ASTV ผู้จัดการรายวัน – กรมสรรพสามิตเผยโครงสร้างภาษีรถใหม่ มีทั้งที่ปรับลดลงและเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 5,000 บาท ไปจนถึงมากกว่าแสนบาทขึ้นไป เผยปิกอัพแบบมีแค็บและรถอเนกประสงค์แบบพีพีวีเจอเต็มๆ ปรับภาษีใหม่ทั้งกระดานไม่มีเว้น ขณะที่นายกสมาคมอุตฯ ยานยนต์ไทยระบุการใช้ก๊าซ CO2 มาเป็นเกณฑ์คิดอัตราภาษีใหม่ ทำให้บริษัทรถมีภาระต้นทุนเพิ่ม
จากการการเตรียมปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ และประชาชนผู้ซื้อรถยนต์ โดยเมื่อวานนี้(2 เม.ย.) สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตาค่าคาอร์บอนไดออกไซด์(CO2) จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างไร” เพื่อชี้ให้เห็นผลกระทบ และเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค กระตุ้นให้ตระหนักถึงทิศทางการพัมนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย รวมถึงเป็นเวทีในการเปลี่ยความคิดเห็น ระหว่างผู้ประกอบการกับภาครัฐ
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ที่คิดอัตราตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ซึ่งไม่เพียงเน้นเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย แต่ยังสร้างความเป็นธรรมใหกับรถยนต์ในทุกประเภท ไม่ใช่เพียงเฉพาะรถใช้แก๊สโซฮอล์ E20 หรือ E85 แต่ยังรวมถึงรถเครื่องยนต์ดีเซล หรือรถไฮบริดที่มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันและมลพิษแตกต่างกัน แต่ปัจจุบันกลับเสียภาษีในอัตราเท่ากัน ต่อไปก็จะได้รับความเป็นธรรมตามการปล่อยก๊าซ CO2 ขณะเดียวกันโครงสร้างภาษีใหม่จะมีการจัดเก็บที่เรียบง่ายและโปร่งใสขึ้น ตลอดจนมีการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ประชาชน
“ภาครัฐให้เวลาผู้ประกอบการในเตรียมตัวนาน 3 ปี จึงน่าจะสามารถปรับตัวรับโครงสร้างภาษีใหม่ได้ ซึ่งหากบริษัทที่สามารถดำเนินการให้รถปล่อยก๊าซ CO2 ตามมาตรฐานกำหนด พร้อมกับติดตั้งความปลอดภัยอย่างระบบเบรก ABS และระบบควบคุมการทรงตัว หรือ VSC จะเสียภาษีในอัตราเท่าปัจจุบัน หรือรถที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่จะได้รับการสนับสนุนภาษีลดลงสูงสุด 5% หากมีค่าการปล่อยมลพิษตามเกณฑ์ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้จะต้องเสียภาษีเพิ่มจากเดิม 2-40% แล้วแต่ประเภทรถและฐานราคาของรถรุ่นนั้นๆ หรือตั้งแต่ระดับ 5,000 บาท ไปจนถึงมากกว่าแสนบาทขึ้นไป”
สำหรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่หลักๆ ยังคงแยกประเภทรถเหมือนเดิม(แต่ไม่แยกขนาดเครื่องยนต์) รวมถึงอัตราภาษีสูงสุดที่อัตรา 50% แต่ได้ใช้เกณฑ์การปล่อยก๊าซ CO2 มาเป็นกำหนดอัตราภาษี คือรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง จะใช้เกณฑ์ค่าไม่เกิน 100 กรัม/กม. เสียต่ำสุด 10% (ส่วนใหญ่จะเป็นรถไฮบริด) หรือรถที่ไม่เกิน 150 กรัม/กม. จะเสียภาษีในอัตรา 30% เท่าปัจจุบัน แต่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย ABS และ VSC ด้วย ซึ่งหากมากกว่านั้นจะเสียภาษีในอัตรา 35-50% ขณะที่ปิกอัพกำหนดอัตราปล่อยก๊าซ CO2 ไว้ที่ไม่เกิน 200 กรัม/กม. เสียภาษีในอัตราปัจจุบันที่ 3% แต่ปิกอัพที่ไม่ผ่านและปิกอัพแบบมีแค็บต้องเสียภาษีเพิ่มเป็น 5% แม้จะผ่านมาตรฐานการปล่อยไอเสียก็ตาม เช่นเดียวกับรถอเนกประสงค์แบบพีพีวี อย่างโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ หรืออีซูซู มิว-เอ็กซ์ ปัจจุบันเสียภาษี 20% อัตราใหม่จะต้องเสีย 25% ส่วนอีโคคาร์ได้รับประโยชน์มากสุด เพราะอัตราภาษีสูงสุดยังเท่าปัจจุบัน 17% แต่ถ้าทำค่า CO2 ต่ำกว่า 100 กรัม/กม. จะเสียภาษีในอัตราต่ำสุด 12%
“สาเหตุที่ต้องปรับภาษีในส่วนของปิกอัพที่มีแค็บ เพราะภาครัฐต้องการให้ประชาชนซื้อรถที่เหมาะกับการใช้งาน ซึ่งไม่ควรใช้ปิกอัพแบบมีแค็บเพื่อการนั่งโดยสาร ขณะที่รถพีพีวีแทบไม่ต่างจากรถยนต์นั่ง แต่รัฐบาลยังสนับสนุนในการสร้างอนุพันธ์รถรุ่นใหม่ๆ จึงให้ปรับโครงสร้างภาษีขึ้น แต่ไม่สูงเท่ากับรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวี”นายณัฐกรกล่าว
นายธนวัตน์ คุ้มสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า แม้จะมีการประกาศโครงสร้างภาษีใหม่ล่วงหน้า 3 ปี คงจะมีทั้งรุ่นที่ผ่านมาตรฐาน และไม่สามารถดำเนินการได้ แต่รถที่ไม่ได้วางแผนมาก่อนล่วงหน้าเลย และไม่คุ้มที่จะลงทุนพัฒนาย่อมต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มขึ้น ตรงนี้อยู่ที่ค่ายรถจะบริหารจัดการกับภาระภาษีใหม่ ส่วนรถรุ่นใหม่ที่พัฒนาและออกแบบมารองรับ ย่อมต้องมีต้นทุนสูงกว่าเข้ามา ซึ่งเป็นอีกปัจจัยทำให้ราคาลดอาจจะต้องไม่ได้ปรับลง หรือราคาอาจจะสูงขึ้น ทั้งที่โครงสร้างภาษีสนับสนุนก็ตาม
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะทำงานร่วมกับกรมสรรพสามิตอย่างใกล้ชิด โดยจะเป็นฝ่ายตรวจสอบมาตรฐานต่างๆ ของรถให้เป็นไปตามกำหนดและเป็นมาตรฐานสากล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีใหม่ จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเป็นไปตามทิศทางตลาดทั่วโลก ในเรื่องของความสะอาด ประหยัดเชื้อเพลิง และปลอดภัย ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในประเทศ และที่สำคัญผู้บริโภคได้ซื้อ “รถดี ราคาเหมาะสม”
จากการการเตรียมปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ และประชาชนผู้ซื้อรถยนต์ โดยเมื่อวานนี้(2 เม.ย.) สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตาค่าคาอร์บอนไดออกไซด์(CO2) จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างไร” เพื่อชี้ให้เห็นผลกระทบ และเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค กระตุ้นให้ตระหนักถึงทิศทางการพัมนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย รวมถึงเป็นเวทีในการเปลี่ยความคิดเห็น ระหว่างผู้ประกอบการกับภาครัฐ
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ที่คิดอัตราตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ซึ่งไม่เพียงเน้นเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย แต่ยังสร้างความเป็นธรรมใหกับรถยนต์ในทุกประเภท ไม่ใช่เพียงเฉพาะรถใช้แก๊สโซฮอล์ E20 หรือ E85 แต่ยังรวมถึงรถเครื่องยนต์ดีเซล หรือรถไฮบริดที่มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันและมลพิษแตกต่างกัน แต่ปัจจุบันกลับเสียภาษีในอัตราเท่ากัน ต่อไปก็จะได้รับความเป็นธรรมตามการปล่อยก๊าซ CO2 ขณะเดียวกันโครงสร้างภาษีใหม่จะมีการจัดเก็บที่เรียบง่ายและโปร่งใสขึ้น ตลอดจนมีการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ประชาชน
“ภาครัฐให้เวลาผู้ประกอบการในเตรียมตัวนาน 3 ปี จึงน่าจะสามารถปรับตัวรับโครงสร้างภาษีใหม่ได้ ซึ่งหากบริษัทที่สามารถดำเนินการให้รถปล่อยก๊าซ CO2 ตามมาตรฐานกำหนด พร้อมกับติดตั้งความปลอดภัยอย่างระบบเบรก ABS และระบบควบคุมการทรงตัว หรือ VSC จะเสียภาษีในอัตราเท่าปัจจุบัน หรือรถที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่จะได้รับการสนับสนุนภาษีลดลงสูงสุด 5% หากมีค่าการปล่อยมลพิษตามเกณฑ์ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้จะต้องเสียภาษีเพิ่มจากเดิม 2-40% แล้วแต่ประเภทรถและฐานราคาของรถรุ่นนั้นๆ หรือตั้งแต่ระดับ 5,000 บาท ไปจนถึงมากกว่าแสนบาทขึ้นไป”
สำหรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่หลักๆ ยังคงแยกประเภทรถเหมือนเดิม(แต่ไม่แยกขนาดเครื่องยนต์) รวมถึงอัตราภาษีสูงสุดที่อัตรา 50% แต่ได้ใช้เกณฑ์การปล่อยก๊าซ CO2 มาเป็นกำหนดอัตราภาษี คือรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง จะใช้เกณฑ์ค่าไม่เกิน 100 กรัม/กม. เสียต่ำสุด 10% (ส่วนใหญ่จะเป็นรถไฮบริด) หรือรถที่ไม่เกิน 150 กรัม/กม. จะเสียภาษีในอัตรา 30% เท่าปัจจุบัน แต่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย ABS และ VSC ด้วย ซึ่งหากมากกว่านั้นจะเสียภาษีในอัตรา 35-50% ขณะที่ปิกอัพกำหนดอัตราปล่อยก๊าซ CO2 ไว้ที่ไม่เกิน 200 กรัม/กม. เสียภาษีในอัตราปัจจุบันที่ 3% แต่ปิกอัพที่ไม่ผ่านและปิกอัพแบบมีแค็บต้องเสียภาษีเพิ่มเป็น 5% แม้จะผ่านมาตรฐานการปล่อยไอเสียก็ตาม เช่นเดียวกับรถอเนกประสงค์แบบพีพีวี อย่างโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ หรืออีซูซู มิว-เอ็กซ์ ปัจจุบันเสียภาษี 20% อัตราใหม่จะต้องเสีย 25% ส่วนอีโคคาร์ได้รับประโยชน์มากสุด เพราะอัตราภาษีสูงสุดยังเท่าปัจจุบัน 17% แต่ถ้าทำค่า CO2 ต่ำกว่า 100 กรัม/กม. จะเสียภาษีในอัตราต่ำสุด 12%
“สาเหตุที่ต้องปรับภาษีในส่วนของปิกอัพที่มีแค็บ เพราะภาครัฐต้องการให้ประชาชนซื้อรถที่เหมาะกับการใช้งาน ซึ่งไม่ควรใช้ปิกอัพแบบมีแค็บเพื่อการนั่งโดยสาร ขณะที่รถพีพีวีแทบไม่ต่างจากรถยนต์นั่ง แต่รัฐบาลยังสนับสนุนในการสร้างอนุพันธ์รถรุ่นใหม่ๆ จึงให้ปรับโครงสร้างภาษีขึ้น แต่ไม่สูงเท่ากับรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวี”นายณัฐกรกล่าว
นายธนวัตน์ คุ้มสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า แม้จะมีการประกาศโครงสร้างภาษีใหม่ล่วงหน้า 3 ปี คงจะมีทั้งรุ่นที่ผ่านมาตรฐาน และไม่สามารถดำเนินการได้ แต่รถที่ไม่ได้วางแผนมาก่อนล่วงหน้าเลย และไม่คุ้มที่จะลงทุนพัฒนาย่อมต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มขึ้น ตรงนี้อยู่ที่ค่ายรถจะบริหารจัดการกับภาระภาษีใหม่ ส่วนรถรุ่นใหม่ที่พัฒนาและออกแบบมารองรับ ย่อมต้องมีต้นทุนสูงกว่าเข้ามา ซึ่งเป็นอีกปัจจัยทำให้ราคาลดอาจจะต้องไม่ได้ปรับลง หรือราคาอาจจะสูงขึ้น ทั้งที่โครงสร้างภาษีสนับสนุนก็ตาม
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะทำงานร่วมกับกรมสรรพสามิตอย่างใกล้ชิด โดยจะเป็นฝ่ายตรวจสอบมาตรฐานต่างๆ ของรถให้เป็นไปตามกำหนดและเป็นมาตรฐานสากล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีใหม่ จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเป็นไปตามทิศทางตลาดทั่วโลก ในเรื่องของความสะอาด ประหยัดเชื้อเพลิง และปลอดภัย ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในประเทศ และที่สำคัญผู้บริโภคได้ซื้อ “รถดี ราคาเหมาะสม”