โดย...วีระศักดิ์ นาทะสิริ
1.กล่าวนำ
ในปัจจุบันคำว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises) หรือ SMEs” ไม่เพียงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากตั้งแต่ปี 1965 จนถึงปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ซึ่งต่อไปในบทความนี้จะขอเรียกว่า SMEs) ได้มีบทบาทอย่างสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ในยุโรปSMEs ได้กลายเป็นกระดูกสันหลังระบบเศรษฐกิจของยุโรปไปแล้ว มีสถานประกอบการ SMEs ประมาณ 23 ล้านกิจการหรือเท่ากับ 99% ของระบบเศรษฐกิจยุโรป และได้ทำให้มีการจ้างงานถึง 2 ใน 3 ของธุรกิจภาคเอกชน (ข้อมูลจาก Marco Lopriore, Senior Lecturer, European Institute of PublicAdministration, EIPA Maastricht: Supporting Enterprise Development and SME in Europe)
นอกจากนี้ในเอเชีย เราจะพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ได้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตั้งแต่ปี 1945 ต่อมาในปี 1963 รัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ออกกฎหมายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และได้แก้ไขปรับปรุงใหม่ในปี 1999 ผลปรากฏว่า ในปัจจุบันญี่ปุ่นมีสถานประกอบการ SMEs เป็นจำนวนถึง 99.7% ของธุรกิจทั้งหมด, โดยมีผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ SMEs เท่ากับ 70% ของแรงงานที่มีงานทำ และผลผลิตของ SMEs ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) มากกว่า 50% ของอุตสาหกรรมภาคการผลิตทั้งหมด ดังนั้น SMEs จึงได้กลายเป็นพื้นฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว ดังตัวอย่างเช่น บริษัทโตโยต้า, ฮอนด้า, และโซนี่ ต่างก็เริ่มมาจากการเป็น SMEs หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา (ข้อมูลมาจาก Small and Medium Enterprise Agency, Ministry of Economy, Trade and Industry, September 2013)
โดยสรุปก็คือ ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) สถานประกอบการในรูปแบบ SMEs ได้กลายเป็นแกนหลักของระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไปแล้ว ดังนั้นถ้า SMEs ของไทยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากทุกรัฐบาลแล้ว SMEs ของไทยก็คงจะเติบโตแข็งแรงสามารถแข่งขันกับองค์กรธุรกิจของประเทศต่างๆ ได้ และยังมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นวิสาหกิจหรือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ได้ในอนาคตอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า SMEs ก็คือ ต้นกล้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าได้รับการดูแลและสนับสนุนอย่างถูกต้อง SMEs ก็จะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ทางเศรษฐกิจที่จะให้ดอกให้ผลแก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยในอนาคตนั่นเอง- ผู้เขียน)
2. ความหมายของคำว่า “วิสาหกิจขาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs” ในปัจจุบัน
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปี พ.ศ. 2543 ในมาตรา 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า “วิสาหกิจ (Enterprise)” ไว้ว่า
“วิสาหกิจ หมายถึงกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก หรือกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กองทุนหมายความว่า กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
องค์การเอกชนหมายความว่า องค์การของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายเฉพาะที่มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อมที่ดำเนินการในทางการอุตสาหกรรม การบริการ หรือการค้า และให้หมายความรวมถึงองค์การเอกชนอื่นที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย”
ต่อมาในปี 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมพ.ศ. 2545 ซึ่งได้ให้คุณลักษณะที่สำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้ดังนี้(ดูตารางที่ 1ประกอบ)
“ข้อ 1 วิสาหกิจขนาดย่อมได้แก่กิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
(2) กิจการให้บริการที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน50 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน50 ล้านบาท
(3) กิจการค้าส่งที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 25 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
(4) กิจการค้าปลีกที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 15 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 30 ล้านบาท
ข้อ 2 วิสาหกิจขนาดกลางได้แก่กิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 50 คนแต่ไม่เกิน 200 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท
(2) กิจการให้บริการที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 50 คนแต่ไม่เกิน 200 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท
(3) กิจการค้าส่งที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า25 คนแต่ไม่เกิน50 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท
(4) กิจการค้าปลีกที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 15 คนแต่ไม่เกิน 30 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 30 ล้านบาทแต่ไม่เกินกว่า 60 ล้านบาท
และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงได้จัดทำตารางสรุปคุณลักษณะของ SMEs ของไทยไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สรุปคุณลักษณะของวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมของไทย
ข้อ 3 ในกรณีที่จำนวนการจ้างงานของกิจการใดเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อมแต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางหรือจำนวนการจ้างงานเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางแต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อมให้ถือจำนวนการจ้างงานหรือมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่น้อยกว่าเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา”
สำหรับในเรื่องจำนวนการจ้างงาน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิ ผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญไว้ดังนี้
(1) สำหรับจำนวนการจ้างงานให้พิจารณาจากหลักฐานแสดงจำนวนการจ้างงานที่ได้จัดทำขึ้นตามกฎหมาย
(2) ส่วนมูลค่าสินทรัพย์ถาวรให้พิจารณาจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิซึ่งไม่รวมที่ดิน (ก) ที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดของกิจการที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว หรือ (ข) ตามที่ได้รับการประเมินจากสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยให้ถือจำนวนที่น้อยกว่าระหว่าง (ก) และ (ข) เป็นสินทรัพย์ถาวร
3. ความสำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อระบบเศรษฐกิจของไทย
3.1 ในปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และต่อมาได้มีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs ให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมSMEs ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2545 - 2549) และฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550 - 2554) โดยมีผลการดำเนินงานโดยสรุปดังที่แสดงในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 สถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553*
*ที่มา : รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554
ข้อมูลในปี 2553 ได้ชี้ว่า SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยดังนี้
(1) ด้านจำนวนสถานประกอบการ SMEs มีจำนวน 2,913,167 กิจการหรือเท่ากับร้อยละ 99.60 ของกิจการทั้งหมด (ซึ่งมีจำนวน 2,924,912 กิจการ) ในประเทศไทย
(2) ด้านการจ้างงาน SMEs มีการจ้างงานเป็นจำนวน 10,507,507 คน หรือเท่ากับร้อยละ 77.86 ของแรงงานทั้งหมด 13,496,088 คน จึงถือเป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุด
(3) ด้านผลผลิตมวลรวมประชาชาติ GDP ของ SMEs เท่ากับ 3,746,967 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.35 ของ GDPนอกภาคการเกษตรหรือคิดเป็นร้อยละ 37.09 หรือ 1 ใน 3 ของ GDPของทั้งประเทศ
(4) ด้านการส่งออกมูลค่าการส่งออกของ SMEs เท่ากับ 1,754,280 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 28.40 ของการมูลค่าส่งออกทั้งหมด 6,177,688 ล้านบาท
3.2 ข้อมูลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปี 2552 - 2553 ยังได้บ่งบอกถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย(ดูตารางที่ 2 ดัดแปลงจากแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 ตารางที่ 1-1 หน้า 1-3)
ตารางที่ 2 สรุปบทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในปี 2552-2553
จากตารางที่ 2 เราจะพบว่าในปี 2553 SMEs มีการจ้างงานจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 9,701,354 คน เป็น 10,507,507 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.31 และแม้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างงานรวมในระบบเศรษฐกิจกลับลดน้อยลงจาก 78.20% เป็น 77.86% ซึ่งหมายความว่า การจ้างงานขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจครอบครัว (หรือองค์กรอื่นๆ) มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าการจ้างงานของ SMEs นั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผลผลิตมวลรวมในประเทศเฉพาะ SMEs ในปี 2553 ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2552 เท่ากับ 9.63% (คือเพิ่มจาก 3,417,860.70 ล้านบาท เป็น 3,476,967.00 ล้านบาท) แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลผลิตมวลรวมในประเทศของทั้งหมดหรือ GDP รวม (ปี 2553) จะเท่ากับ 37.09% ซึ่งจะน้อยกว่าปี 2552 (เท่ากับ 37.76%) นั่นหมายความว่า ผลผลิตมวลรวมขององค์กรอื่นๆ ที่ไม่ใช่ SMEs มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าผลผลิตมวลรวมของ SMEs
ในด้านการส่งออกจะพบว่า ในปี 2553 มูลค่าการส่งออกของ SMEs เท่ากับ 1,754,280 ล้านบาทคือ เพิ่มสูงขึ้น 10.39% จากปี 2552 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกทั้งหมดของประเทศจะเท่ากับ 28.40% ลดลงจากปี 2552 (ซึ่งเท่ากับ 30.56%) นั่นหมายความว่า มูลค่าการส่งออกขององค์กรธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ SMEs เพิ่มสูงขึ้นมากกว่ามูลค่าการส่งออกของ SMEs นั่นเอง
ส่วนด้านการนำเข้าในปี 2553 มูลค่าการนำเข้าของ SMEs เท่ากับ 1,775,084 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 28.84% จากปี 2552 และเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเข้าทั้งหมดของประเทศจะเท่ากับ 30.44% เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2552 (ซึ่งเท่ากับ 29.92%) หมายความว่าในปี 2553 มูลค่าการนำเข้าของ SMEs เพิ่มสูงขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้าขององค์กรธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ SMEs
3.3 มีข้อสังเกตที่น่าพิจารณาอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก ในปี 2553 SMEs ได้เลิกกิจการเป็นจำนวนถึง 29,169 กิจการหรือเท่ากับ 49.93 ของกิจการ SMEs ที่ขอจัดตั้งในปี 2552 และประการที่สอง ถ้าเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกและนำเข้าก็จะพบว่า ในปี 2552 มูลค่าการส่งออกของ SMEs จะสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าของ SMEs คือ เกินดุลเท่ากับ 211,459.62 ล้านบาท แต่ตรงกันข้ามในปี 2553 มูลค่าการส่งออกของ SMEs ลดลงต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าของ SMEs คือ ขาดดุลเท่ากับ 20,804 ล้านบาท (ดูตารางที่ 3 ประกอบ)
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบการส่งออกและนำเข้าของ SMEs ปี 2552-2553
3.4 สำหรับข้อสังเกตหรือกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจถือเป็นสิ่งบอกเหตุหรือตัวบ่งชี้ที่นำมาคาดการณ์ (Forecasting) ได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ของไทยจะมีแนวโน้มลดต่ำลงในปีถัดไปคือ ในปี 2554 ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียง 0.1
ภาพที่ 2 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
โดยในภาพที่ 2 ได้แสดงให้เห็นว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2552 (2009) ซึ่งเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา (Year on year) ลดต่ำลงเท่ากับ - 2.3, ต่อมาในปี 2553 (2010) เพิ่มสูงขึ้นเท่ากับ 7.8 และลดต่ำลงในปี 2554 (2011) เท่ากับ 0.1 เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้จึงอาจสรุปได้ว่า การเจริญเติบโตหรือการถดถอยในการดำเนินกิจการของ SMEs (ซึ่งดูได้จากผลผลิตมวลรวมหรือ GDP ของSMEs) น่าจะมีผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่ปรากฏในตารางที่ 3 และภาพที่ 2
4. ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของ SMEs ในประเทศไทย
จากเอกสารเรื่อง แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555 -2559) จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หน้าที่ 3-1, 3-2 และ 3-3 ได้ระบุถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของ SMEs ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
4.1 จุดแข็งที่สำคัญของ SMEs คือ
(1) เป็นองค์กรธุรกิจขนาดเล็กจึงมีสายการบังคับบัญชาสั้น มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และการตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็ว
(2) เชี่ยวชาญด้านทักษะงานฝีมือและงานบริการ (Craftsmanship & Hospitality)
(3) สามารถผลิตสินค้าและบริการตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเพราะเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดเฉพาะ (Niche Market)
4.2 จุดอ่อนสำคัญที่เป็นปัญหาของ SMEs ก็คือ
(1) SMEs ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแบบครอบครัว การพิจารณาตกลงใจจะมาจากเจ้าของธุรกิจหรือสมาชิกในครอบครัวเจ้าของธุรกิจ ระบบการบริหารจึงมักไม่โปร่งใส ขาดการวางแผนธุรกิจ ขาดระบบบัญชี และการตรวจสอบที่ดี
(2) SMEs ส่วนใหญ่จะรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้าสั่งโดยไม่ได้ออกแบบเอง (เพราะไม่มีการคิดค้นเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ของตนเอง และลูกค้าที่จ้างผลิตส่วนใหญ่คงเป็นบริษัทข้ามชาติที่มี Brand Name อยู่ในตลาดและคงมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่แล้ว เช่น บริษัท Nike, บริษัท Adidas และบริษัทเครื่องแต่งกายต่างๆ เป็นต้น -ความคิดเห็นของผู้เขียน)
(3) มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากเจ้าของ SMEs ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอ เพราะในปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆ ยังเน้นการใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันในการปล่อยสินเชื่อ
(4) ความสามารถในด้านต่างๆ ของบุคลากรใน SMEs จะอยู่ในขอบเขตที่จำกัดเพราะขาดระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีเงินทุนอยู่อย่างจำกัดจึงไม่ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไว้แต่อย่างใด
(5) SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความสนใจในการใช้เทคโนโลยี และการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เพราะไม่ต้องการเพิ่มต้นทุน (หรือต้องลงทุนเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ของตนเองที่จะนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีคุณภาพที่จะสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่เดิมได้ -ความคิดเห็นของผู้เขียน)
5. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับ SMEs
5.1 เนื่องจากกฎกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545 ไม่ได้ครอบคลุมถึงกิจการขนาดจิ๋วหรือกิจการครอบครัวขนาดจิ๋ว จึงทำให้กิจการธุรกิจขนาดจิ๋วดังกล่าวไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐและจากแหล่งเงินทุนต่างๆ อย่างเหมาะสม ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้แก้ไขกฎกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อให้มีกิจการหรือธุรกิจขนาดจิ๋วที่มีคนทำงานน้อยกว่า 5 คนลงมาเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภทคือ วิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprise) เพื่อให้วิสาหกิจขนาดจิ๋ว (ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญทางธุรกิจ) ได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐได้ด้วยเช่นเดียวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังแสดงในภาพที่ 3
ภาพที่ 3 วิสาหกิจขนาดต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ
คำบรรยายภาพที่ 3 : วิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) จะเป็นฐานให้แก่วิสาหกิจขนาดที่ใหญ่กว่า และจะพัฒนาตัวเองเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises) ได้ในอนาคตทำนองเดียวกัน วิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises) ก็จะเป็นฐานให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ และจะพัฒนาไปเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprises) ได้ในอนาคต
5.2 จากข้อมูลในตารางที่ 2 จะพบว่า ในปี 2553 แม้ SMEs จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 8.21% จากปี 2552 คือ มีแรงงานที่ทำงานใน SMEs เป็นจำนวนทั้งสิ้น 10,505,507 คน ซึ่งเท่ากับ 77.86% ของการจ้างงานในระบบธุรกิจทั้งหมด แต่ผลผลิตมวลรวมในประเทศเฉพาะวิสาหกิจ SMEs กลับมีสัดส่วนเพียง 37.09% ของผลผลิตมวลรวมของทั้งประเทศ ตรงกันข้ามกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ (Large Enterprises) ซึ่งมีการจ้างแรงงานในจำนวนที่น้อยกว่า แต่มีสัดส่วนในผลผลิตมวลรวมของทั้งประเทศสูงถึง 62.91% นั่นหมายความว่า ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ผลการดำเนินงานโดยรวมของ SMEs ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดใหญ่
ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้นำหลักความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มาพิจารณาในการส่งเสริม และสนับสนุนSMEsเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆของประเทศ โดยยึดหลักอรรถประโยชน์สูงสุด (Maximize utilities) จากการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่ง (หมายความว่า ถ้าผลิตสินค้า A แล้วผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับอรรถประโยชน์มากกว่าที่จะนำทรัพยากรนั้นไปผลิตสินค้า B ก็ควรนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปผลิตสินค้า A นั่นเอง) และเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ขอให้ดูภาพที่ 4 ประกอบ
ภาพที่ 4 ตัวอย่างการจัดเขตพื้นที่เพื่อสนับสนุนกิจการ SMEs
คำบรรยายภาพที่ 4 : เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ของประเทศมีสภาพแวดล้อม มีทรัพยากรในพื้นที่ และกำลังแรงงานแตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้นำหลักความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบทางเศรษฐกิจมาใช้จัดเขตพื้นที่ของประเทศเพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนากิจการ SMEs ให้มีความสอดคล้องและตรงกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ และยังเป็นการกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศเพื่อจะได้ไม่ต้องมาแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดังเช่นการจัดเขตพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุนกิจการ SMEs ในภูมิภาคต่างๆ ที่แสดงในภาพที่ 4 ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
(1) ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช มีการทำสวนยางเป็นจำนวนมาก และมีพื้นที่ติดทะเลทั้งด้านตะวันตกคือ มหาสมุทรอินเดีย และด้านตะวันออกคือ อ่าวไทย ดังนั้นภาครัฐควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปยาง อุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมการขนส่งต่างๆ และอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวเป็นหลัก
(2) ส่วนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มมีน้ำตลอดปี ประชากรส่วนใหญ่จะปลูกพืชทางการเกษตร และทำนาข้าวเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นภาครัฐควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นหลัก และควรจำกัดจำนวนอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตรแต่ได้สร้างมลพิษให้ออกไปจากพื้นที่กลุ่มจังหวัดหรือจำกัดจำนวนให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้น
5.3 การบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs จะต้องยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศเหนือสิ่งอื่นใด มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล ที่สำคัญคือ จะต้องไม่เล่นพรรคเล่นพวก หรือไม่แสวงหาผลประโยชน์อื่นใด และจะต้องไม่มีการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ในกรณีนี้ผู้เขียนขอเสนอให้รัฐบาลพัฒนาและวางระบบการตรวจสอบการดำเนินงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างสม่ำเสมอ และถ้าพบเจ้าหน้าที่คนใดที่กระทำผิดดังกล่าว ก็จะต้องลงโทษอย่างรวดเร็วตามอัตราโทษสูงสุด โดยไม่มีการลดหย่อน เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่นอีกต่อไป
6. บทสรุป
รัฐบาลควรให้การส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องวิสาหกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงานที่ยังไม่เข้มแข็งให้มีความแข็งแรงขึ้นเพื่อให้พร้อมในการแข่งขันกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชีย และในภูมิภาคอื่นของโลก
หลายท่านอาจถามกลับมาว่า แล้วจะให้รัฐบาลสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างไร ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างจากข้อมูลในตารางที่ 2 เราจะพบว่า การนำเข้าของ SMEs มีอัตราเพิ่มสูงกว่าการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ แต่มีสัดส่วนในผลผลิตมวลรวมประชาชาติ GDP เพียง 37% กว่าๆ เท่านั้น นั่นหมายความว่า ประสิทธิภาพในการบริหารงาน การผลิต การตลาด และการแข่งขันในตลาดต่างๆ ของ SMEs ควรได้รับการปรับปรุงในทุกด้านซึ่งหน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนในด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีการผลิต และด้านการตลาด เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้เขียนขอเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งสำนักงานหรือกรมวิจัยและพัฒนา (Department of Research & Development) โดยให้มีหน้าที่ในการวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้การสนับสนุนแก่ SMEs และวิสาหกิจขนาดใหญ่ นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้มาตรฐานสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์จากประเทศต่างๆ ได้ เพราะ SMEs มีเงินทุนจำกัด จึงไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยตนเอง
ท้ายบทความ
ได้มีผู้อ่านได้สอบถามมาว่า SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างไร ผู้เขียนจึงได้เขียนบทความนี้เพื่อตอบคำถามของท่าน แต่ติดภารกิจจึงต้องขออภัยที่ล่าช้าไปบ้าง
อย่างไรก็ดี เนื่องในวาระปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ผู้เขียนขออวยพรให้ผู้อ่านทุกท่านและครอบครัว เจ้าหน้าที่ ASTVผู้จัดการทุกท่าน รวมทั้ง คสช. ครม. สนช. สปช. คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ข้าราชการทุกฝ่าย และประชาชนทุกท่าน จงประสบแต่ความสุข สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และขอให้ทุกท่านมีความเจริญก้าวหน้า มีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย และภยันตรายทั้งปวงตลอดไป
ถ้ามีสิ่งใดที่อาจเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง หรือท่านมีข้อคิดเห็นใดๆ หรือมีข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องใด กรุณาส่งที่ udomdee@gmail.com โปรดอย่าได้เกรงใจ
1.กล่าวนำ
ในปัจจุบันคำว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises) หรือ SMEs” ไม่เพียงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากตั้งแต่ปี 1965 จนถึงปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ซึ่งต่อไปในบทความนี้จะขอเรียกว่า SMEs) ได้มีบทบาทอย่างสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ในยุโรปSMEs ได้กลายเป็นกระดูกสันหลังระบบเศรษฐกิจของยุโรปไปแล้ว มีสถานประกอบการ SMEs ประมาณ 23 ล้านกิจการหรือเท่ากับ 99% ของระบบเศรษฐกิจยุโรป และได้ทำให้มีการจ้างงานถึง 2 ใน 3 ของธุรกิจภาคเอกชน (ข้อมูลจาก Marco Lopriore, Senior Lecturer, European Institute of PublicAdministration, EIPA Maastricht: Supporting Enterprise Development and SME in Europe)
นอกจากนี้ในเอเชีย เราจะพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ได้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตั้งแต่ปี 1945 ต่อมาในปี 1963 รัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ออกกฎหมายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และได้แก้ไขปรับปรุงใหม่ในปี 1999 ผลปรากฏว่า ในปัจจุบันญี่ปุ่นมีสถานประกอบการ SMEs เป็นจำนวนถึง 99.7% ของธุรกิจทั้งหมด, โดยมีผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ SMEs เท่ากับ 70% ของแรงงานที่มีงานทำ และผลผลิตของ SMEs ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) มากกว่า 50% ของอุตสาหกรรมภาคการผลิตทั้งหมด ดังนั้น SMEs จึงได้กลายเป็นพื้นฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว ดังตัวอย่างเช่น บริษัทโตโยต้า, ฮอนด้า, และโซนี่ ต่างก็เริ่มมาจากการเป็น SMEs หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา (ข้อมูลมาจาก Small and Medium Enterprise Agency, Ministry of Economy, Trade and Industry, September 2013)
โดยสรุปก็คือ ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) สถานประกอบการในรูปแบบ SMEs ได้กลายเป็นแกนหลักของระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไปแล้ว ดังนั้นถ้า SMEs ของไทยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากทุกรัฐบาลแล้ว SMEs ของไทยก็คงจะเติบโตแข็งแรงสามารถแข่งขันกับองค์กรธุรกิจของประเทศต่างๆ ได้ และยังมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นวิสาหกิจหรือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ได้ในอนาคตอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า SMEs ก็คือ ต้นกล้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าได้รับการดูแลและสนับสนุนอย่างถูกต้อง SMEs ก็จะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ทางเศรษฐกิจที่จะให้ดอกให้ผลแก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยในอนาคตนั่นเอง- ผู้เขียน)
2. ความหมายของคำว่า “วิสาหกิจขาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs” ในปัจจุบัน
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปี พ.ศ. 2543 ในมาตรา 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า “วิสาหกิจ (Enterprise)” ไว้ว่า
“วิสาหกิจ หมายถึงกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก หรือกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กองทุนหมายความว่า กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
องค์การเอกชนหมายความว่า องค์การของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายเฉพาะที่มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อมที่ดำเนินการในทางการอุตสาหกรรม การบริการ หรือการค้า และให้หมายความรวมถึงองค์การเอกชนอื่นที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย”
ต่อมาในปี 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมพ.ศ. 2545 ซึ่งได้ให้คุณลักษณะที่สำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้ดังนี้(ดูตารางที่ 1ประกอบ)
“ข้อ 1 วิสาหกิจขนาดย่อมได้แก่กิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
(2) กิจการให้บริการที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน50 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน50 ล้านบาท
(3) กิจการค้าส่งที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 25 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
(4) กิจการค้าปลีกที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 15 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 30 ล้านบาท
ข้อ 2 วิสาหกิจขนาดกลางได้แก่กิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 50 คนแต่ไม่เกิน 200 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท
(2) กิจการให้บริการที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 50 คนแต่ไม่เกิน 200 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท
(3) กิจการค้าส่งที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า25 คนแต่ไม่เกิน50 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท
(4) กิจการค้าปลีกที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 15 คนแต่ไม่เกิน 30 คนหรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเกินกว่า 30 ล้านบาทแต่ไม่เกินกว่า 60 ล้านบาท
และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงได้จัดทำตารางสรุปคุณลักษณะของ SMEs ของไทยไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สรุปคุณลักษณะของวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมของไทย
ข้อ 3 ในกรณีที่จำนวนการจ้างงานของกิจการใดเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อมแต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางหรือจำนวนการจ้างงานเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางแต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อมให้ถือจำนวนการจ้างงานหรือมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่น้อยกว่าเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา”
สำหรับในเรื่องจำนวนการจ้างงาน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิ ผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญไว้ดังนี้
(1) สำหรับจำนวนการจ้างงานให้พิจารณาจากหลักฐานแสดงจำนวนการจ้างงานที่ได้จัดทำขึ้นตามกฎหมาย
(2) ส่วนมูลค่าสินทรัพย์ถาวรให้พิจารณาจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิซึ่งไม่รวมที่ดิน (ก) ที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดของกิจการที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว หรือ (ข) ตามที่ได้รับการประเมินจากสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยให้ถือจำนวนที่น้อยกว่าระหว่าง (ก) และ (ข) เป็นสินทรัพย์ถาวร
3. ความสำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อระบบเศรษฐกิจของไทย
3.1 ในปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และต่อมาได้มีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs ให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมSMEs ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2545 - 2549) และฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550 - 2554) โดยมีผลการดำเนินงานโดยสรุปดังที่แสดงในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 สถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553*
*ที่มา : รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554
ข้อมูลในปี 2553 ได้ชี้ว่า SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยดังนี้
(1) ด้านจำนวนสถานประกอบการ SMEs มีจำนวน 2,913,167 กิจการหรือเท่ากับร้อยละ 99.60 ของกิจการทั้งหมด (ซึ่งมีจำนวน 2,924,912 กิจการ) ในประเทศไทย
(2) ด้านการจ้างงาน SMEs มีการจ้างงานเป็นจำนวน 10,507,507 คน หรือเท่ากับร้อยละ 77.86 ของแรงงานทั้งหมด 13,496,088 คน จึงถือเป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุด
(3) ด้านผลผลิตมวลรวมประชาชาติ GDP ของ SMEs เท่ากับ 3,746,967 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.35 ของ GDPนอกภาคการเกษตรหรือคิดเป็นร้อยละ 37.09 หรือ 1 ใน 3 ของ GDPของทั้งประเทศ
(4) ด้านการส่งออกมูลค่าการส่งออกของ SMEs เท่ากับ 1,754,280 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 28.40 ของการมูลค่าส่งออกทั้งหมด 6,177,688 ล้านบาท
3.2 ข้อมูลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปี 2552 - 2553 ยังได้บ่งบอกถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย(ดูตารางที่ 2 ดัดแปลงจากแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 ตารางที่ 1-1 หน้า 1-3)
ตารางที่ 2 สรุปบทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในปี 2552-2553
จากตารางที่ 2 เราจะพบว่าในปี 2553 SMEs มีการจ้างงานจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 9,701,354 คน เป็น 10,507,507 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.31 และแม้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างงานรวมในระบบเศรษฐกิจกลับลดน้อยลงจาก 78.20% เป็น 77.86% ซึ่งหมายความว่า การจ้างงานขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจครอบครัว (หรือองค์กรอื่นๆ) มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าการจ้างงานของ SMEs นั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผลผลิตมวลรวมในประเทศเฉพาะ SMEs ในปี 2553 ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2552 เท่ากับ 9.63% (คือเพิ่มจาก 3,417,860.70 ล้านบาท เป็น 3,476,967.00 ล้านบาท) แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลผลิตมวลรวมในประเทศของทั้งหมดหรือ GDP รวม (ปี 2553) จะเท่ากับ 37.09% ซึ่งจะน้อยกว่าปี 2552 (เท่ากับ 37.76%) นั่นหมายความว่า ผลผลิตมวลรวมขององค์กรอื่นๆ ที่ไม่ใช่ SMEs มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าผลผลิตมวลรวมของ SMEs
ในด้านการส่งออกจะพบว่า ในปี 2553 มูลค่าการส่งออกของ SMEs เท่ากับ 1,754,280 ล้านบาทคือ เพิ่มสูงขึ้น 10.39% จากปี 2552 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกทั้งหมดของประเทศจะเท่ากับ 28.40% ลดลงจากปี 2552 (ซึ่งเท่ากับ 30.56%) นั่นหมายความว่า มูลค่าการส่งออกขององค์กรธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ SMEs เพิ่มสูงขึ้นมากกว่ามูลค่าการส่งออกของ SMEs นั่นเอง
ส่วนด้านการนำเข้าในปี 2553 มูลค่าการนำเข้าของ SMEs เท่ากับ 1,775,084 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 28.84% จากปี 2552 และเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเข้าทั้งหมดของประเทศจะเท่ากับ 30.44% เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2552 (ซึ่งเท่ากับ 29.92%) หมายความว่าในปี 2553 มูลค่าการนำเข้าของ SMEs เพิ่มสูงขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้าขององค์กรธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ SMEs
3.3 มีข้อสังเกตที่น่าพิจารณาอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก ในปี 2553 SMEs ได้เลิกกิจการเป็นจำนวนถึง 29,169 กิจการหรือเท่ากับ 49.93 ของกิจการ SMEs ที่ขอจัดตั้งในปี 2552 และประการที่สอง ถ้าเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกและนำเข้าก็จะพบว่า ในปี 2552 มูลค่าการส่งออกของ SMEs จะสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าของ SMEs คือ เกินดุลเท่ากับ 211,459.62 ล้านบาท แต่ตรงกันข้ามในปี 2553 มูลค่าการส่งออกของ SMEs ลดลงต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าของ SMEs คือ ขาดดุลเท่ากับ 20,804 ล้านบาท (ดูตารางที่ 3 ประกอบ)
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบการส่งออกและนำเข้าของ SMEs ปี 2552-2553
3.4 สำหรับข้อสังเกตหรือกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจถือเป็นสิ่งบอกเหตุหรือตัวบ่งชี้ที่นำมาคาดการณ์ (Forecasting) ได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ของไทยจะมีแนวโน้มลดต่ำลงในปีถัดไปคือ ในปี 2554 ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียง 0.1
ภาพที่ 2 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
โดยในภาพที่ 2 ได้แสดงให้เห็นว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2552 (2009) ซึ่งเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา (Year on year) ลดต่ำลงเท่ากับ - 2.3, ต่อมาในปี 2553 (2010) เพิ่มสูงขึ้นเท่ากับ 7.8 และลดต่ำลงในปี 2554 (2011) เท่ากับ 0.1 เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้จึงอาจสรุปได้ว่า การเจริญเติบโตหรือการถดถอยในการดำเนินกิจการของ SMEs (ซึ่งดูได้จากผลผลิตมวลรวมหรือ GDP ของSMEs) น่าจะมีผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่ปรากฏในตารางที่ 3 และภาพที่ 2
4. ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของ SMEs ในประเทศไทย
จากเอกสารเรื่อง แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555 -2559) จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หน้าที่ 3-1, 3-2 และ 3-3 ได้ระบุถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของ SMEs ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
4.1 จุดแข็งที่สำคัญของ SMEs คือ
(1) เป็นองค์กรธุรกิจขนาดเล็กจึงมีสายการบังคับบัญชาสั้น มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และการตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็ว
(2) เชี่ยวชาญด้านทักษะงานฝีมือและงานบริการ (Craftsmanship & Hospitality)
(3) สามารถผลิตสินค้าและบริการตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเพราะเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดเฉพาะ (Niche Market)
4.2 จุดอ่อนสำคัญที่เป็นปัญหาของ SMEs ก็คือ
(1) SMEs ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแบบครอบครัว การพิจารณาตกลงใจจะมาจากเจ้าของธุรกิจหรือสมาชิกในครอบครัวเจ้าของธุรกิจ ระบบการบริหารจึงมักไม่โปร่งใส ขาดการวางแผนธุรกิจ ขาดระบบบัญชี และการตรวจสอบที่ดี
(2) SMEs ส่วนใหญ่จะรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้าสั่งโดยไม่ได้ออกแบบเอง (เพราะไม่มีการคิดค้นเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ของตนเอง และลูกค้าที่จ้างผลิตส่วนใหญ่คงเป็นบริษัทข้ามชาติที่มี Brand Name อยู่ในตลาดและคงมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่แล้ว เช่น บริษัท Nike, บริษัท Adidas และบริษัทเครื่องแต่งกายต่างๆ เป็นต้น -ความคิดเห็นของผู้เขียน)
(3) มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากเจ้าของ SMEs ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอ เพราะในปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆ ยังเน้นการใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันในการปล่อยสินเชื่อ
(4) ความสามารถในด้านต่างๆ ของบุคลากรใน SMEs จะอยู่ในขอบเขตที่จำกัดเพราะขาดระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีเงินทุนอยู่อย่างจำกัดจึงไม่ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไว้แต่อย่างใด
(5) SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความสนใจในการใช้เทคโนโลยี และการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เพราะไม่ต้องการเพิ่มต้นทุน (หรือต้องลงทุนเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ของตนเองที่จะนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีคุณภาพที่จะสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่เดิมได้ -ความคิดเห็นของผู้เขียน)
5. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับ SMEs
5.1 เนื่องจากกฎกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545 ไม่ได้ครอบคลุมถึงกิจการขนาดจิ๋วหรือกิจการครอบครัวขนาดจิ๋ว จึงทำให้กิจการธุรกิจขนาดจิ๋วดังกล่าวไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐและจากแหล่งเงินทุนต่างๆ อย่างเหมาะสม ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้แก้ไขกฎกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อให้มีกิจการหรือธุรกิจขนาดจิ๋วที่มีคนทำงานน้อยกว่า 5 คนลงมาเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภทคือ วิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprise) เพื่อให้วิสาหกิจขนาดจิ๋ว (ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญทางธุรกิจ) ได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐได้ด้วยเช่นเดียวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังแสดงในภาพที่ 3
ภาพที่ 3 วิสาหกิจขนาดต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ
คำบรรยายภาพที่ 3 : วิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) จะเป็นฐานให้แก่วิสาหกิจขนาดที่ใหญ่กว่า และจะพัฒนาตัวเองเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises) ได้ในอนาคตทำนองเดียวกัน วิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises) ก็จะเป็นฐานให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ และจะพัฒนาไปเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprises) ได้ในอนาคต
5.2 จากข้อมูลในตารางที่ 2 จะพบว่า ในปี 2553 แม้ SMEs จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 8.21% จากปี 2552 คือ มีแรงงานที่ทำงานใน SMEs เป็นจำนวนทั้งสิ้น 10,505,507 คน ซึ่งเท่ากับ 77.86% ของการจ้างงานในระบบธุรกิจทั้งหมด แต่ผลผลิตมวลรวมในประเทศเฉพาะวิสาหกิจ SMEs กลับมีสัดส่วนเพียง 37.09% ของผลผลิตมวลรวมของทั้งประเทศ ตรงกันข้ามกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ (Large Enterprises) ซึ่งมีการจ้างแรงงานในจำนวนที่น้อยกว่า แต่มีสัดส่วนในผลผลิตมวลรวมของทั้งประเทศสูงถึง 62.91% นั่นหมายความว่า ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ผลการดำเนินงานโดยรวมของ SMEs ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดใหญ่
ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้นำหลักความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มาพิจารณาในการส่งเสริม และสนับสนุนSMEsเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆของประเทศ โดยยึดหลักอรรถประโยชน์สูงสุด (Maximize utilities) จากการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่ง (หมายความว่า ถ้าผลิตสินค้า A แล้วผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับอรรถประโยชน์มากกว่าที่จะนำทรัพยากรนั้นไปผลิตสินค้า B ก็ควรนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปผลิตสินค้า A นั่นเอง) และเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ขอให้ดูภาพที่ 4 ประกอบ
ภาพที่ 4 ตัวอย่างการจัดเขตพื้นที่เพื่อสนับสนุนกิจการ SMEs
คำบรรยายภาพที่ 4 : เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ของประเทศมีสภาพแวดล้อม มีทรัพยากรในพื้นที่ และกำลังแรงงานแตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้นำหลักความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบทางเศรษฐกิจมาใช้จัดเขตพื้นที่ของประเทศเพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนากิจการ SMEs ให้มีความสอดคล้องและตรงกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ และยังเป็นการกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศเพื่อจะได้ไม่ต้องมาแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดังเช่นการจัดเขตพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุนกิจการ SMEs ในภูมิภาคต่างๆ ที่แสดงในภาพที่ 4 ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
(1) ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช มีการทำสวนยางเป็นจำนวนมาก และมีพื้นที่ติดทะเลทั้งด้านตะวันตกคือ มหาสมุทรอินเดีย และด้านตะวันออกคือ อ่าวไทย ดังนั้นภาครัฐควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปยาง อุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมการขนส่งต่างๆ และอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวเป็นหลัก
(2) ส่วนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มมีน้ำตลอดปี ประชากรส่วนใหญ่จะปลูกพืชทางการเกษตร และทำนาข้าวเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นภาครัฐควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นหลัก และควรจำกัดจำนวนอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตรแต่ได้สร้างมลพิษให้ออกไปจากพื้นที่กลุ่มจังหวัดหรือจำกัดจำนวนให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้น
5.3 การบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs จะต้องยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศเหนือสิ่งอื่นใด มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล ที่สำคัญคือ จะต้องไม่เล่นพรรคเล่นพวก หรือไม่แสวงหาผลประโยชน์อื่นใด และจะต้องไม่มีการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ในกรณีนี้ผู้เขียนขอเสนอให้รัฐบาลพัฒนาและวางระบบการตรวจสอบการดำเนินงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างสม่ำเสมอ และถ้าพบเจ้าหน้าที่คนใดที่กระทำผิดดังกล่าว ก็จะต้องลงโทษอย่างรวดเร็วตามอัตราโทษสูงสุด โดยไม่มีการลดหย่อน เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่นอีกต่อไป
6. บทสรุป
รัฐบาลควรให้การส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องวิสาหกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงานที่ยังไม่เข้มแข็งให้มีความแข็งแรงขึ้นเพื่อให้พร้อมในการแข่งขันกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชีย และในภูมิภาคอื่นของโลก
หลายท่านอาจถามกลับมาว่า แล้วจะให้รัฐบาลสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างไร ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างจากข้อมูลในตารางที่ 2 เราจะพบว่า การนำเข้าของ SMEs มีอัตราเพิ่มสูงกว่าการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ แต่มีสัดส่วนในผลผลิตมวลรวมประชาชาติ GDP เพียง 37% กว่าๆ เท่านั้น นั่นหมายความว่า ประสิทธิภาพในการบริหารงาน การผลิต การตลาด และการแข่งขันในตลาดต่างๆ ของ SMEs ควรได้รับการปรับปรุงในทุกด้านซึ่งหน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนในด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีการผลิต และด้านการตลาด เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้เขียนขอเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งสำนักงานหรือกรมวิจัยและพัฒนา (Department of Research & Development) โดยให้มีหน้าที่ในการวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้การสนับสนุนแก่ SMEs และวิสาหกิจขนาดใหญ่ นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้มาตรฐานสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์จากประเทศต่างๆ ได้ เพราะ SMEs มีเงินทุนจำกัด จึงไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยตนเอง
ท้ายบทความ
ได้มีผู้อ่านได้สอบถามมาว่า SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างไร ผู้เขียนจึงได้เขียนบทความนี้เพื่อตอบคำถามของท่าน แต่ติดภารกิจจึงต้องขออภัยที่ล่าช้าไปบ้าง
อย่างไรก็ดี เนื่องในวาระปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ผู้เขียนขออวยพรให้ผู้อ่านทุกท่านและครอบครัว เจ้าหน้าที่ ASTVผู้จัดการทุกท่าน รวมทั้ง คสช. ครม. สนช. สปช. คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ข้าราชการทุกฝ่าย และประชาชนทุกท่าน จงประสบแต่ความสุข สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และขอให้ทุกท่านมีความเจริญก้าวหน้า มีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย และภยันตรายทั้งปวงตลอดไป
ถ้ามีสิ่งใดที่อาจเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง หรือท่านมีข้อคิดเห็นใดๆ หรือมีข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องใด กรุณาส่งที่ udomdee@gmail.com โปรดอย่าได้เกรงใจ