xs
xsm
sm
md
lg

ระบบการศึกษา...นับหนึ่งใหม่ยังไม่สาย (แต่ต้องรออีก 25 ปี)

เผยแพร่:   โดย: ศาสตราจารย์ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ศาสตราจารย์ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ระบบการศึกษาไทยที่เห็นๆกันขณะนี้ ล้มสลายไปเรียบร้อย พังพินาศต่อเนื่องกันมาเป็นสิบปี ไม่ได้ อยู่แค่ขั้นวิกฤตเข้าไอซียูอย่างที่นักวิชาการหลายท่าน พูดปลอบใจ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเริ่มนับหนึ่งใหม่ ตั้งแต่วันนี้ เราจะยังมีเด็กรุ่นใหม่ให้เห็นเป็น เจน(เนอเรชั่น) A เกรด A อีกภายใน 20-25 ปี เพราะต้องผ่าน ประถม มัธยม อุดมศึกษา (อย่าลืมรวมขั้นอนุบาลด้วย) และต้องมีประสบการณ์ใช้งานได้ด้วยความสุขุม คัมภีรภาพ เพราะฉะนั้น ต้องจํากัด และกําจัดผู้สร้างระบบวงจรอุบาทว์ที่เกิดในขณะนี้ให้ได้ก่อนด้วย

จริงๆแล้วผู้เขียนก็มิได้มีอะไรวิเศษวิโสกว่าท่านทั้งหลาย กล่าวคือ ต้องก้มหน้าก้มตาทํางานเป็นข้า รับใช้ระบบที่ต้องมีภาระงานนานาตามที่กําหนด แต่ ณ สถานการณ์ปัจจุบันคงได้เห็นหลักฐานแจ้ง ประจักษ์แล้วว่าวงจร (อุบาทว์) การศึกษาของไทยนอกจากไม่สร้างคน ยังทําลายคนรุ่นใหม่ อย่างไม่ยั้งมือ ตั้งแต่อนุบาลกลัวเข้าโรงเรียนดังไม่ได้ จับเด็กเล็กที่ควรพัฒนาสมองให้เปิดกว้างซึมซับธรรมชาติอย่าง ถูกต้อง จับมาท่องศัพท์ คิดเลข อัจฉริยะ ขั้นมัธยมมีติว จะเข้ามหาวิทยาลัยยิ่งหนัก การเรียนการสอนนอก ระบบห้องเรียน แท้จริงคือจับเข้าอีกห้องของโรงเรียนกวดวิชา ที่ครูติวมีชื่อเสียงแถมรวยอีกต่างหาก เพราะ ติวตรงข้อสอบ ให้ตอบตรงที่ถาม เพราะฉะนั้นเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับสอบ ชั่งมัน เพื่อให้ไต่เต้าระดับ การศึกษาจนจบปริญญาโท- เอก ความใฝ่ รู้ หาความรู้ด้วยตนเอง เป็ นแค่คําขวัญและความฝันของ กระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นแค่โฆษณาและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาแห่งชาติตาม ตัวหนังสือโก้เก๋

ผมมีโอกาสไปสอนแพทย์จากอินเดีย เนปาล มัลดีฟส์ เป็นเวลา 6 วัน ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นภาระกิจของการเป็นศูนย์ร่วมองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับไวรัสสัตว์สู่คน สิ่งที่เห็นชัดเจนที่ แตกต่างหลังมือเป็นหน้ามือ คือ ไม่มีใครหลับตั้งแต่ 8.30 ยัน 17.30 เตรียมคําถามมาเพียบ เอารูปผู้ป่วยมา ให้ดู ถกปัญหาที่มีในปัจจุบันและปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคตทั้งที่เกิดในพื้นที่เองและจากนอกพื้นที่เข้า มา โดยที่รอบๆตัวมีสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ยุง เห็บ ริ้น และโรคติดต่อสารพัด และยังมีโรคที่ไม่ติดต่อ แต่เกิดจาก ความเจริญของมนุษย์ได้แก่ โรคหัวใจ อัมพฤษ์ เบาหวาน ฯลฯ ตลอด 6 วัน แม้จะชื่นใจที่งานลุล่วงและเป็นแม่แบบในการอบรมครั้งต่อๆไป แต่อดสะท้อนใจไม่ได้กับสภาพของนักเรียน นิสิตในเมืองเราเอง ความที่ ต้องอยู่ในแวดวงการศึกษามาหลายสิบปีจะโทษนักเรียนก็ไม่ถูก เพราะแต่ละหลักสูตร แต่ละรายวิชาหวังดี ยัดเยียดความรู้ประดามีในโลกให้เด็กกันมโหฬาร เด็กเองไม่มีโอกาสคิดด้วยซํ้าว่ามีข้อสงสัยไหม ต้องเล็งว่า ครูสอนเน้นตรงไหนสําหรับสอบ ไม่เคยรู้ว่าปัญหาเมืองไทยอยู่ที่ไหน เรียนเรื่องวิชาต่างๆมากมายจนแยกไม่ ออกว่าตรงไหนสําคัญสําหรับชีวิต และสําหรับการทํางานในอนาคตเพื่อตนเองและสังคม ไม่มีโอกาสหา ความรู้รอบตัว อ่านหนังสือพิมพ์ ติดตามข่าวสารความเป็นไปในโลก ตอบให้แม่นเวลาสอบ เก็บคะแนนเป็น ของขวัญพ่อแม่ เพื่อได้ประดับตนในการเรียนต่อในขั้นสูงระดับอุดมศึกษา

แต่ละมหาวิทยาลัยมุ่งเกียรติยศ ตั้งเป้าติดอันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัย โลก เอางานวิจัยเป็นสําคัญ เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย อาจารย์ ที่เดี๋ยวนี้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย เงินเดือน ต๊อกต๋อย ต้องทําวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มีแต้มต่อสูง (Impact Factor) ทุนก็หายาก เวลาก็ไม่ มี บ้านก็ต้องเช่าหรือยังผ่อน ครอบครัวก็เพิ่งเริ่มต้น ได้งานวิจัยแบบเบี้ยหัวแตก ตอบโจทย์ให้ใครไม่รู้ โดย หารู้ไม่ว่าประเทศที่เจริญแล้ว การเติบโตเป็นทุกภาคส่วน ตั้งแต่ต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า จนถึงมีผลผลิตใช้ งานได้จริง แต่ระบบการศึกษาของไทยขั้นสูงสุด คือ ยึดกล่องพุ่งต้นนํ้าก็ไม่ถึงซักที โนเบลก็ไม่ได้ จะว่ายมา กลางนํ้า ก็ส่งผ่านต่อไปได้ไม่ถึงปลายทาง วกวนกับงานวิจัยที่แข่งกับฝรั่งในเรื่องที่ต้นทุนเราไม่พอ โดยไม่ ตอบโจทย์ประเทศไทย ทีงานวิจัยที่ต้องการคําตอบ ไม่มีใครแย่งทํา เพราะตีพิมพ์ไม่ได้ ไม่ผ่านภาระงาน พิจารณาขึ้นขั้นไม่ได้ เป้าหมายการศึกษายังหวังสร้างปริญญาเอกเป็นแสน เพื่ออะไรครับ เพื่อผลิตรายงาน การวิจัยเพิ่มให้มหาวิทยาลัย

จีน อินเดีย ตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว มีใหมครับงานวิจัยตีพิมพ์สวยหรู แต่วางแผน สร้างความรู้ เทคโนโลยีตั้งแต่ต้นนํ้าจนถึงปลายนํ้า ผลิตยาได้เอง มีสินค้าไฮเทคส่งออกทั่วโลก ผลิต เครื่องจักร รถไฟ รถไฟฟ้าได้เอง ราคาถูก แต่เมืองไทยส่งขบวนรถไฟฟ้ามา มีนักการเมืองตั้งแถวรอรับ รถไฟฟ้า (ฮา….หลายๆครั้ง) และจีน อินเดีย ปัจจุบันเริ่มมีงานวิจัยชั้นนําตีตลาดการวิจัย เพราะฉะนั้น ตัวอย่างที่เห็นต้องนํามาตอบโจทย์ประเทศไทย ฮ่องกงเอง แต่ก่อนไม่ได้มีบทความตีพิมพ์มากมาย แต่โรค ระบาดซาร์ส สามารถปรับตัวเข้าสถานการณ์หยุดยั้งโรค ไม่ให้ล้มตาย ซึ่งอาจเป็นหมื่นเป็นแสน รวมทั้งมี การควบคุมโรคระบาดทางระบบทางเดินหายใจซึ่งอันตรายสูงสุดได้อย่างเด็ดขาด มีข้าราชการ นักการเมือง ไทยมากหลายเดินทางไปดูงาน นอกจากของชอบปิ้งกับไปเล่นการพนันที่เกาลูน มีอะไรมาปรับปรุงมั่งไหม ครับ เพราะฉะนั้นต่อจากนี้ข้าราชการ นักการเมือง อาจารย์ต่างๆ บินไปประชุมดูงานต่างประเทศถ้าไม่ สามารถนําความรู้ที่ไปขอดูมา มาใช้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพประเทศไทยได้ ให้ชําระเงินค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายคืน พร้อมดอกเบี้ย งานประชุมระดับโลก ดูงานต่างประเทศจะเห็นผู้แทนจากเมืองไทยอยู่ ในสัดส่วนสูงที่สุด โดยมีผลงานร่วมการประชุมน้อยที่สุด

ครู อาจารย์ของไทย ยังรับบทหนักผลิตงานกระดาษยืนยันว่ามีภาระงานตามเกณฑ์ ที่ภาระงานไม่ ถึงก็ต้องเคี่ยวเข็นให้มีการสอนเพิ่มขึ้น ตกหนักชวยกับนักเรียน วิตกจริตว่าไม่มีงานวิจัยตีพิมพ์ตามเงื่อนไข เวลาการจ้าง หรือเพื่อตําแหน่งวิชาการตามกําหนด จะหาเวลาที่ไหนมาใส่ใจ การพัฒนานักเรียน นิสิต นักศึกษานอกจากสอนให้จําๆไป และมีการประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษา แบบซื้อของใน ห้าง ดังนั้นถ้าให้นักเรียนอ่านมาก่อน เพื่อมาถกปัญหาก็จะถูกนักเรียนประเมินเละ กลายเป็นว่าอาจารย์ขี้เกียจไม่ยอมสอน (ฮา….) กล่าวโดยสรุป การสอนการเรียนขณะนี้ เข้าได้กับกินไม่ได้แต่เท่ห์ ถมงบประมาณ เข้าไปเถิดครับ ด้วยวิธีการคิด วิธีประเมินเดิมๆ เยาวชนเจน Z เจน Y ถึงวันๆเมี่อว่างจากอ่านท่องตําราหัว โตเพื่อสอบ เลยต้องแก้เครียด เข้าผับ เต้นระบํา แถวสีลม กินเหล้า สูบบุหรี่ แก้งค์เด็กต่างๆนาๆ เพราะทั้ง เด็ก ครู อาจารย์ ต่างตกในวงจรอุบาทว์ คิดไม่ออกเมื่อไหร พันธุ์เบบี้บูม เจน X และรุ่นก่อนหน้านี้ที่ออก กฎเกณฑ์จะยอมเกษียณไปซะที และตัวอย่างที่เห็นจะจะของความล้มเหลวในกระบวนการสร้างคน คือ ภาพบนจอโทรทัศน์การอภิปราย ในสภาของนักการเมือง ใช้เวลาหลายวัน หลายสิบชั่วโมง ข้อมูลในการ อภิปราย หลักฐานอย่างมากอภิปรายวันเดียวก็จบ ถ้าพูดแต่เนื้อ เหตุผล และชี้แจง แต่พูดวกไปวนมาผักบุ้ง โหรงเหรง นี่ยังไม่นับคําพูดโกหกพกลม คําหยาบ คงเห็นแล้วนะครับ บุคคลประเภทใด อันดับหนึ่งที่ควรจะ จํากัด ขอโทษครับ กําจัดให้พ้นจากระบบของประเทศไทย คือ บุคคลพวกไหน เกี่ยวเนื่องกับทางพันธุกรรม มีความจําเป็นต้องปกป้องประเทศจากบุคคลเหล่านี้ไม่ตํ่ากว่า 3 ชั่วคน (ถ้าไม่หมดอาจต้องเป็น 7) เริ่มแต่ วันนี้อาจไม่สายนะครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น