ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเรื่องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เห็นชอบให้ส่งโครงการ “การสนับสนุนการสำรวจเรตติ้งทีวีใหม่” มูลค่า 368.4 ล้านบาท ให้คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) และมีข่าวโต้แย้งสรุปได้ว่าอาจจะเกิดความไม่เป็นธรรมที่ กสท.สนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยมิได้สอบถามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลให้ครบถ้วน และอาจจะเป็นการผลักดันให้เกิดการผูกขาดนั้น
นายสุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมทีวีดิจิตอล และ ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) และนายณัฏฐชัย อักษรดิษฐ์ นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาสื่อกับสมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. การจัดทำเรตติ้งครั้งนี้เป็นการกำหนดความต้องการร่วมกันของอุตสาหกรรมสื่อ โดยความร่วมมือและเห็นชอบจากสมาคมฯ และชมรมต่างๆ รวมตัวกันจัดตั้งสถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไร ชื่อ “สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ” (MRB : Media Research Bureau) เพื่อให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์ร่วมกันจัดหาผู้จัดทำงานวิจัยเรตติ้งที่ชมรายการผ่านหน้าจอทุกรูปแบบ (Multi-Screens) ตลอดจนจัดหาผู้ตรวจสอบข้อมูล แยกอิสระจากผู้จัดทำงานวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ โดยวิธีการดังกล่าวแตกต่างจากเดิมที่มีบริษัทรับเป็นผู้จัดทำเรตติ้ง รายงานเฉพาะผู้รับชมผ่านจอโทรทัศน์ออกมาเท่านั้น
2. สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อได้ส่งหนังสือเชิญบริษัทต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งบริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ให้เข้าร่วมเสนอเพื่อทำงานวิจัยครั้งนี้ ปรากฏว่ามีผู้เสนองาน 3 บริษัท คือ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาเนล (KWP) จากประเทศอังกฤษ บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด (GFK) จากประเทศเยอรมนี และ บริษัท วีดีโอ รีเสิร์ช จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ส่วนบริษัท นีลเส็นฯ ซึ่งเป็นผู้จัดทำเรตติ้งในปัจจุบันของไทยได้ปฏิเสธในการเข้าร่วม โดยอ้างว่าต้องรอคำตอบจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ ซึ่งทางสถาบันได้ขยายเวลาในการตอบรับเข้าร่วมการทำวิจัยถึงตี 5 ของอีกวัน (หรือเท่ากับ 5 โมงเย็นตามเวลาที่ประเทศอเมริกา) แต่ก็ไม่มีการตอบรับใดๆ
กล่าวได้ว่าวิธีการของสถาบันฯ ได้เปิดโอกาสให้องค์กรที่ทำงานวิจัยทั่วโลกร่วมเสนองานโดยมิได้ผูกขาดแต่ประการใด
3. สถาบันวิจัยฯ ได้รับข้อเสนอจากบริษัท และทำการคัดสรรโดยกำหนดเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบรายละเอียดข้อเสนอของทั้ง 3 บริษัท โดยแบ่งเกณฑ์เป็นการให้คะแนนจากระเบียบวิธีการวิจัยร้อยละ 40 ค่าใช้จ่ายร้อยละ 30 และประสบการณ์ร้อยละ 20 และซอฟต์แวร์ร้อยละ 10 ซึ่งปรากฏว่าบริษัทกันตาร์ฯ ได้คะแนนสูงสุด หลังจากที่ประชุมกรรมการสถาบันฯ เห็นชอบแล้วได้ทำการต่อรองค่าใช้จ่ายกับบริษัทกันตาร์ฯ จนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
สรุปได้ว่า กระบวนการคัดเลือกมีความโปร่งใส ยุติธรรม และได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนอุตสาหกรรมที่เป็นกรรมการสถาบันฯ ทุกขั้นตอน
นายสุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมทีวีดิจิตอล และ ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) และนายณัฏฐชัย อักษรดิษฐ์ นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาสื่อกับสมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. การจัดทำเรตติ้งครั้งนี้เป็นการกำหนดความต้องการร่วมกันของอุตสาหกรรมสื่อ โดยความร่วมมือและเห็นชอบจากสมาคมฯ และชมรมต่างๆ รวมตัวกันจัดตั้งสถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไร ชื่อ “สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ” (MRB : Media Research Bureau) เพื่อให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์ร่วมกันจัดหาผู้จัดทำงานวิจัยเรตติ้งที่ชมรายการผ่านหน้าจอทุกรูปแบบ (Multi-Screens) ตลอดจนจัดหาผู้ตรวจสอบข้อมูล แยกอิสระจากผู้จัดทำงานวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ โดยวิธีการดังกล่าวแตกต่างจากเดิมที่มีบริษัทรับเป็นผู้จัดทำเรตติ้ง รายงานเฉพาะผู้รับชมผ่านจอโทรทัศน์ออกมาเท่านั้น
2. สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อได้ส่งหนังสือเชิญบริษัทต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งบริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ให้เข้าร่วมเสนอเพื่อทำงานวิจัยครั้งนี้ ปรากฏว่ามีผู้เสนองาน 3 บริษัท คือ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาเนล (KWP) จากประเทศอังกฤษ บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด (GFK) จากประเทศเยอรมนี และ บริษัท วีดีโอ รีเสิร์ช จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ส่วนบริษัท นีลเส็นฯ ซึ่งเป็นผู้จัดทำเรตติ้งในปัจจุบันของไทยได้ปฏิเสธในการเข้าร่วม โดยอ้างว่าต้องรอคำตอบจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ ซึ่งทางสถาบันได้ขยายเวลาในการตอบรับเข้าร่วมการทำวิจัยถึงตี 5 ของอีกวัน (หรือเท่ากับ 5 โมงเย็นตามเวลาที่ประเทศอเมริกา) แต่ก็ไม่มีการตอบรับใดๆ
กล่าวได้ว่าวิธีการของสถาบันฯ ได้เปิดโอกาสให้องค์กรที่ทำงานวิจัยทั่วโลกร่วมเสนองานโดยมิได้ผูกขาดแต่ประการใด
3. สถาบันวิจัยฯ ได้รับข้อเสนอจากบริษัท และทำการคัดสรรโดยกำหนดเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบรายละเอียดข้อเสนอของทั้ง 3 บริษัท โดยแบ่งเกณฑ์เป็นการให้คะแนนจากระเบียบวิธีการวิจัยร้อยละ 40 ค่าใช้จ่ายร้อยละ 30 และประสบการณ์ร้อยละ 20 และซอฟต์แวร์ร้อยละ 10 ซึ่งปรากฏว่าบริษัทกันตาร์ฯ ได้คะแนนสูงสุด หลังจากที่ประชุมกรรมการสถาบันฯ เห็นชอบแล้วได้ทำการต่อรองค่าใช้จ่ายกับบริษัทกันตาร์ฯ จนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
สรุปได้ว่า กระบวนการคัดเลือกมีความโปร่งใส ยุติธรรม และได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนอุตสาหกรรมที่เป็นกรรมการสถาบันฯ ทุกขั้นตอน