ASTV ผู้จัดการรายวัน - ยอดจองงานมอเตอร์โชว์แรงช่วงท้าย โดยเฉพาะรถหรูวิ่งฉิว มั่นใจจบงานทะลุ 3 หมื่นคันสบายๆ หลังจากช่วงแรกยอดวิ่งอืด แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วที่ปิดเกือบ 4 หมื่นคัน ผู้จัดงานพอใจตัวเลขกับสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ส่วนตัวเลขยอดจองทางการก่อนสิ้นสุดวันสุดท้าย 5 เม.ย.นี้ ปิดที่ 2.75 หมื่นคัน ขณะที่ค่ายรถหวั่นผลกระทบซ้ำจากร่างพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ที่มีแนวคิดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม
นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ รองประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2015 หรือครั้งที่36 เปิดเผยว่า งานยังเหลือวันนี้ (5 เม.ย.) เป็นวันสุดท้าย ซึ่งที่ผ่านมาตลอดการจัดงาน 11 วัน รวมถึงวันวีไอพีและสื่อมวลชน มียอดจองอย่างเป็นทางการทั้งหมดกว่า 2.75 หมื่นคัน ยังไม่รวมยอดจองกลุ่มรถหรูที่จะแจ้งยอดรวมในวันสุดท้าย โดยเมื่อเมื่อวานนี้สามารถทำได้ถึงกว่า 4 พันคัน และได้รับความสนใจมีผู้เข้าชมงาน 1.6-1.7 ล้านคน ใกล้เคียงกับในที่ผ่านมา
“มั่นใจจนถึงจบงานวันสุดท้าย จะมียอดจองรถใหม่มากกว่า 3 หมื่นคัน ใกล้เคียงกับครั้งที่ผ่านมาที่มียอดจองกว่า 3.9 หมื่นคัน ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ถือว่าน่าพอใจ โดยเฉพาะรถระดับหรูหรือที่มีราคามากกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป ยังคงมีอัตราการขยายตัวในทิศทางที่ดี แม้กลุ่มรถขนาดเล็กจะลดลงตามสภาวะตลาด ทำให้เมื่อรวมมูลค่าเงินสะพัดภายในในงาน รวมทั้งในส่วนอุปกรณ์ประดับยนต์แล้ว น่าจะอยู่ในระดับหมื่นล้านบาท ซึ่งถือประสบความเป็นที่พอสำเร็จพอใจ”
สำหรับตัวเลขยอดขายอย่างเป็นทางการ ถึงวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นก่อนวันสุดท้าย 5 เม.ย.2558 มียอดจองรถใหม่รวมทั้งสิ้น 27,558 คัน โดยยังไม่รวมยอดจองของเมอร์เซเดส-เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ,วอลโว่ และเลกซัส ที่จะแจ้งยอดจองรวมทั้งหมดในวันสุดท้ายของการจัดงานครั้งเดียว โดยอันดับ 1 ยังคงเป็นยักษ์ใหญ่โตโยต้าทำได้ทั้งหมด 4,808 คัน
ตามมาด้วยฮอนด้า 4,001 คัน อันดับสามเป็นมาสด้า 3,934 คัน อันดับสี่รถอีซูซุ 3,822 คัน และอันดับห้านิสสัน 3,361 คัน
ขณะเดียวกันในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2015 มีการจัดเสวนาเรื่อง ““ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามค่าคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างไร” และภายในงานนายอานุภาพ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจ บริษัท ฟอร์ด โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมที่สนช.กำลังพิจารณาอยู่ มีแนวคิดที่จะเก็บเงินส่งเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม จากสินค้าเข้าพิกัดสรรพสามิตต้องเก็บเงินน้ำมัน รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ แบตเตอร์รี่ และสารทำลายชิ้นบรรยากาศ
“ปัจจุบันและโดยเฉพาะในอนาคตอันใกล้ภาคอุตสาหกรรมมีภาระอยู่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม อย่างโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่ใช้การปล่อยมลพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 มากำหนดอัตราโครงสร้างภาษี สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกเป็นภาษีซ้ำซ้อน และภาครัฐมักจะอ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่อยๆ เห็นว่าสังคมน่าจะมีส่วนร่วมมากกว่าไปเพ่งเล็งอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง”
นายธนวัตน์ คุ้มสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวว่า มีการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันมากในสนช. ซึ่งบางฝ่ายมีการเสนอให้นำเงินส่วนหนึ่งจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตไปเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม ในส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางนี้ แต่ทางภาครัฐบอกว่าไม่สามารถทำได้ เพราะผิดระเบียบเรื่องงบประมาณ ซึ่งคงต้องมาดูจะมีวิธีดำเนินอย่างไร
“ถ้าหากต้องแยกและเก็บเพิ่มจากภาษีสรรพสามิต แน่นอนย่อมต้องเป็นภาระกับอุตสาหกรรมรถยนต์ และสุดท้ายก็ตกกับผู้บริโภค ขีดความสามารถการแข่งขันก็จะลดลง ดังนั้นหากมีกระทบรุนแรงคงจะมีการยื่นหนังสือชี้แจงให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ” นายธนวัตน์กล่าว
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เกี่ยวกับการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม หากทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดีขึ้น น่าจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย แต่หากเก็บเข้ามาแล้วไม่ได้เอาไปแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ของกองทุน เหมือนกับหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นมาแล้ว ตรงนี้จะเป็นปัญหาทำให้เกิดการไม่ยอมรับ เรื่องนี้กำลังอยู่ในการพิจารณา ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำเสนอความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนได้
นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ รองประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2015 หรือครั้งที่36 เปิดเผยว่า งานยังเหลือวันนี้ (5 เม.ย.) เป็นวันสุดท้าย ซึ่งที่ผ่านมาตลอดการจัดงาน 11 วัน รวมถึงวันวีไอพีและสื่อมวลชน มียอดจองอย่างเป็นทางการทั้งหมดกว่า 2.75 หมื่นคัน ยังไม่รวมยอดจองกลุ่มรถหรูที่จะแจ้งยอดรวมในวันสุดท้าย โดยเมื่อเมื่อวานนี้สามารถทำได้ถึงกว่า 4 พันคัน และได้รับความสนใจมีผู้เข้าชมงาน 1.6-1.7 ล้านคน ใกล้เคียงกับในที่ผ่านมา
“มั่นใจจนถึงจบงานวันสุดท้าย จะมียอดจองรถใหม่มากกว่า 3 หมื่นคัน ใกล้เคียงกับครั้งที่ผ่านมาที่มียอดจองกว่า 3.9 หมื่นคัน ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ถือว่าน่าพอใจ โดยเฉพาะรถระดับหรูหรือที่มีราคามากกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป ยังคงมีอัตราการขยายตัวในทิศทางที่ดี แม้กลุ่มรถขนาดเล็กจะลดลงตามสภาวะตลาด ทำให้เมื่อรวมมูลค่าเงินสะพัดภายในในงาน รวมทั้งในส่วนอุปกรณ์ประดับยนต์แล้ว น่าจะอยู่ในระดับหมื่นล้านบาท ซึ่งถือประสบความเป็นที่พอสำเร็จพอใจ”
สำหรับตัวเลขยอดขายอย่างเป็นทางการ ถึงวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นก่อนวันสุดท้าย 5 เม.ย.2558 มียอดจองรถใหม่รวมทั้งสิ้น 27,558 คัน โดยยังไม่รวมยอดจองของเมอร์เซเดส-เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ,วอลโว่ และเลกซัส ที่จะแจ้งยอดจองรวมทั้งหมดในวันสุดท้ายของการจัดงานครั้งเดียว โดยอันดับ 1 ยังคงเป็นยักษ์ใหญ่โตโยต้าทำได้ทั้งหมด 4,808 คัน
ตามมาด้วยฮอนด้า 4,001 คัน อันดับสามเป็นมาสด้า 3,934 คัน อันดับสี่รถอีซูซุ 3,822 คัน และอันดับห้านิสสัน 3,361 คัน
ขณะเดียวกันในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2015 มีการจัดเสวนาเรื่อง ““ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามค่าคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างไร” และภายในงานนายอานุภาพ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจ บริษัท ฟอร์ด โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมที่สนช.กำลังพิจารณาอยู่ มีแนวคิดที่จะเก็บเงินส่งเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม จากสินค้าเข้าพิกัดสรรพสามิตต้องเก็บเงินน้ำมัน รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ แบตเตอร์รี่ และสารทำลายชิ้นบรรยากาศ
“ปัจจุบันและโดยเฉพาะในอนาคตอันใกล้ภาคอุตสาหกรรมมีภาระอยู่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม อย่างโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่ใช้การปล่อยมลพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 มากำหนดอัตราโครงสร้างภาษี สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกเป็นภาษีซ้ำซ้อน และภาครัฐมักจะอ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่อยๆ เห็นว่าสังคมน่าจะมีส่วนร่วมมากกว่าไปเพ่งเล็งอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง”
นายธนวัตน์ คุ้มสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวว่า มีการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันมากในสนช. ซึ่งบางฝ่ายมีการเสนอให้นำเงินส่วนหนึ่งจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตไปเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม ในส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางนี้ แต่ทางภาครัฐบอกว่าไม่สามารถทำได้ เพราะผิดระเบียบเรื่องงบประมาณ ซึ่งคงต้องมาดูจะมีวิธีดำเนินอย่างไร
“ถ้าหากต้องแยกและเก็บเพิ่มจากภาษีสรรพสามิต แน่นอนย่อมต้องเป็นภาระกับอุตสาหกรรมรถยนต์ และสุดท้ายก็ตกกับผู้บริโภค ขีดความสามารถการแข่งขันก็จะลดลง ดังนั้นหากมีกระทบรุนแรงคงจะมีการยื่นหนังสือชี้แจงให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ” นายธนวัตน์กล่าว
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เกี่ยวกับการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม หากทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดีขึ้น น่าจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย แต่หากเก็บเข้ามาแล้วไม่ได้เอาไปแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ของกองทุน เหมือนกับหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นมาแล้ว ตรงนี้จะเป็นปัญหาทำให้เกิดการไม่ยอมรับ เรื่องนี้กำลังอยู่ในการพิจารณา ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำเสนอความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนได้