ถ้าไม่ทำ ก็ประชุมไม่ได้ เพราะไม่มีเงิน งบประมาณไม่ออก นั่นคือเหตุผล เขาเลยคิดออกมาอย่างนั้น แต่มันยังไม่ได้ข้อยุติว่า ยอมรับกันไหม ถ้ายอมรับว่ามีปัญหาแบบนี้ แล้วแก้ไขด้วยวิธีแบบนี้ ต้องถามต่างชาติ ว่าถ้าไม่ทำลักษณะนี้แล้วจะทำอย่างไร วันนี้ที่บอกว่า เลือกตั้งทางอ้อมบ้าง ทางตรงบ้าง ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งคนของเราเวลาที่จะทำความเข้าใจ จะเลือกแต่ที่เข้ากับตัว เอาแต่ที่ตัวเองพอใจ แล้วก็พูด พูด พูด ตัวไหนไม่พอใจ ก็ไม่พูด มันต้องพูดถึงคนทุกพวกทุกฝ่าย ไม่ใช่เลือกเอามาแต่สิ่งที่ดีกับเรา แต่สิ่งที่ไม่ดีกลับไม่รับ วันนี้กฎหมายเหมือนกัน พอลงโทษไอ้นี่ ก็บอกว่าเลือกข้าง มันอะไรกัน กฎหมายก็ยังโตไม่ได้ รัฐธรรมนูญเองก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ว่าประเทศชาติจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องเดินหน้าไปได้ ไม่ต้องลงในรายละเอียดมากนัก แต่ไปลงเรื่องการบริหารประเทศ ธรรมาภิบาล หน้าที่พลเมืองถามว่าที่ผ่านมามีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้หรือไม่" นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ต้องถามว่า วันนี้บ้านเราจำเป็นต้องปฏิรูปแล้วหรือยัง ถ้าไม่อยากปฏิรูป และอยากเลือกตั้งก็ให้บอกมา ตนก็จะไปพักผ่อน ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงควรเป็นไปเพื่อการปฏิรูป จะได้ไม่มีเรื่องของการทุจริต มีการตรวจสอบอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมา มีความคลุมเครือ ว่าอาจจะถูกหรือผิด ดังนั้นจึงต้องมีความชัดเจน วันนี้เราต้องทำเรื่องใหญ่ก่อน เพราะถ้าทำเรื่องใหญ่ด้วยเรื่องเล็กด้วย คนเป็นนายกฯ ปวดหัวตายพอดี
**นปช.บี้ คดี 99 ศพจากการสลายม็อบปี 53
วานนี้ ( 7 เม.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และคณะ เดินทางเข้าพบ นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดี ดีเอสไอ และ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดี ดีเอสไอ เพื่อสอบถามรายละเอียด และแนวทางในการดำเนินคดีการเสียชีวิตทั้ง 99 ศพ จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ภายหลังมีการตั้งคณะพนักงานสอบสวนขึ้นใหม่ พร้อมร้องขอให้มีตัวแทน ของกลุ่มนปช. เข้าร่วมรับฟังการสอบสวนในคดี
นายจตุพร กล่าวว่า จากกระแสที่มีการพยายามเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในการดำเนินคดี เช่น หากพิสูจน์ได้ว่า มีชายชุดดำได้ คดีทุกอย่างจะจบ ซึ่งผลการไต่สวนสำนวนชันสูตรพลิกศพ จำนวน 28 ศพ ก่อนหน้านี้ รวมไปถึงสำนวนคดีการเสียชีวิตของ นายพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และนางสมร ไหมทอง หรือสำนวนคดี 6 ศพวัดปทุมฯ ที่ศาลได้ไต่สวนชัดเจนว่า ไม่มีชายชุดดำ ทั้งนี้ ในส่วนที่เราห่วงใยใน 27 คดี ที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างดีเอสไอ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)โดยที่ผ่าน 27 คดี มีความล่าช้า และตนได้เรียกร้องมาตั้งแต่เริ่มต้นว่า ทั้ง 89 สำนวน ควรมีการไต่สวนสำนวนชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตั้งโครงเรื่องชายชุดดำขึ้นมา และ ดีเอสไอ เคยเรียกนักข่าวจากสำนักข่าวอัลจาชีรา มาให้ข้อมูล เกี่ยวกับภาพชายชุดดำที่ถูกบันทึกไว้ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณสี่แยกคอกวัว ส่วนจุดใดนั้น ไม่ทราบ โดยสำนักข่าวอื่นๆ ไม่มีใครสามารถเก็บภาพชายชุดดำได้ มีเพียงสำนักข่าวอัลจาชีรา ที่มีภาพชายชุดดำขณะยิงปืนเป็นประกายไฟได้ ต่อมาสำนักข่าวอัลจาชีรา ได้ให้ข้อมูลกับดีเอสไออีกครั้ง โดยระบุว่า ภาพชายชุดดำนั้น ไม่ได้ถ่ายเอง แต่เป็นภาพที่มีคนมาขายให้ เพราะถ้าถ่ายเอง จะทราบตำแหน่งที่ยิงได้ ตนจึงอยากให้ดีเอสไอ ทำการขยายผลว่า คนที่มาขายภาพให้สำนักข่าวอัลจาชีรา เป็นใคร เพื่อที่ดีเอสไอ จะทราบได้ว่า จุดที่ชายชุดดำยืนอยู่ คือจุดใด
** ค้านเปลี่ยนชุดพนักงานสอบสวน
นายจตุพร กล่าวอีกว่า ตนมีความกังวล ในการเปลี่ยนชุดพนักงานสอบสวน โดยมีทหารมาร่วมสอบสวนด้วย และก่อนที่นางสุวณา จะมารับตำแหน่ง อธิบดี ดีเอสไอ นั้น เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ เคยนำหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทำเรื่องไปยัง ศอฉ. เพื่อขอรายชื่อว่ามีทหารคนใดประจำใน 21 จุด กับ 89 ความตาย และศอฉ. ก็ได้ส่งข้อมูลกลับมาให้ว่า มีทหารประจำจุดใดบ้าง อาทิ กรณี 6 ศพวัดปทุมฯ
ประธานนปช. กล่าวอีกว่า คดีที่พิสูจน์ทราบแล้วว่า การเสียชีวิตเกิดจากฝั่งของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในรัฐบาลนี้ที่มีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจะสามารถดำเนินการได้แค่ไหน ทั้งในด้านสังกัดขอบเจ้าหน้าที่ และการนำอาวุธมาตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม การมาติดตามเรื่องวันนี้ ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีของพวกตน เพราะคดีของพวกตน เลยขั้นตอนของดีเอสไอไปแล้ว แต่ต้องการมาทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของครอบครัวผู้เสียเสียชีวิต โดยจะขอติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ
นพ.เหวง กล่าวว่า เพื่อความโปร่งใสในการทำงานของดีเอสไอ จึงอยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถส่งตัวแทนเข้ารับฟังการสอบสวนได้หรือไม่ และหากมีหลักฐานใหม่ จะสามารถรื้อฟื้นคดีได้หรือไม่
** "ดีเอสไอ"ยันไม่ได้เปลี่ยนทีมสอบสวน
ด้านนางสุวณา กล่าวว่า ดีเอสไอ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะพนักงานสอบสวนอย่างที่เป็นข่าวออกไป แต่เป็นการเพิ่มเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่มาจากทหาร จำนวน 7 คน เพื่อมาประสานงานในส่วนของทหารที่ยังไม่เข้าให้ปากคำกับดีเอสไอ อีกทั้ง ยังเป็นการทดแทนคณะพนักงานสอบสวนชุดเดิมที่เกษียณอายุราชการ ส่วนกรณีที่ตัวแทนกลุ่ม นปช. จะขออนุญาตเข้ามารับฟังการสอบสวนนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะอาจกระทบต่อรูปคดี แต่หากทนายความ ของผู้เกี่ยวข้องที่เข้าให้ปากคำกับดีเอสไอ ก็สามารถเข้าร่วมรับฟังได้ ซึ่งเป็นไปตามข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการสอบสวน ตนก็ได้เร่งคดีให้มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ สมัยคณะทำงานชุดเดิม เคยได้รับการร้องเรียนจากเจ้าหน้าที่ทหาร ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นกัน ซึ่ง ดีเอสไอ ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สำหรับการตรวจสอบเกี่ยวอาวุธปืนที่ใช้ก่อเหตุนั้น เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ กำลังจะดำเนินการตรวจสอบ โดยเราจะทำงานด้วยความโปร่งใส และทำให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายเชื่อถือการทำงานของเรา และยืนยันว่า การทำงานครั้งนี้ไม่การตั้งธง หรือมีคนชี้นำแต่อย่างใด
**ตอก"แก๊งแดง"เปลี่ยนพนง.สอบสวนไม่ได้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงเรื่องการแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนชุดใหม่ เพื่อคลี่คลายคดีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 53 จำนวน 99 ศพ เนื่องจากตำรวจนครบาล และดีเอสไอในชุดพนักงานสอบสวนชุดเก่าได้โยกย้าย และเกษียณอายุราชการ ว่า มันเรื่องอะไรของเขาล่ะ เป็นเรื่องของราชการเขาทำ เวลารัฐบาลก่อนเปลี่ยนคนทำสำนวน เปลี่ยนตำรวจ ทำไมถึงทำได้ ทำไมรัฐบาลที่แล้วทำ มันไม่ถูก ทำที่ไหน มันเกิดสมัยไหน พนักงานตอนนั้นก็ต้องเป็นคนทำ ถ้าอ้างว่าไม่เป็นธรรม ก็จะอ้างอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ ไม่เกี่ยว เรื่องของการสอบสวนเขาว่าด้วยหลักฐาน ด้วยวัตถุพยาน พยานบุคคลว่ามา สื่อมวลชนต้องไปช่วยเป็นพยานด้วย ไปกันเยอะแยะ ถือกล้องกันเป็นแถว เป็นร้อยเป็นพัน ไม่เห็นมาช่วยทหารเลย
**"แก๊งแดง"ขอคสช.จัดงาน 10 เม.ย.
เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ ( 7 เม.ย.) ที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษก นปช. พร้อมญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้า คสช. เพื่อขอจัดงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับวีรชนที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์ 10 เม.ย. 53 ที่วัดพลับพลาไชย ในวันที่ 10 เม.ย.นี้ โดยมีพล.ต.หญิง บุษบง นุตสถิตย์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็นตัวแทนรับหนังสือร้องเรียน
นายธนาวุฒิ กล่าวว่า ตนพร้อมญาติวีรชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ วันที่ 10 เม.ย. 53 เดินทางมาอนุญาต คสช.จัดงาน ทำบุญที่วัดพลับพลาไชย ในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นงานทำบุญที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ในปีนี้มีกฎหมายพิเศษ คือ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ อีกทั้งทาง พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. ระบุว่าไม่ให้จัดงานรำลึกดังกล่าว ซึ่งทางนปช.ได้ทำหนังสือมายื่น 2 ฉบับ ประกอบด้วย เรื่องการชี้แจงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับวีรชนในเหตุการณ์ 10 เม.ย. 53 และอีกฉบับ เรื่องการขออนุญาตทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติวีรชน 10 เม.ย. - 19 พ.ค. 53 ซึ่งมีรายละเอียดของการจัดงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดต่อเจตนาของการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับวีรชน ผู้ล่วงลับ โดยไม่มีเรื่องการเมืองและนัยยะแอบแฝง อีกทั้งไม่ได้มีการชุมนุมใดๆ ทั้งสิ้น
"ทางญาติวีรชนขอจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่วีรชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 53 เมื่อเสร็จพิธีก็แยกย้ายกันกลับทันที ผมมีความเห็นว่า เรื่องการทำบุญไม่ควรปิดกั้น เพราะเป็นการทำบุญตามศาสนาพุทธ ไม่มีการชุมนุม และไม่มีการปราศรัยทางการเมือง ส่วนการประเมินผู้ที่จะมาร่วมงานนั้น ก็จะมีเพียงญาติของวีรชนเท่านั้น คิดว่ามีจำนวนไม่มาก หาก คสช.ไม่มั่นใจก็สามารถส่งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเข้ามาดูแลความเรียบร้อยได้" นายธนาวุฒิ กล่าว
วานนี้ (7 เม.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ หรือ โหรคมช. ระบุว่า นายกฯจะอยู่บริหารต่อถึง 3 ปี ว่า "ไม่ทราบ คงต้องไปถามที่โหรเอง ส่วนผมก็มีโรดแมปของผมเอง และผมก็ได้ส่งสัญญาณไปถึงโหรวารินทร์แล้วว่า อย่าพูดเลย ซึ่งท่านก็คงไม่พูดแล้ว เพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรผม แล้วผมเองก็ไม่ต้องไปตามท่านทุกเรื่อง ผมก็เป็นตัวผม สามารถใช้สติปัญญาที่ผมมี กับความร่วมมือของทุกคน"
เมื่อถามว่า แต่ถ้าหากดวงดาวกำหนดให้เป็นเช่นนั้น ยินดีที่จะทำตามหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ดวงดาวก็คือดวงดาว ถ้าเราทำตัวไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ศีลธรรม ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ต่อให้ดวงดาวดีขนาดไหน จะกี่ดวงมาซ้อนกันเป็นกี่จักร ก็ไปไม่ได้ เพราะคนไม่ดี เมื่อถามว่า แต่ถ้าดวงชะตากำหนดเช่นนั้น จะรับได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอบทันทีว่า "ไม่ต้องมาถ้ากับผม อย่ามาถ้า ผมไม่ได้อยากจะอยู่ ทุกอย่างจะเป็นไปตามโรดแมปของผมก็แล้วกัน โรดแมปว่ายังไง ก็ว่าตามนั้น"
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้มีอะไรเป็นอุปสรรคในการทำงานบ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อุปสรรค คือ ความเข้าใจ ซึ่งทุกคนที่ทำหน้าที่ต่างมีความตั้งใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สนช. สปช. ทุกคนนำบทเรียนที่ผ่านมา มาคิด มาทำ มาแก้ปัญหาในจุดต่างๆ ทั้งในส่วนของที่มา ส.ส. และส.ว. หรือการพิจารณาในการใช้อำนาจที่เหมือนจะเป็นเผด็จการรัฐสภา เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งเราเข้าใจประเด็นที่ตนเห็นต่างอย่างต่างประเทศ ไม่ว่าจะพรคการเมืองใดขึ้นมาบริหาร อะไรที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติก็จะทำต่อ ไม่ใช่พอพรรคหนึ่งขึ้นมาแล้วก็ล้มของอีกพรรคที่ทำไว้แล้วเดิม ก็ต้องเริ่มใหม่กันตลอด เมื่อเปลี่ยนพรรคการเมืองไปเรื่อยๆ งานก็จะเป็นท่อนๆ ไม่ทั่วถึงเสียที อย่างเช่นกรณีการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่เชียงใหม่ และได้ทำบุญรวมทั้งได้รับแรงใจ มีกำลังใจมากขึ้นหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมมีกำลังใจทุกวัน ไม่ต้องไปไหนก็มีกำลังใจ และที่ไปเชียงใหม่ มีคนชื่นชมผม ผมก็ต้องขอบคุณ แต่พอกลับมาสิ่งที่ผมรู้คือ ผมจะต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม เพราะมีคนคาดหวังเช่นนั้น ก็ต้องทำทุกอย่างให้ดีอย่างที่คิดไว้ การให้กำลังใจมาเป็นการดี แต่อย่าไปเหลิงกับมัน อย่าไปเห็นว่าพอมีคนรักแล้วยินดี ถ้าผมจะทำให้คนรักมากๆ ใครขออะไรมาก็คงให้ทั้งหมด แต่พอถึงวันข้าง หน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างก็ไม่รู้ วันนี้เราต้องทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดความยั่งยืน การทุจริตต่างๆ ก็ต้องรื้อทั้งหมด"
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง กรณี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน เตรียมนำรายชื่อข้าราชการระดับต่างๆ ประมาณ 100 รายชื่อที่พัวพันการทุจริต คอร์รัปชัน ว่ากำลังไล่อยู่ จับกลุ่มดูอยู่ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ถ้าส่งมาก็จะให้แต่ละกระทรวงไปดู ว่ามีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันอย่างไร บางทีต้องให้เขาตรวจสอบ ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น ก็อาจจะไม่เข้าใจกันบ้าง หรือผิดจริงก็ไม่รู้ ถ้าไม่ผิดแล้วมีชื่อมา ก็ต้องชี้แจงให้ได้
**แคร์ต่างชาติมองรธน.ไม่เป็นปชต.
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ยืนยันว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใด ไม่ว่าจะเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย ประเด็นสำคัญของรัฐธรรมนูญ คือต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้กับคนทั้งในและนอกประเทศ ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะมีความแตกต่างจากฉบับที่ผ่านมาอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร และประเทศไทยต้องการการปฏิรูปหรือไม่ ที่ต้องปฏิรูปเพราะอะไร เพราะเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้นหากเกิดขึ้นกับต่างประเทศ แล้วเขาจะรู้สึกอย่างไร
ทั้งนี้ การที่เราจะกำหนดกติกากันเองนั้น สามารถทำได้ แต่ถามว่าเมื่อรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนในประเทศไม่รับ ขณะเดียวกันคนนอกประเทศก็บอกว่าไม่เป็นสากล แล้วจะทำอย่างไร ซึ่งตนกำลังหาทางออกในเรื่องดังกล่าว เรื่องนี้ต้องเห็นใจกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย เพราะพยายามสร้างสิ่งที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในวันข้างหน้า แต่ต้องดูว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญออกมาแล้วต่างชาติจะรับได้หรือไม่ ตนในฐานะนายกรัฐมนตรี จะนำข้อพิจารณาต่างๆ มาดูในรายละเอียด และให้ต่างชาติได้พิจารณาด้วย โดยจะถามว่า บ้านเมืองที่มีการปฏิรูป มีการใช้รัฐธรรมนูญรูปแบบใด
** ยันไม่กลับไปใช้รธน.ปี40 หรือปี 50
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีโอกาสที่จะพิจารณาเรื่องการทำประชามติ ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้ เพราะยังไม่ถึงตรงนั้น ยังไม่ถึงเวลา เมื่อถามต่อว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านการทำประชามติ จะหยิบยกรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือฉบับปี 2550 มาใช้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี ถ้าอย่างนั้นต้องทำใหม่ ถามว่ารัฐธรรมนูญเก่ามีปัญหาหรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ไม่ได้นำมาเขียนใหม่ทุกมาตรา แต่เอามาจากรัฐธรรมนูญ 40 และ 50 มาพิจารณาควบคู่กันไป อันไหนใส่ได้ ก็ใส่ ไม่ได้เขียนใหม่ เขียนจาก ก. เป็น ค. เป็น ฮ. ไม่ใช่เลย แต่เอามาจากรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 เป็นหลัก
เมื่อถามว่า ห้วงเวลาที่ร่างรัฐธรรมนูญใกล้เสร็จ รัฐบาลจะสร้างความเข้าใจกับประชาชนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตอนนี้มีการพูดกันอยู่ แต่บางทีคนไม่เข้าใจ คนที่มองในแง่เดียวว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง ให้เสรีภาพประชาชนอย่างเต็มอำนาจ ทุกรูปแบบ แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่องของหน้าที่ของประชาชนว่าอยู่ตรงไหน อยากให้มีคนเข้ามาถามตนว่า หน้าที่ของประชาชน ควรจะอยู่ตรงไหนดี ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของเด็ก ผู้ใหญ่ นักเรียน โดยจะร่วมมือกับรัฐอย่างไร หากรัฐบาลทีได้มาจากการเลือกตั้งโดยสุจริต มีคุณภาพ มีธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม
" อยากให้มีคนถามว่า ประชาชนจะร่วมมือได้อย่างไร แต่ก็ไม่มีใครถาม มีแต่คนถามว่า เมื่อไหร่จะเลือกตั้ง เลือกตั้งทางอ้อม ทางตรง วันนี้ต้องใช้อำนาจแก้ไขปัญหา การใช้งบประมาณ ถามแต่เรื่องที่ไม่ก้าวหน้า เป็นเรื่องการแก้ปัญหาเหมือนเดิม ซึ่งวันหน้าต้องแก้ใหม่อีก แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญถ้าเป็นของต่างประเทศที่ผมดู เช่น ฝรั่งเศส ส่วนประเทศอังกฤษ เป็นจารีต ประเทศเหล่านี้ ประชาชนของเขามีความพร้อม ไม่ได้มีปัญหาอย่างพวกเรา ที่มีความเห็นต่างขัดแย้ง เมื่อมีการเมืองเข้ามา ก็แบ่งเป็นกลุ่มๆ ผลประโยชน์ทับซ้อน การเมืองประเทศไทย แม้แต่คนไทยก็ยังไม่รู้ โดยคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ที่มีการวิเคราะห์แล้ว ที่เด็กรุ่นใหม่บอกว่า โกงหน่อยก็ได้ แต่แบ่งกันยังดีกว่า จะคิดแบบนี้ไม่ได้ รัฐบาลต้องเดินหน้าประเทศ ประชาชนต้องสนับสนุน ขณะเดียวกันรัฐบาลไม่ได้มีเงินมากพอที่จะมาสนับสนุน แต่ทุกเรื่องต้องแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะใช้กลไกท้องถิ่นมาช่วยสร้างความเข้าใจกับประชาชนอย่างไร ในห้วงเวลาที่รัฐธรรมนูญใกล้เสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้มีการเปิดเวที แต่เปิดทุกที่ก็มีขัดแย้งกัน เพราะเขายังไม่ยอมรับกติกา ว่าบ้านเราเกิดอะไรขึ้น คนต่างจังหวัดอาจจะไม่เห็นว่าที่กรุงเทพฯ เกิดอะไรขึ้น หรือแม้กระทั่งสหรัฐฯ อาจจะเห็นหรือไม่ ตนไม่ทราบ แต่เขาคิดแต่ว่าจะให้เราเลือกตั้ง เพราะเขาลืมมาตรฐานคนแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ความเป็นอยู่รายได้ คุณภาพชีวิตการศึกษา ไม่เหมือนกัน ดังนั้นความคิดจึงแตกต่าง เมื่อทุกคนเดือดร้อนหมด ก็ต้องหารัฐบาลที่จะมาดูแล รัฐบาลที่จะดูแล ก็ต้องดูแลทุกกลุ่มทุกฝ่าย ตอนนี้รัฐบาลดุทุกเรื่อง ทั้งข้าว มันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน ปรับโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลก่อนๆไม่ค่อยคิดกัน จึงแก้ปัญหาวกไปวนมา
เมื่อถามว่า เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องรัฐธรรมนูญต้องเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศมาให้ข้อมูลหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีการประชุมตั้งหลายครั้งแล้ว แต่เดี๋ยวจะทำเพื่อสร้างการรับรู้ โดยจะสั่งการในช่วงบ่อยวันนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศด้วย หากทำแบบเรา คิดแบบเราแล้วเขาไม่ยอมรับแล้วจะทำอย่างไร ในประเทศตนไม่ได้ห่วงเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวก็คุยกันรู้เรื่อง แต่ต่างประเทศรับได้หรือไม่ เพราะถ้ารับไม่ได้เขาก็จะบอกว่าประเทศเราไม่มีประชาธิปไตย เหมือนอย่างกับการที่เรานำ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาใช้เพื่อประโยชน์เขายังหาว่าเราไปบังคับขู่เข็ญ
" ถ้าไม่มีแล้วจะยังไง มันก็ไม่ยอมกันสักอย่าง ทุกอย่างอย่างคิดว่ามันสงบ ท่านก็รู้อยู่ว่าเป็นอย่างไร เพราะยังมีเคลื่อนไหวอยู่ทั้งคู่ สองสามฝ่าย ผมไม่ได้โทษว่า ใครดี ไม่ดี แต่เขามองในแง่ของการเมือง ส่วนผมไม่มีการเมือง ผมจึงรู้ว่าปัญหามีอะไรบ้าง แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะท้ายที่สุดผมก็รับผิดชอบ เพราะเป็นผู้ที่กุมอำนาจมา อำนาจอยู่ที่ผม จะสำเร็จหรือล้มเหลว ผมก็รับผิดชอบอีกอยู่ดี ดังนั้นผมจะไม่ตามใจใครสักคน มันชีวิตผม เข้าใจหรือยัง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**จับตากลุ่มการเมืองตัวป่วน
เมื่อถามว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองที่นายกฯ พูดถึงสองสามกลุ่มนั้น เป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ดูอยู่ ทั้งหมดเคยมาคุยกันแล้ว นักการเมืองก็เคยมาคุยกัน เมื่อตอนที่มีคสช.แรกๆ พอหลังๆ เมื่อเขาพูดจาอะไรที่ไม่ค่อยเข้าท่า ก็เชิญมาคุยอีก เขาก็รับปากทุกที แต่พอรับปากเสร็จ เขาก็ออกไปพูดข้างนอก แล้วจะให้ตนทำอย่างไร ปล่อยให้พูดไปเรื่อยๆได้หรือไม่ หรือจะใช้อำนาจอันนี้ตนไม่รู้ และยังไม่ได้ใช้ รอให้มีการพูดไปเรื่อยๆก่อนก็แล้วกัน
เมื่อถามว่ากลุ่มที่เคลื่อนไหวเขาต้องการอะไร นายกฯ กล่าวว่า ต้องการเลือกตั้งไง โดยใช้กติกาเดิม รัฐธรรมนูญเดิม อย่างที่บอกรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 มีข้อดีและปัญหา ดังนั้น เราต้องเลือกมาท่านเคยดูหรือยัง 300 กว่ามาตรา ถ้ายังไม่อ่านทั้งฉบับ ก็ยังคุยกันไม่รู้เรื่อง ตนอ่านทุกอันทุกฉบับ และฉบับที่ร่างใหม่อยู่นี้ เอาจากปี 40 และ 50 มา แล้วก็ยกออกมาต่างหาก เช่น การเมือง การใช้อำนาจ เพื่อลดปัญหา ส่วนที่ไม่ได้ข้อยุติคือประเด็นนายกฯ จากคนนอก ก็เพราะเขาเห็นว่า ก่อนวันที่ 22 พ.ค. 57 ประเทศเดินไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่มีอำนาจเต็ม รัฐบาลรักษาการ ใช้งบประมาณไม่ได้ เมื่อมันติดแล้ว จะทำอย่างไร จำเป็นต้องมีคนหรือนายกฯคนนอก หรือมีองค์กรเข้ามาตรงนี้ ใครสามารถดำเนินการไปได้ แล้วค่อยมาเลือกตั้งกัน คือ ตอนนี้รักษาสภาพไป เพื่อให้ไม่ติด
"ก่อนหน้านี้ ติดปัญหามา 6 เดือนแล้วผมต้องมารีบทำ งบประมาณปี 2557 และ 2558 ถ้าไม่ทำ ก็ประชุมไม่ได้ เพราะไม่มีเงิน งบประมาณไม่ออก นั่นคือเหตุผล เขาเลยคิดออกมาอย่างนั้น แต่มันยังไม่ได้ข้อยุติว่า ยอมรับกันไหม ถ้ายอมรับว่ามีปัญหาแบบนี้ แล้วแก้ไขด้วยวิธีแบบนี้ ต้องถามต่างชาติ ว่าถ้าไม่ทำลักษณะนี้แล้วจะทำอย่างไร วันนี้ที่บอกว่า เลือกตั้งทางอ้อมบ้าง ทางตรงบ้าง ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งคนของเราเวลาที่จะทำความเข้าใจ จะเลือกแต่ที่เข้ากับตัว เอาแต่ที่ตัวเองพอใจ แล้วก็พูด พูด พูด ตัวไหนไม่พอใจ ก็ไม่พูด มันต้องพูดถึงคนทุกพวกทุกฝ่าย ไม่ใช่เลือกเอามาแต่สิ่งที่ดีกับเรา แต่สิ่งที่ไม่ดีกลับไม่รับ วันนี้กฎหมายเหมือนกัน พอลงโทษไอ้นี่ ก็บอกว่าเลือกข้าง มันอะไรกัน กฎหมายก็ยังโตไม่ได้ รัฐธรรมนูญเองก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ว่าประเทศชาติจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องเดินหน้าไปได้ ไม่ต้องลงในรายละเอียดมากนัก แต่ไปลงเรื่องการบริหารประเทศ ธรรมาภิบาล หน้าที่พลเมืองถามว่าที่ผ่านมามีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้หรือไม่" นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ต้องถามว่า วันนี้บ้านเราจำเป็นต้องปฏิรูปแล้วหรือยัง ถ้าไม่อยากปฏิรูป และอยากเลือกตั้งก็ให้บอกมา ตนก็จะไปพักผ่อน ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงควรเป็นไปเพื่อการปฏิรูป จะได้ไม่มีเรื่องของการทุจริต มีการตรวจสอบอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมา มีความคลุมเครือ ว่าอาจจะถูกหรือผิด ดังนั้นจึงต้องมีความชัดเจน วันนี้เราต้องทำเรื่องใหญ่ก่อน เพราะถ้าทำเรื่องใหญ่ด้วยเรื่องเล็กด้วย คนเป็นนายกฯ ปวดหัวตายพอดี
**นปช.บี้ คดี 99 ศพจากการสลายม็อบปี 53
วานนี้ ( 7 เม.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และคณะ เดินทางเข้าพบ นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดี ดีเอสไอ และ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดี ดีเอสไอ เพื่อสอบถามรายละเอียด และแนวทางในการดำเนินคดีการเสียชีวิตทั้ง 99 ศพ จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ภายหลังมีการตั้งคณะพนักงานสอบสวนขึ้นใหม่ พร้อมร้องขอให้มีตัวแทน ของกลุ่มนปช. เข้าร่วมรับฟังการสอบสวนในคดี
นายจตุพร กล่าวว่า จากกระแสที่มีการพยายามเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในการดำเนินคดี เช่น หากพิสูจน์ได้ว่า มีชายชุดดำได้ คดีทุกอย่างจะจบ ซึ่งผลการไต่สวนสำนวนชันสูตรพลิกศพ จำนวน 28 ศพ ก่อนหน้านี้ รวมไปถึงสำนวนคดีการเสียชีวิตของ นายพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และนางสมร ไหมทอง หรือสำนวนคดี 6 ศพวัดปทุมฯ ที่ศาลได้ไต่สวนชัดเจนว่า ไม่มีชายชุดดำ ทั้งนี้ ในส่วนที่เราห่วงใยใน 27 คดี ที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างดีเอสไอ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)โดยที่ผ่าน 27 คดี มีความล่าช้า และตนได้เรียกร้องมาตั้งแต่เริ่มต้นว่า ทั้ง 89 สำนวน ควรมีการไต่สวนสำนวนชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตั้งโครงเรื่องชายชุดดำขึ้นมา และ ดีเอสไอ เคยเรียกนักข่าวจากสำนักข่าวอัลจาชีรา มาให้ข้อมูล เกี่ยวกับภาพชายชุดดำที่ถูกบันทึกไว้ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณสี่แยกคอกวัว ส่วนจุดใดนั้น ไม่ทราบ โดยสำนักข่าวอื่นๆ ไม่มีใครสามารถเก็บภาพชายชุดดำได้ มีเพียงสำนักข่าวอัลจาชีรา ที่มีภาพชายชุดดำขณะยิงปืนเป็นประกายไฟได้ ต่อมาสำนักข่าวอัลจาชีรา ได้ให้ข้อมูลกับดีเอสไออีกครั้ง โดยระบุว่า ภาพชายชุดดำนั้น ไม่ได้ถ่ายเอง แต่เป็นภาพที่มีคนมาขายให้ เพราะถ้าถ่ายเอง จะทราบตำแหน่งที่ยิงได้ ตนจึงอยากให้ดีเอสไอ ทำการขยายผลว่า คนที่มาขายภาพให้สำนักข่าวอัลจาชีรา เป็นใคร เพื่อที่ดีเอสไอ จะทราบได้ว่า จุดที่ชายชุดดำยืนอยู่ คือจุดใด
** ค้านเปลี่ยนชุดพนักงานสอบสวน
นายจตุพร กล่าวอีกว่า ตนมีความกังวล ในการเปลี่ยนชุดพนักงานสอบสวน โดยมีทหารมาร่วมสอบสวนด้วย และก่อนที่นางสุวณา จะมารับตำแหน่ง อธิบดี ดีเอสไอ นั้น เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ เคยนำหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทำเรื่องไปยัง ศอฉ. เพื่อขอรายชื่อว่ามีทหารคนใดประจำใน 21 จุด กับ 89 ความตาย และศอฉ. ก็ได้ส่งข้อมูลกลับมาให้ว่า มีทหารประจำจุดใดบ้าง อาทิ กรณี 6 ศพวัดปทุมฯ
ประธานนปช. กล่าวอีกว่า คดีที่พิสูจน์ทราบแล้วว่า การเสียชีวิตเกิดจากฝั่งของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในรัฐบาลนี้ที่มีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจะสามารถดำเนินการได้แค่ไหน ทั้งในด้านสังกัดขอบเจ้าหน้าที่ และการนำอาวุธมาตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม การมาติดตามเรื่องวันนี้ ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีของพวกตน เพราะคดีของพวกตน เลยขั้นตอนของดีเอสไอไปแล้ว แต่ต้องการมาทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของครอบครัวผู้เสียเสียชีวิต โดยจะขอติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ
นพ.เหวง กล่าวว่า เพื่อความโปร่งใสในการทำงานของดีเอสไอ จึงอยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถส่งตัวแทนเข้ารับฟังการสอบสวนได้หรือไม่ และหากมีหลักฐานใหม่ จะสามารถรื้อฟื้นคดีได้หรือไม่
** "ดีเอสไอ"ยันไม่ได้เปลี่ยนทีมสอบสวน
ด้านนางสุวณา กล่าวว่า ดีเอสไอ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะพนักงานสอบสวนอย่างที่เป็นข่าวออกไป แต่เป็นการเพิ่มเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่มาจากทหาร จำนวน 7 คน เพื่อมาประสานงานในส่วนของทหารที่ยังไม่เข้าให้ปากคำกับดีเอสไอ อีกทั้ง ยังเป็นการทดแทนคณะพนักงานสอบสวนชุดเดิมที่เกษียณอายุราชการ ส่วนกรณีที่ตัวแทนกลุ่ม นปช. จะขออนุญาตเข้ามารับฟังการสอบสวนนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะอาจกระทบต่อรูปคดี แต่หากทนายความ ของผู้เกี่ยวข้องที่เข้าให้ปากคำกับดีเอสไอ ก็สามารถเข้าร่วมรับฟังได้ ซึ่งเป็นไปตามข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการสอบสวน ตนก็ได้เร่งคดีให้มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ สมัยคณะทำงานชุดเดิม เคยได้รับการร้องเรียนจากเจ้าหน้าที่ทหาร ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นกัน ซึ่ง ดีเอสไอ ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สำหรับการตรวจสอบเกี่ยวอาวุธปืนที่ใช้ก่อเหตุนั้น เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ กำลังจะดำเนินการตรวจสอบ โดยเราจะทำงานด้วยความโปร่งใส และทำให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายเชื่อถือการทำงานของเรา และยืนยันว่า การทำงานครั้งนี้ไม่การตั้งธง หรือมีคนชี้นำแต่อย่างใด
**ตอก"แก๊งแดง"เปลี่ยนพนง.สอบสวนไม่ได้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงเรื่องการแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนชุดใหม่ เพื่อคลี่คลายคดีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 53 จำนวน 99 ศพ เนื่องจากตำรวจนครบาล และดีเอสไอในชุดพนักงานสอบสวนชุดเก่าได้โยกย้าย และเกษียณอายุราชการ ว่า มันเรื่องอะไรของเขาล่ะ เป็นเรื่องของราชการเขาทำ เวลารัฐบาลก่อนเปลี่ยนคนทำสำนวน เปลี่ยนตำรวจ ทำไมถึงทำได้ ทำไมรัฐบาลที่แล้วทำ มันไม่ถูก ทำที่ไหน มันเกิดสมัยไหน พนักงานตอนนั้นก็ต้องเป็นคนทำ ถ้าอ้างว่าไม่เป็นธรรม ก็จะอ้างอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ ไม่เกี่ยว เรื่องของการสอบสวนเขาว่าด้วยหลักฐาน ด้วยวัตถุพยาน พยานบุคคลว่ามา สื่อมวลชนต้องไปช่วยเป็นพยานด้วย ไปกันเยอะแยะ ถือกล้องกันเป็นแถว เป็นร้อยเป็นพัน ไม่เห็นมาช่วยทหารเลย
**"แก๊งแดง"ขอคสช.จัดงาน 10 เม.ย.
เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ ( 7 เม.ย.) ที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษก นปช. พร้อมญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้า คสช. เพื่อขอจัดงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับวีรชนที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์ 10 เม.ย. 53 ที่วัดพลับพลาไชย ในวันที่ 10 เม.ย.นี้ โดยมีพล.ต.หญิง บุษบง นุตสถิตย์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็นตัวแทนรับหนังสือร้องเรียน
นายธนาวุฒิ กล่าวว่า ตนพร้อมญาติวีรชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ วันที่ 10 เม.ย. 53 เดินทางมาอนุญาต คสช.จัดงาน ทำบุญที่วัดพลับพลาไชย ในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นงานทำบุญที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ในปีนี้มีกฎหมายพิเศษ คือ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ อีกทั้งทาง พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. ระบุว่าไม่ให้จัดงานรำลึกดังกล่าว ซึ่งทางนปช.ได้ทำหนังสือมายื่น 2 ฉบับ ประกอบด้วย เรื่องการชี้แจงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับวีรชนในเหตุการณ์ 10 เม.ย. 53 และอีกฉบับ เรื่องการขออนุญาตทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติวีรชน 10 เม.ย. - 19 พ.ค. 53 ซึ่งมีรายละเอียดของการจัดงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดต่อเจตนาของการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับวีรชน ผู้ล่วงลับ โดยไม่มีเรื่องการเมืองและนัยยะแอบแฝง อีกทั้งไม่ได้มีการชุมนุมใดๆ ทั้งสิ้น
"ทางญาติวีรชนขอจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่วีรชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 53 เมื่อเสร็จพิธีก็แยกย้ายกันกลับทันที ผมมีความเห็นว่า เรื่องการทำบุญไม่ควรปิดกั้น เพราะเป็นการทำบุญตามศาสนาพุทธ ไม่มีการชุมนุม และไม่มีการปราศรัยทางการเมือง ส่วนการประเมินผู้ที่จะมาร่วมงานนั้น ก็จะมีเพียงญาติของวีรชนเท่านั้น คิดว่ามีจำนวนไม่มาก หาก คสช.ไม่มั่นใจก็สามารถส่งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเข้ามาดูแลความเรียบร้อยได้" นายธนาวุฒิ กล่าว