ASTVผู้จัดการรายวัน - “กันตาร์ เวิร์ลดพาเนล” เผยผลวิจัย “Consumer Connection 2015” พบคนไทยลดปริมาณการซื้อ 13 สินค้าหลัก ส่วนตลาด FMCG ยังโตแค่ 3% แต่ดีกว่ามาเลเซียและไต้หวันที่โตเพียง 1% ขณะที่ฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ ยังคงที่ 0% ส่วนบางประเทศตลาดโตเพราะมีการปรับราคาสินค้าและเงินเฟ้อในประเทศที่สูง แย้งคำวิจารณ์เศรษฐกิจไทยป่วยหนักสุดในเอเชีย
บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาเนล (ไทยแลนด์) จำกัด (KWP) บริษัทในเครือ WPP ผู้นำตลาดด้านการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายผู้บริโภคเชิงลึกที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตราการบริโภคสูง หรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ได้จัดทำผลงานวิจัยชุด “Consumer Connection 2015” เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อใช้เป็นข้อบ่งชี้สำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์สินค้าซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างใหม่ทางการตลาด FMCG ในประเทศไทย
การศึกษาดังกล่าวเป็นการรวบรวมผลสำรวจ ณ สิ้นปี 2557 จากฐานกลุ่มตัวอย่างที่ทำการจับจ่ายจริง (Consumer Panel) จำนวน 4 พันครัวเรือนจากจำนวน 23 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองระดับเทศบาลขึ้นไป เป็นสัดส่วน 44% และเขตชนบทภายใต้การปกครองระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ลงมา เป็นสัดส่วน 56%
“ผลวิจัยครั้งนี้เป็นการเฝ้าเก็บข้อมูลจากตะกร้าสินค้าที่ผู้บริโภคจับจ่ายจริงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความเป็นจริงและแตกต่างจากวิธีการ Retail Panel ที่เน้นการสำรวจในส่วนของผู้ค้าปลีกในห้างสรรพสินค้าและโมเดิร์นเทรดซึ่งมีข้อมูลที่จำกัดและไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ “ นายฮาเวิร์ด ชาง ผู้จัดการทั่วไป ถึงงานวิจัยชิ้นนี้
เบื้องต้นพบว่าผู้บริโภคลดการจับจ่ายใช้สอยลงทั้งในแง่ของความถี่และปริมาณการซื้อ รวมถึงนิยมซื้อของในร้านสะดวกซื้อมากขึ้น ขณะที่ลดการซื้อในไฮเปอร์มาร์เก็ตและโมเดิร์นเทรดทั่วไป โดยเน้นการซื้อสินค้าที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย” นายฮาเวิร์ด กล่าว
สำหรับพฤติกรรมการซื้อที่ลดลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดในไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่คือ “เทสโก้ โลตัส” มีสัดส่วนลดลงถึง 12% ขณะที่ “บิ๊กซี” มีการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่มากขึ้น โดยผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อมากขึ้น โดย “เซเว่นอีเลฟเว่น” ยังคงมีการเติบโตคงที่อันเป็นผลมากจากจำนวนสาขาที่มีมาก แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นใน “เทสโก้ โลตัส เอ็กซเพรส” ที่เริ่มขยายสาขาในเขตเมืองมากขึ้น รวมถึงร้านสะดวกซื้อท้องถิ่นทั่วไปและร้านโชวห่วยในเขตชนบท เนื่องจากผู้บริโภคเน้นการซื้อสินค้าขนาดเล็กแต่เพิ่มความถี่มากขึ้น
จากการศึกษาการซื้อสินค้า FMCG จำนวน 100 กลุ่มตัวอย่างยังพบว่า ผู้บริโภคเริ่มลดการซื้อสินค้าบางประเภทที่มีความจำเป็นน้อย เช่น ชาเขียวพร้อมดื่ม, น้ำผลไม้, ไอศกรีม, ขนมปังและบิสกิต, ขนมขบเคี้ยวทั่วไป, ขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่าย, น้ำยาขจัดคราบ, ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม, ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม, ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า, น้ำยาบ้วนปาก, สบู่เหลวล้างมือ, และนมผง
ในขณะที่สินค้าที่ผู้บริโภคยังคงจำเป็นต้องจับจ่าย ได้แก่ สบู่, ยาสีฟัน, ยาสระผม, แป้งฝุ่นมาตัว และผงซักฟอก ทำให้คาดว่าตลาด FMCG ของประเทศไทยในปี 2558 จะยังคงมีอัตราการเติบโตประมาณ 3-5%
“บริษัทฯ มีแผนการขยายผลการวิเคราะห์กลุ่มสินค้าตัวอย่างและฐานกลุ่มเป้าหมายตัวอย่างให้มากขึ้น รวมถึงขยายการวิจัยช่องทางการจับจ่ายสินค้าที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนแสดงผลพฤติกรรมของประชากรทั่วประเทศที่แม่นยำที่สุด อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและกลยุทธ์การตลาด รวมถึงลดความเสี่ยงให้เจ้าของสินค้าสามารถตอบสนองตลาดและผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับและพัฒนาวงการค้าปลีกของประเทศไทยให้ก้าวหน้ามากขึ้น” นายฮาเวิร์ด ชาง กล่าว
นายฮาเวิร์ดกล่าวด้วยว่า ตามที่ก่อนหน้านี้มีนักเศรษฐศาสตร์และสื่อบางประเภทนำเสนอข้อมูลว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยเปรียบเสมือนผู้ป่วยหนักในทวีปเอเชียเนื่องจากมีอำนาจการจับจ่ายต่ำลงและมีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นนั้น จากผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีการจับจ่ายลดลงและต่ำมากกว่าประเทศไทย
“เมื่อพิจารณาจากฐานข้อมูลการวิจัยพบว่าในปี 2557 ประเทศไทยมีการซื้อสินค้าประเภท FMCG เติบโตเพียง 3% แต่มาเลเซียและไต้หวัน มีการเติบโตเพียง 1% ขณะที่ฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ มีการเติบโตคงที่ 0% สำหรับประเทศจีนมีอัตราการซื้อเติบโต 5% ส่วนเวียดนามที่มีการเติบโต 10% เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศที่สูงขึ้น โดยประเทศที่มีการซื้อสูงสุด 15% คืออินโดนีเซียนั้นเป็นเพราะสอดคล้องกับกลไกตลาดที่สินค้ามีการปรับราคาสูงขึ้น 10%”
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยในปี 2558 ว่าจะอยู่ในระดับ 3.8% ลดลงจากการประเมินช่วงต้นปีว่าจะอยู่ในระดับ 4.0% ทั้งพบว่าประชากรไทยจะมีหนี้ครัวเรือนสูงถึง 85% เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่อยู่ในระดับ 80% แต่ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ 80% ยังคงมีความสุข ทัศนคติที่ดี และความหวังในอนาคตว่าจะมีความมั่นคงในการหารายได้เพิ่มขึ้น
บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาเนล (ไทยแลนด์) จำกัด (KWP) บริษัทในเครือ WPP ผู้นำตลาดด้านการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายผู้บริโภคเชิงลึกที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตราการบริโภคสูง หรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ได้จัดทำผลงานวิจัยชุด “Consumer Connection 2015” เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อใช้เป็นข้อบ่งชี้สำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์สินค้าซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างใหม่ทางการตลาด FMCG ในประเทศไทย
การศึกษาดังกล่าวเป็นการรวบรวมผลสำรวจ ณ สิ้นปี 2557 จากฐานกลุ่มตัวอย่างที่ทำการจับจ่ายจริง (Consumer Panel) จำนวน 4 พันครัวเรือนจากจำนวน 23 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองระดับเทศบาลขึ้นไป เป็นสัดส่วน 44% และเขตชนบทภายใต้การปกครองระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ลงมา เป็นสัดส่วน 56%
“ผลวิจัยครั้งนี้เป็นการเฝ้าเก็บข้อมูลจากตะกร้าสินค้าที่ผู้บริโภคจับจ่ายจริงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความเป็นจริงและแตกต่างจากวิธีการ Retail Panel ที่เน้นการสำรวจในส่วนของผู้ค้าปลีกในห้างสรรพสินค้าและโมเดิร์นเทรดซึ่งมีข้อมูลที่จำกัดและไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ “ นายฮาเวิร์ด ชาง ผู้จัดการทั่วไป ถึงงานวิจัยชิ้นนี้
เบื้องต้นพบว่าผู้บริโภคลดการจับจ่ายใช้สอยลงทั้งในแง่ของความถี่และปริมาณการซื้อ รวมถึงนิยมซื้อของในร้านสะดวกซื้อมากขึ้น ขณะที่ลดการซื้อในไฮเปอร์มาร์เก็ตและโมเดิร์นเทรดทั่วไป โดยเน้นการซื้อสินค้าที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย” นายฮาเวิร์ด กล่าว
สำหรับพฤติกรรมการซื้อที่ลดลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดในไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่คือ “เทสโก้ โลตัส” มีสัดส่วนลดลงถึง 12% ขณะที่ “บิ๊กซี” มีการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่มากขึ้น โดยผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อมากขึ้น โดย “เซเว่นอีเลฟเว่น” ยังคงมีการเติบโตคงที่อันเป็นผลมากจากจำนวนสาขาที่มีมาก แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นใน “เทสโก้ โลตัส เอ็กซเพรส” ที่เริ่มขยายสาขาในเขตเมืองมากขึ้น รวมถึงร้านสะดวกซื้อท้องถิ่นทั่วไปและร้านโชวห่วยในเขตชนบท เนื่องจากผู้บริโภคเน้นการซื้อสินค้าขนาดเล็กแต่เพิ่มความถี่มากขึ้น
จากการศึกษาการซื้อสินค้า FMCG จำนวน 100 กลุ่มตัวอย่างยังพบว่า ผู้บริโภคเริ่มลดการซื้อสินค้าบางประเภทที่มีความจำเป็นน้อย เช่น ชาเขียวพร้อมดื่ม, น้ำผลไม้, ไอศกรีม, ขนมปังและบิสกิต, ขนมขบเคี้ยวทั่วไป, ขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่าย, น้ำยาขจัดคราบ, ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม, ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม, ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า, น้ำยาบ้วนปาก, สบู่เหลวล้างมือ, และนมผง
ในขณะที่สินค้าที่ผู้บริโภคยังคงจำเป็นต้องจับจ่าย ได้แก่ สบู่, ยาสีฟัน, ยาสระผม, แป้งฝุ่นมาตัว และผงซักฟอก ทำให้คาดว่าตลาด FMCG ของประเทศไทยในปี 2558 จะยังคงมีอัตราการเติบโตประมาณ 3-5%
“บริษัทฯ มีแผนการขยายผลการวิเคราะห์กลุ่มสินค้าตัวอย่างและฐานกลุ่มเป้าหมายตัวอย่างให้มากขึ้น รวมถึงขยายการวิจัยช่องทางการจับจ่ายสินค้าที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนแสดงผลพฤติกรรมของประชากรทั่วประเทศที่แม่นยำที่สุด อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและกลยุทธ์การตลาด รวมถึงลดความเสี่ยงให้เจ้าของสินค้าสามารถตอบสนองตลาดและผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับและพัฒนาวงการค้าปลีกของประเทศไทยให้ก้าวหน้ามากขึ้น” นายฮาเวิร์ด ชาง กล่าว
นายฮาเวิร์ดกล่าวด้วยว่า ตามที่ก่อนหน้านี้มีนักเศรษฐศาสตร์และสื่อบางประเภทนำเสนอข้อมูลว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยเปรียบเสมือนผู้ป่วยหนักในทวีปเอเชียเนื่องจากมีอำนาจการจับจ่ายต่ำลงและมีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นนั้น จากผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีการจับจ่ายลดลงและต่ำมากกว่าประเทศไทย
“เมื่อพิจารณาจากฐานข้อมูลการวิจัยพบว่าในปี 2557 ประเทศไทยมีการซื้อสินค้าประเภท FMCG เติบโตเพียง 3% แต่มาเลเซียและไต้หวัน มีการเติบโตเพียง 1% ขณะที่ฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ มีการเติบโตคงที่ 0% สำหรับประเทศจีนมีอัตราการซื้อเติบโต 5% ส่วนเวียดนามที่มีการเติบโต 10% เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศที่สูงขึ้น โดยประเทศที่มีการซื้อสูงสุด 15% คืออินโดนีเซียนั้นเป็นเพราะสอดคล้องกับกลไกตลาดที่สินค้ามีการปรับราคาสูงขึ้น 10%”
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยในปี 2558 ว่าจะอยู่ในระดับ 3.8% ลดลงจากการประเมินช่วงต้นปีว่าจะอยู่ในระดับ 4.0% ทั้งพบว่าประชากรไทยจะมีหนี้ครัวเรือนสูงถึง 85% เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่อยู่ในระดับ 80% แต่ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ 80% ยังคงมีความสุข ทัศนคติที่ดี และความหวังในอนาคตว่าจะมีความมั่นคงในการหารายได้เพิ่มขึ้น