ASTVผู้จัดการรายวัน – ค้าปลีกลุ้นยอดขาย FMCG ผ่านช่องทางออนไลน์ช่วยโต คาดสิ้นปีนี้โต 2% จากยอด 4.5 แสนล้านบาท “กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล”ส่ง “WPO” เครื่องมือตัวใหม่ เจาะลึกถึงพฤติกรรมผ่านสื่อออนไลน์ เชื่อดูดลูกค้ากลุ่มมีเดีย และตอบสนองกลุ่มสินค้า FMCG ได้ดียิ่งขึ้น ชึ้ค้าปลีกไทยควรรุกช่องทางออนไลน์ หลังพบโอกาสเติบโตสูง ใน 3 ปี กินส่วนแบ่ง 1% ของภาพรวมFMCGได้
นายฮาร์เวิร์ด ชาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท กันตาร์ เวิร์ลพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ KWP เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดค้าปลีกไทยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคหรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) พบว่า แต่ละครัวเรือนจะใช้เงิน 10% ในการจับจ่ายซื้อสินค้ากลุ่มนี้ โดยสิ้นปี 2557 ตลาด FMCG มีมูลค่า 450,000 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเติบโตขึ้น 1.5% ทั้งปีน่าจะเติบโตได้ 2%
ทั้งนี้พบว่า ตลาด FMCG ที่ขายผ่านช่องทางในไทย มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 0.2% ของตลาดรวมFMCG ทั้งหมด ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตไม่ต่ำกว่า 2 หลักทุกปี จาก 3 ปีก่อนมีสัดส่วน 0.002% และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีสัดส่วนที่ 1% ได้ จากปัจจุบันแบรนด์ค้าปลีกหันมาให้ความสนใจในช่องทางออนไลน์มากขึ้น เช่น เทสโก้โลตัส และบิ๊กซี เป็นต้น ซึ่งมองว่าผู้ประกอบการควรจะเริ่มลงทุนในช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพราะโอกาสเติบโตยังมีสูง ที่สำคัญยังช่วยให้ตลาดค้าปลีกรวมมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม จากการเก็บข้อมูลทั่วโลก พบว่า ตลาดFMCGออนไลน์ มีมูลค่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,260 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 3.9% ของทุกช่องทาง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวทั่วโลกมีอัตราเติบโตขึ้น 24% และทั่วโลก พบว่า ประเทศที่FMCG ขายผ่านออนไลน์สูงสุด คือ 1. เกาหลี 30% 2.จีน 15% 3.อังกฤษ 10% และยังพบด้วยว่า กลุ่มลูกค้าที่นิยมซื้อสินค้าFMCG ผ่านช่องทางออนไลน์ จะซื้อมากกว่าช่องทางปกติ 2 เท่า เช่น เกาหลี จาก 12 เหรียญสหรัฐ ในช่องทางปกติ จะซื้อของในช่องทางออนไลน์สูงถึง 12 เหรียญสหรัฐ โดยสินค้าส่วนใหญ่ จะเป็น 1.ทิชชูเปียก 50% 2.อาหารสำหรับเด็ก 72% และ 3.ผ้าอ้อมเด็ก 79%
ล่าสุดทางบริษัท พร้อมเปิดตัวเครื่องมือให้บริการใหม่ คือ WPO หรือ Worldpanel Online แบบ 24x7 ในปีนี้ ซึ่งลูกค้าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศได้ ถือเป็นเครื่องมือบริการเพียงรายเดียวที่ตอบสนองลูกค้าได้ครอบคลุมมากกว่ารายอื่นๆในปัจจุบัน จึงอาจจะมีราคาแพกเกจแพงกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าว่าต้องการข้อมูลเจาะลึกมากขนาดไหนเป็นหลัก
“ WPO หรือ Worldpanel Online ถือเป็นเครื่องมือบริการ ที่เพิ่มในส่วนของ Shopper centric media profile เข้ามา ใน 5 สื่อหลัก ได้แก่ อินสโตร์, โทรทัศน์, ดิจิตอล, พริ้นท์ และเอาท์ออฟโฮม จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ เป็นการขยายบริการในการนำเสนอผ่านตัวสินค้า แล้วหาค่าพฤติกรรมการรับรู้จากสื่ออื่นๆที่ลูกค้ารับรู้ จะช่วยให้ลูกค้าได้เลือกลงโฆษณาอย่างตรงจุด รวมถึงจะช่วยเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่เข้ามาอย่างกลุ่มสื่อมีเดีย ในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทั้งกลุ่มช่องโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น” นายฮาร์เวิร์ด กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทยังได้เก็บตัวเลขสื่อมีเดียในไทยด้วย พบว่าปัจจุบันจากงบการใช้สื่อเฉลี่ยที่ 1,000 ล้านบาทของลูกค้า จะใช้กับ 1.ทีวี 60% 2.หนังสือพิมพ์ 14% 3.เอาท์ดอร์ 8% 4.อินเทอร์เน็ต 8% 5.วิทยุ 4% 6.นิตยสาร 4% และ 7.โรงภาพยนตร์ 2-3% แต่ในแง่พฤติกรรมการเข้าถึงสื่อของผู้บริโภค อันดับ 1.ทีวี 98% 2.หนังสือพิมพ์ 52% 3.วิทยุ 38% 4.นิตยสาร 22% และ 5.โรงภาพยนตร์ 4% และพบว่าในส่วนของสื่อออนไลน์ เข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดีย 39% มาจากเดสก์ท็อป 12% และมือถือ 31% โดยพบว่าโซเชียลมีเดียเข้าถึงกลุ่มคนต่างจังหวัดแล้ว 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรกลุ่มนี้
นายฮาร์เวิร์ด ชาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท กันตาร์ เวิร์ลพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ KWP เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดค้าปลีกไทยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคหรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) พบว่า แต่ละครัวเรือนจะใช้เงิน 10% ในการจับจ่ายซื้อสินค้ากลุ่มนี้ โดยสิ้นปี 2557 ตลาด FMCG มีมูลค่า 450,000 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเติบโตขึ้น 1.5% ทั้งปีน่าจะเติบโตได้ 2%
ทั้งนี้พบว่า ตลาด FMCG ที่ขายผ่านช่องทางในไทย มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 0.2% ของตลาดรวมFMCG ทั้งหมด ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตไม่ต่ำกว่า 2 หลักทุกปี จาก 3 ปีก่อนมีสัดส่วน 0.002% และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีสัดส่วนที่ 1% ได้ จากปัจจุบันแบรนด์ค้าปลีกหันมาให้ความสนใจในช่องทางออนไลน์มากขึ้น เช่น เทสโก้โลตัส และบิ๊กซี เป็นต้น ซึ่งมองว่าผู้ประกอบการควรจะเริ่มลงทุนในช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพราะโอกาสเติบโตยังมีสูง ที่สำคัญยังช่วยให้ตลาดค้าปลีกรวมมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม จากการเก็บข้อมูลทั่วโลก พบว่า ตลาดFMCGออนไลน์ มีมูลค่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,260 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 3.9% ของทุกช่องทาง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวทั่วโลกมีอัตราเติบโตขึ้น 24% และทั่วโลก พบว่า ประเทศที่FMCG ขายผ่านออนไลน์สูงสุด คือ 1. เกาหลี 30% 2.จีน 15% 3.อังกฤษ 10% และยังพบด้วยว่า กลุ่มลูกค้าที่นิยมซื้อสินค้าFMCG ผ่านช่องทางออนไลน์ จะซื้อมากกว่าช่องทางปกติ 2 เท่า เช่น เกาหลี จาก 12 เหรียญสหรัฐ ในช่องทางปกติ จะซื้อของในช่องทางออนไลน์สูงถึง 12 เหรียญสหรัฐ โดยสินค้าส่วนใหญ่ จะเป็น 1.ทิชชูเปียก 50% 2.อาหารสำหรับเด็ก 72% และ 3.ผ้าอ้อมเด็ก 79%
ล่าสุดทางบริษัท พร้อมเปิดตัวเครื่องมือให้บริการใหม่ คือ WPO หรือ Worldpanel Online แบบ 24x7 ในปีนี้ ซึ่งลูกค้าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศได้ ถือเป็นเครื่องมือบริการเพียงรายเดียวที่ตอบสนองลูกค้าได้ครอบคลุมมากกว่ารายอื่นๆในปัจจุบัน จึงอาจจะมีราคาแพกเกจแพงกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าว่าต้องการข้อมูลเจาะลึกมากขนาดไหนเป็นหลัก
“ WPO หรือ Worldpanel Online ถือเป็นเครื่องมือบริการ ที่เพิ่มในส่วนของ Shopper centric media profile เข้ามา ใน 5 สื่อหลัก ได้แก่ อินสโตร์, โทรทัศน์, ดิจิตอล, พริ้นท์ และเอาท์ออฟโฮม จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ เป็นการขยายบริการในการนำเสนอผ่านตัวสินค้า แล้วหาค่าพฤติกรรมการรับรู้จากสื่ออื่นๆที่ลูกค้ารับรู้ จะช่วยให้ลูกค้าได้เลือกลงโฆษณาอย่างตรงจุด รวมถึงจะช่วยเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่เข้ามาอย่างกลุ่มสื่อมีเดีย ในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทั้งกลุ่มช่องโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น” นายฮาร์เวิร์ด กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทยังได้เก็บตัวเลขสื่อมีเดียในไทยด้วย พบว่าปัจจุบันจากงบการใช้สื่อเฉลี่ยที่ 1,000 ล้านบาทของลูกค้า จะใช้กับ 1.ทีวี 60% 2.หนังสือพิมพ์ 14% 3.เอาท์ดอร์ 8% 4.อินเทอร์เน็ต 8% 5.วิทยุ 4% 6.นิตยสาร 4% และ 7.โรงภาพยนตร์ 2-3% แต่ในแง่พฤติกรรมการเข้าถึงสื่อของผู้บริโภค อันดับ 1.ทีวี 98% 2.หนังสือพิมพ์ 52% 3.วิทยุ 38% 4.นิตยสาร 22% และ 5.โรงภาพยนตร์ 4% และพบว่าในส่วนของสื่อออนไลน์ เข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดีย 39% มาจากเดสก์ท็อป 12% และมือถือ 31% โดยพบว่าโซเชียลมีเดียเข้าถึงกลุ่มคนต่างจังหวัดแล้ว 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรกลุ่มนี้