ASTVผู้จัดการรายวัน-"เอสพีซีจี"ฟุ้งปีนี้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่ม 200เมกะวัตต์ หลังรุกตลาดลุยลงทุนโรงไฟฟ้าโซลาร์ ฟาร์มในต่างประเทศทั้งญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เนปาลและเมียนมาร์ ส่วนในประเทศสนใจลงทุนโซลาร์สหกรณ์และโครงการค้างท่อ มั่นใจไตรมาส 2นี้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่รายได้รวมในปีนี้ยังคงเป้าหมายที่ 5 พันล้านบาท
นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)(SPCG) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 200 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ 260เมกะวัตต์ ซึ่งจะเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่วางไว้ว่าใน 5ปีข้างหน้า จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวม 500
เมกะวัตต์ แต่ปีนี้ยังคงเป้าหมายรายได้รวมอยู่ที่ 5 พันล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่มีรายได้รวม 4.4 พันล้านบาท เนื่องจากโครงการผลิตไฟฟ้าใหม่จะเข้ามาในช่วงปลายปีทำให้ยังรับรู้รายได้น้อยมาก
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนร่วมลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น กำลังผลิต 150 เมกะวัตต์ โดยจะร่วมทุนกับKyocera Corporation และรายอื่นๆ คาดว่าจะมีความชัดเจนในไตรมาส 2 นี้ รวมทั้งยังเจรจากับพันธมิตรท้องถิ่นและบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) เพื่อร่วมทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยวางเป้าหมายไว้ที่ 100 เมกะวัตต์หลังจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 500 เมกะวัตต์ ราคารับซื้อไฟฟ้าประมาณ 7 บาทต่อหน่วย เป็นเวลา 25 ปี คาดว่าจะชัดเจนในไตรมาส 2/2558
นอกจากนี้ บริษัทยังสนใจที่จะเข้าไปรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศเมียนมาร์และเนปาลด้วย ซึ่งการลงทุนในเมียนมาร์จะเป็นการลงทุนโครงการขนาดเล็กก่อน แต่เห็นว่าเมียนมาร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพที่ดี เนื่องจากมีประชากรมากแต่กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศอยู่ที่ 2.5 พันเมกะวัตต์เท่านั้น ส่วนเนปาลได้รับเงินอุดหนุนจากธนาคารโลกตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30เมกะวัตต์ โดยอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โครงการอยู่
ส่วนการลงทุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย มีแผนจะร่วมลงทุนโครงการโซลาร์สหกรณ์ที่รัฐจะรับซื้อ 800เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ค้างท่อด้วย คาดว่าจะมีความชัดเจนในการรับซื้อไฟฟ้าในช่วงไตรมาส 2/ 2558 เนื่องจากบริษัทมีกระแสเงินสดในมือเพียง 3 พันล้านบาท จึงต้องพิจารณาอย่างรอบในการตัดสินใจลงทุน โดยจะเลือกโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด
วานนี้ (1 เม.ย.) บริษัท เอสพีซีจี จำกัด(มหาชน) ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จัดทำสินเชื่อเพื่อการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาประเภทบ้านที่อยู่อาศัย (SPR Solar Roof) ให้แก่ลูกค้าบริษัท โซลาร์ เพาเวอร์ รูฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ จำนวนรอบแรก 300 ราย ในวงเงินประมาณ 100 ล้านบาท โดยการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวนี้เป็นการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน นับเป็นนวัตกรรมการให้สินเชื่อครั้งแรกในวงการเงินและธนาคารในไทยและอาเซียน
โดยธนาคากรุงไทยจะปล่อยสินเชื่อให้ผู้ที่สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟเพื่อทำการผลิตและจำหน่ายให้การไฟฟ้า ในอัตรา 6.85 บาท/หน่วยเป็นเวลา 25 ปีโดยผู้ที่สนใจจะต้องวางเงินดาวน์ 30% แล้วผ่อนชำระ 8 ปี อัตราดอกเบี้ย8.88 % โดยนำรายได้จากการขายไฟฟ้ามาผ่อนชำระแก่แบงก์กรุงไทยเป็นรายเดือน
นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)(SPCG) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 200 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ 260เมกะวัตต์ ซึ่งจะเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่วางไว้ว่าใน 5ปีข้างหน้า จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวม 500
เมกะวัตต์ แต่ปีนี้ยังคงเป้าหมายรายได้รวมอยู่ที่ 5 พันล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่มีรายได้รวม 4.4 พันล้านบาท เนื่องจากโครงการผลิตไฟฟ้าใหม่จะเข้ามาในช่วงปลายปีทำให้ยังรับรู้รายได้น้อยมาก
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนร่วมลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น กำลังผลิต 150 เมกะวัตต์ โดยจะร่วมทุนกับKyocera Corporation และรายอื่นๆ คาดว่าจะมีความชัดเจนในไตรมาส 2 นี้ รวมทั้งยังเจรจากับพันธมิตรท้องถิ่นและบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) เพื่อร่วมทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยวางเป้าหมายไว้ที่ 100 เมกะวัตต์หลังจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 500 เมกะวัตต์ ราคารับซื้อไฟฟ้าประมาณ 7 บาทต่อหน่วย เป็นเวลา 25 ปี คาดว่าจะชัดเจนในไตรมาส 2/2558
นอกจากนี้ บริษัทยังสนใจที่จะเข้าไปรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศเมียนมาร์และเนปาลด้วย ซึ่งการลงทุนในเมียนมาร์จะเป็นการลงทุนโครงการขนาดเล็กก่อน แต่เห็นว่าเมียนมาร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพที่ดี เนื่องจากมีประชากรมากแต่กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศอยู่ที่ 2.5 พันเมกะวัตต์เท่านั้น ส่วนเนปาลได้รับเงินอุดหนุนจากธนาคารโลกตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30เมกะวัตต์ โดยอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โครงการอยู่
ส่วนการลงทุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย มีแผนจะร่วมลงทุนโครงการโซลาร์สหกรณ์ที่รัฐจะรับซื้อ 800เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ค้างท่อด้วย คาดว่าจะมีความชัดเจนในการรับซื้อไฟฟ้าในช่วงไตรมาส 2/ 2558 เนื่องจากบริษัทมีกระแสเงินสดในมือเพียง 3 พันล้านบาท จึงต้องพิจารณาอย่างรอบในการตัดสินใจลงทุน โดยจะเลือกโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด
วานนี้ (1 เม.ย.) บริษัท เอสพีซีจี จำกัด(มหาชน) ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จัดทำสินเชื่อเพื่อการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาประเภทบ้านที่อยู่อาศัย (SPR Solar Roof) ให้แก่ลูกค้าบริษัท โซลาร์ เพาเวอร์ รูฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ จำนวนรอบแรก 300 ราย ในวงเงินประมาณ 100 ล้านบาท โดยการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวนี้เป็นการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน นับเป็นนวัตกรรมการให้สินเชื่อครั้งแรกในวงการเงินและธนาคารในไทยและอาเซียน
โดยธนาคากรุงไทยจะปล่อยสินเชื่อให้ผู้ที่สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟเพื่อทำการผลิตและจำหน่ายให้การไฟฟ้า ในอัตรา 6.85 บาท/หน่วยเป็นเวลา 25 ปีโดยผู้ที่สนใจจะต้องวางเงินดาวน์ 30% แล้วผ่อนชำระ 8 ปี อัตราดอกเบี้ย8.88 % โดยนำรายได้จากการขายไฟฟ้ามาผ่อนชำระแก่แบงก์กรุงไทยเป็นรายเดือน